วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Service Profile IM

Service Profile
คณะกรรมการสารสนเทศ (IM)

1. บริบท (Context)
โรงพยาบาลตัวอย่าง มีระบบบริหารจัดการข้อมูล/สารสนเทศ และได้นำระบบบริการผู้ป่วยโดยใช้ฐานข้อมูลในปี 2538 โดยเริ่มต้นด้วยโปรแกรม Stat ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดยกระทรวงสาธารณสุข
ปี 2545 ได้นำระบบโปรแกรม EzHOSP มาใช้ในการบริการโดยเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ครบได้ทุกจุดบริการ
ปี 2548 ได้นำระบบโปรแกรม HOSxP มาใช้ในการให้บริการโดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทุกจุดบริการ และเริ่มใช้งานระบบสารบรรณ electronic ระบบโปรแกรม Inventory ที่บริหารจัดการงานพัสดุ รวมถึงมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภายนอกด้วยระบบอินเตอร์เนตความเร็วสูง ADSL และ Leased line

.หน้าที่ โครงสร้าง และเป้าหมาย
หน้าที่
  1. กำหนดนโยบาย มาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเวชระเบียน
  2. วางแผนการพัฒนาและออกแบบระบบสารสนเทศให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับเป้าหมายการใช้ สารสนเทศขององค์กร
  3. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และกระจายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาโอกาสพัฒนา
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทีมและหน่วยงานเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ
  5. ประเมินผลระบบสารสนเทศ การนำข้อมูลไปใช้และวางแผนปรับปรุงระบบ กำหนดมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเวชระเบียนผู้ป่วย
  6. สุ่มตรวจสอบความสมบูรณ์ของเวชระเบียนและกำหนดมาตรการเพื่อปรับปรุง
  7. สำรวจ ติดตาม ควบคุมกำกับและติดตามการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติการดำเนินงานด้านระบบสารสนเทศของหน่วยงานต่างๆ
  8. ดูแล ควบคุมกำกับและติดตามการจัดเก็บข้อมูล การเผยแพร่ การรักษาความปลอดภัยความลับของผู้ป่วยและการสำรองข้อมูลสำคัญขององค์กร
  9. รวบรวมและจัดสรุปผลงานประจำปี
โครงสร้าง
  1. ว่าที่ ร..เดชา สายบุญตั้ง ฝ่ายแผนงานและประเมินผล ประธานกรรมการ
  2. นพ.กมล บรรพวัฒนรักษ์ อายุรแพทย์ รองประธานกรรมการ
  3. ทพ.กฤษดาพันธ์ จันทนะ ทันตแพทย์ รองประธานกรรมการ
  4. ว่าที่ ร..อภิชาติ ดีด่านค้อ เวชสถิติ กรรมการ
  5. นายภาณุ ภักดีสาร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ กรรมการ
  6. นายชัยรัตน์ จันธุ พยาบาลวิชาชีพ กรรมการ
  7. นายธนภัทร ต.ประดิษฐ์ นักเทคนิคการแพทย์ กรรมการ
  8. นายเกียรติพงษ์ สิทธิศักดิ์ เวชสถิติ กรรมการ
  9. นางสาววราภรณ์ ทองหล้า พยาบาลวิชาชีพ กรรมการ
  10. นางพุทธลักษณ์ ดีสม พยาบาลวิชาชีพ กรรมการ
  11. นางสาวนิเรศ สร้อยตา นักกายภาพบำบัด กรรมการและเลขานุการ
เป้าหมาย
1. ด้านการวางแผนและออกแบบระบบ
  1. การวางแผนการใช้สารสนเทศในการดูแลรักษาผู้ป่วย การพัฒนาคุณภาพ การบริหาร หรือการศึกษา หรือการวิจัย
    • การออกแบบระบบสารสนเทศให้สอดคล้องกับเป้าหมายของแผน
    • การออกแบบระบบสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
    • บุคคลที่เกี่ยวข้องมีส่วนให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและออกแบบระบบสารสนเทศ
    • การจัดทำและทบทวนแผนบริหารระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย
      • มาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
      • มาตรฐานด้านเวชระเบียน
      • มาตรฐานด้านไอทีของบุคลากร
      • แนวทางปฏิบัติ
      • ระเบียบปฏิบัติ
2. ด้านการดำเนินงานระบบสารสนเทศ การเชื่อมโยงข้อมูลและสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหาร การดูแลผู้ป่วย และการพัฒนาคุณภาพ
    1. การเชื่อมโยงข้อมูล/สารสนเทศจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประสิทธิภาพของการกระจายข้อมูล/สารสนเทศ หรือ เพื่อลดความขัดแย้งกันของข้อมูลที่เกิดขึ้นจากหลายฐานข้อมูล
    2. การสังเคราะห์ แปลผลข้อมูล/สารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการบริหาร การดูแลผู้ป่วยการพัฒนาคุณภาพ และการรายงานต่อส่วนราชการ
    3. การกระจายข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมแก่ผู้ใช้อย่างถูกต้อง ทันเวลา โดยมีรูป แบบและวิธีการที่เป็นมาตรฐานและง่ายต่อการใช้
    4. การสนับสนุนทางเทคนิค โดยให้คำปรึกษา และ/หรือให้ความรู้/ฝึกอบรม แก่ผู้ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศตามความเหมาะสม
3. ด้านการบริการเวชระเบียน การจัดระบบบริการเวชระเบียน เพื่อตอบสนองความต้องการของ ผู้ป่วยและผู้ให้บริการ

