วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเตรียมตัวกับการส่งออกข้อมูล ปี 2555

โดย คุณคิดคม สเลลานนท์
ผ่านไปไม่เท่าไหร่ก็ใกล้จะขึ้นปีงบประมาณ ๒๕๕๕ แล้วครับ หลายท่านคงอยากทราบความเคลื่อนไหวเผื่อที่จะต้องเตรียมตัวในการทำงานในปีงบปรมาณหน้า ดังนั้นจากนี้ไปหากมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้ผมก็จะพยายามนำมาแจ้งให้ทั่วกันครับ

เริ่มจากเมื่อวานนี้ (23มิ.ย.54)ทาง สนย.กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการจัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องการปรับโครงสร้าง 18แฟ้ม โดยจะมีการขอเพิ่มเป็น 22 แฟ้ม (แต่ยังคงเรียก 18 แฟ้มอยู่นะครับ)ซึ่งหลายท่านคงพอทราบมาบ้างแล้ว โดยเแฟ้มที่เพิ่มก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับ SCREENNING เบาหวาน ความดัน และเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ทั้งนี้เพื่อลดโปรแกรมบางโปรแกรมของกระทรวงฯ ลงในส่วนแฟ้มที่เพิ่มนี้ผมคงยังไม่พูดถึงก่อนเพราะทาง สปสช.ยังคงต้องหารือกันก่อนว่าจะดำเนินการรับหรือไม่อย่างไร

กลับมาในส่วน 18แฟ้มเดิม ซึ่ง สปสช.รับอยู่เพียง 10แฟ้ม ซึ่งเท่่าที่หารือกันในในทีประชุมคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องรหัสมาตรฐานที่ใช้ ซึ่งก็ไม่น่าจะกระทบ USERมาก คงเป็นหน้าที่ของผู้พัฒนา Soft were เป็นหลัก ส่วนแฟ้มที่มีการปรับเปลี่ยนน่าจะมีเพียงแฟ้ม PROCED แฟ้มเดียว โดยมีการเพิ่มรหัสผู้ให้บริการ เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลแพทย์แผนไทย รายละเอียดคงมีการแจ้งให้ทราบต่อไปครับ

ตอนที่แล้วผมได้พูดถึงเรื่องโครงสร้างและการตรวจสอบที่อาจมีการปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย ในส่วนของ สปสช.(ยืนยันว่าเล็กน้อยจริงๆ)ซึ่งการเปลี่ยนแปลงตรงนั้นคิดว่าไม่น่าจะมีผลกระทบกับผู้บันทึกข้อมูลเท่าไหร่ และน่าจะมีประโยชน์มากกว่าเพราะจะลดโปรแกรมบางโปรแกรมลง เรื่องโครงสร้างตาราง เรื่องโปรแกรม ก็ส่วนหนึ่ง แต่เรื่องที่สำคัญอีกเรื่องก็คือ เรื่องคุณภาพข้อมูล ซึ่งผมหมายถึง การบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้องตามข้อเท็จจริง และตรงไปตรงมา และในแนวทางการดำเนินงานปี 55 ผมคาดว่าจะมีการเพิ่มเรื่องการตรวจสอบข้อมูลหลังการประมวลผลมากขึ้น แต่ก่อนจะไปถึงปี 55วันนี้ (30มิ.ย.55) ได้มีการประกาศแนวทางการบันทึกข้อมูล OP/PP จากท่าน ผอ.สำนักบริหารการจัดสรรกองทุน ซึ่งมีผลตั้งแต่ 1 ก.ค.54 เป็นต้นไป รวมถึงปีงบประมาณ 2555ด้วยครับ ผมคัดลอกมาลงไว้ที่นี่ด้วยครับ

----------------------------------------------------------------
เรียน ผู้รับผิดชอบการบันทึกข้อมูล OP/PP Individual Data และผู้เกี่ยวข้อง
ตามที่สำนักบริหารการจัดสรรกองทุน (สบจ.) ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการพัฒนาระบบข้อมูลผู้ป่วยนอกและข้อมูลสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคล (OP/PP Individual Data) ซึ่งในปีงบประมาณ 2555 สำนักบริหารการจัดสรรกองทุนร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตต่างๆ ได้มีการลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อรับทราบปัญหาและให้คำแนะนำในการบันทึกข้อมูลฯ ทั้งนี้จากการดำเนินงานดังกล่าวจึงได้ข้อสรุปและกำหนดหลักเกณฑ์การบันทึกข้อมูลฯ เพื่อแจ้งหน่วยบริการ โดยข้อมูลที่ไม่สามารถนำมาบันทึกในระบบข้อมูลผู้ป่วยนอก มีดังนี้
  1. ข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการเอง เช่น ให้ อสม. ออกสำรวจ เป็นต้น
  2. ข้อมูลการรับบริการใน 1 ครั้ง นำมาแยกบันทึกเป็นหลายๆวันและหลายครั้ง
  3. ข้อมูลที่ไม่ได้เกิดการให้บริการจริง นำมาบันทึกและใส่รหัสการวินิจฉัยโรค
  4. การบันทึกข้อมูลรหัสหัตถการ ที่ไม่ได้มีการทำหัตถการกับผู้มารับบริการจริง หรือใช้รหัสที่ไม่มีความหมาย เช่น รหัสที่มีความหมายว่า อื่นๆ (Other) เป็นต้น
  5. การบันทึกข้อมูลการให้ยา โดยไม่ได้มีการจ่ายยาให้กับผู้มารับบริการจริง

