วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

SPA I - 4.2 การจัดการสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการความรู้ (MAK.2)

องค์กรสร้างความมั่นใจว่ามีข้อมูล สารสนเทศ ซอฟท์แวร์ และฮาร์ดแวร์ ที่จำเป็น มีคุณภาพ และพร้อมใช้งาน สำหรับบุคลากร ผู้ป่วย ผู้รับผลงานองค์กรสร้างและจัดทรัพย์ความรู้ของตนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

(1)ข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับบุคลากร /ผู้บริหาร/ผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน /องค์กรภายนอก มีความพร้อมใช้งาน เอื้อต่อการดูแลผู้ป่วย การบริหารจัดการ การตรวจสอบทางคลินิก การพัฒนาคุณภาพ การศึกษา และการวิจัย.  แผนงานและการจัดการสารสนเทศ มีความเหมาะสมกับขนาดและความซับซ้อนขององค์กร
กรรมการสารสนเทศเทศมีสมาชิกที่ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข เภสัชกร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เวชสถิติ ฯลฯ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับใช้ข้อมูลสารสนเทศ  มีบทบาทหน้าที่ในการควบคุมกำกับและดำเนินนโยบายด้านสารสนเทศขององค์กร มีการประชุมเพื่อทบทวนวิเคราะห์ข้อมูลจากการประชุมรับฟังความคิดเห็น และสำรวจความต้องการจากจากผู้บริหาร ผู้รับผลงาน องค์กรภายนอก อย่างน้อยปีละ 1ครั้ง นำความต้องการมาวางแผนจัดแยกหมวดหมู่ตามการใช้งานและมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบเป็นกลุ่มอนุกรรมการ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการติดตาม ประเมินผล และนำมาพัฒนาปรับปรุง ทุก เดือน หรือตามเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น

เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
งานการรักษาและฟื้นฟูสภาพ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค

-  โรงพยาบาลนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลโดยโปรแกรม HOSxP มาตั้งแต่ปี 2548 ผลลัพธ์จากการเปลี่ยนมาใช้โปแกรม HOSxP สามารถตอบสนองความต้องการในด้านการดูแลผู้ป่วยซึ่งสามารถดูประวัติเก่าการเจ็บผู้ป่วยของผู้ป่วย การลงบันทึกผลการรักษาครบทุกจุดบริการ มีความพร้อมใช้งานตลอด 24 ชม.
-  พัฒนาระบบสารสนเทศร่วมกับทีม MCH ปรับปรุงระบบสารสนเทศเพิ่มความครอบคลุมในด้านงานส่งเสริมสุขภาพ งานอนามัยมารดาและทารก งานวางแผนครอบครัว งานเยี่ยมบ้าน คลินิกสูตินรีเวช โดยเชื่อมโยงข้อมูลบริการให้สามารถใช้งานร่วมกัน ทำให้มีความสะดวกในการติดตาม ประเมินผลการจัดทำรายงานในภาพรวม ทำให้โรงพยาบาลสามารถจัดทำข้อมูลบริการ 18 แฟ้มมาตรฐาน ได้ครอบคลุม
-   พัฒนาระบบสารสนเทศร่วมกับทีม PCT เพื่อสนับสนุนงานบริการออกหน่วยคลินิกพิเศษ เช่น คลินิกเบาหวานที่รพ.สต.ให้สามารถใช้ฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับข้อมูลกับโรงพยาบาล ทำให้ผู้ให้บริการสามารถดูประวัติการรับบริการที่โรงพยาบาลได้
-   พัฒนาระบบสารสนเทศร่วมกับทีมเยี่ยมบ้าน เพื่อสนับสนุนการเก็บข้อมูลประวัติการออกติดตามเยี่ยมบ้าน และเชื่อมข้อมูลกับฐานข้อมูลงานบริการรักษาพยาบาล ทำให้สามารถดูประวัติรักษาและประวัติการให้บริการที่บ้านได้อย่างต่อเนื่อง
งานแผนและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

