วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

SPA 1 - 4.1 การวัด วิเคราะห์ และปรับปรุงผลงานขององค์กร (MAK.1)

องค์กรจัดให้มีการวัด วิเคราะห์ ปรับทิศทาง ทบทวน และปรับปรุงผลงาน โดยใช้ข้อมูลและสารสนเทศ ในทุกระดับและทุกส่วนขององค์กร.

. การวัดผลงาน

(1)องค์กรเลือก รวบรวม และเชื่อมโยงข้อมูล/สารสนเทศ /ตัวชี้วัดสำคัญที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อใช้ติดตามผลการปฏิบัติงานประจำวัน,ติดตามผลงานขององค์กรโดยรวม, ติดตามความก้าวหน้าตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ,สนับสนุนการตัดสินใจและการสร้างนวัตกรรมขององค์กร




กณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
ผู้นำระดับสูงและทีมงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันทำความเข้าใจแนวคิดเรื่อง performance measurement system  

-  ทีมนำขององค์กรของโรงพยาบาลโดยคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล กรรมการบริหารคุณภาพ หัวหน้าและรองหัวหน้าหน่วยงาน ได้ประชุมวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคามของโรงพยาบาล โดยใช้ข้อมูลนำเข้าจากนโยบายการดำเนินงานในระดับต่างๆ ผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลในรอบปีที่ผ่านมา รายงานสถานการณ์การเงินการคลัง การเปรียบเทียบผลงานตัวชี้วัดกับหน่วยงานอื่น  เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาโรงพยาบาล และจัดทำแผนยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดความสำเร็จของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ปี 2554-2556

-    ทีมนำใช้แผนที่กลยุทธ์( strategy map) ของโรงพยาบาล เป็นเครื่องมือในการสื่อสารให้เจ้าหน้าที่ทุกคนเห็นภาพและความเข้าใจสิ่งที่โรงพยาบาลมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่อไป
ผู้นำระดับสูงส่งเสริมให้ผู้นำในระดับต่างๆ กำหนดตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการติดตามผลการปฏิบัติงาน

-   มีการประชุมชี้แจงแผนยุทธศาสตร์และถ่ายทอด แผนงาน เป้าหมาย ตัวชี้วัดตามลำดับชั้นของแผนกลยุทธ์ ให้ทีมคร่อมสายงาน ฝ่ายงาน/หน่วยงาน และบุคลากรทุกระดับ นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาและกำหนดตัวชี้วัดระดับทีม หน่วยงาน ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของโรงพยาบาล
-  หัวหน้าและเจ้าหน้าที่ร่วมกันพิจารณากำหนดตัวชี้วัดรายบุคคล( personal scorecard)  จากแผนงาน เป้าหมายของหน่วยงาน และ Job description  ของแต่ละบุคคล
-  มีการประชุมนำเสนอและพิจารณาตัวตัวชี้วัดโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นตัวชี้วัดที่มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง กลุ่มที่สอง เป็นตัวชี้วัด ที่ใช้กับทุกหน่วยงานหรือหน่วยงานทางคลินิก และกลุ่มที่ 3 เป็นตัวชี้วัดของทีมคร่อมสายงาน และเชื่อมโยงตัวชี้วัดหลัก ตัวชี้วัดรอง และกลยุทธ์/แผนงาน/โครงการที่จะนำไปปฏิบัติ
-  ทีมคร่อมสายงาน หน่วยงานนำเสนอแผนงาน/โครงการ ต่อกรรมการบริหาร และพิจารณาจัดสรรงบประมาณสำหรับแผนงาน โครงการ/กิจกรรม ตามแผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลและแนวโน้มสถานการณ์การเงินการคลัง
ผู้นำระดับสูงสนับสนุนให้พิจารณาตัวชี้วัดที่ใช้อยู่ให้ตรงประเด็นกับเป้าหมายของระบบงานและขององค์กร

-   ทีมนำองค์กรกำหนดแนวทางการเยี่ยมสำรวจภายใน โดยให้ทีมเยี่ยมสำรวจติดตามในเรื่องที่สำคัญดังนี้
1. การเชื่อมโยงแผนหน่วยงานกับแผนยุทธศาสตร์ รพ.
2. การดำเนินงานตามแผนหน่วยงาน ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
3. การเก็บข้อมูลตัวชี้วัดรายบุคคลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ
4. การบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน
-  กำหนดให้มีการติดตามและเก็บข้อมูลตัวชี้วัดและมีการรายงานผลการดำเนินงานทุกเดือน

