การกำหนดข้อมูลพื้นฐานในโปรแกรม Refer Link มีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกัน และควรกำหนดไว้ให้เรียบร้อยก่อนเริ่มใช้งาน โดยข้อมูลพื้นฐานมีส่วนที่สำคัญดังนี้ครับ
- ข้อมูลพื้นฐานของโรงพยาบาล สามารถนำมาจาก HOSxP ซึ่งข้อมูลชุดนี้อาจจะไม่เหมือนกันในแต่ละโรงพยาบาล
- ข้อมูลพื้นฐานที่น่าจะกำหนดให้เป็นแนวทางเดียวกัน
ซึงผมคิดว่าข้อมูลพื้นฐานข้อที่ 2 คงต้องให้ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบส่งต่อช่วยกันคิดพิจารณาว่าควรจะกำหนดให้เป็นในแนวทางเดียวกันหรือไม่ อย่างไร
1. จุดบริการ : ข้อมูลชุดนี้กำหนดให้ตรงกับตาราง ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลอาจกำหนดแตกต่างกัน
2. ข้อมูลแผนก : ข้อมูลชุดนี้กำหนดให้ตรงกับตาราง ซึ่งข้อมูลชุดนี้เป็นตารางที่มีค่ามาตรฐานตามเกณฑ์ของ สปสช./สนย.
3. ห้องตรวจ : ข้อมูลชุดนี้กำหนดให้ตรงกับตาราง ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลอาจกำหนดแตกต่างกัน
4. หอผู้ป่วย : ข้อมูลชุดนี้กำหนดให้ตรงกับตาราง ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลอาจกำหนดแตกต่างกัน
5. กลุ่มสิทธิ ข้อมูลชุดนี้กำหนดให้ตรงกับตาราง ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลอาจกำหนดแตกต่างกัน สิ่งที่ควรพิจารณา คือควรกำหนดสิทธิตามมาตรฐานเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันหรือไม่**
6. ประเภทผู้ป่วย : ข้อมูลชุดนี้กำหนดให้ตรงกับตาราง ข้อมูลชุดนี้ไม่แน่ใจว่าควรกำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกันหรือไม่
7. ระดับความรุนแรง : ข้อมูลชุดนี้กำหนดให้ตรงกับตาราง ข้อมูลชุดนี้ไม่แน่ใจว่าควรกำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกันหรือไม่เพราะบางแห่งกำหนด 5 บางแห่งกำหนด 3 ข้อ
8. ข้อมูลแพทย์ : ข้อมูลชุดนี้กำหนดให้ตรงกับตาราง ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลอาจกำหนดแตกต่างกัน
9. สาเหตุการส่งต่อ : ข้อมูลชุดนี้กำหนดให้ตรงกับตาราง ควรกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
10.เหตุผลการส่งต่อ: ข้อมูลชุดนี้กำหนดให้ตรงกับตาราง ควรกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
11. การนำส่ง: ข้อมูลชุดนี้กำหนดให้ตรงกับตาราง ควรกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
12.ระยะเวลาการประสานงาน: ข้อมูลชุดนี้กำหนดให้ตรงกับตาราง ควรกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
13.กลุ่มแนวทางการส่งต่อ: ข้อมูลชุดนี้กำหนดให้ตรงกับตาราง ควรกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
14.แนวทางการส่งต่อ: ข้อมูลชุดนี้กำหนดเชื่อมโยงกับข้อมูลแนวทางการส่งต่อ โดยแสดงรายละเอียดของบอกแนวทางปฏิบัติซึ่งควรกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
