วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

SPA II - 5.1 ระบบบริหารเวชระเบียน (MRS.1)


องค์กรจัดให้มีระบบบริหารเวชระเบียนที่มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย.
. การวางแผนและออกแบบระบบ
(1) มีการกำหนดเป้าหมายของการบันทึกเวชระเบียนร่วมกันโดยทุกวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง. เป้าหมายครอบคลุมการสื่อสาร ความต่อเนื่องในการดูแลรักษา และการประเมินคุณภาพ

เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
ทีมสหสาขาวิชาชีพและวันที่มาร่วมกันกำหนดเป้าหมาย


-       มีการประชุมตัวแทนกรรมการตรวจสอบเวชระเบียน จากหลากหลายสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด เพื่อกำหนดแนวทางการตรวจสอบเวชระเบียน และกำหนดมาตรฐานการบันทึกเวชระเบียนตามเกณฑ์มาตรฐานของ สปสช. และตามนโยบายของโรงพยาบาล
-       โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของเวชระเบียนผู้ป่วยในให้มากกว่า 80% และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก เพื่อความต่อเนื่องในการดูแลรักษาหลังจำหน่ายผู้ป่วย
-       กรรมการตรวจสอบเวชระเบียนร่วมกับทีมสารสนเทศได้ปรับเปลี่ยนแบบฟอร์มหน้าตาของเวชระเบียนผู้ป่วยนอกให้ถูกต้องตามเกณฑ์มากขึ้น และจัดทำ software เพื่อให้ง่ายต่อการประมวลผล มีแผนที่จะใช้ข้อมูลในปี 2554 ไปสู่การตั้งเป้าหมายในปีต่อไป
เป้าหมายที่ได้กำหนดร่วมกัน

-       การสุ่มตรวจเวชระเบียนผู้ป่วยนอกกำหนดไว้ที่ 3 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนผู้รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก สุ่มตรวจทุก 4 เดือน เฉพาะผู้รับบริการในช่วงเวลาทำการไม่นับรวมผู้ป่วยนัดทั่วไป กรณีผู้ป่วยที่มานอกเวลาราชการได้มีการตรวจสอบเวชระเบียน 100 เปอร์เซ็นต์จากองค์กรแพทย์
-       การสุ่มตรวจเวชระเบียนผู้ป่วยในกำหนดไว้ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ทุกเดือน หรืออย่างน้อย 25 แฟ้ม หรือ 5 แฟ้มต่อแพทย์เจ้าของไข้ 1 คน
ส่วนขาดที่ประเมินได้

-       การตรวจสอบเวชระเบียนผู้ป่วยนอกเนื่องจากพึ่งมีการกำหนดเกณฑ์ขึ้นใหม่และยังไม่มีข้อมูลในการตรวจสอบมาก่อนจึงกำหนดเป้าหมายของความสมบูรณ์เวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่ 72 เปอร์เซ็นต์



-       การลงนามให้แพทย์ทำหัตถการแก่ผู้รับบริการในใบ Informed consent  ตามเกณฑ์ใหม่ต้องมีการยินยอมจากผู้รับบริการเกือบทุกหัตถการไม่ว่าจะเป็นถอนฟัน เจาะปอด เจาะท้อง เย็บเอ็นรวมทั้งกล้ามเนื้อ แต่งแผล ผ่าผี ตัดไฝ ดัดกระดูกแบบที่ไม่ต้องผ่า ฯลฯเป็นหัตถการที่ทำเป็นประจำ ซึ่งพบว่าแบบฟอร์มเดิมไม่ได้กำหนดไว้ให้ผู้รับบริการหรือญาติลงนามยินยอม โดยทางกรรมการจะดำเนินการออกแบบฟอร์มและประชุมร่วมกับทีมสหวิชาชีพ