-   พัฒนาระบบสารสนเทศร่วมกับทีม RM พัฒนาโปรแกรมบริหารความเสี่ยง ที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลบริการผู้ป่วย (โปรแกรม HOSxP) ทำให้มีความสะดวก ลดความซ้ำซ้อนและหากเป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวกับผู้รับบริการ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลบริการจากฐานข้อมูลบริการ
-  พัฒนาระบบสารสนเทศร่วมกับทีม PTC สร้างนวตกรรมในการรายงานความคลาดเคลื่อนทางยา โดยการพัฒนาโปรแกรม Med error
-  ทีมพัฒนาระบบสารสนเทศออกติดตามความต้องการของหน่วยงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงและพัฒนางาน  และมีการส่งตัวแทนของทีม IM เข้าร่วมประชุมชี้แจงกับทีมคร่อมสายงานอื่น



-  ปี 2554 พัฒนาระบบศูนย์ข้อมูลสารสนเทศระดับอำเภอ(Data Center) ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลบริการของโรงพยาบาลและสถานีอนามัยให้สามารถใช้ข้อมูลได้ร่วมกันแบบ Real time
กรรมการสารสนเทศ   ได้กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีสารเทศ มาตรฐานความปลอดภัย และแนวทางปฏิบัติเมื่อระบบ HOSxP และระบบเครือข่ายขัดข้อง
ทีมพัฒนาระบบสารสนเทศโรงพยาบาลร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยและโรงพยาบาลในจังหวัดเลย พัฒนาบุคลากรทางด้านไอทีและปรับเปลี่ยนโปรแกรมบันทึกข้อมูลบริการของโรงพยาบาลเป็นโปรแกรม HOSxP และ รพ.สต.เปลี่ยนจากโปรแกรมHCIS เป็น HOSxP PCU ทั้งจังหวัดปี 2552 IMT นำ โปรแกรม scorecard cockpit enterprise ใช้ในการติดตามประเมินผลความก้าวหน้าของแผนกลยุทธ์และแผนพัฒนาคุณภาพของทุกระดับหน่วยงาน
-  ทีมพัฒนาสารสนเทศได้พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อจัดทำตัวชี้วัดระดับองค์กร และมีแผนที่จะพัฒนาให้สามารถจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดรายบุคคล ในโปรแกรม scorecard cockpit enterprise
พัฒนาระบบสารสนเทศร่วมกับทีมบริหารโดยสร้างนวัตกรรมโดยเขียนโปรแกรมพิมพ์เช็คเพื่อลดภาระงานเกี่ยวกับการเขียนเช็ค และการทำรายงาน
-  พัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลสนับสนุนงาน นักสร้างเสริมสุขภาพครอบครัว(นสค.) ตามนโยบายของจังหวัดเลย
งานบริหาร ธุรการ การเงินการบัญชี

-  ทีมพัฒนาระบบสารสนเทศร่วมกับกรรมการ AIT เพื่อสนับสนุนงานบริหาร เช่น โปรแกรมบริหารจัดการพัสดุ,ระบบจองรถยนต์,จองห้องประชุม
-  ข้อมูลที่ใช้ในการสนับสนุน ได้แก่ การเงิน การบัญชี บริหารบุคคล จะอยู่ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบ จัดบันทึกข้อมูลตามวิธีปฏิบัติและจัดส่งรายงานต่อผู้รับผิดชอบทบทวนเป็นประจำเดือน ซึ่งสามารถจัดทำข้อมูลบัญชีเกณฑ์คงค้างได้เป็นปัจจุบัน


-  พัฒนางานธุรการการจัดส่งเอกสารเป็นอิเลคทรอนิคส์ไฟล์ และสามารถดูเอกสารผ่านระบบ Intranet ของ รพตามฝ่าย/งาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการลดปริมาณกระดาษและรวดเร็วในการส่งข้อมูลถึงผู้รับ
ลูกค้าภายนอกผู้รับบริการ