  1. ระบบดัชนีและระบบการจัดเก็บซึ่งเอื้อต่อการค้นหาเวชระเบียนได้อย่างรวดเร็ว ทัน ความต้องการของผู้ใช้
  2. บริการค้นหาเวชระเบียนตลอด 24 ชั่วโมง
  3. เวชระเบียนผู้ป่วยในทุกฉบับได้รับการบันทึกรหัสและทำดัชนีภายในเวลาที่กำหนดไว้
  4. ระบบบันทึกเพื่อให้สามารถสืบหาเวชระเบียนที่ถูกยืมออกไปจากหน่วยงานได้
4. ด้านมาตรฐานการบันทึกเวชเวชระเบียน การจัดทำเวชระเบียนสำหรับผู้ป่วยทุกรายเพื่อให้เกิดการ  สื่อสารที่ดีระหว่างทีมงานผู้ให้บริการ เกิดความต่อเนื่องในการดูแลรักษา และประเมินคุณภาพการ ดูแลรักษาได้
  1. การจัดทำเวชระเบียนสำหรับผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับบริการของโรงพยาบาล โดยมีข้อมูลและรายละเอียดเพียงพอสำหรับวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
    • ทราบว่าผู้ป่วยเป็นใคร
    • ทราบเหตุผลของการรับไว้นอนในโรงพยาบาล
    • มีข้อมูลสนับสนุนการวินิจฉัยโรค
    • ประเมินความเหมาะสมของการดูแลรักษาผู้ป่วย
    • ทราบผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
    • เอื้ออำนวยต่อการดูแลอย่างต่อเนื่องของผู้ให้บริการ
    • ให้รหัสโรคได้อย่างถูกต้อง
    • นโยบายและวิธีปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับการบันทึกและการเก็บรายงานผลในเวชระเบียน
.ขอบเขตหน้าที่ ศักยภาพ ข้อจำกัด
ขอบเขตหน้าที่
  1. วางแผนยุทธศาสตร์ แผนการพัฒนา และออกแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ทั้งทางด้านHardware Software People wareเพื่อให้มีทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร
  3. วางแผนการพัฒนาทักษะด้านไอทีของบุคลากรของโรงพยาบาลทั้งผู้บริหารจัดการ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้อุปกรณ์สารสนเทศ
  4. วางแผนรองรับภัยพิบัติระบบสารสนเทศล่ม แนวทางการแก้ไขปัญหา
  5. กำหนดนโยบายการบริหารเวชระเบียน พัฒนาคุณภาพ ประเมิน ทบทวน ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเวชระเบียน
    การรักษาความปลอดภัย ความลับ และการสำรองข้อมูล
    บริการข้อมูลข่าวสาร และเผยแพร่ข้อมูลทางเวปไซด์ของโรงพยาบาล

