วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

การทบทวน ติดตาม ใบอุบัติการณ์

      สวัสดีครับพี่น้องครับชาวเครือข่ายพัฒนาระบบสารสนเทศโรงพยาบาล เช้าวันเสาร์อากาศสดใส บางคนอาจได้นอนพักผ่อนอยู่ที่บ้าน หลายๆคนได้ออกไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ แต่เราชาว @min ยังคงต้องเข้าเวรดูแลระบบของโรงพยาบาลแต่ละแห่งให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด เอาละครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่อง ระบบบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) หลายๆคนมองว่า ความเสี่ยง มันเข้าใจยาก เวลาเขียนใบอุบัติการณ์ ก็ไม่รู้จะเขียนอะไรดี แต่พอบางโรงพยาบาล ให้บุคลากรต้องเขียนใบอุบัติการณ์ เพื่อประกอบการพิจารณาความดีความชอบ ฮ่าๆๆ ทีนี้หล่ะ หนีไม่ออก อยากได้เงินเพิ่มก็ต้องเขียนสิครับพี่น้องครับ ^_^ ผมคนนึงที่เข้ามาทำงานในโรงพยาบาล ใหม่ๆ ผมก็มองว่า ทำไมต้องเขียน?แล้วเขียนไปทำไม? มีหลายคำถามเกิดขึ้นในสมองอันกรวงๆของผม แต่พอมีโปรแกรมบริหารจัดการความเสี่ยงขึ้นมา หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบในการดูแลระบบด้านเทคนิคก็คงหนีไม่พ้นเรา ผมก็เริ่มศึกษาจากผู้ที่รับผิดชอบของ RM อยากบอกว่าได้ความรู้มากมายครับ คำถามที่เคยเกิดขึ้นในสมอง ผู้รับผิดชอบ RM อธิบายให้ฟังได้เข้าใจมากๆ เลยครับ
     เอาละครับ เพ้อเจ้อมานานแล้วครับ เรามาเข้าเรื่อง RM กันครับ วันนี้ผมจะนำเสนอในเรื่องของการทบทวน การติดตาม ใน DS-Service 2.56.2.20 ว่าถ้าทบทวน ติดตามแล้วจะมีสถานะ หน้าทะเบียนความเสี่ยงอย่างไร อันดับแรก Login เข้าสู่โปรแกรม DS- Service 2.56.2.20 เลยครับ แล้วเข้าสู่เมนู ระบบบริหารความเสี่ยง

  
รูปที่ 1
แสดงหน้าทะเบียนอุบัติการณ์

หน้าทะเบียนอุบัติการณ์ จะมีใบอุบัติการณ์หลายใบ แต่ที่ผมจะให้สังเกตุนะครับ แถบสีที่แสดงสถานะใบอุบัติการถ้าใบอุบัติการณ์ใดมีแถบสี "เทา" หมายความว่า ใบอุบัติการณ์นั้น ได้มีการทบทวนไปแล้ว และช่อง ทบทวน ก็จะมีสถานะ "Y" แสดงไว้ และชื่อผู้ทบทวนแสดงขึ้นครับ


รูปที่ 2
แสดงแถบสถานะใบอุบัติการณ์


รูปที่ 3
แสดงหน้าต่างการทบทวน


ต่อไปครับ ใบอุบัติการณ์ ที่ "ต้องติดตาม" ที่ช่องทบทวนจะแสดงข้อความไว้ว่า "N" ครับ

รูปที่ 4
แสดงสถานะ "ต้องติดตาม"

รูปที่ 5
แสดงหน้าต่างการติดตาม

การให้สิทธิ์การเข้าใช้งานในโปรแกรม DS-Service 2.56.2.20 จะมีอยู่ 4 สิทธิ์นะครับ คือ
1.RISK_REPORT_APPROVE_REPORT
2.RISK_REPORT_REVIEW
3.RISK_REPORT_ALL_REPORT
4.RISK_REVIEW

การกำหนดสิทธ์การเข้าใช้งาน ในแบบของผม ผมใช้วิธี เข้า HOSxP ครับ เพราะฐานข้อมูลความเสี่ยง
ของโรงพยาบาลผมใช้ฐานข้อมูลเดียวกันครับ ดังรูปนี้ครับ


การกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานแต่ละเมนูกำหนดได้ดังนี้
Login เข้าสู่ HOSxP เข้าเมนู Tool --> System Setting


รูปที่ 6

ที่ด้านซ้ายมือเลอกืเมนู ผู้มีสิทธิเข้าใช้งานระบบ


รูปที่ 7

ค้นหาชื่อผู้ใช้งาน แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ผู้ใช้งานที่ต้องการ

รูปที่ 8

แล้ว check หน้าสิทธิการเข้าใช้งาน ตามต้องการ แล้วกด บันทึก


รูปที่ 9

เรียบร้อยแล้วครับขั้นตอนการทบทวน และ ติดตามความเสี่ยง และการกำหนดสิทธิการเข้าใช้งาน โปรแกรม DS-Service 2.56.2.20

ท่านใดที่ติดขัดการใช้งานตรงไหน หรือจะให้ผมรีโมทไปดูให้ก็ยินดีนะครับ ติดต่อผมได้ที่
google talk : mybigbird1983@gmail.com
facebook : Angrybirdty Butchan

โปรดติดตามตอนต่อไป.........สวีดัด สวัสดีครับ ^_^

1 ความคิดเห็น: