วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

QOF - 43 แฟ้ม - DENTAL ตอนที่ 2

3).วิธีการลงบันทึกข้อมูล การส่งข้อมูลจาก HOSxP /HOSxP PCU

บทความตอนที่ 1 อ่านแล้วมึนดีไหม๊ครับ ผมอ่านทบทวนอยู่หลายครั้ง รู้สึกเห็นภาพความเป็นมาเป็นไปและความเชื่อมโยงกันของมาตรฐานข้อมูล 21/43 กับ QOF ได้ชัดเจนมากขึ้น อันที่จริงแล้วเรื่องพวกนี้ควรเป็นเรื่องเชิงนโยบายและเกี่ยวข้องกับผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานโดยเฉพาะงานทันตสาธารณสุข ที่ต้องเข้ามาศึกษาทำความเข้าใจ และสั่งการในบางเรื่องบางอย่างให้ชัดเจนว่าจะมอบหมายให้ใครทำอะไรอย่างไรและผู้ใช้จะต้องฝึกอบรม ทำความเข้าใจการลงบันทึกข้อมูลให้ถูกต้อง ไม่ใช่คิดอะไรไม่ออกให้บอกนักคอม(ฮา) นักคอมต้องรู้สิ

.......................................................................................................
3.1 Guidelines การบันทึกขอมูลและการให้รหัสการสงขอมูล

ก่อนที่จะไปคุยกันต่อว่าจะลงบันทึกข้อมูลทันตกรรมอย่างไร ลงข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ทำอย่างไร ไปออกอนามัยโรงเรียนลงข้อมูลอย่างไรฯลฯ ผมว่าเรามาทำความเข้าใจร่วมกันก่อนดีกว่านะครับซึ่งคงจะต้องอ้างอิงแนวทางที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้เข้าใจร่วมกัน มีคู่มือแนวทางมาตรฐานการบันทึกข้อมูลสำหรับสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิโดยสํานักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ฉบับพฤษภาคม 2556 รุ่น 1.0 อาจจะเก่าไปหน่อยแต่พอเป็นแนวให้คลำทางไปได้ ดังนี้ครับ



ดังนั้นในหัวข้อต่อไปผมจะอิงแอบแนบชิดกับ Guideline ข้างต้นนี้นะครับ โดยจะอธิบายในส่วนของทันตกรรมเท่าที่ผมทราบ ซึ่งเนื้องานหลักๆก็คงจะมีประมาณนี้
  1. งานบริการทันตกรรม ให้บริการบำบัดรักษาความเจ็บป่วย (Out Patient-OP)
  2. งานส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ (Prevention and Promotion-PP)
  3. งานทันตสาธารณสุขนอกสถานที่ (Community Service-CS)
.......................................................................................................

3.2 ตารางมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานทันตสาธารณสุข

เมื่อเข้าใจตรงกันแล้วก่อนที่จะคุยเรื่องการบันทึกข้อมูลต่อ มีเรื่องที่สำคัญเกี่ยวข้องกับนักคอมพิวเตอร์หรือผู้ดูแลระบบโดยตรงที่จะต้องเตรียมให้พร้อมก่อนคือ การตรวจสอบและตั้งค่าฐานข้อมูลใน HOSxP ให้ตรงกับรหัสมาตรฐาน 43 แฟ้ม ของ สนย. ของ ตารางต่างๆ ดังนี้ครับ
  1. ตาราง dental_care_type : DENTYPE
  2. ตาราง dental_care_service_place_type : SERVPLACE
  3. ตาราง dental_care_nprosthesis : NPROSTHESIS
  4. ตาราง dental_care_gum_type  : GUM
  5. ตาราง dental_care_school_type  : SCHOOLTYPE
  6. ตาราง dental_care_school_class_type  : CLASS
ส่วนตารางอื่นๆที่สำคัญของงานทันตกรรม คือ รายการหัตถการ ตารางที่สำคัญๆมีดังนี้ครับ
  1. dttm ***
  2. dttm_group
  3. dttm_master
วิธีการตั้งค่าในตารางต่างๆ คงไม่ลงลึกในรายละเอียดนะครับ เพราะมีวิธีการบอกเอาไว้หรือสอบถามเพื่อนๆ admin ด้วยกันดูนะครับ เมื่อตั้งค่าต่างๆของฐานข้อมูลเรียบร้อย ต่อไปเรามาดูแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการลงบันทึกข้อมูลกันครับ

.......................................................................................................
3.3 วิธีการลงบันทึกข้อมูลใน HOSxP ที่เกี่ยวกับงานทันตสาธารณสุข