-  มีการติดตามความสำเร็จของแผนงาน/โครงการ และตัวชี้วัดเป็นระยะๆ และกรรมการบริหารคุณภาพมีการทบทวนแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับแผน
-  จัดประกวดผลงาน CQI โดยส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานใช้ข้อมูลผลการดำเนินงาน และตัวชี้วัดตามแผนของหน่วยงาน
- มอบหมายให้หน่วยงานที่ควบคุมกำกับ ในการเบิกจ่ายงบประมาณให้ตรวจสอบและพิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย และแผนงาน/โครงการเป็นหลัก

(2) องค์กรเลือกข้อมูลและสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบที่สำคัญ และทำให้มั่นใจว่ามีการนำไปใช้สนับสนุนการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผล.
เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
ข้อมูลและสารสนเทศ เชิงเปรียบเทียบ รวมทั้งแหล่งข้อมูลที่ใช้

-  โรงพยาบาลได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศโปรแกรม HOSxP มาช่วยในการบันทึกข้อมูลบริการตั้งแต่ปี 2548 และได้พัฒนาระบบรายงาน และโปรแกรมเสริมระบบงานต่าง เช่น ระบบบริหารความเสี่ยง ,ความคลาดเคลื่อนทางยา ที่เชื่อมโยงกับโปรแกรม HOSxPกรรมการสารสนเทศได้ติดตามควบคุมกำกับการลงบันทึกข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของฐานข้อมูล การประมวลผลรายงาน สามารถค้นหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลังได้ถูกต้องและรวดเร็ว 
-  มีการใช้นำข้อมูลสารสนเทศจากโปรแกรมบริหารความเสี่ยง ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงขององค์กรนำมาใช้เป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆ
-  ทีมนำองค์กร ทีมคร่อมสายงาน และหน่วยงานใช้ข้อมูลการประมวลผลจากโปรแกรม HOSxP เป็นข้อมูลในอ้างอิงการนำไปใช้วางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการ การวิเคราะห์เงินการคลัง การปรับปรุงบริการในการดูแลผู้ป่วย การจัดทำรายงาน


-  ในปี 2553 กลุ่มเครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่ง ได้ร่วมกันจัดทำข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ โดยมีคณะกรรมการ KM&ITซึ่งเป็นตัวแทนจากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทุกแห่งร่วมประชุมพิจารณาคัดเลือกตัวชี้วัด เพื่อใช้เปรียบเทียบ (Benchmark)
- กลุ่มเครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช  ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพื่อใช้ในการวัดผลการดำเนินงาน โดยร่วมกันจัดซื้อโปรแกรม Scorecard cockpit เพื่อใช้ในการติดตามตัวชี้วัดในระดับเครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และโรงพยาบาลได้นำมาใช้ติดตามตัวชี้วัดระดับองค์กร มีแผนที่จะใช้ควบคุมกำกับและติดตามตัวชี้วัดในทีมประสานและระดับบุคคลในปี 2555
-  มีการใช้ข้อมูลโดยว่าจ้างมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การประเมิน ความพึงพอใจของประชาชนในชุมชน 

(3) องค์กรปรับปรุงระบบการวัดผลงานให้ทันกับความต้องการของผู้เกี่ยวข้องและทิศทางของบริการสุขภาพ, ไวต่อการเปลี่ยนแปลงภายในหรือภายนอกที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือไม่คาดคิด.
เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
การปรับปรุงระบบการวัดผลงานขององค์กร และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-  โรงพยาบาลมีการปรับปรุงตัวชี้วัดของโรงพยาบาลทุก 1 ปี โดยผ่านการพิจารณาของ กรรมการบริหารคุณภาพของโรงพยาบาล และมีการประชุมชี้แจงถ่ายทอดตัวชี้วัด ให้กับทีมประสานและระดับหน่วยงาน เพื่อให้เข้าใจวิธีวัดผลงานตัวชี้วัดที่มีความเชื่อมโยงกัน ลดจำนวนตัวชี้วัดที่ซ้ำซ้อน
-  มีการพัฒนาระบบติดตามความก้าวหน้าของตัวชี้วัดระดับองค์กรโดยประมวลและรายงานผ่านโปรแกรม Scorecard cockpit  ซึ่งจะมีสัญลักษณ์เป็นสีแดง เหลือง เขียว  แสดงในรูป cockpit   สีเขียวหมายถึงผลงานที่ได้ตามเป้าหมาย สีเหลืองมีความเสี่ยงที่อาจทำให้ผลงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย สีแดงมีความเสี่ยงมากที่จะไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นการกระตุ้นเตือนเพื่อให้เร่งหรือปรับปรุงแผนงานให้ผลงานบรรลุเป้าหมาย