โดยวันนี้ผมทดสอบการส่งข้อมูลเข้าระบบ Refer Link ของ รพ.เลย ซึ่งจากการทดสอบการใช้งานทั่วไปหากกำหนดข้อมูลพื้นฐานไว้เรียบร้อยแล้วสามารถดึงข้อมูลจาก HOSxP มาได้อย่างถูกต้อง และมีข้อสงสัยพบในการทดสอบวันนี้มีดังนี้ครับ
- หลังจากส่งต่อไปเรียบร้อยแล้ว และทาง รพ.เลยรับข้อมูลสถานะการส่งต่อเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายถูก แต่ผมเรียกข้อมูลผู้ป่วยมาแก้ไขและส่งซ้ำ ปรากฏว่าสถานะการรับข้อมูลของ รพ.เลยกลับเป็นสถานะยังไม่รับ แต่โทรสอบถามกับเอ๋น้อย ข้อมูลรับเรียบร้อยแล้ว
- ในการใช้บันทึกส่งต่อจริงๆ กรณีส่งต่อ รพ.อื่นนอกเครือข่าย จำเป็นต้องมาบันทึกส่งต่อในโปรแกรมนี้หรือไม่ อย่างเช่น วันที่ 26 มกราคม 2555 รพร.ด่านซ้ายมีข้อมูลส่งต่อ รพ.ศรีนครินทร์ และ รพ.นครไทยด้วย
- การลงบันทึกข้อมูลบางส่วนต้องลงรายละเอียดในทางการแพทย์ เช่น การเลือกแผนก/ห้องตรวจปลายทาง ซึ่งหากไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์หรือไม่ได้ประสานงานไว้ควรกำหนดอย่างไร รวมถึงประเภทผู้ป่วย ระดับความรุนแรง ซึ่ง รพร.ด่านซ้ายกำหนด 3 ระดับ แต่ในการแสดงผลมีการกำหนดไว้ 5 ระดับ
จุดเด่น
- ในส่วนข้อมูลที่มีการลงบันทึกใน HOSxP ไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อดึงข้อมูลเข้าโปรแกรม Refer Link สามารถจะนำข้อมูลประวัติการตรวจร่างกาย การรักษา และ Dx มาแสดงผลได้อย่างถูกต้อง แต่พบกว่า Dx ของผู้ป่วยบางคนไม่แสดงข้อมูล
- ข้อมูล Lab มีการแสดงข้อมูลปัจจุบัน และข้อมูลเก่าสามารถเลือกได้ทั้งหมดหรือเลือกผลแล็ปบาง Visit โดยค่ามาตรฐานของโปรแกรมจะเลือกไว้ให้ทั้งหมดตั้งแต่ครั้งแรก (ไม่รู้ว่าดีหรือเปล่า)
- ข้อมูลการจ่ายยา เช่นเดียวกันกับข้อมูล Lab ครับ
บทสรุปสำหรับคณะกรรมการพัฒนาระบบส่งต่อ
- สำหรับการ ทดสอบ Refer Link ในวันนี้คงเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบการส่งต่อได้ช่วยกันทบทวนข้อมูลพื้นฐานว่าควรจะกำหนดอย่างไร เพื่อใช้เป็นชุดข้อมูลมาตรฐานกลางของจังหวัดเลย (หัวข้อที่เป็นสีแดง)
- การลงบันทึกข้อมูลพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับวิชาชีพอยู่พอสมควร หากจะให้เจ้าหน้าที่อื่นทำหน้าที่ในการลงข้อมูลส่งต่อให้แทนแพทย์หรือพยาบาล
- การลงบันทึกข้อมูลใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที สำหรับมือใหม่ ปัญหาที่พบสำหรับคือ ไม่รู้ว่าจะลงอะไร ผู้ป่วยเป็นประเภทไหน จะส่งต่อไปแผนกไหน ฯลฯ
- การใช้งานค่อนข้างง่าย มีพบข้อมูล error แจ้งว่าไม่สามารถส่งข้อมูลเข้า Datacenter ได้ แต่หลังจากทดสอบส่งซ้ำสามารถส่งได้
- ทดสอบส่ง ข้อมูลไป รพ.เลย 5 ราย สามารถส่ง และ รพ.เลย สามารถรับได้ครบถ้วนทั้ง 5 ราย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น