1. 
งานบริการทันตกรรมให้บริการบำบัดรักษาความเจ็บป่วย(Out Patient-OP)
    1. กรณีการให้บริการตรวจรักษาในสถานบริการ 
      • เมื่อเกิดกิจกรรมการตรวจรักษาจะต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
      1. ชื่อ นามสกุล อายุ ผู้รับบริการ
      2. วันที่และเวลาให้บริการ
      3. อาการสำคัญ
      4. ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน
      5. โรคประจำตัวที่เป็นอยู่เดิม
      6. Vital Signs
      7. ผลการตรวจร่างกาย
      8. การวินิฉัย (ถ้ารักษาตามอาการให้บันทึกอาการสำคัญ)
      9. การทำหัตถการเพื่อการรักษา
      10. รายการยา
      11. ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ
      12. ผู้ให้บริการ
      13. นัด (ถ้ามี)
      • ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกข้อมูลใน HOSxP จะมีผลกับแฟ้มดังต่อไปนี้ครับ
      1. service (บริการ)
      2. diagnosis_opd (การวินิจฉัย)
      3. procredure_opd (หัตถการ)
      4. drug_opd (ยา)
      5. charge_opd (การเงิน)
      6. apponintment (นัด)
      7. provider (ผู้ให้บริการ)

        กรณีนี้ผมคิดว่าแต่ละแห่งคงไม่มีปัญหาการลงบันทึกข้อมูลกันอยู่แล้วนะครับ หรือถ้าใครยังไม่แน่ใจเรื่องการลงบันทึกข้อมูลของงานทันตกรรมให้ศึกษาจากคู่มือเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ : คู่มือการลงบันทึกข้อมูลงานทันตสาธารณสุขใน HOSxP



           ภาพที่ 1 การส่งตรวจเลือกประเภท คนไข้ทั่วไป


          ภาพที่ 2 ลงบันทึกข้อมูลผ่านหน้าจอทะเบียนทันตกรรม
    2. กรณีออกหน่วยบริการทันตกรรมเคลื่อนที่ในพื้นที่  การออกหน่วยบริการทันตกรรมเคลื่อนที่ในพื้นที่เป็นประเด็นที่มีการถามเยอะพอสมควรครับว่า ควรนำมาลงทะเบียนส่งตรวจหรือไม่บางท่านบอกว่าได้ บางท่านบอกว่าไม่ได้ ไม่มีใครกล้าฟันธง เพราะไม่ใช่หมอลักษณ์ ซึ่งผมเองก็.. ไม่ใช่เหมือนกัน

      แต่คำถามนี้สำหรับ PCU นอก รพ. หรือ รพ.สต. คงไม่มีปัญหาเท่าไหร่ ส่วนใหญ่คงเลือกที่จะลงทะเบียนส่งตรวจแน่ๆ แต่สำหรับโรงพยาบาลโดยเฉพาะงานทันตกรรมซึ่งปฏิบัติงานรับผิดชอบดูแลทั้งcup ซึ่งต้องออกไปให้บริการนอกพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลกรณีงานออกหน่วยให้บริการทันตกรรมเป็น work load ต้องเอามาลงข้อมูลนับเป็นผลงานด้วย(หรือเปล่า??)ที่ผ่านมาอาจจะเอามานับเพียงแค่จำนวนผู้รับบริการ

      แต่ก่อนจะไปตัดสินใจว่าจะลงทะเบียนส่งตรวจหรือไม่ลงทะเบียน เราไปดูแนวทางที่เขาให้ไว้กันก่อนดีกว่าครับ ซึ่งใน Guideline การลงบันทึกข้อมูลส่วนใหญ่คล้ายกับการตรวจในสถานบริการทุกอย่าง ทุกอย่าง สิ่งที่แตกต่างต่างกัน คือ
      1. การออกหน่วยให้บริการเคลื่อนที่ไม่มีการลงข้อมูลนัด (appointment)
      2. ต้องมีการลงข้อมูล Community activity


วิธีการลงบันทึกข้อมูลใน HOSxP /HOSxP PCU ที่ผู้ใช้ควรลงบันทึกให้ถูกต้อง
  1. ผู้ป่วยรับบริการทันตกรรมทั่วไป กรณีบำบัดรักษาความเจ็บป่วย 
  2. ผู้ป่วยรับบริการทันตกรรมทั่วไป กรณีออกหน่วยทันตกรรม/หน่วยแพทย์เคลื่อนที่/ พอ.สว. (ต้องลงบันทึกข้อมูลในหน้าจอ on stop service)
  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการตรวจปริทันต์ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 