-   ข้อมูลสำหรับผู้ป่วย ลูกค้าอื่นๆ ผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือ สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของโรงพยาบาลได้ในรูปแบบเอกสารเผยแพร่ความรู้ บอร์ดประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ซึ่งมีอยู่ในทุกจุดบริการ และในปี 2553 ได้เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงข้อมูล โดยผ่าน website ซึ่งประกอบด้วย
1. ข่าวสารด้านบริการทุกด้านของโรงพยาบาล
2. ข้อมูลด้านสุขภาพและการดูแลตนเอง
3. ช่องทางการติดต่อสื่อสารแนะนำบริการ แจ้งปัญหา หรือข้อความช่วยเหลือ
4. ช่องทางติดต่อกับผู้บริหารโดยตรง
5. การติดต่อสื่อสารกับโรงพยาบาล และบุคลากรของโรงพยาบาลผ่าน Face book ,Blogs, Twitter
6. ระบบนัดแพทย์ออนไลน์
7. ข้อมูลสถิติ รายงาน ต่างๆ
8. การถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงการประชุมวิชาการ  
-  ในปี 2553 ได้เปิดบริการ Internet สำหรับผู้รับบริการ นักศึกษาฝึกงาน และผู้ติดต่อประสานงานกับทางโรงพยาบาลผ่าน wireless

(2) องค์กรสร้างความมั่นใจว่าฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์มีความเชื่อถือได้ ป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล และใช้งานง่าย.
เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
ด้าน Hardware
-  ทีมพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีการสำรวจความต้องการและประเมินความพอเพียงต่อการใช้งานทุกปี และนำข้อมูลที่สำรวจ มาวิเคราะห์ วางแผนการสำรองเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง  
-  มีการตรวจเช็คบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทุกเดือน เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีความพร้อมใช้ รองรับการใช้งานได้ตลอดเวลา และหากมีปัญหาได้จัดเตรียมอุปกรณ์สำรองเพื่อเปลี่ยนทดแทน

-  กรรมการสารสนเทศได้กำหนดมาตรฐาน Hardware เพื่อให้เกิดความสอดคล้องของการใช้งาน Hardware นั้นๆ สำหรับการจัดหาครุภัณฑ์ใหม่ตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ICT) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะได้อุปกรณ์ที่ประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน
-  ทีมสารสนเทศได้เชิญผู้ดูแลระบบจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย และผู้แทนจำหน่ายที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายซึ่งเป็นตัวแทนบริษัทในการวางระบบเครือข่าย (LAN) ให้กับทางโรงพยาบาล มาตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์และระบบเครือข่ายของโรงพยาบาลทุกปี
-  เครื่อง Server ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบ โรงพยาบาลมี Server หลัก และ Server สำรองที่พร้อมใช้งาน รวมถึงการทำสัญญารับประกันกับตัวแทนบริษัท Acer กรณีที่เครื่อง Server หลัก หรือ server สำรอง หรืออุปกรณ์มีปัญหาสามารถที่จะมีเครื่อง Server ที่มีคุณสมบัติ และรุ่นเดียวกัน มาเปลี่ยนทดแทนเพื่อให้โรงพยาบาลสามารถมีเครื่อง server ที่พร้อมใช้ภายใน 24 ชั่วโมง
-  ห้องจัดเก็บ Server ปรับปรุงมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงพยาบาล โดยจัดเก็บ Server ไว้ในตู้ Rack สำหรับขนย้าย ภายในห้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ตัว เพื่อสลับการทำงานทุก ชั่วโมง  และล็อคห้อง server เพื่อป้องกันบุคคลภายนอกเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต มีการตรวจสอบการทำงานของเครื่องปรับอากาศตามแผนการซ่อมบำรุงของกรรมการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย(ENV)
-  กรรมการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยสำรวจสายไฟในหน่วยงานไม่ให้ชำรุดสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันอัคคีภัย และติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงที่ใช้สำหรับอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์
-  มีตารางการติดตามและตรวจสอบการทำงานของเครื่อง server และอุปกรณ์สำรองไฟ (UPS) ทุกวัน และห้อง Server มีการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของโรงพยาบาล
-  มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดตามเส้นทางเข้าออกที่เป็นจุดสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะการเข้าออกเข้าห้อง Server


