วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การคัดกรองเบาหวาน/ความดันกับการแปลผล

ผมได้รับจดหมายน้อยวางไว้บนโต๊ะทำงานโดยมีข้อความจากพี่พยาบาล ขอนัดหมายให้ผมไปช่วยชี้แจงเรื่องการสรุปผลการคัดกรองผู้ป่วย เบาหวาน/ความดันโลหิตสูงใน HOSxP ซึ่งมีข้อมูลบางอย่างที่ทีมยังไม่ค่อยเข้าใจ เอ่อ..ที่จริงต้องบอกว่าไม่เคยมีใครถามคำถามเหล่านี้เหมือนกันครับ 
ข้อดีของคนทำงานอย่างหนึ่งคือ เขาจะมองรายละเอียดที่เกี่ยวกับงานประจำที่เขาทำได้ดีกว่าพวกเราครับ เพราะทำเองกับมือบ่อยๆ ดังนั้นเมื่ออะไรที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือมีเรื่องอะไรที่ยังสงสัยจึงอดไม่ได้ที่จะต้องซักถามให้แน่ใจ ในกรณีของการคัดกรองก็เช่นเดียวกัน คำถามที่ผมถูกตามให้ไปช่วยตอบมาจากหน้าจอคัดกรองตรงนี้ครับ


หัวข้อคำถาม
- ผลประเมินเบาหวานได้มาจากได้ มีเกณฑ์การคิดอย่างไร?
- ผลประเมิน Stoke 
- ผลประเมินอัมพฤกษ์
- ผลประเมินความดัน
- ผลประเมิน Obesity
- DM score ตัวเลขที่ได้มาจากไหน
- DM Risk เลขที่ได้มาอย่างไร?

ฟังคำถามแล้วดูข้อมูลจากหน้าจอก็มึนตี๊บเหมือนกันนะครับ เพราะบางเมนูเราเองก็ไม่ค่อยได้เข้าไปใช้ และไม่ค่อยได้สนใจที่มาที่ไปของมันมากนัก แต่การจะบอกว่า "ไม่ทราบ" คงไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหา เพราะหน้าที่ของผู้ดูแลระบบอย่างเราๆ เรื่องแบบนี้ต้องเอาให้อยู่
ก่อนอื่นเรามาดูเกณฑ์การคัดกรองความเสี่ยงกันก่อนนะครับ หน้าตาอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่เข้าใจว่าเนื้อหารายละเอียดต่างๆ คงน่าจะคล้ายๆกัน ดังนี้ คือ เขาจะมีเกณฑ์การตรวจสอบคะแนนความเสี่ยงเบาหวานตามแบบฟอร์มการคัดกรอง ซึ่งตัวเลขเหล่านี้แหละครับเป็นที่มาของ DM score

ผลประเมินเบาหวาน

เช่น สมมุติว่าผู้เข้ารับการคัดกรองเป็นผู้ชาย(2)  อายุ 50 ปี (2) ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่า 23-27.4(3) มีญาติพี่น้องสายตรงเป็นเบาหวาน (4)  ถ้ารวมคะแนนจะเท่ากับ 2+2+3+4 = 11 คะแนน และการแปลผลคะแนนก็จะมีรายละเอียดดังนี้

ตรงนี้คือการคัดกรองและคิดคะแนนตามแบบฟอร์ม ซึ่งในรายนี้ถ้าว่ากันตามคะแนนจริงซึ่งเท่ากับ 11 การแปรผลคะแนนความเสี่ยงของโรคเบาหวานจะอยู่ในข้อ มากกว่าหรือเท่ากับ 9 ซึ่งความเสี่ยงในระดับนี้จะถือว่าสูงมั๊กๆ..  แต่ถ้าดูจากข้อมูลเพียงแค่นี้ข้อมูลอาจจะขัดแย้งกันระหว่าง DM score กับผลประเมินเบาหวานใน HOSxP ที่อาจจะแปลค่าออกมาเป็น ปกติ ได้  แน่นอนครับถ้าแบบนี้ผู้ปฏิบัติอาจจะออกอาการ ...งงเล็กน้อย ถึงปานกลาง

ดังนี้ก่อนที่จะอธิบายในเรื่องการแปลผลประเมินเบาหวาน ต้องเข้าใจวิธีการคิดประมวลผลของ HOSxP ก่อนนะครับ เพราะในคู่มือ (ถ้าได้อ่าน)จะมีการแปลความหมายได้อย่างนี้ครับ

ผมสรุปให้เข้าใจอีกทีก็ ก็คือ การคัดกรองเบาหวานใน HOSxPจะอิงกับเงื่อนไข คือค่าน้ำตาลในเลือด ตามนี้ครับ
  • กลุ่มปกติ : คัดกรองด้วยว่าจาไม่มีปัจจัยเสี่ยง หรือค่าน้ำตาลในเลือด <100
  • กลุ่มเสี่ยงสูง : ค่าน้ำตาลในเลือด 100-125 
  • กลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่ : ค่าน้ำตาลในเลือด >= 126 ขึ่้นไป

ดังนี้ถ้ามีคนถามว่า DM score ตัวเลขมันสูง แต่การแปล ผลการประเมินเบาหวานมันออกมาปกติ ต้องไปดูเงื่อนไขตามที่ผมบอกครับ 