โดยสรุป
ถ้าดูตาม Guidelint ความเข้าใจของผม การออกหน่วยให้บริการเคลื่อนที่ของทันตกรรม เช่น พอ.สว. ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ นำมาลงทะเบียนส่งตรวจได้ แต่ช้า..แต่ อย่าเพิ่งด่วนสรุปไปครับ เพราะในข้อเท็จจริงถ้าออกไปให้บริการในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ PCU ในเขตโรงพยาบาลซึ่งมีฐานประชากร Person ครบถ้วนไม่น่าจะมีปัญหา แต่ถ้าออกไปให้บริการนอกเขตรับผิดชอบของ PCU ในโรงพยาบาล จะมีปัญหาตามมาคือ ชื่อคนไข้อาจจะไม่มีในฐาน HOSxP ของโรงพยาบาล แน่นอนละครับถ้าจะเอาชื่อไปเพิ่ม HN คงต้องซักประวัติบัตรใหม่กันละเอียดคงไม่มีเวลาทำกันขนาดนั้น ซึ่งผมมีแนวทางในใจดังนี้ครับ
  1. การออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ามารถลงทะเบียนส่งตรวจได้ โดยให้ PCU นั้นที่เป็นเจ้าของพื้นที่ เป็นผู้ลงบันทึกข้อมูล/ผลงาน เช่น ออกหน่วยที่บ้าน ก. ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบของ รพ.สต. ก นำข้อมูลมาบันทึกข้อมูลลงทะเบียนส่งตรวจ Dx ยา หัตถการการรักษาต่างๆ และ community activity ใน one stop service แต่ไม่ต้องลงข้อมูลนัด  
  2. ข้อมูล Commuity Service ให้ใส่รหัสกลุ่ม 2G0

สาเหตุที่ผมให้ข้อมูลการออกหน่วยแพทย์นอกเขต PCU โรงพยาบาล เป็นผลงานของ PCU น้ันผมมีเหตุผลอย่างนี้ครับ
  1. ชื่อคนไข้ในเขต pcu นั้น มีชื่อในฐานข้อมูล HOSxP PCU แน่ๆ
  2. ทำให้ผลงาน Service ของ pcu เพิ่มขึ้นอย่างถูกต้อง (เหมือน pcu จัดหาบุคลากรที่เชี่ยวชาญมาช่วยดูแลสุขภาพคนในพื้นที่)
  3. รพ.สต.ได้ผลงานของหน่วยงาน ฝ่ายทันตกรรมโรงพยาบาลได้ผลงานภาพรวมของ CUP (ปกติงานทันตกรรมเขาจะนับเฉพาะจำนวนรายที่ให้บริการเพื่อลงบันทึกผลงาน)
  4. งานนี้ยังไม่เกี่ยวกับแฟ้ม Dental ด้วยเหตุผลที่ว่ายังเป็นการบำบัดรักษานะครับ รหัส DX และอาการที่มารับบริการเป็นเรืองของการรักษาล้วนๆ โดยความเห็นส่วนตัวผมจะยังไม่ให้ลงบันทึกการตรวจสุขภาพฟันหากมารับบริการในกลุ่มนี้
.........................................................................................................

