วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

Refer Link..ทีมจังหวัดเลย

วันนี้มีโอกาสเข้าไปร่วมประชุมกับทีม Admin และผู้รับผิดชอบงานระบบส่งต่อของจังหวัดเลย โดยทีมผมมีพี่ปุ๊ หัวหน้างานอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ซึ่งผมทราบทีหลังจากที่นั่งคุยกันว่าพี่ปุ๊เป็นคณะกรรมการระดับจังหวัดด้วย) ซึ่งที่มาที่ไปของคณะกรรมการชุดนี้ ผมเข้าใจว่าคงเป็นทีมพัฒนาระบบส่งต่อในจังหวัดเลย ที่ผ่านมายังไม่ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเก็บบันทึก และวิเคราะห์ข้อมูล ในรายละเอียดผมยังไม่ทราบมากนักคงต้องสอบถามกับทางผู้รู้อีกที

ประเด็นพูดคุยกันในวันนี้ มีวาระดังนี้ครับ

ซึ่งก่อนหน้านี้มีการประชุมแนะนำโปรแกรมโดยทีมของ จังหวัดร้อยเอ็ดที่มาลงพื้นที่ติดตั้งและสาธิตการใช้โปรแกรมเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา  ในครั้งนี้มี Admin มากันไม่กี่คนส่วนใหญ่เป็นผู้รับผิดชอบงานระบบส่งต่อของแต่ละโรงพยาบาล และมีการทดสอบการใช้งานกันในโรงพยาบาลชุมชนไม่กี่แห่ง
ผมเองก็ยังงงๆ ครับ เพราะทราบข่าวจากทาง Facebook และการพูดคุยกับน้องๆ Admin บางโรงพยาบาลว่าจะต้องติดตั้งระบบ Refer link ตอนนั้นยังคิดว่าคงจะเริ่มใช้บางแห่ง เพราะไม่ได้รับการประสานจากทางพยาบาลที่ไปเข้าร่วมประชุม และไม่มีรายละเอียดชี้แจงอะไรเพิ่มเติม จนกระทั่งผมไปเข้าร่วมประชุม กวป. ซึ่งได้มีการชี้แจงว่าจะมีการใช้ระบบ Refer Link ในวันที่ 9 มกราคม 2555 ผมนึกในใจว่าจะทำได้ง่ายขนาดนั้นเชียวเหรอ..
หลังจากที่ได้ชี้แจงในที่ประชุมกรรมการบริหาร มีคำถามหลายข้อที่ผมเองก็ตอบไม่ได้ว่าแนวทางของทีมพัฒนาระบบส่งต่อจะทำอย่างไร ให้ใช้โปรแกรม Refer Link แล้วใครจะคีย์ จะต้องมีใบส่งตัวหรือไม่มี ฯลฯซึ่งยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน 

ด้วยความที่เกรงว่าจะตกขบวน ผมจึงให้อาร์มติดตั้งโปรแกรมและทดสอบการใช้งานที่ห้องฉุกเฉินดู จากการทดสอบคร่าวๆ พบว่ามันมีความซ้ำซ้อนกับข้อมูลใน HOSxP จึงยังรอความชัดเจนจากทีมจังหวัดเลยอีกทีว่าจะเอาอย่างไร  จนกระทั่งวันนี้มีการประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานอีกครั้ง เพื่อรับฟังปัญหาการใช้งาน และแนวทางที่จะดำเนินการต่อไป

:: Refer Link  ทำไมต้องใช้ ดีอย่างไร? คำถามที่ต้องหาคำตอบ
ผมคงยังตอบคำถามนี้ไม่ได้ เพราะบทเรียนหลายๆครั้งบอกเราว่า เวลาจะเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ โดยเฉพาะระบบที่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายและใช้ในรูปแบบเครือข่ายที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนหลายคน มันไม่ใช่แค่มี Hardware software และ Peopleware แล้วทุกอย่างจบ โดยเฉพาะทัศนะคติของคนทำงานที่ต้องทำความเข้าใจกันให้มาก และที่สำคัญคือการเลือก software ที่ต้องคิดกันให้เยอะๆ

เท่าที่ผมไปติดตามความเคลื่อนไหวของระบบ Refer Link ของจังหวัดร้อยเอ็ดมีข้อมูลที่น่าสนใจที่คิดว่าทีมโรงพยาบาลชุมชนควรรู้ไปด้วยกัน ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดได้มีการขับเคลื่อนการภายในจังหวัดและขยายผลไปยังจังหวัดอื่น มีการประชุมติดตามงานที่ดูคึกคักมากครับ ทีมจังหวัดเลยของเราก็เคยไปศึกษาดูงานมาแล้วเมื่อประมาณกลางปี 2554 

รายละเอียดต่างๆ พวกเราสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของ Refer Link ร้อยเอ็ดได้ที่นี่ครับ

ในขณะที่จังหวัดอื่นอย่างลำปาง ที่มีการนำ Refer Link ของร้อยเอ็ดไปต่อยอด ก็มีการพัฒนาที่เพิ่มมากขึ้นจากที่ทีมร้อยเอ็ดได้พัฒนาไว้

นอกจากนี้ ระบบ Refer ยังมีการพัฒนาในแต่ละจังหวัดที่แตกต่างกันไป เช่น

แม้กระทั่ง BMSเจ้าของ HOSxP ที่กำลังพัฒนา Data center ลงในหลายจังหวัด ก็ยังมีระบบ Referal System ทุกโปรแกรมมีข้อดีและข้อด้อยครับ  ซึ่งคงเป็นการบ้านที่ทีมจังหวัดเลยต้องไปคิดกันต่อว่าจะทำอย่างไร

:: เริ่มต้นใหม่? หรือจะไปต่อ
ในบทส่งท้าย มีความเห็นหลายอย่างที่ผมคิดว่าคณะกรรมการพัฒนาระบบส่งต่อคงต้องกลับมาทบทวนกันใหม่ โดยเฉพาะปัญหา Software ที่ยังค่อนข้างมี Bug และการสนับสนุนแก้ไขปัญหายังต้องพึ่งพาจากทางทีมร้อยเอ็ดเป็นหลัก
ซึ่งในที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าควรให้ทางทีม Admin ได้ประชุม พูดคุย ศึกษาการใช้งานโปรแกรม Refer Link กันก่อนเพื่อหาแนวทางในการทำงาน ที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลในจังหวัดเลย ซึ่งนัดประชุมกันในต้นเดือนกุมภาพันธ์ และประชุมนำเสนอทางเลือกให้ทีมชุดใหญ่อีกครั้งในกลางเดือน..

และในที่ประชุมกลุ่ม Admin ได้เสนอให้ลองดูทางเลือกอื่น เช่น Refer link ของทีมลำปาง ให้นำมาศึกษาไปร่วมกัน หรือแม่้กระทั่งการพัฒนาขึ้นใช้เอง..
ยังไม่มีทางเลือกใดเป็นคำตอบที่ดีที่สุดในขณะนี้..แต่มองในแง่ดีอย่างน้อยเราก็ยังมีทางให้เลือก

:: ช่องทางการติดต่อสื่อสารของทีมจังหวัดเลย

ผมคิดว่าน้องๆ Adminหลายๆคนคงมีไอเดีย ที่อยากนำเสนอในการวางระบบรับส่งต่อของจังหวัด อย่างไรลองกลับไปช่วยกันคิดดูครับ เพราะการพัฒนาระบบรับส่งต่อตรงนี้ ประโยชน์ของมันคือสารสนเทศที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาระบบรับส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ..



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น