วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

QOF - 43 แฟ้ม - DENTAL ตอนที่ 1

มแทบไม่ได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับ QOF เลย แบบว่า เบลอๆ กับงานที่ถาโถมโหมเข้ามา ทำให้รู้สึกเซ็งห่านๆ เบื่อๆกับงานข้อมูลที่มีความรู้(มากมาย)ท่วมหัว แต่เริ่มจะเอาตัวไม่รอด เพราะไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เริ่มอะไร เริ่มเมื่อไหร่ เริ่มที่ใคร บลาๆๆ..

วันที่ 15 สิงหาคม 2557 ผมได้รับเกียรติเป็นแขกรับเชิญไปพูดเกี่ยวกับการพัฒนาฐานข้อมูลของเครือข่ายทันตสาธารณสุขของ สปสช.เขต 8 ทีจังหวัดหนองคาย ผมก็ยังรู้สึกงึกๆงักๆว่าจะไปพูดอะไรอีกดีหว่า ถามผู้ประสานงานว่าปัญหาของฐานข้อมูลด้านทันตสาธารณสุข คือ อะไรหรือครับ ที่อยากให้ผมไปพูด เช่น การลงบันทึกไม่ถูกต้อง ตั้งฐานข้อมูลไม่ถูก หรือส่งออกแล้ว error  ซึ่งคำตอบที่ได้มันก็ยังเบลอๆ ไม่ชัดว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน ทำให้ผมรู้สึกว่าการไปพูดครั้งนี้อาจจะกลายเป็นการไปช่วยเกา แต่ไม่ถูกที่คัน เผลออาจจะคันหนักกว่าเดิม อิอิ

โดยส่วนตัวแล้วผมมิใช่ผู้เชี่ยวชาญ  ไม่ใช่ผู้รู้ ไม่ใช่คนเขียนโปรแกรม HOSxP  ไม่ได้เป็นผู้ประสานไอทีของเขต ไม่ได้ทำงานอยู่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผมแทบไม่ได้อัพเดตข่าวสารอะไรที่เป็นข้อมูลเชิงบริหารที่เป็นภาพรวมของระบบเลย ผมก็รู้เท่าที่อ่าน ดูๆแล้วออกจะแปลกไปสักหน่อยนะครับที่จะให้ผู้ปฏิบัติงานอยู่โรงพยาบาลชายขอบไปพูดภาพรวมของระดับเขตให้เป็นเรื่องเป็นราว..

เอ้า! แต่กล้าขอมา เราก็กล้าไป(ว่ะ)  ฮิ้วววว

ไหนๆจะต้องไปทั้งทีก็คงต้องมีฟอร์มกันบ้าง เอาเป็นว่าผมคงต้องแบ่งเรื่องเป็นประเด็นๆที่จะปูพื้นฐานทำความเข้าใจกับผู้ใช้งานที่หลากหลาย แล้วจะลองใส่น้ำหวานเพื่อให้มันเชื่อมโยงกัน เผื่อว่าผมจะเห็นภาพว่าควรจะไปพูดอะไรบ้าง โดยผมตั้งใจที่จะแบ่งการพูดออกเป็นหัวข้อๆ ดังนี้ครับ
  1. Standard Data Set 43 แฟ้ม 
  2. QOF : Quality and Outcome Framework และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับงานทันตสาธารณสุข
  3. วิธีการลงบันทึกข้อมูล การส่งข้อมูลจาก HOSxP /HOSxP PCU : ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลงานทันตสาธารณสุข
  4. การตรวจสอบข้อมูล 43 แฟ้ม : OP-PP2010
.....................................................................................................................................................
1. Standard Data Set : 43 แฟ้ม

ผมคิดว่าเราคงคุ้นเคยกับคำว่า 12 แฟ้ม,18 แฟ้ม,21 แฟ้ม กันพอสมควร ซึ่งปีงบประมาณ 2557 มีชุดข้อมูลมาตรฐานที่เริ่มคุ้นหู คุ้นตากันมากขึ้น คือ 43 แฟ้ม จากความหลากหลายของ HIS ที่สถานบริการแต่ละแห่งมีการใช้งานในหน่วยงาน ตัว Standard Data Set จึงเป็นชุดข้อมูลที่จะช่วยทั้งโรงพยาบาล  และ รพ.สต. สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้