2. งานส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ (Prevention and Promotion-PP)
    • เมื่อเกิดกิจกรรมการตรวจรักษาจะต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
    1. ชื่อ นามสกุล อายุ ผู้รับบริการ
    2. วันที่และเวลาให้บริการ
    3. ชื่อบริการ
    4. รายละเอียดการบริการ
    5. เหตุผลที่มารับบริการ
    6. การวินิจฉัย
    7. รายการยา (ถ้ามี)
    8. ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ
    9. รายการนัด (ถ้ามี)
    10. ผู้ให้บริการ
    • ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกข้อมูลใน HOSxP จะมีผลกับแฟ้มดังต่อไปนี้ครับ
    1. service (บริการ)
    2. diagnosis_opd (การวินิจฉัย) ใชรหัสบทที่21 หมวดรหัส Z ที่เปนการบริการสงเสริมสุขภาพสําหรับผูที่ไมเจ็บปวย
    3. dental (การตรวจสุขภาพช่องปาก) แฟ้มนี้ เฉพาะกรณีตรวจสุขภาพช่องปากเท่านั้นนะครับ**
    4. drug_opd (ยา)
    5. charge_opd (การเงิน)
    6. apponintment (นัด)
    7. provider (ผู้ให้บริการ)
      กรณีนี้การลงบันทึกข้อมูลจะมีเพิ่มการลงบันทึกตรวจสุขภาพช่องปาก ซึ่งต้องมาทำความเข้าใจกับเรื่องกลุ่มเป้าหมายของสุขภาพช่องปากอีกดังนี้ครับ
      1. กิจกรรมบริการสุขภาพช่องปากในกลุ่มเป้าหมายโดยมีเกณฑ์ ดังนี้
        1. คลินิกฝากครรภ์ (ANC) : หญิงตั้งครรภ์
          • การตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อย 1 ครั้ง
          • บริการขูดหินน้ำลาย ทำความสะอาดฟัน
          • บริการทันตกรรมหรือส่งต่อในรายที่จำเป็น 
        2. คลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี (WCC) : เด็กก่อนวัยเรียน
          • มีการให้แปรงฟันและยาสีฟันให้กับเด็กที่มารับบริการ
          • มีการตรวจช่องปาก ความสะอาด และประเมินความเสี่ยงต่อโรคฟันผุของเด็ก
          • การฝึกพ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ 
          • การจัดระบบเฝ้าระวัง ติดตาม ดูแลต่อเนื่องในเด็กกลุ่มเสี่ยง (เด็กกลุ่มเสี่ยง คือ เด็กที่ฟันไม่สะอาด/ฟันมีรอยขาวขุ่น/มีฟันผุ) ให้บริการเด็กที่มีภาวะเสี่ยงด้วยการทาฟลูออไรด์วาร์นิชทุก 6 เดือน 
        3. ศูนย์พัฒนาเด็ก : เด็กก่อนวัยเรียน
          • การตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์เด็กเล็กทุกคนปีละ 1 ครั้ง และ แจ้งผลการตรวจให้กับพ่อแม่หรือผู้ปกครองพร้อมทั้งให้คำแนะนำ
          • เด็กกลุ่มเสี่ยงได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยทันตบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ผ่านการอบรม 
          • สนับสนุนให้ศูนย์เด็กจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และ ครูผู้ดูแลเด็กตรวจความสะอาดในการแปรงฟันของเด็ก 
          • สนับสนุนการให้ศูนย์เด็กเล็กจัดกิจกรรมด้านอาหารและอาหารว่างให้เอื้อต่อสุขภาพช่องปากที่ดี 
        4. โรงเรียนประถมศึกษา : เด็กนักเรียน
          1. การตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนประถมศึกษาทุกคนปีละ 1 ครั้ง
          2. ให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 แก่เด็กนักเรียนประถมศึกษา
          3. การให้บริการทันตกรรมแก่นักเรียนประถมศึกษาตามความจำเป็น สนับสนุนให้โรงเรียนจัดกิจกรรมให้เด็กแปรงฟันหลังอาหารกลางวันอย่างถูกต้องทุกวันที่โรงเรียน 
          4. สนับสนุนให้โรงเรียนจัดกิจกรรมด้านอาหารและอาหารว่างให้เอื้อต่อสุขภาพช่องปากที่ดี
        5. กลุ่มผู้สูงอายุ : ผู้สูงอายุ
          • การตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุปีละ 1 ครั้ง 
          • สนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ
วิธีการลงบันทึกข้อมูลใน HOSxP /HOSxP PCU ที่ผู้ใช้ควรลงบันทึกให้ถูกต้อง
  1. ผู้รับบริการตรวจสุขภาพฟันกรณีที่มารับบริการที่โรงพยาบาล : ลงทะเบียนหน้าจอทันตกรรม/one stop service และลงบันทึกตรวจสุขภาพฟัน ตามกลุ่มเป้าหมาย : DENTAL
  2. ผู้รับบริการที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ ต้องลงบันทึกข้อมูล 2 ส่วน คือ
    1. การตรวจฟันของหญิงตั้งครรภ์ปกติ ในประวัติฝากครรภ์(ผลงานของงานอนามัยมารดา) 
    2. การตรวจสุขภาพช่องปาก กลุ่มหญิงตั้งครรภ์(ผลงานของงานทันตสาธารณสุข) : DENTAL

โดยสรุป
ถ้าดูตาม Guidelint ความเข้าใจของผม กรณีส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในที่นี้หมายถึง กรณีคนไข้มารับบริการที่สถานบริการครับ ซึงก็จะต้องเข้าระบบลงทะเบียนส่งตรวจตามปกติ และมีการลงบันทึกตรวจสุขภาพช่องปากในกลุ่มหมาย ผมเสนอแนวทางในการลงบันทึกข้อมูลดังนี้ครับ 
  1. ถ้าเป็นผู้รับบริการ"ใน" เขตรับผิดชอบของ PCU ในโรงพยาบาล ให้ลงบันทึกส่งตรวจและให้บริการเหมือนบริการตรวจรักษาทางทันตกรรม 
  2. ถ้าเป็นคนไข้ "นอก" เขตรับผิดชอบของ PCU ในโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายทันตสาธารณสุขให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก และส่งผลงานให้ PCU เป็นผู้ลงบันทึกผลงานของคนในเขตรับผิดชอบเพื่อลงบันทึกข้อมูลใน HOSxP PCU (ความเห็นส่วนตัวของผม กิจกรรมที่เป็นงาน PP ไม่ควรมารับบริการที่โรงพยาบาล ถ้าจะมีก็ควรจะน้อยยยย มั๊กๆ)
.........................................................................................................