ผลประเมิน Stoke
การประเมินจุดนี้ใน HOSxP มีระดับการประเมิน 2ระดับคือ กลุ่มปกติ และกลุ่มเสี่ยง โดยเขามีปัจจัยในการประมวลผลคือ การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา ครับ
  • ไม่ดื่มสุรา และไม่สูบบุหรี่ = กลุ่มปกติ
  • เคยดื่มสุรา และเคยสูบบุหรี่ = กลุ่มปกติ
  • ดื่มสุรา และ สูบบุหรี่ = กลุ่มเสี่ยง
  • ดื่มสุรา = กลุ่มเสี่ยง
  • สูบบุหรี่ = กลุ่มเสี่ยง
ผลประเมินอัมพฤกษ์
การประเมินจุดนี้ใน HOSxP มีระดับการประเมิน 4 ระดับคือ ไม่มีโอกาสเสี่ยง,สูง,สูงปานกลาง,สูงมาก
  • ไม่ดื่มสุรา และไม่สูบบุหรี่ = ไม่มีโอกาสเสี่ยง
  • ดื่มสุรา และ สูบบุหรี่ = กลุ่มเสี่ยง
  • ดื่มสุรา และ สูบบุหรี่ = สูง
  • ดื่มสุราอย่างเดียว = ไม่มีโอกาสเสี่ยง
  • สูบบุหรี่อย่างเดียว = สูง
ผลประเมินความดัน
การประเมินผลความดัน ใน HOSxP มีการประเมิน 4 ระดับ คือ กลุ่มปกติ(ไม่พบความเสี่ยง),กลุ่มปกติ(มีปัจจัยเสี่ยง) ,กลุ่มเสี่ยงสูง และสงสัยรายใหม่  มีเงื่อนไขในการแปลผลโดยใช้ค่าของความดันโลหิตเป็นเกณฑ์ในการแปลผล รายละเอียดตามนี้ครับ
  • ความดันโลหิต <120 />80 = กลุ่มปกติ(มีปัจจัยเสี่ยง)
  • ความดันโลหิต 120-139 /80-89 = กลุ่มเสี่ยงสูง
  • ความดันโลหิต 140+ /90+ = สงสัยรายใหม่
การแปลผลในกลุ่มปกติ(ไม่พบความเสี่ยง) ทดสอบดูแล้วยังไม่เจอเหมือนกันครับ แต่เท่าที่ดูจากคู่มือก้จะมีแค่ 3 ระดับเท่านั้น ตรงนี้ยัง งงๆ อยู่

ผลประเมิน Obesity  (อ้วน)
การประเมินผลความดัน ใน HOSxP มีการประเมิน 2 ระดับ คือ กลุ่มปกติ และกลุ่มเสี่ยง มีเงื่อนไขในการแปลผลโดยใช้ค่าของรอบเอวเป็นเกณฑ์ในการแปลผล รายละเอียดตามนี้ครับ
  • ผู้ชายรอบเอว < 90 กลุ่มกลุ่มปกติ
  • ผู้ชายรอบเอว >= 90 กลุ่มเสี่ยง
  • ผู้หญิงรอบเอว < 80 กลุ่มกลุ่มปกติ
  • ผู้หญิงรอบเอว >= 80 กลุ่มเสี่ยง

DM RRisk
การคิดผลคะแนนตัวนี้ เดิมทีผมก็งงๆอยู่ว่ามันหามาจากไหน แต่ทดสอบลองอยู่หลายครั้งจึงค่อยถึงบางอ้อว่ามันมีตารางที่เกี่ยวข้องอยู่คือตาราง person_dm_risk_screen

โดยเงื่อนไขในการคำนวนตัวเลข เป็นจำนวนข้อที่ลงบันทึกในแบบคัดกรอง เช่น ถ้ามีประวัติญาติพี่น้องสายตรงเป็นเบาหวาน เพียงตัวเดียว ก็จะได้ 1 ถ้ามีรอบเอวเกินในชาย >=90 ซม. หรือหญิง >=80 ซม จะได้ค่าคะแนนของ DM Risk เป็น 2

ซึ่งทั้งหมดนี้โปรแกรมจะคำนวนและเลือกผลการประเมินให้อัตโนมัติครับ เว้นแต่เรื่องการดำเนินงานที่ผู้ใช้สามารถเลือกสรุปได้ว่าจะทำอย่างไรต่อกับข้อมูลผู้ป่วยที่รับการคัดกรองในครั้งนี้ โดยมีตัวเลือกให้เลือกอยู่ 3 รายการ คือ
  1. ให้คำแนะนำในการดูแลตนเอง และตรวจคัดกรองซ้ำทุก 1 ปี
  2. ลงทะเบียนกลุ่มเสียงต่อกลุ่มโรค Metabolic และแนะนำเข้าโครงการปรับเปลี่้ยนพฤติกรรม
  3. ส่งต่อเพื่อรักษา
คำถามที่น่าสนใจส่งท้ายครับ
ปุจฉา
สมมุตว่ามีผู้ป่วยเบาหวานรายหนึ่งอายุ 15 ปีขึ้นไป ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยเบาหวานและมาเข้ารับการรักษาแล้วยังเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เจ้าหน้าที่ต้องคัดกรองอยู่หรือไม่? ลองช่วยกันวิสัชนากันได้ครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. อืม ครับ ก่ะหาข้อมูลอยู่เหมือนกัน ^^
    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