ภาพประกอบ 1 By :  Kidkom Salelanont

  1. สรุปแบบสั้นๆตามความเข้าใจของผมเลย คือ ชุดข้อมูลมาตรฐาน 43 แฟ้ม เป็นชุดข้อมูลที่พัฒนามาจากความไม่สมบูรณ์ และความต้องการที่มากขึ้นของผู้เกี่ยวข้องซึ่ง 12 แฟ้ม,18 แฟ้ม  และ21 แฟ้ม ที่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลได้นั่นเอง
                                                                                  ภาพประกอบ 2 By :  Kidkom Salelanont

โครงสร้างของ 43 แฟ้ม ถ้าแบ่งออกตามกลุ่มข้อมูลก็จะมีหน้าตาอย่างที่เราคุ้นเคยกันดีแบบนี้แหละครับ


ภาพประกอบ 2 By :  Kidkom Salelanont

ตอนที่ผมรับรู้โครงสร้าง 43 แฟ้มใหม่ๆ มันยังมึนๆงงๆ เพราะไหนจะต้องส่ง 21 แฟ้มด้วย ตัว 43 แฟ้ม จึงไม่ค่อยได้สนใจ ให้ทำอะไรก็ทำ ให้ส่งอะไรก็ส่ง รู้สึกเบื่อๆ ครับ เพราะต้องส่งทั้งรายสัปดาห์ รายเดือน รายช่วงเวลา ฯลฯ  แต่โดยหลัก ยังคงให้น้ำหนักกับ 21 แฟ้มที่ต้อง ส่ง สปสช. แต่หลังจากนี้ไปคงต้องว่ากันที่ 43 แฟ้มกันเต็ม

โครงสร้างมาตรฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานทันตสาธารณสุข
ตาราง DENTAL





อันที่จริงในการลงบันทึกข้อมูลของงานทันตกรรมยังเกี่ยวข้องกับอีกหลายแฟ้มในชุดข้อมูลมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นแฟ้มข้อมูลบริการ, แฟ้มข้อมูลผู้ป่วยนอก,แฟ้มข้อมูลผู้ให้บริการ ฯลฯ ถ้าจะคุยกันให้จบคงต้องเขียนกันอีกหลายตอนกว่าจะจบ เอาเป็นว่าต้องลองไปศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ 43 แฟ้มเพิ่มเติมดูนะครับ

เอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับ 43 แฟ้ม
.....................................................................................................................................................

2. QOF : Quality and Outcome Framework
งบจ่ายตามตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ

ถ้าจะมีอีกสักคำที่แทบจะแทรกซึมเข้าไปทุกรู้ขุมขนในช่วงที่ผ่านมา ผมคิดว่า QOF น่าจะติดอันดับต้นๆ เพราะในที่ประชุมผู้บริหาร มีการพูดถึงและนำเสนอผลงาน QOF  กันทุกเดือน แห่งไหนผลงานดีก็ลอยตัวไป แห่งไหนผลงานแย่ ติดอันดับท้ายๆ โดนไล่จิกตามติดผลงานกันมาตามลำดับ ..

ผู้บริหารก็พูดถึงแต่ QOF แล้วมันคืออัลลัย (ว่ะ) เนี่ย!
การรับรู้ในช่วงแรกๆของผม ก็งงเหมือนกันครับ มันมาอย่างไร เมื่อไหร่ มารู้สึกตัวอีกทีก็มี cockpit โชว์หราว่าผลงาน QOF ของหน่วยงานเป็นอย่างไร แดงบ้าง เขียวบ้าง ก็ว่ากันไปครับ























คำถามคือ แล้ว QOF มันเกี่ยวอะไรกับ 43 แฟ้ม? มีคู่มือที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฏีการจ่ายตามคุณภาพและผลลัพท์บริหารที่ สปสช.ทำไว้อย่างละเอียดทีเดียวครับ ถ้าใครสนใจไปหาอ่านกันได้ ผมขอยกตัวอย่างบางช่วงบางตอนมาอธิบาย ดังนี้ครับ













P4P-QOF สองคำนี้สงสัยเป็นพี่น้องกันแน่ๆ ว่าแต่เริ่มคุ้นๆ กันบ้างไหม๊ครับ

ทีนี้เมื่อมีหลักการที่(เริ่มจะ)ดีแล้ว ก็จะต้องมีการพัฒนาตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ
ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อที่จะจัดสรรงบประมาณตามคุณภาพผลงานบริการปฐมภูมิที่พึงพอใจด้วยกันทุกฝ่าย แน่นอนว่าต้องมีกระบวนการกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสมด้วย ผมขอย้อนอดีตเพื่อทำความเข้าใจกับตัวอย่างอย่างนี้ก่อนนะครับ
  • ปี 2551 สปสช.เริ่มจัดงบประมาณเพื่อจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพบริการปฐมภูมิ
  • ปี 2552 สปสช.เห็นชอบจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวเป็นงบเพื่อชดเชยค่าบริการเพิ่มเติม(On top payment) ให้แก่หน่วยบริการปฐมภูมิ ที่มีการพัฒนาศักยภาพผ่านเกณฑ์ที่สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกําหนด (นับเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้กลไกการเงินกระตุ้นหน่วยบริการประจําและหน่วยบริการปฐมภูมิจัดบริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพแก่ประชาชน โดยมีการกําหนดเกณฑ์ศักยภาพบริการ หรือเรียกว่าเกณฑ์ On top payment หรือตัวชี้วัดศักยภาพบริการปฐมภูมิ ) โดยการจ่ายงบตามเกณฑ์ศักยภาพบริการปฐมภูมิ(On top payment) ดําเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552-2556 รวมระยะเวลา 5 ปีซึ่งมีการเพิ่มตัวชี้วัดคุณภาพบริการทุกปีเพื่อกระตุ้นให้หน่วยบริการประจํา และหน่วยบริการปฐมภูมิพัฒนาตนองอย่างต่อเนื่อง เกณฑ์หรือตัวชี้วัดศักยภาพบริการปฐมภูมิในช่วงปี 2552-2555 ในปีแรกเน้นตัวชี้วัดด้านโครงสร้าง และในปีต่อๆ ได้มีการขยับเกณฑ์หรือตัวชี้วัดเน้นด้านผลลัพธ์บริการปฐมภูมิมากขึ้น
  • ปี 2557 มีแนวคิดการพัฒนาตัวชี้วัดและแนวทางการจัดสรรอย่างต่อเนื่อง โดยใช้แนวทาง Quality and Outcome Framwork: QOF ของประเทศอังกฤษมาเป็นแนวทาง และเรียกงบนี้ว่า งบจ่ายตามตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ (Quality and Outcome Framwork: QOF)
    สิ่งสำคัญที่เราต้องมาติดตามกันต่อ คือ แนวคิดในการกำหนดตัวชี้วัดของ QOF 

    แนวคิดการพัฒนาตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ (Quality and Outcome Framework : QOF) มีดังนี้
    1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ โดยมีการวัดผลการจัดบริการสาธารณสุขด้านต่างๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชน/หรือประเด็นคุณภาพบริการระดับปฐมภูมิที่เขตบริการสุขภาพกําหนด
    2. เป็นการชี้นําทิศทางการพัฒนาบริการระดับปฐมภูมิอย่างต่อเนื่องของ สปสช. (ปี 2557-2559) 
    3. เพื่อสร้างแรงจูงใจให้หน่วยบริการประจํา และหน่วยบริการปฐมภูมิจัดบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลไกทางการเงินตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการเป็นเครื่องมือ 
    4. ตัวชี้วัดพิจารณาจากของกระทรวงสาธารณสุข สปสช. และเขตพื้นที่สามารถกําหนดเพิ่มเติมได้ตามปัญหาและบริบทของพื้นที่
    5. ใช้ประโยชน์และต่อยอดจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ ของ กระทรวงสาธารณสุข สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด และสปสช. เช่น ฐานข้อมูล OP Individual ฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ และข้อมูลอื่นตามความจําเป็น
    6. กระจายอํานาจแก่เขตพื้นที่ในการพัฒนาตัวชี้วัดฯ และหลักเกณฑ์การจัดสรรระดับพื้นที่ให้สอดคล้องปัญหาและบริบทของพื้นที่ รวมทั้ง Service Plan ของกระทรวงสาธารณสุข โดยผ่านความเห็นชอบจาก อปสข. 
    7. มีการเปรียบเทียบผลงานระหว่างหน่วยบริการในเขตเดียวกัน และสะท้อนข้อมูลกลับคืนให้หน่วยบริการ เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพและผลงานการจัดบริการปฐมภูมิ
    8. สนับสนุนให้เกิดกลไกการจัดการเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของระบบบริการปฐมิตามแนวคิดPrimary Care System Strengthening ของ WHO 2008 และติดตามประเมินผลระดับจังหวัด
    องค์ประกอบตัวชี้วัด QOF 
    องค์ประกอบตัวชี้วัด QOF ที่ใช้ในการคํานวณค่าคะแนนเพื่อจัดสรรงบให้หน่วยบริการ ตัวชี้วัดประกอบด้วย 4 ด้าน และมีคะแนนรวมทั้ง 4 ด้าน เป็น 1,000 คะแนน ดังนี้
    • ด้านที่ 1 : คุณภาพและผลงานการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค คะแนนเต็ม 400 คะแนน
    • ด้านที่ 2 : คุณภาพและผลงานการจัดบริการปฐมภูมิ คะแนนเต็ม 300 คะแนน
    • ด้านที่ 3 : คุณภาพและผลงานด้านการพัฒนาองค์กร การเชื่อมโยงบริการระบบส่งต่อ และ  การบริหารระบบ คะแนนเต็ม 200 คะแนน
    • ด้านที่ 4 : คุณภาพและผลงานของบริการที่จําเป็นตอบสนองปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่และบริการเสริมในพื้นที่ โดยคณะกรรมการฯระดับเขตและจังหวัด ร่วมกันพิจารณาตัวชี้วัดระดับพื้นที่ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
    การแบ่งระดับตัวชี้วัด ตัวชี้วัดแบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้
    1. ตัวชี้วัดกลาง : เป็นตัวชี้วัดที่มีความสําคัญระดับประเทศ ที่ทุกเขตนําไปใช้เหมือนกัน
    2. ตัวชีวัดพื้นที่ : เป็นตัวชี้วัดที่คณะกรรมการพัฒนาบริการปฐมภูมิระดับเขตเลือกตามรายการตัวชี้วัดพื้นที่ที่กําหนดและ/หรือกําหนดเพิ่มเติม ตามความจําเป็น ปัญหาและบริบทของพื้นที่ ตามความเห็นชอบของ อปสข. ทั้งนี้ตัวชี้วัดที่เลือกตามรายการตัวชี้วัดพื้นที่จะถูกนํามาไว้ในตัวชี้วัดด้าน 1 - 3 สําหรับตัวชี้วัดที่เขตกําหนดเพิ่มเติม(นอกเหนือจากรายการตัวชี้วัดพื้นที่ที่กําหนด) จะถูกนํามาไว้ในตัวชี้วัดด้านที่ 4 
    รายการตัวชี้วัดกลาง
    ตัวชี้วัดด้านที่ 1: คุณภาพและผลงานการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
     1.1 ร้อยละของหญิงมีครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกกอน่ 12 สัปดาห์
     1.2 ร้อยละหญิงมีครรภ์ได้รบการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
     1.3 ร้อยละสะสมความครอบคลุมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี 30-60 ปีภายใน 5 ปี 

    ตัวชี้วัดด้านที่ 2 : คุณภาพและผลงานการจัดบริการปฐมภูมิ 
     2.1 สัดส่วนการใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิต่อการใช้บริการที่โรงพยาบาล
     2.2 อัตราการรับไว้รักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคหืด สิทธUC 
     2.3 อัตราการรับไว้รักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น สิทธิ UC
     2.4 อัตราการรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ด้วยโรคความดันโลหิตสูงหรือภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูงสิทธิ์ UC 

