วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการลงเยี่ยมหลังคลอดครั้งที่ 2


ประเด็นเรื่องการเยี่ยมแม่และลูกหลังคลอด ครั้งที่ 2 ซึ่งมีคำถามว่าจะลงเยี่ยมได้อย่างไร ทางโทรศัพท์ได้ไหม๊ ซึ่งโดยส่วนตัวผมคิดว่าในยุคปัจจุบันที่มีปริมาณงานมากขึ้นการติดตามข้อมูลเยี่ยมบ้าน"บางอย่าง" โดยเฉพาะแม่และเด็กในรายที่คลอดหรือผ่าคลอดแล้วไม่มีอาการผิดปกติ การติดตามเยี่ยมก็ควรมีรูปแบบผสมผสานโดยการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วย โทรศัพท์ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกและรวดเร็วกว่าและได้ผลดีด้วย เพราะเป็นการสื่อสารสองทางที่ยังช่วยให้คนไข้ได้สังเกตความผิดปกติของตัวเอง รวมถึงในแง่ของการบริการสัมพันธ์ติดตามสอบถามหลังเข้ารับบริการ ซึ่งถ้าหากจะต้องใช้การติดตามเยี่ยมถึงบ้านทั้งหมดก็ต้องใช้กำลังคนและทรัพยากรอื่นๆมากขึ้น  และถ้าหากเรามองเจตนาและความตั้งใจ ที่จะเอาคนไข้เป็นศูนย์กลางการโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมมีวัตถุประสงค์สำคัญๆ คือได้พูดคุยติดตามอาการหลังคลอดจริงๆ  ประเด็นเรื่อง POINTของ OPPP ที่จะได้หรือไม่ได้ก็กลายเป็นเรื่องรองๆลงไป ซึ่งวิธีนี้ผมคิดว่าเป็นอีกช่องทางที่น่าสนใจ เพียงแต่ขอให้ทำจริงๆ ไม่ใช่ทำแบบเมคข้อมูลไปเพียงให้ครบตามเกณฑ์ของ สปสช.เท่านั้น

รพร.ด่านซ้ายได้มีการลงเยี่ยมครั้งที่ 2 ทางโทรศัพท์และส่งแบบฟอร์มให้กับทาง รพ.สต.เพื่อตามติดตามต่อข้อมูลคนไข้ในพื้นที่ตัวเอง โดยได้จัดทำรายงานการติดตามเยี่ยมของแม่และลูก รวมถึงจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ให้มีความรู้และความสามารถในการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นสำหรับติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ และถ้าหากผู้ป่วยรายใดมีปัญหาหรือไม่สามารถตอบคำถามได้ก็จะส่งต่อให้คุยกับพยาบาลหรือติดต่อกลับในภายหลัง เราลองดูตัวอย่างแบบฟอร์มกันนะครับ เผื่อ รพ.ใดสนใจเอาไปเป็นแนวทางการพัฒนาระบบงานเยี่ยมหลังคลอดของ รพ. โดยที่ รพร.ด่านซ้ายใช้เจ้าหน้าที่ศูนย์ประกันเป็นหน่วยงานช่วยติดตามลงข้อมูลเยี่ยมหลังคลอดครั้งที่สอง และบังคับส่งออกครับ





หลังจากที่ติดตามเยี่ยมเรียบร้อยแล้วก็จะนำข้อมูลดังกล่าวไปลงในบัญชี 2 และ 3  รวมถึงบังคับส่งออกโดยผมใช้วิธีให้ส่งออกในวันเดียวกับวันที่คลอด(หากเยี่ยมครบ 2 ครั้ง)และเก็บหลักฐานการติดตามเยี่ยมไว้ในแฟ้มเพื่อเป็นหลักฐานว่ามีการโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมจริ๊งๆ ไม่ได้โม้นะครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น