วันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2555 ผมมีนัดกับทีม รพ.เลย เรื่องการอบรมการใช้ HOSxPสำหรับ ครู ก ที่จะเป็นทีมงานหลักในการดูแลฝึกอบรมสำหรับผู้ใช้รุ่นต่อไป โดยเนื้อการฝึกอบรมในช่วง 2 วันนี้จะเป็นการพูดถึงการใช้งาน HOSxPในภาพรวมๆ เพื่อให้ทีมงานเห็นความเชื่อมโยงระบบสำคัญๆ ก่อนที่จะลงในรายละเอียดของแต่ละหน่วยงาน..
ขณะที่กำลังจะออกเดินทางคุณหมอวิฑูรย์ โทรแจ้งประสานกับผมเรื่องสถานที่จอดรถของวิทยากร คล้อยหลังจากนั้นไม่นานพี่สมพงษ์ พ่อบ้านก็โทรมาแจ้งให้ทราบอีกครั้ง ซึ่งต้องขอขอบพระคุณทุกท่านครับที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทุกอย่าง
ระหว่างเดินทาง ผมนั่งคิดไปจะเริ่มต้นและลงท้ายอย่างใน เพราะจากเนื้อหาหลักสูตร 5 วัน ต้องพยายามดันให้จบภายใน 2วัน ที่สำคัญ HOSxPในช่วง 2-3ปีมานี้ มีรายละเอียดที่เยอะมากในแต่ละโมดูล ถ้าลงรายละเอียดมากไปก็จะไม่เห็นภาพรวมทั้งระบบ ผมจึงคิดว่าจะเน้นโมดูลหลักๆ และเทคนิคการใช้งานที่เป็นพื้นฐานสำหรับ HOSxP กันก่อน..
เนื้อหาในวันแรก เป็นโมดูลของห้องบัตร จุดคัดกรอง และห้องตรวจโรค ซึ่งผมคิดว่าน่าจะช่วยให้ต่อยอดไปยังโมดูลอื่นๆ ได้ไม่ยาก เพราะรายละเอียดบางอย่าง เช่น การนัด Refer, Admit ,สั่ง Lab ,xray และ สั่งยา จะมีวิธีการใช้งานคล้ายๆ ถ้าเข้าใจวิธีการทำงานก็สามารถใช้งานได้ไม่ยาก เทคนิคการคลิกขวาของ HOSxP เป็นอีกจุดหนึ่งที่ผมคิดว่า ช่วยให้การทำงานหลายอย่างดูง่ายขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับอย่างหนึ่งครับว่า ใครที่มีโอกาสได้เห็นหน้าตาของ HOSxP โดยเฉพาะโมดูลคัดกรองและห้องตรวจแพทย์ ที่มีปุ่ม มีเมนูย่อยเยอะแยะมากมาย จนลายตา บางเมนูก็มีการทำงานซ้ำๆ ซึ่งทำให้น่าจอการใช้งานดูท่าจะสร้างความปวดหัวให้กับผู้ใช้ไม่น้อย.. ที่น่าดีใจก็คือ ช่วงสองวันนี้มีตัวแทนจากทุกองค์กรเข้าร่วมรับฟังกันค่อนข้างเยอะทีเดียวครับ แม้อาจจะไม่จะยังไม่เข้าใจมากในการฟังครั้งแรกๆ แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี.. ในช่วงที่ฝึกอบรม หลายคนจะมีสีหน้าครุ่นคิด แต่หลายคนก็มีแววตาที่ดูมีความสุขนะครับ..