-  การป้องกันข้อมูลรั่วไหล กำหนดสิทธิรหัสผู้ใช้ usernameและ password สำหรับการใช้งาน server และการเข้าถึง database ข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยด้วยรหัสผ่าน
ด้าน Software

-  กำหนดให้เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ มีรหัส Username และ password เพื่อการเข้าถึงงานในแต่ละประเภท โดยรหัสที่กำหนดให้จะเข้าถึง (Access menu) และใช้งานได้ เฉพาะงานในหน้าที่ของตนเองเท่านั้นไม่สามารถใช้งานในด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องได้

-  กำหนดให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ใช้งาน HOSxP ต้อง Log out ออกจากโปรแกรมทุกครั้งหากไม่ได้ปฏิบัติงานอยู่ที่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ และตั้งเวลาให้โปรแกรม Log out อัตโนมัติกรณีทีไม่มีใช้งานเป็นเวลานานเกิน นาที
-  กำหนดให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ใช้งาน HOSxP ต้องเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ทุก เดือน และตั้งค่าโปรแกรมให้มีการแจ้งเตือนและลบค่า password เดิมอัตโนมัติหากไม่มีการเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ภายในเวลาที่กำหนด
-  กำหนดให้โปรแกรมสามารถตรวจสอบเหตุผิดพลาดของงานและสืบสวนย้อนกลับได้ว่ามีการเข้าถึง การบันทึกหรือแก้ไข ข้อมูลของผู้ป่วยที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ โดยรหัสผู้ใช้ของใคร มีการดำเนินการเมื่อไหร่
-  กำหนดให้โปรแกรมสามารถป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและการนำข้อมูลในคอมพิวเตอร์ไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น จำกัดสิทธิการ print รายงานข้อมูลประวัติผู้ป่วย กำหนดเครื่องพิมพ์ใบเสร็จ เป็นต้น
-       มีการเฝ้าระวังปัญหาการใช้งาน Software รวมถึงการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดย โดยรายงานปัญหา/ความผิดพลาดต่างๆ ที่พบผ่านระบบความเสี่ยง
ด้าน People ware
-  กรรมการสารสนเทศติดตามสอบถามความต้องการของผู้ใช้งาน   ปัญหา จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อวางแผนการพัฒนา/จัดหา software ตามความต้องการของผู้ใช้ และจัดทำคู่มือและอบรมการใช้งานให้กับบุคลากรของโรงพยาบาลเพื่อให้สามารถศึกษาการลงบันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
-  จัดอบรมฟื้นฟูความรู้ให้กับหัวหน้า รองหัวหน้าและผู้ปฏิบัติ และบุคลากรบรรจุใหม่ของโรงพยาบาลทุกคน