ศักยภาพ
โรงพยาบาลตัวอย่าง เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง มีการสนับสนุนระบบไอทีอย่างเพียงพอ เชื่อมโยงระบบข้อมูลโดยระบบเครือข่าย และเชื่อมต่อข้อมูลกับหน่วยงานภายนอกโดยใช้ Internet ความเร็วสูง ADSL,Leased line
มีกรรมการสารสนเทศ ,ศูนย์คอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบงานสารสนเทศโดยตรง มีนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาโปรแกรม และมีช่างเทคนิคประจำสามารถดูแล ซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย
โรงพยาบาลตัวอย่างเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน และฝึกอบรมการใช้โปรแกรม HOSxP ให้กับโรงพยาบาลอื่นๆ ในจังหวัดเลย และจังหวัดใกล้เคียง

ข้อจำกัด
เนื่องจากอำเภอด่านซ้าย มีพื้นที่ที่เป็นภูเขาส่วนใหญ่ ทำให้การใช้งานระบบ Internet มีข้อจำกัดในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล

ความต้องการของผู้รับผลงานสำคัญ
ผู้รับผลงาน
ความต้องการ
ผู้อำนวยการ
มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อการบริหาร การจัดบริการ
ระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรรมการทีมประสานQMT
ข้อมูลข่าวสาร สถิติ ตัวชี้วัดที่สำคัญของโรงพยาบาล
ระบบการจัดการเอกสาร electronic
PCT
สถิติข้อมูลที่สำคัญ รายงาน ข้อมูลตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพ
มีระบบการรักษาความลับของผู้มารับบริการ
การจัดระบบไอทีเพื่อให้บริการกลุ่มโรคเรื้อรัง เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง ที่ รพ.สต.
ระบบข้อมูลการเยี่ยมบ้าน
CT
รพ.สต.มีการใช้โปรแกรม HOSxP PCU ครบทุกแห่ง
สรุปผลการใช้ยาของ รพ.สต.เพื่อบริหารจัดการเรื่องการเบิกจ่ายยา
RM
โปรแกรมเก็บข้อมูลและประมวลผลรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง
AIT
รายงานข้อมูลการเงินเพื่อจัดทำระบบบัญชี
ระบบงานพัสดุ และรายงาน
ระบบงานซ่อมบำรุง และรายงาน
โปรแกรมพิมพ์เช็ค
HRD
โปรแกรมบริหารงานบุคลากร การฝึกอบรม การลา
หน่วยงานต่างๆ ใน รพ.ข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ มีความปลอดภัย รวดเร็ว ถูกต้อง
คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในระบบ LAN โปรแกรม HOSxP ที่มีประสิทธิภาพตลอด 24ชม.
บุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสารสนเทศ
มีระบบป้องกันการระบุตัวผู้ป่วยผิดคน การเตือนการแพ้ยา หรือระบบข้อความเตือนอื่นๆเพื่อสื่อสารในการให้บริการ
ข้อมูลรายงานต่างๆ มีความถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา
ข้อมูลการรักษาพยาบาล ถูกต้อง ครบถ้วน
มีการปรับปรุงสิทธิผู้มารับบริการให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
ข้อมูลรายงานค่าใช้จ่ายผู้รับบริการมีความถูกต้อง ครบถ้วน
ผู้มารับบริการและญาติข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จัดเก็บได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นความลับ
มีระบบบริการที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
สสจ.เลยการจัดส่งรายงานครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา
บุคคลภายนอกมีเวปไซด์เพื่อประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสารข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
มีช่องทางการติดต่อสื่อสารข้อมูลและตอบข้อสงสัย หรือนัดหมายกับแพทย์
สปสช./กระทรวงมีการส่งข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา

ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ
  1. ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทันเวลาและตอบสนองต่อการนำไปใช้งาน
  2. มีการรักษาความลับอย่างเหมาะสม
  3. มีระบบคอมพิวเตอร์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการสำรองข้อมูล และมีแผนรองรับในการแก้ไขปัญหาป้องกันระบบล่ม
ความท้าทาย ความเสี่่ยงสำคัญ 
ความท้าทาย
  1. พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อนำสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาองค์กร
  2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการทำงานและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคลากร
  3. ข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยมีความสมบูรณ์
  4. พัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ความเสี่ยงที่สำคัญ
ากการวิเคราะห์และตรวจสอบความเสี่ยงต่างๆ ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงพยาบาลตัวเอย่างพบว่า ความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้
  1. เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรของหน่วยงาน(Human error) เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรของหน่วยงานขาดความรู้ความเข้าใจในเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งด้าน Hardware และ software  อันอาจทำให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเสียหายใช้งานไม่ได้หรือหยุดการทำงาน ส่งผลให้ไม่สามารถใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในเบื้องต้น จึงได้ประชุมชี้แจงและจัดให้เจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรม ให้มีความรู้ความเข้าใจในด้าน Hardware และ Software เบื้องต้นเพื่อลดความเสี่ยงด้านความผิดพลาดที่เกิดจากบุคลากรให้น้อยที่สุด
  2. ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus)สร้างความเสียหายให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ถึงขั้นใช้งานไม่ได้ มีการดำเนินการดังนี้
  3. ระบบไฟฟ้าขัดข้องหรือความเสียหายจากเพลิงไหม้ โดยได้ติดตั้งอุปกรณ์สำรองไฟฟ้า(UPS)เพื่อควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบเครื่องแม่ข่าย(server) กรณีเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะสามารถให้บริการได้ในระยะเวลาที่สามารถจัดเก็บและสำรองข้อมูลไว้อย่างปลอดภัย ส่วนการป้องกันความเสียหายอันเนื่องมาจากเพลิงมีระบบควบคุม  ป้องกันเพลิงไหม้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีเครื่องดับเพลิงติดตั้งตามจุดต่างๆในอาคารและทำป้ายบอกจุดติดตั้งเพื่อดับเพลิง
  4. โจรกรรมการขโมยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของห้องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ได้กำหนดห้ามผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณห้อง ยกเว้นหากจำเป็น จะต้องมีเจ้าหน้าที่ของฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นผู้รับผิดชอบนำพาเข้าไป สำหรับประตูเข้าออกได้ล๊อคประตูทุกครั้งและติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจสอบและจำกัดทางเข้าออกในช่วงนอกเวลาราชการ
2. กระบวนการสำคัญ (Key Process)
กระบวนการสำคัญ
สิ่งที่คาดหวัง
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
1.วางแผนยุทธศาสตร์ แผนการพัฒนาและออกแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ข้อมูล สารสนเทศมีคุณภาพสามารถมานำใช้ในการบริหาร บริการ และพัฒนาคุณภาพได้
  • ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามความต้องการของหน่วยงาน

ร้อยละความสำเสร็จของ    การดำเนินงานปรับปรุงพัฒนาระบบเครือข่ายตามแผน


ร้อยละของสถานีอนามัยใช้โปรแกรม HOSxP PCU
2.กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ทั้งทางด้านHardware Software People wareเพื่อให้มีทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร
  • ระบบ IT ที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อการให้บริการในหน่วยงาน
  • Hardware software มีมาตรฐาน


ร้อยละความสำเร็จของ การดำเนินงานพัฒนา
Software ตามแผน
3.วางแผนการพัฒนาทักษะด้านไอทีของบุคลากรของโรงพยาบาลทั้งผู้บริหารจัดการ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้อุปกรณ์สารสนเทศ
  • บุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม

ร้อยละของบุคลากร
กลุ่มเป้าหมายผ่านการ
อบรมทักษะความรู้ตาม
เกณฑ์ที่กำหนด
4.วางแผนรองรับภัยพิบัติระบบสารสนเทศล่ม แนวทางการแก้ไขปัญหา
  • มีแนวทางป้องกัน และแก้ไขปัญหากรณีระบบเครือข่ายล่ม