เนื้อหาในวันแรก เป็นโมดูลของห้องบัตร จุดคัดกรอง และห้องตรวจโรค ซึ่งผมคิดว่าน่าจะช่วยให้ต่อยอดไปยังโมดูลอื่นๆ ได้ไม่ยาก เพราะรายละเอียดบางอย่าง เช่น การนัด Refer, Admit ,สั่ง Lab ,xray และ สั่งยา จะมีวิธีการใช้งานคล้ายๆ ถ้าเข้าใจวิธีการทำงานก็สามารถใช้งานได้ไม่ยาก เทคนิคการคลิกขวาของ HOSxP เป็นอีกจุดหนึ่งที่ผมคิดว่า ช่วยให้การทำงานหลายอย่างดูง่ายขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับอย่างหนึ่งครับว่า ใครที่มีโอกาสได้เห็นหน้าตาของ HOSxP โดยเฉพาะโมดูลคัดกรองและห้องตรวจแพทย์ ที่มีปุ่ม มีเมนูย่อยเยอะแยะมากมาย จนลายตา บางเมนูก็มีการทำงานซ้ำๆ ซึ่งทำให้น่าจอการใช้งานดูท่าจะสร้างความปวดหัวให้กับผู้ใช้ไม่น้อย.. ที่น่าดีใจก็คือ ช่วงสองวันนี้มีตัวแทนจากทุกองค์กรเข้าร่วมรับฟังกันค่อนข้างเยอะทีเดียวครับ แม้อาจจะไม่จะยังไม่เข้าใจมากในการฟังครั้งแรกๆ แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี.. ในช่วงที่ฝึกอบรม หลายคนจะมีสีหน้าครุ่นคิด แต่หลายคนก็มีแววตาที่ดูมีความสุขนะครับ..
ปัญหาที่พบในวันแรก หลักๆ เป็นปัญหาเรื่องฐานข้อมูลที่ยังไม่เรียบร้อยครับ ที่สำคัญๆ มีดังนี้ครับ
- ฐานข้อมูลสิทธิ มีการปรับใหม่ตามมาตรฐานตัวใหม่ แต่กลายเป็นประเด็นที่อาจจะสร้างความยุ่งยากในการทำความเข้าใจเวลาใช้ส่งตรวจหรือทำรายงานพอสมควร เพราะหลายสิทธิมีการใช้งานที่แยกกันลำบาก ซึ่งผมได้แนะว่าให้ใช้สิทธิเดิมที่ รพ.เคยใช้ และใช้วิธีการ mapกับฐานข้อมูลสำหรับส่งออกแทน
- แบบฟอร์ม UE นำเข้าไม่ครบ
- ฐานข้อมูลค่ารักษาพยาบาล ที่โอนมาจากโปรแกรมเดิมยังผิดหมวด และบางรายการไม่มี
- ฐานข้อมูล Lab ,x-ray ยังลงรายละเอียดไม่ครบ
- ฐานข้อมูลบุคลากร ยังกำหนดไม่ครบทุกแผนก ทำให้การสาธิตการใช้งานบางโมดูลไม่มีรายชื่อเจ้าหน้าที่ให้เลือก
- แบบฟอร์มต่างๆ หลายรายการยังไม่มี /ไม่ได้แก้ไขให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และยังเป็นของ รพร.ด่านซ้าย
- การใช้งานยังรู้สึกหน่วงๆ อื่ดๆ อยู่ครับ ทั้งๆที่ใช้งานไม่เยอะเท่าไหร่ ซึ่งดูจะผิดปกติเกินไปสำหรับ Hardware รพ.เลย ที่มีสมรรถนะสูงมาก
ในวันที่สอง มีทีมงานเข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งเดิมทีผมคิดว่าจะเป็นทีมเดียวกันทั้งหมดกับวันแรก ทำให้อาจจะห้ต่อกันไม่ค่อยติดสำหรับคนที่เข้ามาฟังในวันที่ 2โดยเฉพาะวิธีใช้งานพื้นฐานที่คุยกันตั้งแต่เมื่อวาน
ส่วนของฐานข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์ ยังเป็นจุดที่คงต้องเร่งทำความเข้าใน และให้ผู้เกี่ยวข้องรีบแก้ไข ส่วนของฟอร์มรายงาน ผมคิดว่าคงจะเอาไฟล์ล่าสุดของ รพร.ด่านซ้าย ไปนำเข้าใหม่จะได้ฟอร์มที่ครบถ่้วนมากกว่า
หลังจากนี้คงต้องมานัดปรับฐานกันอีกรอบและติดตามกันจริงๆจังครับ ไม่งั้นคงไม่เสร็จ ซึ่งผมได้พยายามเน้นให้ทีม รพ.เลยเข้าใจว่า ข้อมูลพื้นฐานเป็นสิ่งที่สำคัญมากทำครั้งเดียว ถ้ากำหนดไว้ให้ละเอียดมากเท่าไร จะช่วยให้การใช้งานง่าย และส่งผลถึงการทำรายงานด้วยอีกด้วย.**.