(2) การออกแบบระบบเวชระเบียนเป็นผลจากการประเมินความต้องการของผู้ให้บริการ ผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลและหน่วยงานภายนอก.
 เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
ความต้องการของผู้ใช้เวชระเบียน
-       แยกความต้องการตามวิชาชีพต่างๆ
-       แพทย์ พยาบาลต้องการ ลดความซ้ำซ้อนในการบันทึกเวชระเบียน  เข้าถึงข้อมูลสะดวกทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน  ดูข้อมูลย้อนหลังได้
-       เภสัชกร ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา สามารถลงประวัติแพ้ยาที่เชื่อมโยงทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ได้
-       สื่อสารให้ทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องรับทราบได้
-       ผู้บริหาร ต้องการบันทึกข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง สามารถส่งข้อมูลได้ทันเวลา
-       ผู้รับบริการ ต้องการขอข้อมูลการรักษาของตนเองได้ รักษาความลับเฉพาะบุคคล
-       เวชระเบียนไม่สูญหายหรือมีแนวทางรองรับ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลจากเวชระเบียนได้ ในส่วนผู้ป่วยนอกสามารถดูได้จาก Patient EMR ในโปรแกรม HOSxP  และผู้ป่วยในได้มีการสแกนเอกสารแยกเก็บตาม AN ตั้งแต่ปี 2553
-       มีการตรวจสอบข้อมูลก่อนบันทึก โดยค้นหาจากเลขประจำตัวประชาชน,ค้นหาจากการสแกนลายนิ้วมือกรณีผู้ป่วยต่างด้าว ที่ไม่มีข้อมูลบัตรประจำตัวหรือเอกสารยืนยันที่ชัดเจน และมีการบันทึกภาพถ่ายผู้รับบริการ เพื่อช่วยให้การการส่งข้อมูลเวชระเบียนเพื่อตรวจรักษาถูกต้อง ถูกคน
การปรับปรุงและ redesign ที่เกิดขึ้น
-       ลดความซ้ำซ้อนเช่น รวมแบบประเมินสมรรถนะผู้ป่วยไว้ในบันทึกadmission note  การบันทึกสัญญาณชีพ น้ำหนัก ส่วนสูง BMI ครั้งเดียวในระบบคอมพิวเตอร์สามารถดูข้อมูลได้ทุกจุดบริการ
-       มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในใบสั่งยา และหน้าจอจ่ายยาในโปรแกรม HOSxP  สามารถลงประวัติแพ้ยาและพิมพ์บัตรแพ้ยาได้ที่หน้าจอจ่ายยา 
-       ปรับปรุงแบบบันทึกให้สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจสอบเวชระเบียน ดังนี้
1.    งานอุบัติเหตุฉุกเฉินได้ปรับเมื่อ ต.ค. 2553 เพิ่มช่องลงบันทึกเวลาที่คนไข้มา เวลาที่ตรวจ เวลารายงานแพทย์ อันนำไปสู่การเก็บข้อมูลรายงาน
2.    จัดทำแบบฟอร์มการตรวจรักษาโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง HIV ซึ่งจะแสดงผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไว้ในใบสั่งยา
3.    จัดทำแบบฟอร์ม เพื่อเก็บข้อมูลบริการของงาน     ทันตกรรม โดยเพิ่มแบบฟอร์มเอนกประสงค์ (UE) และเปลี่ยนสีของกระดาษเวชระเบียนทันตกรรมเป็นสีฟ้า เพื่อให้แตกต่างจากการรับบริการจากแผนกผู้ป่วยนอก
4.    ในปี 2554 งานผู้ป่วยนอก ร่วมกับทีมสารสนเทศเปลี่ยนแบบฟอร์มในการพิมพ์เวชระเบียนผู้ป่วยนอกทั่วไป เพื่อให้สามารถพิมพ์ผลLabออกมาได้ ย่อตัวอักษรให้เล็กลงให้อยู่ในขนาดที่สามารถมองเห็นได้และใช้เนื้อที่อย่างคุ้มค่าที่สุด มีการเพิ่มช่องที่ต้องบันทึกและบังคับให้ลงในช่องที่จำเป็นต้องมีในผู้ป่วยทุกราย แสดงผลการตรวจ X-ray, U/Sดังตัวอย่างที่จะแสดง โดยทั้งหมดที่กล่าวมาถึงสามารถปรับเปลี่ยนได้เองตามความต้องการของผู้ใช้
-       เวชระเบียนผู้ป่วยใน มีการปรับการบันทึกทางพยาบาลจากเดิม Checklist เป็นแบบเขียนให้ตอบสนองกับเกณฑ์, ปรับรูปแบบบันทึกแรกรับโดยแพทย์ให้ง่ายต่อการบันทึกและช่วยเตือนในการประเมินให้ครบถ้วน


การประเมินว่าระบบที่ปรับปรุงแล้วตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้เพียงใด
-       หลังการปรับเปลี่ยนพบว่า สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี  ผู้ใช้พึงพอใจ
-       โรงพยาบาลได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากความสมบูรณ์ของข้อมูลมากขึ้น