5. กำหนดนโยบายการบริหารเวชระเบียน พัฒนาคุณภาพ ประเมิน ทบทวน ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเวชระเบียน
  • การลงบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนมีความสมบูรณ์
  • เพื่อให้เกิดการสื่อสารระหว่างทีมสหวิชาชีพ
  • มีข้อมูลในการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องประเมินผลคุณภาพการรักษาได้
อัตราความสมบูรณ์ของเวชระเบียน

6. การรักษาความปลอดภัย ความลับ และการสำรองข้อมูล
  • ข้อมูลมีความปลอดภัย และมีระบบสำรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ


7. บริการข้อมูลข่าวสาร และเผยแพร่ข้อมูลทางเวปไซด์ของโรงพยาบาล


3. ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดคุณภาพ
ลำดับตัวชี้วัดเป้าปี2555หมายเหตุ
1.




2.




3.




4.




5.





4. ผลงานและความภาคภูมิใจ
  1. จัดทำ Datacenter โดยเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลและ รพ.สต.ทุกแห่ง ทำให้สามารถตรวจสอบและส่งต่อข้อมูลการเข้ารับบริการของสถานบริการแต่ละแห่งในเขตอำเภอด่านซ้ายได้
  2. พัฒนา Software เพื่อใช้ในงานของโรงพยาบาล ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อโปรแกรม
    1. โปรแกรม DSHOSxP
    2. โปรแกรม พิมพ์เช็ค
    3. โปรแกรม เยี่ยมบ้าน/รายงาน
    4. โปรแกรม บริหารความเสี่ยง (Risk Management)
    5. โปรแกรม DSDENT
  3. พัฒนาการลงบันทึก การตรวจสอบข้อมูล ทำให้ข้อมูล 18 จากการประมวลผลของ สปสช. มีความสมบูรณ์ร้อยละ 99.99
  4. พัฒนาระบบการลงทะเบียนแบบ On stop server ทำให้ลดระยะเวลารอคอย และลดความแออัดที่บริเวณอาคารผู้ป่วยนอก
  5. พัฒนาระบบงานพัสดุ ทำให้สามารถบริหารจัดการพัสดุต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. การปรับองค์กรสู่ Open source โดยติดตั้งและใช้โปรแกรม Free ware โดยเฉพาะมีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมจัดการเอกสารจาก MS office เป็น Libre office
  7. การจัดทำศูนย์ข้อมูลเอกสารโดยใช้ Dropbox ทำให้สามารถเชื่อมโยงเอกสารต่างๆ ลดความซ้ำซ้อนในการจัดทำเอกสาร มีความสะดวก รวดเร็วมากขึ้น
  8. พัฒนาระบบออกหน่วยบริการคลินิกพิเศษที่ รพ.สต. โดยมีระบบบันทึกข้อมูลที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของโรงพยาบาล ทำให้ลดความซ้ำซ้อนของการลงบันทึกข้อมูล
  9. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ศูนย์ฝึกอบรมและศึกษาดูงานการพัฒนาระบบสารสนเทศโดยโปรแกรม HOSxP และ HOSxP PCU ให้กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล และ รพ.สต.ต่างๆในเขตจังหวัดเลย และจังหวัดใกล้เคียง
5.แผนพัฒนาต่อเนื่อง

  1. พัฒนาระบบ Datacenter ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริการผ่านโปรแกรม HOSxP และ HOSxP PCU รวมถึงการจัดทำระบบรายงานต่างๆ ให้ครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน
  2. พัฒนาระบบโปรแกรมตามความต้องการของหน่วยงาน ดังนี้
    1. โปรแกรมซ่อมบำรุง
    2. โปรแกรมพัฒนาบุคลากร (MIS)
  3. ฝึกอบรมบุคลากรในการใช้ Software Open source ให้ได้ตามแผน
  4. ปรับเปลี่ยน Software ที่ใช้งานให้เป็น Free Software และ Softwareที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์   
  5. พัฒนาระบบ Internet โดยแยกออกจากระบบงานปกติ และให้ครอบคลุมการใช้งานในส่วนของโรงพยาบาลและบ้านพัก
  6. พัฒนาการ Web blogs เพื่อเผยแพร่ผลงานสำหรับทีมประสานและหน่วยงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น