ยังมีงานใหญ่ๆ รออยู่ข้างหน้าอีกเยอะครับ งานส่วนใหญ่มีความคืบหน้าไปพอสมควร อาจจะะยังไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้นักแต่ก็ได้เห็นพัฒนาการหลายอย่าง อย่างน้อยตอนนี้ก็มีคนเริ่มเข้าใจการเชื่อมโยงข้อมูลของฐานค่ารักษา เข้าใจวิธีการใช้งานมากขึ้น
หลังจากวันนี้ คงต้องมาทบทวนกลยุทธ์กันใหม่ครับ ว่าจุดอ่อนยังอยู่ที่ไหนอีกบ้าง ตรงไหนพอจะแก้ไขได้เลย เท่าที่ผมดูตอนนี้ตัวโครงสร้างฐานหลัก พอไปได้แล้ว แต่ส่วนฐานของห้อง Lab ยังต้องรีบแก้เพราะจะต้องเชื่อมกับ LIS และฐานวัสดุการแพทย์จะต้องใช้ในห้องผ่าตัดที่น่าจะเอามาใช้ใน HOSxP ได้เลย ซึ่งผมอาจจะต้องเริ่มระบบ Inventory ที่เป็นตัวฟรีใน HOSxP โดยใช้กับฐานของห้องผ่าตัดไปก่อน
ยังมีงานทำคู่มือและวิดีโอช่วยสอนที่ต้องเร่งทำให้เสร็จครับ ..
.......................................................................................................................................................
46 วินาที
อิวาน ออร์กิน เปิดร้านราเม็งในญี่ปุ่น...
นี่คงไม่ใช่เรื่องประหลาดอันใด หาก อิวาน ออร์กิน ไม่ใช่ชาวอเมริกัน46 วินาที
อิวาน ออร์กิน เปิดร้านราเม็งในญี่ปุ่น...
ฝรั่งเปิดร้านราเม็งในญี่ปุ่นฟังดูเป็นเรื่องเหลวไหลพอๆ กับชาวเอสกิโมหรือชาวบ้านในป่าอเมซอนมาเปิดร้านแจ่วอีสานหรือต้มยำกุ้งกลางเมืองกรุงเทพฯ นี่คือการเหยียบถิ่นเสือดีดีนี่เอง!
ทว่านี่เป็นเรื่องจริง! ชาวคนอเมริกันผู้นี้ไปญี่ปุ่นเปิดร้านราเม็งที่โตเกียว ชื่อร้าน อิวาน ราเม็ง
อิวานเป็นชาวนิวยอร์ก เคยทำงานเป็นพ่อครัวในภัตตาคารที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในแมนฮัตตัน ครั้งหนึ่งเขาไปเยือนญี่ปุ่นและหลงเสน่ห์ประเทศนั้น รวมทั้งสตรีผู้หนึ่ง
ราเม็งเป็นธุรกิจที่ทำกันกว้างขวาง เป็นอาหาร 'จำเป็น' ของชาวญี่ปุ่น เปรียบกับข้าวราดแกงของคนไทย ทว่าฝรั่งริเปิดร้านราเม็งเป็นเรื่องที่ทุกคนมองว่าบ้าอย่างยิ่ง เนื่องจากเฉพาะในโตเกียวมีร้านราเม็งนับพันร้าน แต่ละร้านมีจุดแข็งของตนเอง หลายคนบอกเขาว่า "จะไหวหรือ?","บ้าน่า!", "เอ็งคิดอะไรของเอ็งวะ?"