    ตัวชี้วัดด้านที่ 3: คุณภาพและผลงานด้านการพัฒนาองคกร์ การเชื่อมโยงบริการ ระบบส่งต่อและการบริหารระบบ
    3.1 ร้อยละประชาชนมีหมอใกล้บ้านใกลใจดูแล3.2 ร้อยละหน่วยบริการปฐมภูมิผ่านเกณฑ์ขึ้นทะเบียน
    รายการตัวชี้วัดพื้นที่
    (สําหรับให้เขตเลือกเป็นตัวชี้วัดพื้นที่ในด้านที่ 1-3) 
    ตัวชี้วัดด้านที่ 1: คุณภาพและผลงานการจดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
    การดูแลมารดา 
      1. ร้อยละของหญิงมีครรภ์ได้รบการตรวจสุขภาพช่องปาก
      2. ร้อยละของหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ 
    เด็กแรกเกิด-2ปี 
      3. ร้อยละของเด็กอายุ 1 ปีได้รับวัคซีนโรคหัด
    เด็ก 3 - 5ปี 
      4. ร้อยละของเด็กอายุต่ํากว่า 3 ปีได้รับการตรวจช่องปาก
      5. ร้อยละของเด็กอายุ 5 ปีที่ได้รับวัคซีน DTP5
    เด็กนักเรียน 
      6.ร้อยละของเด็กนักเรียนชั้น ป. 1 ได้รับการตรวจช่องปาก
      7.ร้อยละของเด็กนักเรียนชั้น ป. 1 ได้รับการเคลือบหลุมรองฟันในฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง
      8.ร้อยละของเด็กนักเรียนชั้น ป. 1 ได้รับบริการทันตกรรม Comprehensive care
      9.ร้อยละของเด็กนักเรียนชั้น ป. 6 ได้รับวัคซีน dT
    วัยแรงงาน
      10. ร้อยละของประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน 
      11. ร้อยละของประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิต
    ผู้สูงอายุ
      12. จํานวนผู้สงอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับบริการฟันเทียม
    กลุ่มเสี่ยง
      13. ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
    ฯลฯ
    ...............................................................................................................................................................

    ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับระบบงานทันตสาธารณสุข
    เกริ่นเกี่ยวกับ QOF กันมาเสียยืดยาว เอาล่ะครับทีนี้มาเข้าเรื่องกันตรงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบข้อมูลของงานทันตสาธารณสุขกันซะที ตัวชี้วัดเหล่านี้จะมี Template รายละเอียดของแต่ละตัว ดังนี้ครับ 

