วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รักเลยจัง..ตอนที่ 17

วันนี้มีอบรมโมดูลของห้องคลอด ซึ่งเป็นหัวข้อที่ผมต้องขอบอกตรงๆว่าค่อนข้างยาก ที่ว่ายากนี่หมายถึงยาก..ต่อการทำความเข้าใจ ปัญหาส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะวิธีการสอนของผมเอง คงยังไม่ดีพอที่จะสื่อสารให้คนฟังเข้าใจได้ง่ายๆ คงเป็นประเด็นที่ต้องไปปรับปรุงกันต่อ  ส่วนความยากในประเด็นอื่นๆ คงเป็นเรื่องของเนื้อหาของงานที่มาก และแตกต่างจากระบบงานอื่น

จริงๆแล้ว สิ่งที่แนะนำในวันนี้มันก็เป็นงานที่ทำอยู่แล้วทุกวันนั่นแหละครับ เพียงแต่ว่าระบบเดิมมันแยกส่วนไม่ได้เชื่อมโยงกัน ถ้าดูตามเนื้องานทุกวันนี้ห้องคลอด ก็ต้องลงรายละเอียดตามที่โปรแกรมมันทำงานอย่างนี้จริงๆ สังเกตได้ง่ายๆครับทุกช่องที่ลงข้อมูล ผู้ใช้จะเลือกลงได้อย่างถูกต้อง เพียงแต่ว่าเนื้องานที่ต้องลงมันเยอะ และยิ่งมาเจอกับหน้าจอที่หลายปุ่ม หลายขั้นตอนซึ่งมักทำให้เจ้าหน้าที่ของห้องคลอดแทบทุกโรงพยาบาลพอได้เห็นหน้าจอของ HOSxP แล้วขอส่ายหน้าหนีก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ ที่ รพร.ด่านซ้ายเอง ผมทำแผนพัฒนาโมดูลห้องคลอดไว้เป็นงานที่พัฒนาช่วงท้ายๆ ด้วยซ้ำไป
มาทำความเข้าใจเรื่องของข้อมูลกันก่อนครับ ถ้ามองแค่เฉพาะเรื่องของหน้างานห้องคลอด จะเห็นว่ามันมีความเชื่อมโยงกับระบบงานอื่นๆซึ่งไม่ใช่แค่เป็นเพียงข้อมูลการมาคลอดเพียงอย่างเดียว  ซึ่งข้อมูลจึงมีความสัมพันธ์กันดังนี้ครับ
  •  ข้อมูลการฝากครรภ์-->ข้อมูลการคลอดของแม่-->ข้อมูลการดูแลหลังคลอด
ดังนั้นข้อมูลคนที่มาคลอดที่โรงพยาบาลจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มครับ
  1. กลุ่มแรก คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติฝากครรภ์กับโรงพยาบาลมาแล้ว
  2. กลุ่มสอง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยมีประวัติฝากครรภ์กับโรงพยาบาล
ในขั้นตอนการเข้ารับบริการ ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาตรวจรักษาที่โรงพยาบาล สถานะภาพแรกหลังจากส่งตรวจ คือ การเป็นผู้ป่วยนอก ซึ่งต้องลงข้อมูลซักประวัติ การทำหัตถการให้ละเอียดเช่นเดียวกันกับผู้ป่วยทั่วไป แต่ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ จะข้ามขั้นตอนผู้ป่วยนอก โดยสั่ง Admit เข้าไปทันที ซึ่งระบบเดิมของทุกโรงพยาบาลก็มักทำอย่างนี้ แต่ในความสมบูรณ์ของ HOSxP มีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจกันอีกเล็กน้อย เพราะที่ผ่านมาข้อมูลในขั้นตอนการเป็นผู้ป่วยนอกของคนที่มาคลอดมักจะไม่ได้บันทึกไว้ ซึ่งหากเป็นกลุ่มที่มีประวัติฝากครรภ์กับโรงพยาบาลมาแล้วไม่ค่อยเป็นปัญหาเท่าไหร่ แต่ถ้าฝากครรภ์มาจากที่อื่นหรือไม่เคยมีชื่อในทะเบียนฝากครรภ์ของโรงพยาบาลมาก่อน ตรงนี้จะเป็นปัญหาพอสมควร ซึ่งถ้าดูตาม Flow การลงบันทึกข้อมูลจะเห็นว่ามีลักษณะอย่างนี้ครับ
  • ข้อมูลผู้ป่วยนอก(VT/CC/PE/ )--->OPD
  • ข้อมูลการคลอดมารดา-->LR
  • ข้อมูลการดูแลหลังคลอด -->IPD
HOSxPจะต่างจาก HOMcซึ่งผมคิดว่าคงเป็นเพราะมีชุดข้อมูลที่ลงได้ละเอียดกว่า ถ้าหากจะนำมาเปรียบเทียบกันเรื่องความยากง่ายในการลงข้อมูลนั้น คงคุยกันไม่จบเพราะการลงข้อมูลของ HOSxP ต้องเข้าใจเรื่องความเชื่อมโยงของข้อมูลกับหน่วยงานอื่นๆ ด้วย  การอบรมโดนคำถามเปรียบเทียบกับการลงใน HOMcหลายครั้ง การที่ยังยึดติดกับโปรแกรมเดิมแบบนี้คงยากที่จะทำยอมรับและทำความเข้าใจกับโปรแกรมใหม่ การฝึกอบรมในวันนี้ส่วนตัวผมคิดว่ายังทำได้ไม่ดีครับ  


3 ความคิดเห็น:

  1. หนูก้ออยากจะร้องไห้ กับ งานห้องคลอดเหลือเกิน..)))
    ........เพราะทุกคนมีเหตุผลเยอะเหลือเกิน..)))
    ------>>

    ตอบลบ