-  กรรมการสารสนเทศมีแผนส่งบุคลากรผู้ดูแลระบบไปฝึกอบรมเพิ่มเติม จนมีทักษะความรู้ความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้ในโรงพยาบาล
ด้านความปลอดภัย
- การติดตั้ง server และ software เพื่อควบคุมและบันทึกเส้นทางการใช้ internet ให้สามารถติดตามสืบค้นการใช้งานของผู้ใช้ทุกคนได้ตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อเกิดปัญหาและเจ้าหน้าที่ตำรวจร้องขอ   เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2550
- ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์   โดยมีมาตรการป้องกันเครื่องลูกข่ายไม่ให้การเชื่อมต่อกับ Removable disc ทุกชนิด และติดตั้ง virus scan ที่วางระบบให้ update ข้อมูล antivirus ใหม่อย่างสม่ำเสมอ และมีการ scan virus โดยอัตโนมัติ และติดตั้งระบบป้องกันเครื่องลูกข่าย ดาวโหลดไฟล์ติดตั้งหรือถอดถอนโปรแกรมโดยไม่ได้รับอนุญาต
-   มีการกำหนดสิทธิในการเข้าใช้และเข้าถึงข้อมูล โดยรหัสส่วนบุคคล หากต้องการใช้สิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลในระดับที่สูงขึ้น
-   การ Backup ข้อมูลสำคัญของโรงพยาบาลที่จัดเก็บในรูปแบบ   Electronic files ดังนี้
-  จัดเก็บข้อมูลใน Server หลัก จัดทำเป็น RAID-5 โดยมี Hard disk  สำหรับบันทึกข้อมูลที่เหมือนกันจำนวน ลูก
-  จัดเก็บข้อมูลใน Server รอง ตัวที่ จัดทำเป็น RAIDS-5 โดยมี Hard disk  สำหรับบันทึกข้อมูลที่เหมือนกันจำนวน ลูก
-  จัดเก็บข้อมูลใน Server รอง ตัวที่ โดยใช้การทำ Auto Back up แบบ Full วันละ ครั้งเวลา 00.00 และมีการทดสอบข้อมูลสำรองเดือนละ ครั้งโดยการนำข้อมูลไปใช้ในการออกหน่วยให้บริการผู้ป่วยที่ รพ.สต.
-  จัดเก็บข้อมูลสำรองเก็บไว้ในเครื่อง computer ที่เป็นเครื่องลูกข่าย โดยใช้การทำ replication ข้อมูลจากเครื่อง Server หลักแบบ real time
-  การ Copy ข้อมูล Back up เก็บไว้ใน Hard disk External
-    หน่วยงานการเงินจัดพิมพ์เอกสารรายงานการใช้บริการของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเพื่อเก็บเป็นหลักฐานการเข้ารับบริการทุกวัน
(3) องค์กรสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ มีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องในภาวะฉุกเฉิน.
ในปี 2553 กรรมการสารสนเทศได้สำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูลปัญหา และความเสี่ยงจากการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ และได้วางแผนพัฒนาทั้งความเพียงพอ และความพร้อมใช้อย่างต่อเนื่องโดยจัดสำรองข้อมูลของซอฟท์แวร์ที่ใช้งานประจำของแต่ละฝ่าย/งาน
ในการลงโปรแกรมใหม่ และจัดคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ต่อพ่วงสำรอง ที่พร้อมใช้งานได้ในทันทีหากเครื่องที่ใช้งานปัจจุบันเกิดปัญหา และนำเครื่องที่ขัดข้องมาซ่อมบำรุงโดยไม่กระทบต่อการปฏิบัติงานประจำ และกำหนดตารางการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ให้เจ้าหน้าที่ดูแลคอมพิวเตอร์ ได้ตรวจซ่อมบำรุงและรายงานผลกับผู้ดูแลระบบของโรงพยาบาล เพื่อนำไปร่วมวิเคราะห์การใช้งาน และในการวางมาตรการป้องกันการเกิดภาวะฉุกเฉิน ดังนี้
ภาวะฉุกเฉิน
การป้องกัน
หมายเหตุ
ไฟฟ้าดับ

1. มี UPS ทั้ง Sever Client ที่พร้อมใช้งานสามารถสำรองไฟได้อย่างน้อย นาที
2. มีเครื่องปั่นไฟสำรองอัตโนมัติ จ่ายไฟภายใน 10 วินาที
3. มีระบบไฟสำรองที่จ่ายไฟเข้าห้อง Server และอุปกรณ์สำคัญ
กรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉิน ให้ปฏิบัติตามเอกสาร
WI-IMT-02-วิธีปฏิบัติเมื่อระบบโปรแกรม HOSxP/ระบบเครือข่ายใช้งานไม่ได้
การโจมตีของไวรัส
1. Software Antivirus ทั้ง Server Client
2. Local Backup ห้อง Server ห้องฉุกเฉิน ห้องเวชระเบียน
3. Backup ลง External Hard disk 
Sever เสีย
      
      
1. มี Sever สำรอง พร้อมโอนฐานข้อมูลและใช้งาน ภายใน 30 นาที
2. ทำประกันกับบริษัท Acer กรณี Server มีปัญหาสามารถจัดหา Server ตัวใหม่ให้พร้อมใช้งานได้ภายใน 24 ชม.
Client เสีย
1. มีเครื่องสำรอง และนำเครื่องมาแก้ไข
2. ตรวจสอบ บำรุงรักษา ทุกเดือน
อัคคีภัย
1. มีอุปกรณ์ดับเพลิงสำหรับเครื่องมืออิเลคทรอนิคส์และการซ้อมแผนระงับอัคคีภัย
ฟ้าผ่าลงระบบเครือข่าย


1.  ยังไม่มีอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าลงระบบเครือข่าย   
ปัญหาในการใช้งาน   
1. ให้คำปรึกษาโดย Admin
2.    ตรวจซ่อมโปรแกรมทบทวนการใช้งาน โดย Admin
3.    มีเจ้าหน้าที่ขึ้นเวรให้บริการให้คำปรึกษา และพร้อมแก้ไขปัญหาตลอด 24 ชม.

