วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปผลงาน รอบ 1 เดือน

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 มีนัดหมายกับพี่พรรณและทีมกรรมการบริหารของโรงพยาบาลอุบลรัตน์ เพื่อรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศ ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา หลังจากที่มีการติดตั้งและใช้งาน HOSxP และ HOSxP PCU ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555

ต้องยอมครับว่าโรงพยาบาลอุบลรัตน์ แม้จะไม่มีนักคอมพิวเตอร์ที่เฉพาะทางมาดูแลงานด้านนี้โดยตรงซึ่งต้องเจอกับปัญหาการดูแล Hardware และ software รุมเร้าอยู่หลายเรื่อง ทีมดูแลซึ่งผ่านการฝึกอบรมที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ก็มีทักษะเบื้องต้นในการแก้ไข HOSxPเท่านั้น ปัญหาอื่นๆ จึงเป็นการเรียนรู้ และแก้ไขกันวันต่อวัน  โดยเฉพาะปัญหา Hareware ที่ค่อนข้างจะจุกจิก เปิดเครื่องไม่ได้ พิมพ์ไม่ออก เข้า HOSxP ไม่ได้ ฯลฯ ต้องชมเชยความอึดของทีมผู้ดูแลที่ต้องรับภาระหนักในช่วงเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมาครับ

แม้ว่าปัญหาเรื่องนักคอมพิวเตอร์จะเป็นจุดอ่อน แต่ก็มีจุดแข็งชดเชยคือ การใช้ความรู้ความสามารถของทีมเครือข่าย ทำให้ในแต่ละวันทีม adminของโรงพยาบาลอุบลรัตน์ ได้รับการดูแล ช่วยเหลือจาก adminจากหลายๆ โรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น นาแห้ว, แวงใหญ่,ซำสูง ,หัวตะพาน, รพ.เลย,รพ.ภูหลวง ฯลฯ ซึ่งก็ช่วยแก้ปัญหาไปได้ระดับหนึ่ง ที่สำคัญคือ ทีมของ รพ.อุบลรัตน์ ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเองมากขึ้น

ประเด็นที่ผมนำเสนอคณะกรรมการบริหารในเดือนแรก มีเรื่องที่สำคัญดังนี้ครับ
  1. เรื่องแรก เป็นการทบทวนนโยบายขององค์กรเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาสารสนเทศ ว่าต้องการมุ่งมั่นไปทางไหน โดยจุดประสงค์สำคัญ คือ เพื่อย้ำให้กรรมการบริหารให้เข้าใจและช่วยกันผลักดัน เพราะงานนี้ไม่ได้พัฒนาแค่ระบบคอมพิวเตอร์(IT) แต่เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศ(IM) ของทั้งโรงพยาบาล
  2. เรื่องที่สองผมได้นำเสนอผลการดำเนินงานในรอบ 1เดือน ซึ่งผมได้นำเสนอรายงานหลักๆ ที่สามารถประมวลผลออกมาตรวจสอบได้แล้ว และได้ชี้ประเด็นปัญหาของการไม่ลงข้อมูลทำรายงานบางตัวไม่สามารถแสดงผลได้ต่ำกว่าความเป็นจริง รวมถึงการลดความซ้ำซ้อนของการจัดทำทะเบียนต่างๆ ที่น่าจะลดได้ โดยต้องติดตามความคืบหน้าต่อไป
  3. เรื่องที่สาม เป็นเรื่องมาตรการป้องกันปัญหาภัยพิบัติทางด้านไอทีที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะโรงพยาบาลอุบลรัตน์เริ่มใช้ข้อมูลเต็มระบบมากขึ้น เจ้าหน้าที่มีความชำนาญ มีความคล่องตัวในการใช้ HOSxP มากขึ้นเท่าไหร่ ระบบไอทีล่ม จะมีผลกระทบต่อการทำงานทีจะเพิ่มขนาดของปัญหามากขึ้นด้วยเช่นกัน ในส่วนของ Hardware  ในช่วง 6 เดือนแรกอาจจะยังไม่ค่อยมีปัญหามาก แต่ในระยะยาวจะมีปัญหาอุปกรณ์เสื่อมสภาพ  และถ้าหากขาดการดูแลก็จะทำให้มีปัญหาติดขัดบ่อยครั้ง ในส่วนของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย การโจรกรรม การดูแลป้องกันเครื่อง server และการสำรองข้อมูล สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ยังไม่เกิด แต่ต้องมีการวางมาตรการในการแก้ไขปัญหาเตรียมไว้เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น
  4. เรื่องสุดท้าย ผมนำเสนอเรื่องของการตรวจสอบข้อมูลและโปรแกรมอื่่นๆ ที่ใช้ร่วมกับ HOSxP ซึ่งจะเชื่อมโยงข้อมูลผู้รับบริการจากโปรแกรม HOSxP มาใช้ประโยชน์ได้ เช่น โปรแกรมคำนวนอัตรากำลัง โปรแกรมบริหารความเสี่ยง ฯลฯ
ยังมีงานหนักในช่วงเดือนที่สองของการทำงานคือ การส่งออกข้อมูล OPPP ส่ง สปสช. และ สนย. ซึ่งจะต้องปรับฐานข้อมูลให้มี error น้อยที่สุด จากการส่งข้อมูลเดือนมกราคม ออกมาตรวจสอบยังพบปัญหาหลักๆ คือ การลง Dx ที่ยังลงไม่ครบถ้วนโดยเฉพาะในสัปดาห์แรกของการติดตั้งระบบ แต่ถ้าเปรียบเทียบผลการส่งออกแค่ครึ่งเดือนของเดือน มกราคม ผลการส่งออกข้อมูลที่ยังไม่ได้ปรับแก้ ก็ถือว่าทีมทำได้ค่อนข้างดีทีเดียวครับ

ผลการตรวจสอบจากโปรแกรม OPPP ของ สปสช. (ข้อมูลระหว่างวันที่ 16-31 มกราคม 2555)



หมายเหตุ ขอบคุณ รพ.หัวตะพานที่ช่วยตรวจสอบ

ข้อมูลจากโปรแกรมเดิม จากหน้าเวป OPPP ของ รพ.อุบลรัตน์มีการส่งข้อมูลทั้งหมด 5 ครั้ง




3 ความคิดเห็น:

  1. .ความสวยงามของการรอคอย
    เพราะกว่าจะได้เห็นน้ำตก...เราก้อต้องเดินทางผ่านป่าลึก
    น้ำตกธรรมดาๆๆ..จึงดูสวยยิ่งกว่าที่มันเป็น
    เช่นเดียวกับการรอคอย...บนวันเวลาอันเนิ่นนาน
    จะทำให้เราได้สัมผัสกับความพิเศษ..ของสิ่งธรรมดาที่กำลังเดินทางมาถึง..

    ตอบลบ
  2. กำลังใจส่งไปจากภูหลวงเด้อหล่า... ^__^

    ตอบลบ
  3. อยากกลับไปนับ 1 ใหม่จัง
    เศร้าใจตัวเอง เริ่มก่อนเพื่อนแต่เดินตามหลังเพื่อน T__T

    ตอบลบ