(3) องค์กรมีนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเวชระเบียนผู้ป่วยที่เหมาะสม ในด้านการบันทึก การแก้ไข การรับคำสั่ง การใช้รหัสมาตรฐาน การจัดเก็บ การเข้าถึง และการทำลาย
เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
ปัญหาที่พบจากการสำรวจการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติ การปรับปรุงที่ได้ดำเนินการ และผลการประเมินรอบสุดท้าย
-       กรรมการสารสนเทศได้ปรับปรุงนโยบาย และวิธีปฏิบัติการบริหารเวชระเบียนเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน เมื่อ ตุลาคม 2553 และมีการติดตามเยี่ยมในบางหน่วยงาน เพื่อค้นหาความเสี่ยง การดำเนินงานตามนโยบาย และแนวทางปฏิบัติไปพร้อมๆกัน พบปัญหา ดังนี้
1.    การรับคำสั่งการรักษาทางวาจา (หรือโทรศัพท์) พบว่ายังมีบางส่วนไม่ได้รับการเซ็นชื่อรับรองโดยแพทย์อันเป็นการยืนยันคำสั่งการรักษาจริง
2.    พบปัญหาการลงรหัสโรค รหัสหัตถการไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วนได้จัดทำเอกสารการแก้ไขการลงรหัสโรค และรหัสหัตถการผิดพลาดที่พบจากการตรวจสอบส่งไปให้องค์กรแพทย์ และผู้เกี่ยวข้องทราบ
3.    พบปัญหาแฟ้มเวชระเบียนตกค้างตามหน่วยงาน ไม่ส่งกลับคืนห้องเวชระเบียนภายหลังเสร็จสิ้นการให้บริการ ทำให้เสียเวลาในการติดตาม ได้จัดทำแนวทางในการแก้ไขโดย ให้ลงรับกลับแฟ้มเวชระเบียนในโปรแกรม HOSxP ทุกวัน และเก็บข้อมูลเพื่อนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
4.    การปฏิบัติตามแนวทางการรักษาความลับผู้ป่วย พบว่ามีปัญหาเรื่องความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติไม่ตรงกัน ได้ดำเนินการแก้ไขโดยจัดทำเอกสารและประชุมชี้แจงบุคลากรใหม่ และประชุมชี้แจงบุคลากรประจำปี  100 เปอร์เซ็นต์



5.    การปรับปรุงกำหนดสิทธิ์ของผู้เข้าถึงข้อมูลและมีการกำหนดชั้นความลับของข้อมูลในโปรแกรม HOSxP
-       จากการประเมินในเดือน เม.ย. 2554 พบการลงรหัสการวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยใน มีความถูกต้องมากขึ้น ค่าเฉลี่ยในส่วนของคุณภาพการบันทึกการวินิจฉัยโรคและหัตถการเท่ากับ 86.02 % สูงกว่าเป้าหมาย และพบว่ามีการเซ็นกำกับคำสั่งการรักษาทางวาจาทุกครั้ง

(4) ข้อมูลในบันทึกเวชระเบียนได้รับการบันทึกรหัสและจัดทำดัชนีเพื่อนำไปประมวลผลเป็นสารสนเทศการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพในเวลาที่เหมาะสม.
เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
ปัญหาการบันทึกรหัส การประมวลผลสารสนเทศ และการปรับปรุงที่เกิดขึ้น
-       การให้รหัสวินิจฉัยโรค (ICD10)ไม่ถูกต้อง ซึ่งพบปัญหาจากแพทย์ใช้ทุนที่มาปฏิบัติงานใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการลงรหัส ทางทีมได้ดำเนินการแก้ไขโดยจัดทำคู่มือการลงวินิจฉัย,หัตถการ ,การใช้ ICD code map ในโปรแกรม HOSxP เพื่อช่วยค้นหาข้อมูลรหัสโรค และแจ้งข้อมูลกลับให้กับองค์กรแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
-       การให้รหัสวินิจฉัยหัตถการ(ICD9)ไม่ถูกต้องพบว่ามีปัญหาที่ฐานข้อมูลในโปรแกรม HOSxP มีการตั้งค่าฐานข้อมูลรหัส ICD9 ไม่ครบและไม่ครอบคลุมในหัตถการที่ได้ทำจริงใน รพ. จึงมีการประชุมเพื่อปรับปรับฐานข้อมูลใหม่
-       ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้จัดทำ software สำหรับตรวจสอบหาข้อผิดพลาดการลงรหัสการวินิจฉัยโรค รหัสหัตถการ และสามารถจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลได้ถูกต้อง และรวดเร็วมากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนในการลงบันทึกข้อมูลบางรายงาน
-       เพิ่มอัตรากำลังเจ้าพนักงานเวชสถิติอีก 1 ตำแหน่ง เพื่อดูแลและตรวจสอบการลงบันทึกรหัสการวินิจฉัยโรค ให้มีความสมบูรณ์ ครบถ้วน ถูกต้อง และทันเวลา ซึ่งทำให้ผลการส่งข้อมูล OPPP , ข้อมูลส่งเบิก สปสช.ผ่านโปรแกรม e claim และโปรแกรมต่างๆ มีผลคะแนนคุณภาพที่ดี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง คุณภาพของการส่งข้อมูล ของ สปสช.เขต 8 ในปี พ.ศ. 2552

การใช้ประโยชน์จากสารสนเทศที่ประมวลผลให้ CLT/PCT

-       การประมวลผลข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยคลินิกเบาหวานในโปรแกรม DSHOSxP จนได้รับรางวัลโปรแกรมเสริมดีเด่น จากทีมงานผู้พัฒนาโปรแกรม HOSxP ในปี 2553
-       มีการจัดทำรายงานตามความต้องการของหน่วยงาน โดยใช้ผ่าน custom report ในโปรแกรม HOSxP เพื่อให้หน่วยงานสามารถประมวลผลรายงานได้เอง  ซึ่งได้ใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลนำเข้าประกอบการวางแผนขององค์กร และหน่วยงาน เช่น อันดับโรคผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ฯลฯ
-       นำข้อมูลสารสนเทศที่ประมวลผลแล้วนำเสนอเป็นสรุปข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ เผยแพร่ผลงานผ่านทางเวปไซด์ของโรงพยาบาล

(5) องค์กรประเมินและปรับปรุงระบบบริหารเวชระเบียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าระบบตอบสนองความต้องการขององค์กรและผู้ป่วย.
เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารเวชระเบียนและการปรับปรุงที่เกิดขึ้น
-       มีการเยี่ยมสำรวจในแต่ละเดือนๆละ 1-2 หน่วยงานโดยกรรมการสารสนเทศ เน้นตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะไปปรับปรุงระบบบริหารเวชระเบียนให้เหมาะสมแต่ยังไม่ได้ทำการประเมิน เรื่องการปฏิบัติตามระเบียบ แนวทางปฏิบัติอย่างครอบคลุม
-       มีรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการค้นหาเวชระเบียนไม่พบ ต้องออกบัตรแทน ในรอบ 3 ปี ลดลง (ปี 2551 พบ 12 ครั้ง ปี 2552 พบ 9 ครั้ง และในปี 2553 พบ 6 ครั้ง)
-       มีรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดการเปิดเผยความลับในเวชระเบียน เช่น พบเวชระเบียนวางไว้ในจุดบริการที่ไม่เหมาะสม มีบุคคลภายนอก เช่น นักศึกษาฝึกงานเข้าใช้โปรแกรมHOSxP โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงได้มีการชี้แจงเรื่อง การรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล ให้กับเจ้าหน้าที่100% เมื่อ 7-8 พฤษภาคม 2554




-       ปีงบประมาณ 2553 มีรายงานผลการส่งข้อมูลผู้ป่วยในจาก สปสช.พบว่ามีค่า AdjRW เฉลี่ย 0.72 สูงกว่าในปี 2552 ที่มีค่า AdjRW เฉลี่ย 0.66 และสูงกว่าโรงพยาบาลในระดับเดียวกันภายในจังหวัด (รพ.ชุมชนขนาด 60 เตียงภายในจังหวัดทุกโรงมีค่า AdjRW ต่ำกว่า 0.7) ซึ่งค่า AdjRW เป็นค่าที่แสดงถึงศักยภาพการให้บริการและคุณภาพการบันทึกข้อมูลของโรงพยาบาล และพบการถูกเรียกสุ่มตรวจแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยใน  เพื่อค้นหาความผิดพลาดโดยคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน สปสช. มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง (จำนวนสุ่มตรวจลดลงส่วนหนึ่งหมายถึงการตรวจพบความผิดพลาดน้อยลง) ในปี 2551 ถูกสุ่มจำนวน 95 แฟ้ม ปี 2552 ถูกสุ่มจำนวน 65 แฟ้ม ในปี 2553 ถูกเรียกสุ่ม 40 แฟ้ม และในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ถูกเรียกสุ่ม 34 แฟ้ม