 

เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
การปรับปรุง availability mechanism

-  กรรมการสารสนเทศปรับปรุงระบบตามความความต้องการของหน่วยงาน ระบบงาน ทีมประสาน ทีมนำองค์กรอยู่สม่ำเสมอ เช่น ตัวชี้วัด ข้อมูล รายงานต่างของหน่วยงานโดยสามารถร้องขอได้โดยตรงต่อกรรมการ
การปรับปรุงระบบhardware
-  ศูนย์คอมพิวเตอร์ทำการอัพเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงตามอายุการใช้ (3-5 ปีหรือพิจารณาจัดซื้อทดแทนเครื่องเดิมหากชำรุดไม่สามารถซ่อมได้ หรือไม่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของ software การใช้งานในปัจจุบันได้
การปรับปรุงระบบ software
-   มีการปรับปรุง Update Program HOSxP อยู่เสมอเพื่อให้สนับสนุนระบบงานใหม่ ข้อมูลตามมาตรฐานชุดข้อมูล 12 แฟ้ม 18 แฟ้ม
-  มีการพัฒนาโปรแกรม DsHOSxP เพื่อใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

การจัดการความรู้ขององค์กร

มีการจัดการความรู้ขององค์กรเพื่อให้เกิดสิ่งต่อไปนี้การรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ของบุคลากรการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์จากผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน และองค์กรภายนอกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดีหรือที่เป็นเลิศ และนำไปสู่การปฏิบัติ, การประมวลและนำความรู้ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์และการนำหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประสิทธิผลของวิธีการดูแลรักษามาประยุกต์ใช้.

เกณฑ์พิจารณา
จุดเด่น การปรับปรุง ผลลัพธ์ โอกาสและแผนพัฒนา
การจัดการความรู้
-  มีนโยบายส่งเสริมให้โรงพยาบาลเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยสนับสนุนบุคลากรให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างนวตกรรม  เน้นการถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานสู่คนรุ่นใหม่ที่เป็นทีมนำระดับรองลงไป(Lead 2-3)  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคล  หน่วยงาน และองค์กรภายนอกอย่างสม่ำเสมอตามแผนพัฒนาบุคลากรประจำปี
-  มีนโยบายให้ผู้ที่ไปเรียนรู้จากภายนอกมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้อื่นในเวทีการประชุมประจำเดือนของหน่วยงาน การประชุมหัวหน้า/รองหัวหน้าฯ  การประชุมกรรมการบริหารคุณภาพและกรรมการบริหารของโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ
-       มีวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบเช่น การประชุมวิชาการประจำเดือนหรือตามแผนที่วางไว้  การทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วยจากรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงของทีมสหวิชาชีพ  การเป็นที่ศึกษาดูงานในระบบต่างๆ   กว่า 10 ปีที่ผ่านมา  ทีมนำและผู้บริหารระดับสูงได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรให้แก่หน่วยงานภายนอก  การพัฒนาองค์กรด้วยกระบวนการจิตวิวัฒน์ในปี 2551และ 2552  การเรียนรู้ผ่านการนำเสนอโครงการ งานวิจัยกับนักศึกษาฝึกงานและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในหลากหลายวิชาชีพ
-  มีการถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย และญาติสม่ำเสมอ มีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในหน่วยงานทางคลินิกทุกหน่วย มีแผนการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติในหน่วยงานต่างๆ  เช่น  งานฝากครรภ์  งานคลินิกพิเศษ  ฝ่ายทันตสาธารณสุข  งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน มีการจัดทำค่ายส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  งานหอผู้ป่วยจะมีการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ป่วยผ่านทางเสียงตามสายทุกวัน ศูนย์ประกันสุขภาพ ฝ่ายทันตสาธารณสุข หมุนเวียนไปจัดรายการผ่านทางวิทยุชุมชนทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์   เวลา 14.00-15.00 น.