ทั้งนี้หากมีการบันทึกข้อมูลดังกล่าวเข้ามาและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตรวจสอบพบ จะดำเนินการระงับการจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยตามอัตราการใช้บริการไว้ก่อน เพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไป ทั้งนี้จะมีการตรวจสอบข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554เป็นต้นไป
นพ.การุณย์ คุณติรานนท์
ผู้อำนวยการสำนักบริหารการจัดสรรกองทุน


วันนี้ขอเขียนเรื่อง OP/PP Performance หน่อยครับ เพราเห็นช่วงนี้มีคำถามกันเข้ามาเยอะ และถือโอกาสเขียนไปถึงมี 55 ไปด้วยเลยเพราะยังคงมีงบส่วนนี้อยู่ แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้นผมขอปูพื้นกันเล็กน้อย เพราะหลายท่านยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องหรือสับสนเกี่ยวกับเรื่องนี้กันอยู่บ้าง

ก่อนอื่นต้องเริ่มจากงบเหมาจ่ายรายหัวในส่วนของงบผู้ป่วยนอก (OP) และงบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค(PP)กันก่อน งบส่วนนี้ปัจจุบัน(ซึ่งไม่ต่างจากตอนเริ่มระบบ UCใหม่ๆ) งบส่วนนี้จะจัดสรรให้หน่วยบริการตามจำนวนประชากรที่ขึ้นทะเบียน(Register) บัตรประกันสุขภาพ ที่เรียกว่าจัดสรรแบบ Capitation ซึ่งหน่วยบริการประจำหรือ CUP จะต้องบริหารงบส่วนนี้ให้เพียงพอกับการดูแลประชากรที่ขึ้นทะเบียนกับตน 

และต่อมาสักประมาณ 4-5ปี ที่แล้วก็มีแนวคิดที่จะใช้ข้อมูลบริการมามีส่วนในการจัดสรรงบประมาณ จึงเกิดโครงการ OP/PP Individual Data ขึ้น ซึ่งก็ใช้งบประมาณจาก OP มาบางส่วน (ปัจจุบันไม่ถึง 3%) แรกเริ่มเดิมที่เดียวก็เน้นไปที่การพัฒนาระบบข้อมูลเป็นหลัก จนมีการเรียกติดปากว่า "ค่าข้อมูล" (ผมรวบรัดเลย)ในช่วงปีที่ผ่านมาถือได้ว่าการพัฒนาระบบดังกล่าวถึงจุดที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง และการจัดสรรงบส่วนนี้ก็ใช้อัตราการรับบริการเป็นเกณฑ์ในการจัดสรรมากขึ้น ดูได้จากอะไร

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันการจัดสรร OP/PP Individual Data ในส่วนของ สปสช. ไม่ได้จ่ายเป็นแฟ้มหริอ Recordsเหมือนในสมัยแรกๆ แต่เป็นการนับ VISITจากแฟ้มที่ประกอบกันขึ้นเป็นข้อมูลบริการ ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าเป็นการจัดสรรตาม "อัตราการรับบริการ" การมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาระบบจึงน้อยลง  อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางจุดที่ยังจำเป็นต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น จึงเกิดแนวคิดเรื่อง OP/PP Performance ขึ้น โดยเป็นการชี้จุดที่หน่วยบริการหรือผู้บันทึกหรือผู้ส่งจำเป็นต้องระมัดระวังให้มากขึ้น และหากทำได้ตามเงื่อนไขก็จะมีรางวัลให้ (Reward) ทั้งนี้เทียบไม่ได้กับงบที่จัดสรรตาม "อัตราการรับบริการ" เพราะเป็นการหักงบประมาณจากส่วนนั้นมาแค่ 2 บาทต่อประชากร (จาก 23 บาท)