. การรักษาความปลอดภัยและความลับ
(1) เวชระเบียนได้รับการป้องกันการสูญหาย ความเสียหายทางกายภาพ และการแก้ไขดัดแปลง เข้าถึง หรือใช้โดยผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่.
เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
ความเสี่ยงที่สำรวจและวิเคราะห์ได้ และการดำเนินการปรับปรุงที่เกิดขึ้น
-       สถานที่เก็บเวชระเบียนเป็นสัดส่วนเฉพาะ มิดชิด ห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องแต่อยู่ในห้องที่มีโครงสร้างค่อนข้างเก่าแก่มีอายุการใช้งานมากกว่า 20 ปี ส่งผลให้เอกสารเวชระเบียนบางส่วนชำรุดจากน้ำฝนที่ซึมผ่านโครงสร้างตึก ได้ดำเนินการแก้ไขโดยปรับเปลี่ยนตู้เก็บเวชระเบียนให้กันน้ำได้ และขนย้ายแฟ้มเวชระเบียนที่ถูกเรียกใช้งานน้อยไปคลังเก็บเอกสารของโรงพยาบาล
-        กำหนดลำดับชั้นของการเข้าถึงข้อมูล ในโปรแกรม HOSxP เช่น เจ้าหน้าที่ห้องบัตรสามารถทำบัตรใหม่ บันทึกข้อมูลประวัติทั่วไป ส่งตรวจรักษา  แต่ไม่สามารถเข้าดูข้อมูลประวัติการรักษาได้ทั้งหมด





-       ปรับปรุงระบบการรับ-ส่งเวชระเบียนในแต่ละวันเพื่อป้องกันความเสี่ยงเรื่องแฟ้มเวชระเบียนสูญหาย โดยกำหนดให้มีการบันทึกการส่งออกแฟ้มเวชระเบียนไปตามจุดบริการต่างๆ พร้อมทั้งจัดให้มีการติดตามรับกลับโดยใช้โปรแกรม HOSxP เพิ่มความสะดวกในการทำงานมากยิ่งขึ้น
-       ข้อมูลมีโอกาสสูญหายจาก server เสียหายป้องกันโดยทำระบบสำรองโดยมีserverหลัก /รองที่แยกจากกัน และสำรองข้อมูลทุกวัน  เวชระเบียนมีโอกาสถูกแก้ไขดัดแปลงจากการ hac ป้องกันโดยให้ มีรหัสเฉพาะบุคคลและรหัสเดียวใช้ได้ 1 เครื่องในเวลาเดียวกัน กำหนดให้เปลี่ยนรหัสผ่านทุก6เดือน มีระบบบันทึกการเข้าใช้งาน และการแก้ไขข้อมูลต่างๆ  การแก้ไขข้อมูลให้สิทธิเฉพาะผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น

(2) องค์กรกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่จำเป็นเพื่อรักษาความลับของข้อมูลและสารสนเทศของผู้ป่วยในเวชระเบียน.
เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
ปัญหาที่พบจากการสำรวจการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติ การปรับปรุงที่ได้ดำเนินการ และผลการประเมินรอบสุดท้าย
-       จัดทำระเบียบปฏิบัติเรื่อง “นโยบายการบริหารเวชระเบียน” และประชุมชี้แจงให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคนทราบ โดยเฉพาะเรื่องความลับของผู้ป่วยและความปลอดภัยของข้อมูล” กรณีมีบุคลากรใหม่เข้ามาปฏิบัติงานจะต้องผ่านการอบรมการใช้งานก่อนที่จะกำหนด username และ รหัสผ่าน สำหรับการเข้าใช้งานในโปรแกรม HOSxP
-       รายละเอียดดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

(3) องค์กรให้ความรู้แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการรักษาความลับ วิธีการจัดการเมื่อมีการขอให้เปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นการละเมิดการรักษาความลับ

เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
วิธีการปลูกจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อการรักษาความลับ
-       มีเอกสารระเบียบปฏิบัติเรื่อง “นโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบบริหารงานเวชระเบียน” และจัดให้มีการชี้แจงเป็นประจำปีแก่เจ้าหน้าที่ทุกคน และโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติงานใหม่ต้องจัดให้มีการชี้แจงผ่านกระบวนการปฐมนิเทศ ถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด เปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นความลับของผู้รับบริการว่ามีบทลงโทษสถานใดบ้าง
-       มอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงานชี้แจงวิธีปฏิบัติเรื่อง การขอให้เปิดเผยข้อมูลเวชระเบียนแก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน

(4) องค์กรมีกระบวนการให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศในเวชระเบียนของตนได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายร่วมอยู่ด้วย.
เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
ประเมินผลด้วยวิธีเชิงคุณภาพ (จุดแข็ง จุดอ่อน เรื่องเล่า) เกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานข้อนี้

-       กรณีผู้ป่วยหรือญาติขอดูข้อมูลประวัติการรักษาขณะเข้ารับบริการ อนุญาตให้ดูข้อมูลได้เมื่อมีเจ้าหน้าที่อยู่ด้วย และหากต้องการนำข้อมูลออกนอกโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่เวชระเบียนจะทำสำเนาให้ และต้องขออนุญาตผู้อำนวยการโรงพยาบาลตามวิธีปฏิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น