-  มีการถ่ายทอดความรู้และสื่อสารแก่บุคคลภายนอก  และท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ  เช่น  ผู้อำนวยการเข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการ  ที่ประชุมกำนัน  ผู้ใหญ่บ้านทุกเดือน 
-  การพัฒนาความรู้ด้านสารสนเทศ โดยเฉพาะโปรแกรม HOSxP โดยโรงพยาบาลเป็นศูนย์ฝึกอบรมศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาโปรแกรม และในปี 2554 โรงพยาบาลได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยในการฝึกอบรมการใช้งานโปรแกรม HOSxP PCU ให้กับ รพ.สต.ในเขตจังหวัดเลยทุกแห่ง ด้วยวิธีการฝึกอบรมและการประชุมทางไกลผ่านระบบอินเตอร์เนต
การประยุกต์ใช้scientific evidence
-  มีการส่งเสริมให้บุคลากรเข้าเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (Best  Practice)  จากภายนอก  และนำมาถ่ายทอดในองค์กร  พร้อมทั้งนำแนวทางมาพัฒนากิจกรรม  CQI  ให้ดีขึ้น  มีการพัฒนาฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล   เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ด้วยข้อมูลที่เป็นจริงตามหลักวิชาการจากโปรแกรม HOSxP
-  หน่วยงานทางคลินิกมีการทบทวนการรักษาในรายที่มีความเสี่ยงสูง  มีการประชุมวิชาการ หรือทำ case conference เป็นประจำ  ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความรู้หรือแลกเปลี่ยนความรู้ของบุคลากรในองค์กร เพื่อหาแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน
การบูรณาการการจัดการความรู้กับการพัฒนาคุณภาพ
-  ส่งเสริมให้บุคลากรมีการเรียนรู้หรือจัดการความรู้ผ่าน  Internet Intranet และ Web site ของโรงพยาบาล โดยการบันทึกประสบการณ์การทำงาน  และเผยแพร่ผลงานผ่านทาง Blogs 
-  ส่งเสริมให้บุคลากรได้ทำการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  (CQI)  โดยมีการจัดประกวดกิจกรรม  CQI  และ นวตกรรมเป็นประจำ  
-  มีการถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็นสำหรับองค์กรแก่บุคลากร โดยการจัดอบรม  เช่น  Program  Computer  พื้นฐาน การฝึกพิมพ์สัมผัส ,การทำ  PowerPoint  เพื่อนำเสนอ  การพิมพ์งานด้วยระบบต่างๆ แก่ผู้เกี่ยวข้อง  การใช้ email

การนำความรู้มาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์
-  ทีมนำยังขาดความเข้าใจในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และการวางกลยุทธ์  จึงส่งบุคลากรไปฝึกอบรมเพิ่มเติมในเรื่องการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ร่วมกับโรงพยาบาลนาแห้วในปี 2553  โดยวิทยากรจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผน สามารถเชื่อมโยงและถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับองค์กร ไปสู่ทีมประสาน  หน่วยงาน และระดับบุคคล   สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานได้ดีระดับหนึ่ง
-  มีการทบทวนจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม โดยใช้กระบวนการ SWOT analysis ที่ใช้ข้อมูลนำเข้าจากหลายช่องทางเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลได้ตามความเป็นจริง สามารถนำไปสู่การจัดทำกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คุณภาพของข้อมูล สารสนเทศ และความรู้
(1) องค์กรสร้างความมั่นใจว่าข้อมูล สารสนเทศและความรู้ขององค์กร มีความแม่นยำ เชื่อถือได้ ทันเหตุการณ์ และปลอดภัย.
(2) องค์สร้างความมั่นใจในการรักษาความลับของข้อมูลและสารสนเทศ
เกณฑ์การพิจารณา
(ระบุจุดที่มีโอกาสเกิดปัญหา การวางมาตรการป้องกัน
และการประเมินผล)
ความถูกต้องแม่นยำ(accuracy)
-  การประเมินผลความถูกต้องข้อมูล ในส่วนของข้อมูลการให้บริการผู้ป่วย กรรมการสารสนเทศ ได้วางมาตรการในการตรวจสอบข้อมูล โดยกำหนดให้ข้อมูลผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน   หลังจากที่ผ่านกระบวนการรักษาพยาบาล แล้วให้นำมาสรุปข้อมูลที่งานการเงิน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องทุกราย ซึ่งผลการตรวจสอบหากมีความผิดพลาด เช่น ข้อมูลค่ารักษาพยาบาลลงข้อมูลไม่ครบถ้วน จะดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไข และบันทึกเป็นข้อมูลความเสี่ยงไว้สำหรับติดตามประเมินผลข้อมูล