เป็นความจริงแน่นอนว่าเขาเป็นบ้า!หากแต่เป็นความบ้าในการคิดสูตรราเม็งที่อร่อยที่สุด เขาทำงานอย่างจริงจัง ทำเส้นหมี่เองจากแป้งสามชนิดผสมกัน ไม่เหนียวเกินไป ไม่นุ่มเกินไป ซุปเป็นน้ำเคี่ยวไก่ผสมน้ำปลาวาฟู เนื้อชาชูติดมัน หน่อไม้รสดี ไข่ต้มกึ่งสุกพอดี
ส่วนเส้นราเม็งนั้น เขาลวกเส้นราเม็งนาน 46 วินาที ไม่ใช่ 45 ไม่ใช่ 47 แต่ต้องเป็น 46 วินาทีพอดี เขาทดลองครั้งแล้วครั้งเล่าจนสรุปได้ว่า 46 วินาทีทำให้เส้นราเม็งของเขานุ่มพอดี เคี้ยวอร่อย
ร้าน อิวาน ราเม็ง เป็นที่ยอมรับของคนญี่ปุ่นในเวลาอันสั้น ยืนหยัดด้วยฝีมือล้วนๆ
ไม่มีงานดีใดๆ ในโลกที่ทำได้ง่ายๆ ยิ่งดียิ่งต้องผ่านการเคี่ยวกรำมาก
ผลงานบ่งบอกนิสัยการทำงาน หากลวกให้เสร็จพอเป็นพิธี ก็ได้งานไร้คุณภาพ ไม่ดิบเกินไปก็สุกเกินไป
งานที่ดีมากบอกได้ว่าคนสร้างงานเป็นมืออาชีพซึ่งทำงานโดยยึดปรัชญา 'ประณีตสมบูรณ์'
สิ่งประดิษฐ์ทั้งหลายในโลกก็เกิดมาจากการทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า จนสามารถกำหนดจุดที่ดีที่สุด จุดที่รู้ว่า 'วินาทีที่ 46' ของงานชิ้นนั้นอยู่ตรงไหน ความสำเร็จของนักประดิษฐ์เหล่านี้ ธอมัส เอดิสัน, อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์, ชาร์ลส์ กูดเยียร์ ฯลฯ ก็ล้วนมาจากการทดลอง
'46 วินาที' ของแต่ละงานไม่เท่ากัน แต่วิธีการค้นพบ '46 วินาที' นั้นเหมือนกัน คือการทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า ทำซ้ำๆ กันจนพบคำตอบหรือชำนาญหรือความสมบูรณ์แบบ
บางคนต้องใช้เวลานาน บางคนก็เร็วหน่อย จนกว่าจะพบ '46 วินาที' ของตัวเอง ทว่าน่าเสียดายที่คนจำนวนมากมักล้มเลิกก่อนจะถึง 'วินาทีที่ 46'
และนี่คือความแตกต่างเดียวระหว่างความล้มเหลวกับความสำเร็จ
วินทร์ เลียววาริณ
http://www.winbookclub.com
http://www.winbookclub.com
x ray ลงข้อมูลพื้นฐานให้แล้วนะคะ แต่มีปัญหาในการลงรายการเอกซเรย์ เพราะแต่ละส่วนที่ตรวจจะมีท่าที่เป็นท่าพื้นฐาน และมีท่าพิเศษ เช่น skull ท่าปกติพื้นฐานจะมี AP,Lateral ท่าพิเศษคือ water, towne,caldwell,... ในขั้นตอนการลงรายละเอียดของรายการเอกซเรย์จะไม่มีช่องสำหรับลงรายละเอียดของท่า จึงต้องลงเป็น
ตอบลบSkull AP
Skull Lat
skull water
....
ส่วนอื่นก็เช่นกัน พอมาที่หน้าจอส่งตรวจเอกซเรย์จะมีช่องให้เลือกส่วนที่ตรวจ ท่าที่ต้องการมี(มีให้เลือกแค่ท่าพื้นฐาน ไม่มีท่าพิเศษ) แล้วก็ข้างซ้าย ขวา มีคำแนะนำสำหรับเอกซเรย์หรือเปล่าคะ แล้วถ้าต้องการเปลี่ยนหน้าตาของหน้าเอกซเรย์จะทำได้หรือเปล่า
ในส่วนของ xray เดี๋ยวนัดวันคุยกันอีกทีนะครับ เพราะน่าจะมีรายละเอียดที่น่าจะปรับให้เหมาะกับทาง รพ.เลยได้
ลบ