    1. ร้อยละของหญิงมีครรภ์ได้รบการตรวจสุขภาพช่องปาก
    • คํานิยาม หญิงมีครรภ์คนไทยทุกสิทธิ์ประกันสุขภาพ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากในช่วงที่ตั้งครรภ์
    • เกณฑ์เป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
    • ประชากรกลุ่มเป้าหมาย หญิงมีครรภ์ในเขตรับผิดชอบทุกสิทธิประกันสุขภาพ
    • วิธีการจัดเก็บข้อมูล บันทึกข้อมูลในโปรแกรมของหน่วยบริการ (โดยหน่วยบริการต้องลงข้อมูลการรับบริการของประชาชน ในเขตรับผิดชอบที่ไปรับบริการจากหน่วยบริการอื่น(โดยสํารวจ และใช้ขอมูลจากสมุดสชมพู) 
    • แหล่งข้อมูล ฐานข้อมูล OP/PP แฟ้ม MCH (field DENTAL)** 
    2. ร้อยละของเด็กอายุต่ํากว่า 3 ปีได้รับการตรวจช่องปาก
    • คํานิยาม การตรวจช่องปาก หมายถึง เด็กอายุต่ํากว่า 3 ปีได้รับการตรวจฟัน และความสะอาดของฟันทั้งปาก โดยทันตบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 
    • เกณฑ์เป้าหมาย ได้รับการตรวจช่องปาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 
    • ประชากรกลุ่มเป้าหมาย เด็กอายุต่ํากว่า 3 ปี (เกิด 1 ตค. 2554 - 30 กย. 2556)ิ
    • วิธีการจัดเก็บข้อมูล บันทึกข้อมูลในโปรแกรมของหน่วยบริการ 
    • แหล่งข้อมูล จากข้อมูลการตรวจราชการ กรมอนาม้ย
    3. ร้อยละของเด็กนักเรียนชั้น ป. 1 ได้รับการตรวจช่องปาก
    • คํานิยาม เด็กนักเรียนชั้น ป.1 หมายถึงเด็กอายุ 6 ปีเต็มถึง7ปี 11 เดือน 29 วันซึ่งเป็นเด็กไทยทุกสิทธิประกันสุขภาพ ได้รับการตรวจช่องปาก หมายถึงการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างละเอียดและวางแผนการรักษาอย่างสมบูรณ์โดยทันตบุคลากร
    • เกณฑ์เป้าหมาย ได้รับการตรวจช่องปาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 
    • ประชากรกลุ่มเป้าหมาย เด็กนักเรียนชั้น ป.1 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบของหน่วยบริการ
    • วิธีการจัดเก็บข้อมูล โปรแกรมยิ้มสดใส (Sealant 2012)
    • แหล่งข้อมูล ฐานข้อมูลจาก โปรแกรมยิ้มสดใส (Sealant 2012)
    4. ร้อยละของเด็กนักเรียนชั้น ป. 1 ได้รับการเคลือบหลุมรองฟันในฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง
    • คํานิยาม เด็กนักเรียนชั้น ป.1 หมายถึงเด็กอายุ 6 ปีเต็มถึง7ปี 11 เดือน 29 วันซึ่งเป็นเด็กไทยทุกสิทธิประกันสุขภาพ การเคลือบหลมรุ ่องฟันหมายถึงการใช้วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันทางบนหลุมร่องฟันที่ลึกของฟันกรามแท้
    • เกณฑ์เป้าหมาย ได้รับบริการเคลือบหลุมร่องฟันไม่น้อยกวาร่อยละ 30 
    • ประชากรกลุ่มเป้าหมาย เด็กนักเรียนชั้น ป.1 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบของหน่วยบริการ
    • วิธีการจัดเก็บข้อมูล โปรแกรมยิ้มสดใส (Sealant 2012)
    • แหล่งข้อมูล ฐานข้อมูลจาก โปรแกรมยิ้มสดใส (Sealant 2012)
    5. ร้อยละของเด็กนักเรียนชั้น ป. 1 ได้รับบริการทันตกรรม Comprehensive care
    • คํานิยาม เด็กนักเรียนชั้น ป.1 หมายถึงเด็กอายุ 6 ปีเต็มถึง7ปี 11 เดือน 29 วัน ซงเปึ่ ็นเด็กไทยทุกสิทธิประกันสุขภาพ เด็กนักเรียนชั้น ป. 1 ได้รับบริการ Comprehensive care โดยทันตบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขซึ่งComprehensive care หมายรวมถึง การให้บริการทันตกรรมส่งเสริมป้องกัน และรักษาดังนี้
      1. การให้บริการทันตกรรมสงเสริมได้แก่การให้คําแนะนาํ ส่งเสริมการแปรงฟัน และควบคุมอาหารบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม
      2. การให้บริการทันตกรรมป้องกัน ได้แก่ เคลือบหลุมร่องฟันในฟันแท้ 6 ซี่ และให้ฟลูออไรด์เสริมที่เหมาะสม 
      3. การให้บริการทันตกรรมรักษาได้แก่การให้บริการอุดฟันแท้ 6 ซี่ และ การควบคุมการติดเชื้อและการลุกลามของฟันผุ (control infection and caries Progression control) เน้นในฟันน้ํานมซี่ D และ E 
    • เกณฑ์เป้าหมาย เด็กนักเรียนชั้น ป. 1 ได้รับบริการทันตกรรม Comprehensive care ไม่น้อยกว่าร้อยละ 17
    • ประชากรกลุ่มเป้าหมาย เด็กนักเรียนชั้น ป.1 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบของหน่วยบริการ
    • วิธีการจัดเก็บข้อมูล โปรแกรมยิ้มสดใส (Sealant 2012)
    • แหล่งข้อมูล ฐานข้อมูลจาก โปรแกรมยิ้มสดใส (Sealant 2012)
    6. จํานวนผู้สงอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับบริการฟันเทียม
    • คํานิยาม เป็นการให้บริการฟันเทียมทั้งปากหรือ บางส่วน แก่ผู้สูงไทยอายุ 60 ปีขึ้นไปสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ได้รับบริการโดยทันตแพทย์ในหน่วยบริการ
    • เกณฑ์เป้าหมาย จํานวน 45,000 ราย
    • ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
    • วิธีการจัดเก็บข้อมูล บันทึกข้อมูลเรยกเก็บจาก E-claim 
    • แหล่งข้อมูล ฐานข้อมูลเรียกเก็บจาก E-claim 
    นี่คือรายละเอียดในคู่มือ "แนวทางในการดําเนินงานงบจ่ายตามตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ(Quality and Outcome Framework: QOF) ปีงบประมาณ 2557"  ซึ่งจะเห็นว่าข้อมูลของงานทันตสาธารณสุขมีแหล่งข้อมูลในการจัดเก็บจาก
    1. ชุดข้อมูล 21 แฟ้ม ที่ต้องส่ง สปสช. (แฟ้ม MCH field DENTAL)
    2. ข้อมูลจากโปรแกรมยิ้มสดใส (Sealant 2012)
    3.  Eclaim  
    ในปี 2558 ที่จะใช้ข้อมูล 43 แฟ้ม คงต้องรอคู่มือที่เป็นทางการจาก สปสช.กันอีกที

    ตอนที่ 2 ผมจะมาช่วนคุยกันต่อครับในเรื่องเกี่ยวกับวิธีการลงบันทึกข้อมูล และการส่งออกข้อมูลใน HOSxPและ HOSxP PCU  ที่จะรองรับ 43 แฟ้มกันครับ

    เอกสารอ้างอิง
    1. แนวทางในการดําเนินงานงบจ่ายตามตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ(Quality and Outcome Framework: QOF) ปีงบประมาณ 2557
    2. www.yimsodsai.com  
      โปรแกรม Sealant 2012 แบบ Online เริ่มใช้กรอกข้อมูลของปีารศึกษา 2556
      * สามารถ Download คู่มือโปรแกรม Sealant 2012 (มีแบบ Online และ Offline) 
      ได้ที่ www.yimsodsai.com

    ..................................................................................................................................................................

    แจกฟรี Custom Report By คณวัชร คำชัย
    1. Custom Report Dent

    ปล. เป็นการสรุปตามความเข้าใจของตัวผู้เขียนเอง อ่านเพื่อเป็นแนวทางในการไปศึกษาหาข้อมูลต่อพอได้ แต่ไม่แนะนำไปอ้างอิงใดๆนะครับ เพราะผมอาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนไปตามประสาคนรู้น้อย..  

    6 ความคิดเห็น:

    1. ร้อยละของหญิงมีครรภ์ได้รบการตรวจสุขภาพช่องปาก ถ้าเป็น 43 แฟ้มแล้ว คงต้องประมวลจากแฟ้มอื่นแล้วสิครับ

      ตอบลบ
    2. ประเด็นการบันทึก รพ. เพื่อให้ง่ายที่สุด
      - การลงตรวจฟัน Wel baby (บัญชี 3) ร่วมกัน กลุ่มเวชฯ
      - การลงตรวจฟันมารดาฝากครรภ์ (บัญชี 2) ร่วมกัน กลุ่มเวชฯ
      - การตรวจฟันผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน ร่วมกับคลีนิกพิเศษ
      - การตรวจสุขภาพฟันนักเรียน (บัญชี 5) (Dental 43 แฟ้ม)
      - การตรวจสุขภาพฟัน (Dental 43 แฟ้ม) ทุกกลุ่มอายุ

      ตอบลบ
    3. สุดยอดจริง ๆ นี่ขนาดบอกว่าไม่รู้จะเริ่มยังไงนะ

      ตอบลบ
    4. สุดยอดครับ ถึงไม่ได้อ่านแต่ดูผ่านๆ ก็ชื่นชมครับ คิคิ

      ตอบลบ
    5. ขออนุญาตนำข้อความไปแชร์ต่อ ขอบคุณคะอาจารย์

      ตอบลบ