เอาละครับหลังจากพักผ่อนเซามีฉอง ดื่ม drinking water กันแล้ว จากการปรับข้อมูล ๒๑ แฟ้ม กันมาได้สักเดือน ผมก็เลยได้มีเวลาได้นั่งทำคู่มือการบันทึกอุบัติการณ์ หรือ รายงานความเสี่ยงนั่นเอง นานมากแล้วครับไม่ได้รีวิวโปรแกรมของ อ.อาร์ม แห่งด่านซ้าย คราวนี้ผมเลยได้นั่งทำคู่มือการบันทึกความเสี่ยงให้กับทางหน่วยงานของผมเอง ซึ่งมองจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานของผมเอง ยังคงต้องพึ่งคู่มือบ้าง(สำหรับบางคน) เพราะบางอย่างเราไม่ได้ทำบ่อย มันก็จะขาดความชำนาญในตรงนั้นไป เมื่อก่อนทางหน่วยงานผมใช้การรายงานความเสี่ยงด้วยการเขียนมือ ทำให้คนในหน่วยงานไม่อยากที่จะเขียนความเสี่ยง เพราะ อยากพิมพ์เอามากกว่า(จริงๆก็ขี้ค้านฮั่นหล่ะ) ฮ่าๆๆๆ คราวนี้ก็เลยนำเอาโปรแกรมความเสี่ยงให้ผู้ดูแลระบบความเสี่ยงดูว่า "พี่ โปรแกรมฯ มันเป็นลักษณะแบบนี้ๆๆๆนะ อยากลองดูไหม เดี๋ยวผมจัดการให้" ผมไม่มีรีรอคำตอบ ผมเลยจัดการจัดแจง เตรียมฐานข้อมูล เตรียมข้อมูลเบื้องต้นให้ เพื่อรอทำการทดลองบันทึกอุบัติการณ์ แต่สิ่งที่พี่เขาห่วง เลยถามผมว่า "เฮ้ย ไอ้เบิร์ด ขนาดมันเขียนใส่กระดาษมันยังเขียนไม่รู้เรื่องเลย แลัวให้พิมพ์ในโปรแกรมฯ ตูจะอ่านรู้เรื่องเหรอว่ะ 555" ผมเลยบอกไปเลยว่า "อย่าไปสนพี่ คนเราอยู่ที่การฝึกฝน ถ้าเราไม่กล้าที่จะเปลี่ยน บุคลากรเราก็จะไม่พัฒนาไปด้วย แล้วเมื่อไหร่เค้าจะพัฒนาตัวเองให้ทันโลกเทคโนโลยี หล่ะพี่ จริงไหมหล่ะ ^^ ลองดูๆ ผมอยากให้ใช้ เวลาพี่ทำรายงานความเสี่ยง ผมก็จะทำให้ได้ง่าย อิอิ" เอาละครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ไปดูกันเลยนะครับ ผิดพลาดตรงใด ขอพระอภัยมณี สินธุสมุทร สุดสาคร ไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคร๊าฟฟฟฟฟฟฟ
คู่มือการใช้งานโปรแกรม DS-Service v.1.55.8.25
การบันทึกอุบัติการณ์ (รายงานความเสี่ยง)
๑. Login เข้าสาโปรแกรม DS_Service
๒. คลิกที่ ระบบสนับสนุน > บริหารความเสี่ยง > ระบบบริหารความเสี่ยง
๓. จะปรากฏหน้าต่างระบบบริหารความเสี่ยงขึ้นมาดังรูป ให้คลิกที่ปุ่ม บันทึกอุบัติการณ์
หน้าต่างระบบบริหารความเสี่ยง ในส่วนของใบอุบัติการณ์ จะปรากฏขึ้นมาให้เรากรอกรายละเอียด
๔. ให้ทำการกรอกรายละเอียดดังนี้
กรอบสีน้ำเงิน
๔.๑ ถ้ากรอกใบอุบัติการณ์ที่เกี่ยวกับผู้ป่วยให้เลือก HN ผู้ป่วยที่ต้องการ โดยเลือกจากปุ่ม ค้นหา
กรอบสีแดง (ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง)
๔.๒ สถานที่เกิดเหตุ คือ อาคารที่เกิดอุบัติการณ์นั้น เช่น อาคารอำนวยการ, อาคารผู้ป่วยใน เป็นต้น
๔.๓ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ หน่วยงานที่อุบัติการณ์นี้อ้างถึง
๔.๔ หน่วยงานที่รายงาน คือ ฝ่ายงานที่รายงานอุบัติการณ์นี้
๔.๕ วันที่เกิดเหตุ คือ วันที่อุบัติการณ์นั้นเกิดขึ้น
๔.๖ วันที่รายงาน คือ วันที่ผู้เขียนอุบัติการณ์รายงานอุบัติการณ์
กรอบสีเขียว (ความเห็นของหัวหน้าหน่วยงาน)
๔.๗ ระดับความรุนแรง คือ ความรุนแรงของอุบัติการณ์นั้น เช่น near miss (ผู้รายงานเป็นคนกรอก)
๔.๘ สาเหตุที่ชัดแจ้ง (ผู้ดูแลระบบความเสี่ยงเป็นผู้กรอก)
๔.๙ สาเหตุเชิงระบบ (ผู้ดูแลระบบความเสี่ยงเป็นผู้กรอก)
กรอบสีเหลือง (ลักษณะอุบัติการณ์) มีทั้งหมด ๘ ด้าน เช่น ด้านคลินิก,ด้านระบบยา,ด้านสิทธิผู้ป่วย/จริยธรรมองค์กร ฯลฯ เป็นต้น
กรอบสีม่วง (ลักษณะอุบัติการณ์และรายละเอียด)
ช่องแรกให้เลือกจากรายการที่มีอยู่
รายละเอียดย่อย ใส่หรือไม่ ก็ได้
รายละเอียด ให้ผู้รายงานอุบัติการณ์เล่าเหตุการณ์ที่ละเอียด กระชับ เข้าใจง่าย แล้วกดปุ่ม บันทึก
คลิกแรงโหลดไม่ได้เหรอคะ ^_^
ตอบลบอยากให้ช่วยดูให้หน่อย....... กรอบสีม่วง (ลักษณะอุบัติการณ์และรายละเอียด) ปัญหา พอเราตั้งค่าพื้นฐานลักษณะอุบัติการต้วที่ 10 ขึ้นไป กำหนดรายละเอียด บันทึกค่าพื้นฐานเรียบร้อย .... รายละเอียดที่ตั้งไว้ ไม่ปรากฎ....
ตอบลบ