วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

1. แฟ้ม PERSON

ความสำคัญของกระดุมเม็ดแรก..
"ถ้าคุณติดกระดุมเม็ดแรกผิด แล้วติดกระดุมต่อไปทีละเม็ดอย่างถูกต้อง เมื่อกลัดกระดุมเสร็จสิ้น ก็ผิดทั้งหมด !!.. "  
วินทร์ เลียววารินทร์

ถ้าเปรียบเทียบเทียบการทำข้อมูลในแฟ้ม PERSON กับ กระดุมเม็ดแรกก็คงไม่ไม่ผิดนัก เพราะนี่คือฐานข้อมูลสำคัญที่จะเป็นข้อมูลตั้งต้นที่ควรทำความเข้าใจ และทำให้ถูกตั้งแต่แรก..  ในโครงสร้างเวอร์ชั่น 5.0 วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ซึ่ง สปสช.ใช้เป็นข้อมูลตรวจสอบที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2555 มีรายละเอียดของแฟ้ม PERSONที่ต้องแก้ไขข้อมูลรหัสที่หลายรายการ และยังต้องทำความเข้าใจเกียว กับการส่งข้อมูลอีกด้วย ...แค่อ่านข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มแรก ผมก็เริ่มจะเซ็งห่านเลย(ฮา)

โครงสร้างแฟ้ม PERSON


ประเภทของแฟ้ม 
  • เป็นแฟ้มสำรวจและสะสม เก็บข้อมูลเป็นรายบุคคลไม่ซ้ำกัน 
    • ไม่ส่งซ้ำ
    • หากมีการให้บริการ ส่งเฉพาะรายใหม่
  • มีเลขประชาชน 13 หลักในฐานข้อมูลประชากรของ สปสช.

การส่งข้อมูล ส่งข้อมูลปีละ 1 ครั้ง (ส่งภายในเดือนกรกฎาคม 2555 ,สสจ.บอกให้ส่งอย่างช้าภายในวันที่ 25 สิงหาคม 2555 สงสัยว่าจะรีบส่งไปแข่งโอลิมปิก.!!)

รหัสที่เกี่ยวข้องกับแฟ้ม PERSON 
  • รหัสคำนำหน้าชื่อ : Table - pname และ provis_pname 
    • รหัส 2 ตารางนี้ถ้า รพ.แห่งไหนยังทำผิดอยู่ก็คงต้องถามว่าไปอยู่ที่ไหนมาครับเพ่..!! ในปี 2556 จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงครับ
  • รหัสเพศ : Table - sex และ provis_sex
    • ปี 2556 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงครับ
  • รหัสสถานสมรส : Table - marrystatus และ provis_mstatus
    • ปี 2556ไม่มีการเปลี่ยนแปลงครับ และที่ไม่ควรจะลืมย้ำเตือนเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเวลาสำรวจข้อมูล คือ  ข้อมูลสถานสมรส เป็นการสำรวจ**ข้อมูลเชิงพฤติกรรม** เด้อพี่น้อง 
  • รหัสอาชีพ  Table - occupation  และ provis_occupa  
    • ทั้ง 2 ตารางนี้มีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากครับ โดยตาราง occupation เป็นรหัสอาชีพเดิมๆที่เราคุ้นเคยกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหา ส่วน provis_occupaเป็นรหัสอาชีพใหม่ ที่กำหนดเป็นรหัส 4 หลัก จึงจำเป็นที่ต้อง map ให้ครบไว้ก่อนส่วนถูกต้อง หรือถูกใจหรือไม่นั้น อีกเรื่องนึง (ก็ตรูไม่รู้รหัสอาชีพภาษาเทพจริงๆ นี่หว่า ) หาอะไร map ไม่เจอก็ 9999 ไม่มีงานทำไปก่อนละกัน (ฮา) ส่วนอาชีพเจ้าปัญหาที่หารหัสไม่เจอกำหนดเพิ่มตามนี้เลยขอรับ

