บันทึกการประชุมติดตามระบบ Refer Link ทีมจังหวัดเลย
ผู้เข้าร่วมประชุม
- ทีม รพ.เลย
- ทีม รพร.ด่านซ้าย
- ทีม รพ.วังสะพุง
- ทีม รพ.เชียงคาน
- ทีม รพ.นาด้วง
- ทีม รพ.ปากชม
- ทีม รพ.เอราวัณ
- ทีม รพ.นาแห้ว
- ทีม รพ.ภูเรือ
- ทีม รพ.สต เฉลิมพระเกียรติฯหนองหิน
- ทีม พัฒนาโปรแกรม refer link จังหวัดลำปาง
วันนี้ทีมพัฒนาระบบ Refer Link มีนัดประชุมผ่านโปรแกรม Team Talk ร่วมกันครับ เป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการเพื่อติดตามการลงบันทึกข้อมูล และปัญหาอุปสรรค์ต่างๆ แนวทางการแก้ไขของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง และวันนี้มีคุณนะโมและทีมงานมาร่วมประชุมด้วยครับ ทำให้บรรยากาศการประชุมค่อนข้างคึกคักทีเดียว เอ๋น้อย Admin โรงพยาบาลเลยเข้ามาเตรียมระบบตั้งแต่บ่ายโมงครึ่ง ส่วนผมชิวชิวครับเข้ามาทดสอบความพร้อมของห้องประชุมตั้งแต่บ่ายโมงกว่าๆ
เนื่องจากเป็นการประชุม Online ที่ไม่ต้องมีหนังสือเชิญ ไม่มีการบังคับหรือกะเกณฑ์ใด ทุกอย่างเราทำให้ง่ายๆตามความพร้อมของแต่ละแห่ง ใครว่างก็มา ใครไม่ว่างก็ไม่เป็นไร ใครอยากจะเข้าหรืออยากจะออกจากห้องก็ตามสบายพวกเราพยายามทำให้เรียบง่ายที่สุดครับ เพราะงานนี้ไม่มีใครสั่งใคร เป็นเรื่องของการอยากพัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พี่สอนน้อง น้องช่วยพี่ เพื่อนช่วยเพื่อนเป็นบรรยากาศการประชุมที่ผมคิดว่าดำเนินไปได้ค่อนข้างดีครับ
ในช่วงแรกแต่ละโรงพยาบาล ส่วนใหญ่จะมีทีม Admin คอยติดตั้งระบบให้เรียบร้อย ซึ่งยังไม่มีเจ้าหน้าที่ที่คนอื่นๆ มาร่วมด้วย ผมจึงได้กระตุ้นขอให้เชิญพยาบาลหรือผู้รับผิดชอบงานมาเข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งในส่วนของโรงพยาบาลเลยไม่ห่วงครับ เจ้าของงานลงมาลุยเต็มที่ทุกครั้ง ส่วนโรงพยาบาลผม วันนี้เชิญพี่ปุ๊หัวหน้างาน ER ซึ่งโทรนัดหมายไว้ล่วงหน้าแล้ว มาประชุมด้วยตัวเอง หลังจากนั้นไม่นานแต่ละโรงพยาบาลเริ่มมีพยาบาลเข้าร่วมประชุมมากขึ้นครับ แต่ละแห่งมีคน 2-3 คน ก็มีครับ หลายท่านยังไม่คุ้นชินกับวิธีการประชุมแบบนี้ เวลาพูดแต่ละครั้งก็กลัวว่าที่อื่นจะไม่ได้ยินต้องถามย้ำกันหลายหนว่าได้ยินหรือเปล่า แต่วันนี้ต้องชม รพ.เลยครับ ที่เตรียมระบบได้ดี ทั้ง team talk และ join.me ชัดเจนทั้งภาพและเสียง
เนื่องจากเป็นการประชุม Online ที่ไม่ต้องมีหนังสือเชิญ ไม่มีการบังคับหรือกะเกณฑ์ใด ทุกอย่างเราทำให้ง่ายๆตามความพร้อมของแต่ละแห่ง ใครว่างก็มา ใครไม่ว่างก็ไม่เป็นไร ใครอยากจะเข้าหรืออยากจะออกจากห้องก็ตามสบายพวกเราพยายามทำให้เรียบง่ายที่สุดครับ เพราะงานนี้ไม่มีใครสั่งใคร เป็นเรื่องของการอยากพัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พี่สอนน้อง น้องช่วยพี่ เพื่อนช่วยเพื่อนเป็นบรรยากาศการประชุมที่ผมคิดว่าดำเนินไปได้ค่อนข้างดีครับ
ในช่วงแรกแต่ละโรงพยาบาล ส่วนใหญ่จะมีทีม Admin คอยติดตั้งระบบให้เรียบร้อย ซึ่งยังไม่มีเจ้าหน้าที่ที่คนอื่นๆ มาร่วมด้วย ผมจึงได้กระตุ้นขอให้เชิญพยาบาลหรือผู้รับผิดชอบงานมาเข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งในส่วนของโรงพยาบาลเลยไม่ห่วงครับ เจ้าของงานลงมาลุยเต็มที่ทุกครั้ง ส่วนโรงพยาบาลผม วันนี้เชิญพี่ปุ๊หัวหน้างาน ER ซึ่งโทรนัดหมายไว้ล่วงหน้าแล้ว มาประชุมด้วยตัวเอง หลังจากนั้นไม่นานแต่ละโรงพยาบาลเริ่มมีพยาบาลเข้าร่วมประชุมมากขึ้นครับ แต่ละแห่งมีคน 2-3 คน ก็มีครับ หลายท่านยังไม่คุ้นชินกับวิธีการประชุมแบบนี้ เวลาพูดแต่ละครั้งก็กลัวว่าที่อื่นจะไม่ได้ยินต้องถามย้ำกันหลายหนว่าได้ยินหรือเปล่า แต่วันนี้ต้องชม รพ.เลยครับ ที่เตรียมระบบได้ดี ทั้ง team talk และ join.me ชัดเจนทั้งภาพและเสียง
เพื่อให้การประชุมดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง ผมเลยขออนุญาต ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการประชุมซึ่งวันนี้เรามีแขกรับเชิญ คือ คุณนะโม จากทีมโรงพยาบาลลำปางเข้าร่วมประชุมด้วย แม้ว่าวันนี้จะติดภาระกิจออกไปติดตามงานนอกพื้นที่ แต่ก็ถือโอกาสเข้าร่วมด้วย วันนี้เลยได้เห็นตัวจริงเสียงจริงของทีมพัฒนาระบบ Refer Link เวอร์ชั่นลำปางหลังจากที่ติดต่อกันผ่านโทรศัพท์กันมาหลายครั้ง
ในช่วงแรก ทีมโรงพยาบาลเลยได้นำเสนอผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนมกราคม ที่เรามีการทดลองระบบเป็นขั้นตอนตามนี้
ช่วงที่ 1 รพ.เลย เป็นช่วงแรกที่ได้เริ่มทดสอบระบบ กับ รพร.ด่านซ้าย, รพ.วังสะพุง, รพ.สต.หนองหิน ในช่ช่วง ปลายเดือนมกราคม 2555 – 28 กุมภาพันธ์ 2555 ผลการทดสอบถือว่าใช้งานได้ในระดับที่ ดี ทีเดียว และผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ
ช่วงที่ 2 หลังจากมีการประชุมติดตามความก้าวหน้า ของ ผู้ดูแลระบบของแต่ละโรงพยาบาลรอบที่ 3 เสร็จแล้วนั้น ก็ได้เริ่มการขยาย การติดตั้งไปยัง รพ.ภูเรือ, รพ.เอราวัณ, รพ.นาแห้ว, รพ.จิตรเวช, รพ.เชียงคาน, รพ.ภูหลวง (เริ่มทดสอบใช้งานตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 )
ช่วงที่ 3 หลังจากมีการประชุม อย่างเป็นทางการโดยมีหนังสือเชิญ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 นั้น ได้มี รพ.ภูกระดึง, รพ.ปากชม, รพ.นาด้วง, รพ.ท่าลี่ ทำการติดตั้งเพิ่มเติม และถือว่าเป็นการส่งข้อมูลจริงเข้ามา
ยกเว้นโรงพยาบาลผาขาวที่ติดตั้งแล้ว แต่ยังไม่ได้ทดสอบบันทึกข้อมูลและส่งข้อมูล
View more PowerPoint from HOSxPMAN
การดำเนินงานของโรงพยาบาล
เนื่องจากระบบ Refer Link ของทีมจังหวัดเลยยังอยู่ในช่วงของการศึกษาและพัฒนาหารูปแบบที่เหมาะสม ในระหว่างนี้แต่ละแห่งจึงมีการคิดและหาวิธีที่เหมาะสมกับหน่วยงานของตัวเอง ซึ่งผู้รับผิดชอบแต่ละแห่งได้นำเสนอผลการดำเนินงานของตัวเองดังนี้ครับ
รพร.ด่านซ้าย
- ในส่วนของ รพร.ด่านซ้ายมีการติดตั้งโปรแกรมที่ ER และ OPD ในส่วนของ IPD และ LR ยังไม่ได้ติดตั้งเนื่องจากอยู่ในระหว่างการจัดเตรียม Hardware ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ส่วนการบันทึกข้อมูล refer link กรณีที่เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินจะคีย์ข้อมูลภายในเวลาไม่เกิน 20 นาทีหลังจากที่ผู้ป่วยถูกส่งต่อไปที่ รพ.เลย กรณีที่เป็นผู้ป่วย OPD และ IPD ในช่วงเวลาทำการวันจันทร์-วันศุกร์ ให้ศูนย์ประกันทำหน้าที่บันทึกข้อมูลโดยดึงข้อมูลจาก HOSxP เข้าโปรแกรม Refer Link โดยพยายามบันทึกให้เสร็จภายในวัน นอกเวลาทำการ วันหยุดเสาร์และอาทิตย์เป็นหน้าที่ของทีม ER และยังใช้ใบส่งต่อ(บส.08) ตามปกติ เนื่องจากยังไม่ได้อบรมการใช้งานให้กับองค์กรแพทย์ ดังนั้นคนที่บันทึกข้อมูลยังเป็นพยาบาล และเจ้าหน้าที่ศูนย์ประกันสุขภาพ
- โรงพยาบาลวังสะพุงมีการบันทึกข้อมูลทุกราย โดยแบ่งออกเป็นกรณีฉุกเฉินจะบันทึกข้อมูลตามทันทีส่วนกรณีไม่ฉุกเฉินจะบันทึกข้อมูลให้เสร็จภายในเวร 8 ชั่วโมง โดยติดตั้งที่ ER OPD ส่วนการใช้งานยังใช้ใบส่งต่อ บส.08 และพยาบาลเป็นผู้บันทึกข้อมูล ปัญหาที่พบและต้องการให้แก้ไข คือ ข้อมูล x-ray ที่ต้องการให้ส่งในรายงานด้วย การส่งข้อมูลของ รพ.วังสะพุงทำได้ดีทีเดียวครับ ดูจากปริมาณข้อมูลที่ส่งในแต่ละเดือน
- โรงพยาบาลเชียงคาน ใช้ใบส่งตัวจากโปรแกรม Refer Link โดยติดตั้งโปรแกรมไว้ที่ ER LR, IPD ยังติดปัญหาในส่วนของบันทึกข้อมูลของ OPD ครับ ดังนั้นในช่วงนี้จึงคีย์ข้อมูลเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินก่อน แต่ที่น่าสนใจ คือ รพ.เชียงคาน มีแพทย์มาร่วมคีย์ข้อมูลด้วย
- โรงพยาบาลนาด้วง ติดตั้งไว้ที่ ER และ IPD โดยมีพยาบาลทำหน้าที่บันทึกข้อมูล ปัญหาที่พบคือ เรื่องข้อมูล Diagnosis และ การแพ้ยา ไม่ดึงมาจากโปรแกรม HOSxp ในเคสกรณี Emergency ถือว่าทำได้ดีเลยทีเดียวครับ
- โรงพยาบาลปากชม ติดตั้งที่ ER OPD IPD โดยมีพยาบาล ทำหน้าที่บันทึกข้อมูล ในเรื่องการส่งผู้ป่วย Emergency พร้อมรถพยาบาล จะบันทึกข้อมูลภายใน 10-15 นาที หลังจากที่รถพยาบาลออก ส่วนผู้ป่วย Urgency, Non-Urgency ที่จะประสงค์เดินทางมาเองนั้น พยาบาลจะบันทึกข้อมูลในช่วงบ่าย
- โรงพยาบาลเอราวัณ ใช้ใบส่งตัวสีชมพู-เหลือง อยู่ ติดตั้งโปรแกรมที่ ER ที่เดียว และจะส่งเฉพาะ ผู้ป่วย Emergency เท่านั้น ในส่วนของผู้ป่วยที่ประสงค์ เดินทางมาเองนั้น ยังไม่บันทึกข้อมูลลง
- โรงพยาบาลนาแห้ว ติดตั้งโปรแกรมที่ ER ที่เดียว ส่วน IPD ยังไม่ได้ติดตั้งโปรแกรม โดยการส่งข้อมูลนั้นจะเป็นพยาบาลทำหน้าที่บันทึกข้อมูล จะทำการบันทึกข้อมูลทันทีหลังจากมีการ Refer
- ได้ติดตั้งไว้ที่ ศูนย์ส่งต่อ (เวลาทำการ 08.30-16.30 ของเวลาราชการ) และห้อง ER ของโรงพยาบาลเลยครับ และมีการติดตั้ง จอ LCD Internet TV เป็น Monitor ผู้ป่วย ไว้ด้วย
ในส่วนเวลานอกราชการ นั้นยังมีปัญหาในการกดรับผู้ป่วยอยู่ (บางครั้ง Admin Remote มาคลิกกดรับให้) ซึ่งปัญหานี้จะเป็นทุกที่ แนวทางแก้ไขเรื่อง เวลานอกราชการนั้น ทางนพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ รองผู้อํานวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลเลย จะจัดตั้งศูนย์ส่งต่อ เพื่อจัดการเรื่องส่งต่อโดยเฉพาะ แต่ว่าจะตั้งเมื่อไหร่นั้น คงต้องติดตามกันอีกทีครับ
ในส่วนของโรงพยาบาลลำปาง นั้น ได้ยกเลิกใบส่งตัว 3 สีแล้ว และใช้ใบส่งตัวจากโปรแกรม Refer Link ทั้งจังหวัด โดยมีการสั่งการจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง รูปแบบการใช้งานนั้น ได้มีการแนบรูป X-Ray และ EKG ด้วย ในด้าน รพ.สต. ของจังหวัดลำปาง มีการใช้งานถึง 60 เปอร์เซนต์ และได้มีการติดตาม ตรวจเยี่ยม ตาม รพ.ชุมชน และ รพ.สต. ด้วย
ปัญหา และข้อเสนอแนะ
- ปัญหาการส่ง Refer กรณีผู้ป่วยต่างด้าว ที่ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ซึ่งในการประชุมครั้งที่แล้ว ทาง รพ.นาแห้ว ได้เสนอวิธีการแก้ไขโดยการปรับข้อมูลในต่างของ HOSxP
- ข้อมูลระดับความรุนแรง ซึ่งทีมได้เสนอว่าควรกำหนดให้ชัดเจนว่าจะตั้งไว้กี่ระดับ โดยในที่ประชุมได้ตกลงในเบื้องต้นว่า ควรมี 3 ระดับคือ (บางโรงพยาบาลใช้ 4 ระดับ)
- Emergency
- Urgency
- Non-Urgency
- ข้อมูลในใบส่งตัวที่พิมพ์จากโปรแกรม Refer Link ที่แสดงไม่ครบ เช่น ผล Lab,ยา ซึ่งยังเป็นประเด็นที่ต้องมาช่วยกันคิดต่อครับว่าจะทำอย่างไร เพราะในการของ ผล Lab หรือรายการยา ในบางครั้งทางองค์กรแพทย์ให้เหตุผลว่า ในการเขียนใบส่งต่อ บางครั้งไม่ได้นำผลของรายการยา หรือผล Lab ในวันที่มารับบริการบันทึกลงในส่งต่อเสมอไป บางครั้งเป็นผล Lab หรือรายการยาเก่า ซึ่งหากให้พิมพ์ออกมาในฟอร์มใบส่งต่อทั้งหมดอาจจจะไม่พอ แนวทางที่น่าจะเป็นไปได้คือ การลงบันทึกข้อมูลตามความเห็นของแพทย์ใน HOSxP ให้สมบูรณ์ และดึงข้อมูลมาแสดงในช่อง CC และ Managment ส่วนรายละเอียดของยาและแลปให้ดูจากข้อมูลใน Refer Link แทน