-  ตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน มีการปรับปรุงตัวชี้วัดของหน่วยงานทุก 1 ปี ในปี 2554 มีการปรับปรุงตัวชี้วัดระดับบุคคล มีการติดตามและรายงานผลความก้าวหน้าทุกเดือน
-  โรงพยาบาลมีแผนงาน  ที่จะพัฒนาระบบรายงานผลลัพธ์ผ่านโปรแกรม Scorecard cockpit ,Data center และเว็บไซด์ของโรงพยาบาลให้ครบทุกหน่วยงาน

. การวิเคราะห์ ทบทวน และปรับปรุงผลงาน
(1) องค์กรทบทวนประเมินผลงาน และขีดความสามารถขององค์กรมีการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการทบทวนประเมินผลและสร้างความมั่นใจว่าได้ข้อสรุปที่น่าเชื่อถือ องค์กรใช้การทบทวนนี้เพื่อประเมินความสำเร็จขององค์กร, ความก้าวหน้าตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ, และความสามารถในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงขององค์กรและสิ่งแวดล้อมภายนอก.
เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลในรอบปีที่ผ่านมาและโอกาสและการปรับปรุงการวิเคราะห์ข้อมูล

-  กำหนดให้มีการทบทวนวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสถานการณ์การเงินการคลังเสนอคณะกรรมการบริหารทุกเดือน
-  ทีมนำองค์กร กรรมการบริหารคุณภาพมีการประชุมติดตามแผนยุทธศาสตร์ ความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการของโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน โดยมีการทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. การวิเคราะห์รายงานความเสี่ยง
2. ผลการดำเนินงานของทีมประสาน
3. ข้อเสนอแนะ ปัญหา ข้อร้องเรียน
4. การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงระบบบริการ
5. ความก้าวหน้าของระบบข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
6. การบริหารงานบุคคล การจัดสรรทรัพยากรต่างๆ


- หากผลการประเมินมาวิเคราะห์ มีแนวโน้ม หรือมีอุบัติการณ์ที่รุนแรง กรรมการจะทำการค้นหาหาสาเหตุที่แท้จริงและดำเนินการวางมาตรการเพื่อแก้ไข เช่น การจัดให้มีพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัวให้บริการที่แผนกฉุกเฉิน เพื่อตรวจรักษาโรคไข้หวัดหรือภาวะการเจ็บป่วยที่ไม่ฉุกเฉิน ในวันหยุดราชการ เป็นต้น
(2) องค์กรนำสิ่งที่ได้จากการทบทวนประเมินผลงานขององค์กรมาจัดลำดับความสำคัญเพื่อการปรับปรุงและหาโอกาสสร้างนวตกรรม พร้อมทั้งถ่ายทอดสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร.
(3) องค์กรนำผลการทบทวนประเมินผลงานขององค์กร ไปใช้ในการประเมินและปรับปรุงกระบวนการสำคัญอย่างเป็นระบบ.
เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
การลำดับความสำคัญเพื่อการปรับปรุงในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา 

-  กรรมการบริหาร หัวหน้าหน่วยงานได้ประชุมวิเคราะห์องค์กรและสภาพแวดล้อมขององค์กรโดย SWOT Analysis  และได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล ปี 2554-2556 ดังนี้
1. พัฒนาบริการทุติยภูมิระดับกลางที่มีคุณภาพผู้รับบริการพึงพอใจ
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพ
3. พัฒนาระบบบริการพื้นฐานของสถานีอนามัย
4. พัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพและมีความสุข
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านทรัพยากร และสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ
-  ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา โรงพยาบาลมุ่งเน้นที่จะพัฒนาระบบบริการพื้นฐานของหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้แต่งตั้งกรรมการส่งเสริมและพัฒนาบริการปฐมภูมิ(CT) ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญในการปรับปรุงหน่วยบริการปฐมภูมิดังนี้
1. การออกรับฟังความคิดเห็นการพัฒนา
2. ปรับปรุงงาน IC
3. ปรับปรุงระบบยา
4. ปรับปรุงระบบสารสนเทศ โดยสนับสนุนให้สถานีอนามัยทุกแห่งใช้โปรแกรม HOSxP PCU


-  โรงพยาบาลได้เลือกที่จะนำข้อมูลจากการรายงานอุบัติการณ์ของโรงพยาบาลซึ่งได้มีการจัดลำดับความรุนแรงไว้แล้วมาผ่านกระบวนการพัฒนาโดยการทำ CQI ในแต่ละหน่วยงานในโรงพยาบาล
-  การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพ โดยเชื่อมโยงข้อมูลบริการผู้ป่วยของโรงพยาบาลและ รพ.สต. ผ่านระบบ Datacenter 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น