" มีเรื่องเล่าว่า สามีพาภรรยามาคลอดลูก ได้ลูกสุขภาพดีน่ารัก มีความสุขทั้งพ่อและแม่ เรื่องน่าจะจบด้วยดี ถ้าไม่บังเอิญเกิดเรื่องเสียก่อน กล่าวคือวันที่หมอให้กลับบ้าน พยาบาลให้สามีนำเวชระเบียนไปประกอบ การคิดค่าใช้จ่ายที่ฝ่ายการเงิน ระหว่างนั่งรอ สามีอ่านเวชระเบียนพบว่าภรรยาเคยแท้งบุตรก่อนแต่งงานกับตน ชีวิตสามีภรรยาคู่นี้จบลงด้วยการแยกทางกัน.." มิถุนายน 2009 คนไข้หัวเราะ คุณหมอที่รัก นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์
ช่วงนี้โรงพยาบาลหลายแห่ง ถึงรอบที่จะต้องต่ออายุการรับรองคุณภาพ HA กันอีกแล้วนะครับ ในส่วนของงานสารสนเทศมีประเด็นที่ถูกถามกันบ่อยๆ คือ เรื่องของการปกปิดความลับผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยกรณีพิเศษๆ เช่น ผู้ป่วย HIV ผู้ป่วยคดีข่มขืน ,ผู้ป่วยตั้งครรภ์ไม่ถึงประสงค์ ฯลฯ ว่าแต่ละแห่งมีแนวทางในการดำเนินงานเรื่องนี้อย่างไร แต่ก่อนที่ยังเป็นเวชระเบียนแบบเอกสารคำถามนี้ก็คงไม่เกี่ยวกับนักคอมพิวเตอร์เท่าไหร่
แต่ปัจจุบันมองไปทางไหนใครๆ ก็ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลกันทั้งนั้นคำถามที่มักทำให้แอดมินอย่างเราเซ่อ คือ ข้อมูลในคอมพิวเตอร์จะปกปิดอย่างไร ..หา!
เอ่อ .. เอากระดาษปิด เอาพลาสเตอร์แปะ ไว้พอไหวไหม๊น๊า.
ดังนั้นวันนี้ผมจึงมีประเด็นมาชวนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการปกปิดความลับของผู้ป่วยที่ admin ควรทราบกันก่อนเรื่องของเรื่องมันมีที่มาเยี่ยงนี้ขอรับ..
ว่าด้วยเรื่องของกฏหมายก่อน
"การเปิดเผยความลับเป็นความผิดทางกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นโดยเหตุเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ โดยเหตุที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล... ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้รับการศึกษาอบรมในวิชาชีพดังกล่าว ในวรรคแรกเปิดเผยความลับของผู้อื่น อันตนได้ล่วงรู้หรือได้มาในการศึกษาอบรมนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน ในวรรคสองรวมถึงนักศึกษาแพทย์ที่อยู่ในระหว่างการศึกษา "
ความลับในที่นี้หมายถึงอัลไล.._??
คือ..อาการป่วยไข้ของคนไข้ซึ่งแพทย์จะไปบอกผู้อื่นไม่ได้ กรณียกเว้น กรณียกเว้นที่ต้องเปิดเผยข้อมูลซึ่งอาจเป็นความลับของคนไข้ ได้แก่ การรายงานโรคติดต่ออันตราย การรายงานบาดแผลของคนไข้ที่อาจเกิดจากการก่อคดีอาชญากรรม การรายงานการทำร้ายร่างกายในครอบครัว ซึ่งผลการรายงาน ผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้งการให้ข้อมูลตามคำสั่งศาล หากคนไข้ปิดบังข้อมูลบางส่วน หรือไม่ยอมให้แพทย์ตรวจร่างกายโดยละเอียดตามความเหมาะสม หรือไม่ยอมให้ตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการตามความจำเป็น เพราะเกรงความลับของตนเองจะถูกเปิดเผย อาจมีผลต่อการวินิจฉัยและการบำบัดรักษา
ความลับยังแบ่งออก(อย่างไม่เป็นทางการ)เป็น ความลับที่คนไข้ไม่ให้บอกญาติ และความลับที่ญาติไม่ให้บอกคนไข้ บางเรื่องคนไข้ไม่อยากให้บอกญาติเพราะเป็นโรคร้ายแรง แต่พออาการทรุด ญาติก็หาว่าหมอรักษาไม่ดี หรือญาติไม่ให้บอกเพราะกลัวคนไข้จะทรุด จะเสียกำลังใจ ฯลฯ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทสร้างความหนักใจกับแพทย์ ที่ให้การดูแลรักษาตกที่นั่งลำบาก เพราะดันไปขัดกับสิทธิผู้ป่วยที่ ประกาศไว้ป่าวๆว่าคนไข้มีสิทธิที่รับทราบข้อมูลของตนเอง
ดังนั้นเราอาจจะเห็นว่าทำไมโรงพยาบาลแต่ละแห่งจึงพยายามที่จะพัฒนาระบบ โดยไม่ให้คนไข้ต้องถือเวชระเบียนเอง (ทั้งๆที่เป็นข้อมูลของคนไข้) หรืออาจจะใส่ซองหรือมีอะไรปกปิด ฯลฯ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นผลมาจากเรื่องลับ..ที่ไม่ลับของผู้ป่วยนั่นเอง
ดังนั้น "ความลับผู้ป่วยจึงมิใช่ความลับที่รู้กันเพียงสองคนระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย การเปิดเผยข้อมูลให้ทราบถึงกันในหมู่ผู้ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย ที่เป็นไปเพื่อการดูแลรักษาที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยจะไม่ถือว่าเป็นการเปิดเผยความลับของผู้ป่วย เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องเก็บรักษาความลับผู้ป่วย เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 ว่าด้วยการเปิดเผยความลับผู้ป่วย กฎหมายมิได้เอาโทษเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ยังรวมถึงผู้ช่วยและ นักศึกษาด้วย ทุกสถานพยาบาลจึงควรมีการอบรมบุคลากรทุกระดับให้เข้าใจเรื่องหน้าที่ในการเก็บรักษาความลับผู้ป่วยและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะมีโทษทางอาญา" อ่า..นักคอมก็ไม่รอดซิครับงานนี้
สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องรับผิดทางอาญาแล้ว ยังต้องรับผิดต่อองค์กรวิชาชีพของตนเองด้วย แพทย์ต้องรับผิดต่อแพทยสภา พยาบาลต้องรับผิดต่อสภาการพยาบาล ความลับเรื่องผลเลือดเอดส์ เป็นความลับที่ผู้ป่วยสามารถระบุได้ว่าต้องการให้ใครร่วมรับรู้บ้าง แต่อย่างไรก็ตามเพื่อผลของการรักษาผู้ป่วย ความลับดังกล่าวจึงสามารถรู้ได้ในหมู่บุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยว กับการรักษาผู้ป่วยโดยไม่ต้องขออนุญาตเป็นรายคน ฯลฯ
เนื่องจากความลับไม่มีในสามโลก การรักษาความลับ(ที่ไม่ลับ)จึงใช้หลักการสากล คือ
"ให้มีคนรู้น้อยที่สุดเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเท่านั้น"" โดยส่วนมากนิยมแบ่งออกเป็นระดับ ดังนี้ครับ
ดังนั้นเราอาจจะเห็นว่าทำไมโรงพยาบาลแต่ละแห่งจึงพยายามที่จะพัฒนาระบบ โดยไม่ให้คนไข้ต้องถือเวชระเบียนเอง (ทั้งๆที่เป็นข้อมูลของคนไข้) หรืออาจจะใส่ซองหรือมีอะไรปกปิด ฯลฯ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นผลมาจากเรื่องลับ..ที่ไม่ลับของผู้ป่วยนั่นเอง
ดังนั้น "ความลับผู้ป่วยจึงมิใช่ความลับที่รู้กันเพียงสองคนระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย การเปิดเผยข้อมูลให้ทราบถึงกันในหมู่ผู้ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย ที่เป็นไปเพื่อการดูแลรักษาที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยจะไม่ถือว่าเป็นการเปิดเผยความลับของผู้ป่วย เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องเก็บรักษาความลับผู้ป่วย เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 ว่าด้วยการเปิดเผยความลับผู้ป่วย กฎหมายมิได้เอาโทษเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ยังรวมถึงผู้ช่วยและ นักศึกษาด้วย ทุกสถานพยาบาลจึงควรมีการอบรมบุคลากรทุกระดับให้เข้าใจเรื่องหน้าที่ในการเก็บรักษาความลับผู้ป่วยและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะมีโทษทางอาญา" อ่า..นักคอมก็ไม่รอดซิครับงานนี้
สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องรับผิดทางอาญาแล้ว ยังต้องรับผิดต่อองค์กรวิชาชีพของตนเองด้วย แพทย์ต้องรับผิดต่อแพทยสภา พยาบาลต้องรับผิดต่อสภาการพยาบาล ความลับเรื่องผลเลือดเอดส์ เป็นความลับที่ผู้ป่วยสามารถระบุได้ว่าต้องการให้ใครร่วมรับรู้บ้าง แต่อย่างไรก็ตามเพื่อผลของการรักษาผู้ป่วย ความลับดังกล่าวจึงสามารถรู้ได้ในหมู่บุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยว กับการรักษาผู้ป่วยโดยไม่ต้องขออนุญาตเป็นรายคน ฯลฯ
เนื่องจากความลับไม่มีในสามโลก การรักษาความลับ(ที่ไม่ลับ)จึงใช้หลักการสากล คือ
"ให้มีคนรู้น้อยที่สุดเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเท่านั้น"" โดยส่วนมากนิยมแบ่งออกเป็นระดับ ดังนี้ครับ
- ลับฝุดฝุด เช่น ข้อมูลการถูกข่มขืน
แนวทางปกปิด ข้อมูลกรณีแบบนี้ควรใช้บันทึกด้วยลายมือแพทย์และพยาบาลที่เกี่ยวข้อง Visit นั้นที่เอกสาร OPD_card หรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง แล้วเก็บส่วนนี้หน้านี้แยกออกมาเก็บใส่ตู้ใส่กุญแจล๊อคให้เรียบร้อย ส่วนรายละเอียดใน HOSxP อาจะมีคำย่อโค๊ดลับหรือบันทึกแค่ CC PI ว่าให้คำปรึกษา ฯลฯ เพื่อเก็บสถิติ Visit และเพื่อใช้เป็นหลักฐานการมารับบริการที่ รพ.จริง จนท.ทั้ง รพ.คนอื่นๆไม่ควรมีใครสามารถอ่าน OPD card ที่เขียนได้นอกจากพยาบาล+แพทย์เวรที่ทำการรักษาวันนั้นเท่านั้น ใน HOSxP ไม่มีเนื้อหาที่จะเปิดเผย - ลับ เช่น ข้อมูลผลการตรวจทางห้อง LAB อย่างผลตรวจ HIV
แนวทางปกปิด ที่นิยมทำกันเป็นส่วนใหญ่ห้อง Lab ไม่รายงานผลใน HOSxP ว่า Neg หรือ Post แต่จะเลี่ยงใช้คำอื่น เช่น รายงานผลแย้ว.. และแจ้งผลโดยพิมพ์ใส่ซองจดหมายส่งให้เจ้าหน้าที่งานให้คำปรึกษาโดยตรงใช้เลข CN อ้างอิงการสืบค้น แพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องที่รักษาอยากจะทราบผล ให้ไปแสดงตัวตามคำสั่งของ คสช. เอ๊ย ผิดๆ ต้องไปแสดงตัวเพื่อขอทราบผลจากงานให้คำปรึกษาเพื่อป้องกันและจำกัดผู้ทราบผลให้แคบที่สุด - ปกปิด เช่น ข้อมูลที่เกี่ยวกับคดีต่างๆ เช่น ตรวจปัสสาวะสารเสพติด ถูกทำร้ายร่างกายในครอบครัว กระทำรุนแรงในสตรีและเด็ก
แนวทางปกปิด : ที่นิยมทำกัน คือ บันทึกใน OPD CARD เป็นลายมือเป็นหลัก ส่วนใน HOSxP บันทึกทั่วไปแต่ไม่มีรายละเอียดมาก
แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จะต้องยึดหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด โรงพยาบาลจึงถูกถามในระบบคุณภาพว่าจัดระบบในการรักษาความลับและควบคุมกำกับให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจังทุกขั้นตอนอย่างไร เพื่อสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพการรักษาพยาบาล และสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในวงการแพทย์ ..
และเนื่องจากบันทึกเวชระเบียนในปัจจุบันมี 2 รูปแบบ ได้แก่
ดังนั้น..งานนี้ Admin ไม่เกี่ยวไม่ได้แล้ว
ในตอนหน้ามา ดูวิธีปกปิดข้อมูลลับ..ที่ไม่ลับ ใน HOSxP กันครับ
จุ๊ๆ บอกก่อนนะครับว่าวิธีนี้ลับสุดยอด ห้ามบอกใคร..เด็ดขาด
และเนื่องจากบันทึกเวชระเบียนในปัจจุบันมี 2 รูปแบบ ได้แก่
- บันทึกเป็นเอกสาร
- บันทึกเป็นข้อมูลในคอมพิวเตอร์
ดังนั้น..งานนี้ Admin ไม่เกี่ยวไม่ได้แล้ว
ในตอนหน้ามา ดูวิธีปกปิดข้อมูลลับ..ที่ไม่ลับ ใน HOSxP กันครับ
จุ๊ๆ บอกก่อนนะครับว่าวิธีนี้ลับสุดยอด ห้ามบอกใคร..เด็ดขาด
รอชมครับ..
ตอบลบรอติดตามตอนต่อไป อย่างใจจดใจจ่อ ครับพี่โด้
ตอบลบชวนให้อยาก แล้วก็จบ...รอ...ครับ
ตอบลบรอครับ
ตอบลบรอติดตามด้วยคนค่ะ
ตอบลบผมสัญญาครับ ว่าจะบอกต่อเยอะ ๆ 5555
ตอบลบรออย่างใจจดใจจ่อครับ
ตอบลบ