  • รหัสเชื้อชาติ : Table- nationality และ provis_nation 
    • ตาราง nationality แต่ละ รพ.อาจจะกำหนดแตกต่างกันได้ แต่จะต้อง map ข้อมูลก่อนการส่งออกซึ่งโปรแกรม HOSxP จะอ้างอิงกับตาราง provis_nation ดังนั้นต้องโหลดตารางนี้ไปแทนตารางเดิม (หากยังไม่ได้แก้ไข)และทำการ map ในการตั้งค่าข้อมูลพื้นฐานก่อนส่งออกครับ
  • รหัสสัญชาติ : Table- nationality และ provis_race 
    • ผมปรับตาราง provis_race ให้เรียบร้อยแล้ว เชิญโหลด ณ บัดนาว
  • รหัสศาสนา  : Table- religion และ provis_religion 
    • ตารางรหัสศาสนาของ สนย.มีรายละเอียดนิกายแยกย่อยใหม่เพิ่มขึ้นนะครับ แต่โดยศาสนาหลักๆ ยังกำหนดเหมือนเดิม
  • รหัสการศึกษา  : Table- education และ provis_ education
    • สิ่งที่ไม่ควรลืมก็คือ รหัสการศึกษา หมายถึง ระดับการศึกษาที่จบแล้วหรือสำเร็จแล้ว ไม่นับที่กำลังศึกษาอยู่ เช่น นายน้องใหม่ ร้ายบริสุทธิ์ กำลังเรียน ปี 1 มหาวิทยาลัยชีวิต ข้อมูลการศึกษาต้องเป็น มัธยมศึกษาตอนปลาย 
  • รหัสสถานะในครอบครัว  : Table : person_house_position และ provis_fstatus
  • รหัสสถานะสาเหตุการจำหน่าย  : Table person_discharge และ provis_dischar
  • รหัสหมู่เลือด  : Table -blood_group และ provis_bgroup
  • รหัสความเป็นคนต่างด้าว  : Table -person_labor_type และ provis_labor
  • รหัสสถานะบุคคล  : Table - house_regist_type และ provis_typearea
หมายเหตุ 
  • แฟ้ม PERSON เป็นแฟ้มข้อมูลในลักษณะของการสำรวจ และสะสม 
  • เก็บข้อมูลเป็นรายบุคคลไม่ซ้ำกัน ส่งข้อมูลปีละครั้ง 
  • ควรสำรวจและส่งให้เสร็จภายในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 55 
เงื่อนไขการเก็บข้อมูลของบุคคล คือ
  1. ตามทะเบียนราษฎร์ของทุกคนในเขตรับผิดชอบ
  2. บุคคลมาอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ
  3. ผู้มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ 
  • กรณีโรงพยาบาล เขตรับผิดชอบ หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือพื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ 
ความสำคัญของแฟ้มนี้
  1. ใช้กำหนด กลุ่มเป้าหมาย ของงานบริการสาธารณสุข เช่น epi ,fp ,คัดกรอง DM/HT, โภชนาการ และอื่น ๆ ในเขตรับผิดชอบของหน่วยงาน
  2. ใช้กำหนด ประชากร ในเขตรับผิดชอบ ดังนั้น การบันทึกข้อมูลใน field TYPEAREA จึงมีความสำคัญมาก ถ้าบันทึกไม่ถูกต้องกลุ่มเป้าหมายอาจคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงได้ และส่งผลให้ผลงานไม่เป็นไปตามที่กำหนด อาจต่ำหรือสูงจนเกินจริง และอาจทำให้ถูกระงับการจัดสรรเงินได้ เงื่อนไขของ TYPEAREA ที่ต้องบันทึกให้ถูกต้องมีดังนี้
    • 1 = มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบและอยู่จริง
    • 2 = มีชื่ออยู่ตามทะเบีบนบ้านในเขตรับผิดชอบแต่ตัวไม่อยู่จริง
    • 3 = มาอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบแต่ทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ
    • 4 = ที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบและเข้ามารับบริการ 
    • 0 = มาอาศัยในเขตรับผิดชอบแต่ไม่ได้อยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ เช่น คนเร่ร่อน ไม่มีที่พักอาศัย เป็นต้น 
  3.  การบันทึก TYPEAREA ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง อาจทำให้หน่วยงานงานของท่านถูกระงับจ่ายเงินได้ เนื่องจาก กลุ่มเป้าหมาย จะผิดเพี้ยนทั้งหมด ส่งผลให้เมื่อนำมาคำนวณสัดส่วนของงานกับเป้าหมายไม่สะท้อนงานที่แท้จริงของหน่วยงาน อาจสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงได้
ดังนั้น เมื่อต้องการอยากทราบว่าในเขตรับผิดชอบมีประชาชนอยู่อาศัยจริง มีจำนวนเท่าไร จึงนับจำนวนคนที่มี TypeArea = 1 และ 3 มารวมกัน และนำไปคิดเป้าหมายของงานต่าง ๆ เช่น 
  • กลุ่มอายุ 0 - 1 ปี เป็นเป้าหมายงาน EPI ,ANC 
  • กลุ่มอายุ 0 - 5 ปี เป็นเป้าหมายงาน โภชนาการ 
  • กลุ่มอายุ 6 - 14 ปี เป็นเป้าหมายงาน โภชนาการ 
  • กลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นเป้าหมายงาน คัดกรอง DM ,HT
  • กลุ่มอายุ 15 - 49 ปี (หญิง)เป็นเป้าหมายงาน FP 
  • และเป้าหมายอื่น ๆ โดยเฉพาะ การคิด อัตราการใช้บริการ OP ของคนในเขตรับผิดชอบ 
ถ้าระบุ TypeAreaไม่ถูกต้องเป้าหมายก็ผิดเพี้ยน พอนำผลงานการบันทึกข้อมูลมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย ค่าที่ได้ก็จะผิดเพียนตาม ซึ่งถ้าเป็นจำนวนที่มากก็ส่งผลให้ถูกระงับการเงินได้ เช่น กรณี มีการบันทึกกลุ่มเป้าหมายอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขต = 3,000 คน แต่มีการคัดกรอง DM HT เป็นจำนวนถึง 5,000 คน หรือคัดกรองเพียง 500 คน 
  • กรณีแรกถูก pending เนื่องจากผลงานสูงกว่าเป้าหมายมาก คำถามคือ
    • คัดกรองใคร จากที่ไหน เพราะในมาตรฐานของงานกำหนดให้คัดกรองเพาะคนในเขตเท่านั้น 
  • กรณีที่สอง ผลงานต่ำกว่าเป้าหมายมาก คำถามคือ
    • เป้าหมายอาจกำหนดไม่ถูกต้อง person มีปัญหาหรือไม่? 
 ในปี 2556 จะนำ TypeArea 1+3 ในแฟ้ม person มาวิเคราะห์ทุกแฟ้มที่เป็นงานบริการและจะนำมากำหนดเป็นเป้าหมายของทุกหน่วยงาน โดยจะประกาศให้ทราบว่าหน่วยงานบันทึกเป้าหมายของตนเองมาจำนวนเท่าใด จะได้วางแผนการดำเนินงานได้ถูกต้อง ทั้งนี้ มีคำแนะนำสำหรับการส่งแฟ้ม person คือ ควรส่งแฟ้ม person แยกต่างหากจากแฟ้มงานอื่น ๆ และจดบันทึกให้ดีว่าส่งเมื่อใด ในแฟ้มชื่ออะไร เนื่องจากถ้าเกิดมีปัญหาจะได้แก้ไขเฉพาะแฟ้ม person เพียงแฟ้มเดียว ไม่กระทบแฟ้มงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องครับ 

อ้างอิง : อ.ชัยวัฒน์ ดลยวัฒนา

2 ความคิดเห็น:

  1. ไพล์ CDS ที่โหลดไป นำเข้าไม่ได้อ่ะครับ รบกวนอาจารย์เดชา ส่งให้ทาง mail ได้มั๊ยครับ
    sak_knc[at]hotmail.com

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ22 สิงหาคม 2555 เวลา 19:49

      ที่นำเข้าไม่ได้เป็นเพราะ ใช้คนละเวอร์ชั่น หรือ โครงสร้างอาจไม่เหมือนกันหรือเปล่าครับ

      ลบ