2. งานทันตสาธารณสุขนอกสถานที่ (Community Service-CS)
    • การออกให้บริการนอกสถานที่ มีกิจกรรมแบ่งออกเป็น
      1. กิจกรรมบริการรายบุคคล
      2. กิจกรรมบริการชุมชน : 
ในที่นี้ผมจะเน้นที่เรื่องการตรวจสุขภาพช่องปากในชุมชน หรือ โรงเรียน
    • เมื่อเกิดกิจกรรมการตรวจรักษาจะต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
      1. ชื่อ นามสกุล อายุ ผู้รับบริการ
      2. วันที่และเวลาให้บริการ
      3. การวินิจฉัย
      4. รายการยา (ถ้ามี)
      5. ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ
      • ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกข้อมูลใน HOSxP จะมีผลกับแฟ้มดังต่อไปนี้ครับ
      1. service (บริการ)
      2. diagnosis_opd (การวินิจฉัย ถ้าพบรอยโรค)  
      3. dental (การตรวจสุขภาพช่องปาก) แฟ้มนี้ เฉพาะกรณีตรวจสุขภาพช่องปากกลุ่มก่อนและเด็กวัยเรียน**
      4. community serviceใชรหัสบทที่ 1D1 ,1H1
วิธีการลงบันทึกข้อมูลใน HOSxP /HOSxP PCU ที่ผู้ใช้ควรลงบันทึกให้ถูกต้อง
  1. การลงบันทึกตรวจสุขภาพฟัน ในนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
  2. การลงบันทึกตรวสุขภาพฟัน ในนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย และพบรอยโรค

โดยสรุป
ถ้าดูตาม Guidelint ความเข้าใจของผม กรณีงานทันตสุขภาพนอกสถานที่ในที่นี้หมายถึง กรณีออกไปให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กนักเรียน ผมเสนอแนวทางในการลงบันทึกข้อมูลดังนี้ครับ
  1. ถ้าเป็นนักเรียน โรงเรียนในเขตรับผิดชอบของ PCU ในโรงพยาบาล ให้ลงบันทึกข้อมูลในบัญชี 5 และลงทะเบียนส่งตรวจในโปรแกรม HOSxP
  2. ถ้าเป็นนักเรียน โรงเรียนนอกเขต PCU จนท.ฝ่ายทันตสาธารณสุขของโรงพยาบาลให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก และส่งผลงานให้ PCU เป็นผู้ลงบันทึกผลงานการให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ ในโปรแกรม HOSxP PCU 

6 ความคิดเห็น:

  1. วันที่อบรมที่จ.หนองคาย สรุปว่า ออกหน่วยในพื้นที่ PCU ให้ลงข้อมูลในบัญชี 1 ใช่มั้ยคะ แล้วถ้าต้องการตรวจสอบข้อมูลที่ลงไปแล้ว สามารถตรวจสอบได้หรือไม่ อย่างไรคะ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากๆๆค่ะ
    น่าจะให้ทางผู้สร้างระบบHos Xp สอนหรือชี้แจงผู้ใช้งานนะคะ
    โดยมีการฝึกอบรมทั่วประเทศ
    ตอนนี้ลงข้อมูลแบบไม่รู้ถูกต้อง ครอบคลุม หรือเปล่าค่ะ
    บางทีลงแบบทุกคนทุกช่อง แต่ปวดมือมากๆๆค่ะ แล้วมานั่
    งถามตัวเอง ข้อมูลจะออกมาแบบไหน???

    ตอบลบ
  3. อีกกรณีค่ะ เด็กนักเรียนประถมศึกษาในอำเภอบ้านธิ
    เป็นต่างด้าว80%ค่ะ(เด็กไทยไปเรียนในตัวจังหวัดลำพูน และเชียงใหม่ค่ะ)
    การนำมาลงข้อมูลใน โรงพยาบาล ลงไม่ได้ค่ะ แล้วข้อมูลเด็กนักเรียนป1.-ป.6 เราจะลงที่ไหนดีคะ

    ตอบลบ