- ปัญหาข้อมูลบางรายการ ดึงข้อมูลจาก HOSxP มาโปรแกรม Refer Link ได้บ้างไม่ได้บ้าง สาเหตุน่าจะมาจากการลงบันทึกข้อมูลใน HOSxP ไม่ครบถ้วน แนวทางแก้ไขได้แนะนำให้พยายามลงข้อมูลการรักษาพยาบาลให้ครบถ้วน และตรวจสอบรายการส่งต่อใน HOSxP ให้เรียบร้อยก่อนดึงข้อมูลเข้าโปรแกรม Refer Link
- บางฟิลด์ที่มีในโปรแกรม HOSxP เช่น แผนก และสาเหตุที่ส่งต่อ ไม่ดึงเข้าโปรแกรม Refer Link ซึ่งทางคุณนะโมได้แจ้งว่า เกิดจากแต่ละที่ตั้งค่าของฐานข้อมูลไม่เหมือนกัน จึงกำหนดให้เลือกข้อมูลเองไม่ได้ดึงมาจาก HOSxP โดยตรง
- ปัญหาการส่งข้อมูลผู้ป่วยต่างด้าว บางโรงพยาบาลยังแก้ปัญหาไม่ได้ ขอให้ทีมช่วยติดตามแก้ไขตามแนวทางของ รพ.นาแห้วที่ได้นำเสนอไว้
- ในการส่งข้อมูลผู้ป่วย ฉุกเฉิน ในบางครั้งส่งข้อมูลมาช้า เช่น รถ Refer ออกเวลา 10.00 น. แต่ส่งข้อมูลมา 15.00 น. ทำให้ข้อมูลที่ส่งมา แทบไม่มีประโยชน์เลย เพราะคนไข้มาถึง รพ.เลย แล้ว
กรณีที่จะให้ขึ้นหน้าจอ Monitor ที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเลย นั้น ในการส่งข้อมูล " ให้เลือกห้องตรวจปลายทางเป็น ER " ส่วนประเภทผู้ป่วย จะเป็น Trauma หรือ Non- Trauma ก็ได้ และนระดับความรุนแรงจะต้องเป็น Resuscitation, Emergency, Urgency เท่านั้น
ข้อเสนอแนะของทีมโรงพยาบาลลำปาง
- ในส่วนของทีมจังหวัดลำปาง มีการกำหนดเป็นนโยบายในระดับจังหวัดให้ทุกโรงพยาบาลใช้โปรแกรม Refer Link
- การออกติดตามโดยทีมจังหวัดหมุนเวียนออกไปยังโรงพยาบาลอำเภอต่างๆ ในจังหวัดลำปาง
สรุปแนวทางการดำเนินงานในเดือนเมษายน
- การติดตามช่วยเหลือการติดตั้งและใช้งาน Refer link ของโรงพยาบาลผาขาว
- การปรับฐานข้อมูลให้ รพ.ทุกแห่งใช้ ระดับความรุนแรง 3 ระดับดังนี้
- Emergency
- Urgency
- Non-Urgency
- การแก้ไขฐานข้อมูล กรณีคนไข้ต่างด้าว สำหรับ รพ.ที่ยังส่งข้อมูลไม่ได้
- แนวทางการลงบันทึกข้อมูลใน HOSxP เพื่อดึงเข้าโปรแกรม Refer link ให้สมบูรณ์ (จัดทำคู่มือ)
- แนวทางการแก้ปัญหา กรณ๊ใบส่งตัวที่ไม่สามารถพิมพ์ข้อมูลออกมาได้สมบูรณ์ เช่น กรณีของ Lab ยา x ray
- การลงบันทึกข้อมูล ควรลงข้อมูลส่งต่อทุกราย ดังนี้
- กรณีฉุกเฉิน บันทึกโปรแกรม Refer Link ภายใน 10-15 นาที
- กรณีไม่ฉุกเฉิน บันทึกโปรแกรม Refer Link ภายในเวร
- การลงข้อมูลส่งกลับจาก รพ.เลย ให้ รพ.ชุมชนลงรับทุกราย
- ทางโรงพยาบาลเลย (ห้อง ER)จะพิมพ์ใบส่งต่อและค้นบัตรผู้ป่วยไว้รอ (กรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่ขึ้นหน้าจอ Monitor และโทรมา Confirm เคส)
- จะนำข้อมูล การใช้งานโปรแกรม ReferLink ไปนำเสนอใน วาระอื่น ของการประชุม EMS ของจังหวัดเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น