ก่อนที่จะเขียนเรื่อง OP/PP Performance ตอนที่ 2 ขอแทรกเรื่องรหัส Z ในข้อมูล OP กันก่อนนะครับ เพราะช่วงนี้มีโทรศัพท์เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับรหัส Z เข้ามาบ่อย เพราะมีการกระจายข่าวไปว่า สปสช. จะตัดรหัส Z แต่เท่าที่ฟังดูรู้สึกว่าหลายท่านอาจยังเข้าใจไม่ถูกต้อง ผมเลยขออธิบายให้เข้าใจดังนี้ครับ
  1. ต้องแยกระหว่างการตรวจสอบข้อมูลและการจัดสรรงบประมาณ
  2. ในการตรวจสอบเรื่องรหัสโรคยังคงใช้เงื่อนไขเดิม คือ ตรวจสอบว่ามีรหัสนั้นอยู่ใน Lookup Table ของ ICD 10 (WHO) , ICD 10 TM และ ICD 10 แพทย์แผนไทย ง่ายๆ คือ ยังสามารถบันทึกทุกรหัสที่มีอยู่ได้ตามปกติ ไม่ได้ "ตัด" หรือ "Error" อย่างที่หลายท่านเข้าใจ
  3. ในการจัดสรรหรือคิดคะแนนตาม "ข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก (OP)" ซึ่งชื่อก็บอกชัดอยู่แล้วว่า "ผู้ป่วยนอก"ดังนั้นในการคิดคะแนนจึงจำเป็นต้องดูจากรหัสการวินิจฉัยที่เป็น "ผู้ป่วยนอก" เท่านั้น จึงต้องมีการตัดรหัสการวินิจฉัยที่ไม่ใช่บริการผู้ป่วยนอกออก เหตุที่ยกรหัส "Z"ขึ้นมา เนื่องจากในกลุ่มนี้มีรหัส "หลายตัว"(แต่ไม่ใช่ทั้งหมด) ที่ไม่ใช่รหัสการวินิจฉัยที่เป็น "ผู้ป่วยนอก" (นั่นหมายความว่าอาจไม่ใช่รหัส Z เพียงอย่างเดียว)

หลายท่านเที่ยวถามกันว่ารหัสใดบ้าง ก็ไม่ต้องไปคิดให้เวียนศีรษะเท่าไหร่ครับ เอาเป็นว่าสรุปง่ายๆ ก็คือ หากบันทึกรหัสการวินิจฉัยที่มีอยู่ใน ICDฯ ข้อมูลผ่านแน่นอน ที่สำคัญขอให้บันทึกตามข้อเท็จจริงของการบริการที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งอาจต้องศึกษาเพิ่มเติมหรือทบทวนเกี่ยวกับการให้รหัสการวินิจฉัยอยู่เสมอครับ ส่วนเรื่องการบริการ "ผู้ป่วยนอก" จะมีจำนวนเท่าไหร่ ระบบจะเป็นคนคิดให้เองครับ ท้ายนี้อย่าลืม Download แนวทางการตรวจสอบข้อมูลปี 55 ตามประกาศในหน้าเว็บไปอ่านกันนะครับ

เรื่องของหัตถการ
ต่อจากรหัสการวินิจฉัยที่ไม่ใช่ "บริการผู้ป่วยนอก"วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องรหัสหัตถการบ้าง ในปีงบประมาณ 2555 เรื่องหัตถการมีการเปลี่ยนแปลงพอสมควร ผมสรุปให้ดังนี้ครับ
  1. เรื่องแรก ในปีงบฯหน้าจอมีการตรวจเรื่องของรหัสที่สามารถให้ได้และให้ไม่ได้ โดยส่วนมากจะเป็นรหัสกลุ่มของ ICD 9 CM และเป็นรหัสที่มี 2-3 หลัก ส่วน ICD 10 TM ก็น่าจะเป็นพวกรหัสที่เป็นกลุ่ม หากดูใน Lookup table ของตารางหัตถการ ก็คือค่าในฟิลด์ Valid จะเท่ากับ F (False) สาเหตุที่มีการตรวจเรื่องนี้เพิ่มเนื้องจากรหัสที่เป็นกลุ่มจะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้ เรื่องนี้คงต้องฝากผู้รับผิดชอบในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้เรื่องการให้รหัสแนะนำหรือสอนคนในพื้นที่ต่อไปครับ
  2. เรื่องที่สอง ในการคิดคะแนน (point) มีการเปลี่ยนจากบวกเพิ่มให้ 0.5 point จาก point ของ OP มาเป็นคิดตามรายการที่บันทึกเข้ามารายการละ 0.05 point แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะคิดให้เฉพาะหัตถการที่เป็นหัตถการจริงๆ เท่านั้น คราวนี้ก็เกิดคำถามอีกว่าแล้วอันไหนที่ไม่ใช่หัตถการ ก็ขอบอกว่าไม่ต้องไปกังวลอีกเช่นกัน ขอให้บันทึกมาตามปกติและบันทึกตามข้อเท็จจริงก็เท่านั้นครับ
  3. และเรื่องสุดท้าย วันนี้ที่ สปสช. มีการประชุมหารือเรื่องการชะลอการจัดสรรงบประมาณ หากข้อมูลมีความผิดปกติ หนึ่งในนั้นก็มีเรื่อง Add on หัตถการด้วย ซึ่งโดยหลักการหากมีข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ปกติ การชะลอการจัดสรรจะเกิดขึ้นทั้งหมด ดังนั้นถึงแม้ว่า Addon หัตถการจะจ่ายเป็นรายการ แต่หากตรวจสอบพบความผิดปกติ ก็จะโดนชะลอทั้งหมดครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น