-  ผลการตรวจสอบก่อนส่งออกข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน 12 และ 18 แฟ้ม ซึ่งพบว่าสามารถเก็บข้อมูลตามชุดข้อมูลได้ตรงตามมาตรฐานของ สนยและสปสชที่กำหนดในการบันทึกข้อมูลสารสนเทศ และมีผลทำให้การส่งข้อมูล 12 แฟ้ม 18 แฟ้ม ปีที่ผ่านมา ผลการตรวจสอบคะแนน OPPP มีผลคะแนนความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูลมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์
ความน่าเชื่อถือ (reliability)
-  มาตรการในการตรวจสอบข้อมูล กรรมการสารสนเทศได้ใช้การเปรียบเทียบผลของข้อมูลที่ส่งหน่วยงานอื่น เช่น ข้อมูลผู้ป่วยในที่ส่งเบิกกรมบัญชีกลาง ,ข้อมูล 12,18 แฟ้ม ที่ส่งเบิก สปสช. ทุกเดือน โดยเปรียบเทียบผลที่ตรวจสอบหน่วยงานที่รับข้อมูล กับข้อมูลการตรวจสอบภายในของโรงพยาบาล    ซึ่งพบว่ามีผลการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลผู้ป่วยในตาม DRG อยู่ระดับ 99 % และผลการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลผู้ป่วยนอกในปี 2554 ที่ระดับ 99.98 %
ความทันเหตุการณ์(timeliness)
- เนื่องจากการส่งข้อมูลที่ต้องรายงานผลการปฏิบัติงานมีหลายระดับ ในส่วนของข้อมูลฝ่ายในองค์กร สามารถจัดส่งได้ทันเวลา แต่ข้อมูลส่งหน่วยงานอื่น พบว่ามีปัญหาในเรื่องผู้รับผิดชอบที่ไม่ชัดเจน และมีรายงานจำนวนมาก กรรมการสารสนเทศจึงทบทวนและจัดประชุมผู้รับผิดชอบในการจัดทำรายงานต่างๆใหม่ ทำให้การส่งข้อมูลต่างๆ และการได้รับจัดสรรงบประมาณตามผลงานมากขึ้น
ความปลอดภัย (security)
-   มีการกำหนดรหัสในการเข้าถึงข้อมูลเป็นรายบุคคลหน้าที่ภาระงาน หน่วยงานต้นสังกัด และระดับความลับของข้อมูล  โดยมีการกำหนดสิทธิการใช้ของข้อมูลของเจ้าหน้าที่แต่ระดับ  คือ  1. ระดับปฏิบัติงาน 2.  ระดับหัวหน้างาน 3. ระดับผู้บริหาร 4. ผู้ดูแลระบบ

แนวทางการรักษาความลับ
ผู้ป่วย
-  มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยเดียวกับงานเวชระเบียน
-  ด้าน electronic files หรือการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยผ่านโปรแกรมเวชระเบียน HOSxP มีการกำหนดรหัสในการเข้าถึงข้อมูล โดยมีการกำหนดสิทธิการบันทึก ใช้ของข้อมูลของรายบุคคลแบ่งตามหน้าที่ภาระงาน หน่วยงานต้นสังกัด และระดับความลับของข้อมูล

1 ความคิดเห็น: