แฟ้มนี้จัดอยู่ในกลุ่มแฟ้มสะสม ซึ่งกำหนดให้ต้องมีการสำรวจและอัพเดตข้อมูลกันปีละ 1 ครั้งในช่วงเดือนสิงหาคมและปรับฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม หลังจากนั้นหากมีข้อมูลเพิ่มเติม หรือหากมีการปรับปรุงแก้ไขก็ให้ส่งข้อมูลไปยังส่วนกลางตามรอบของการส่งข้อมูลในเดือนต่อไป
ข้อมูลระดับบุคคล(PERSON) ถ้าจะทำให้เป็นปัจจุบันคงต้องอัพเดตกันบ่อยๆ การสำรวจปีละครั้งแค่ส่งรายชื่อให้ อสม.ตรวจสอบและเอากลับข้อมูลมาแก้ไข มักพบปัญหาใหญ่ที่ทำให้ปวดหัวสำหรับเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะประชากรในพื้นที่เขตเมืองซึ่งเป็นเรื่องที่สำรวจยาก บางคนย้ายออกไปจากพื้นที่หลายปีแล้ว บางคนมีชื่อแต่ไม่มีคน อสม.ไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหน บางพื้นที่มีคนไทย คนต่างด้าว ที่ถูกกำหนด TYPE 0-4 กันมั่วไปหมด ส่วนใหญ่รู้ทั้งรู้ว่าแฟ้มนี้สำคัญ และเป็นแฟ้มที่ข้อมูลจะถูกนำไปกำหนดเป็นกลุ่มเป้าหมายอื่นๆในการทำงานต่อไป เช่น หญิงวัยเจริญพันธุ์ เด็กที่ต้องฉีดวัคซีน เด็กที่ต้องติดตามภาวะโภชนาการ กลุ่มอายุที่ต้องติดตามคัดกรองความเสี่ยง ฯลฯ
ใช่แล้วครับ "เป้า" ที่มีไว้ให้ "ชก" และ ถูกชก!
ถ้าเข้าใจและให้ความสำคัญของแฟ้ม PERSON อย่างดีแล้วนั้น กรุณาย้อนกลับไปอ่านทบทวนคู่มือของ 43 แฟ้ม กันให้แจ่มชัดอีกสักครั้ง ตรวจสอบและแก้ไขรายละเอียดในตาราง ดังต่อไปนี้
- คำนำหน้า : pname , provis_pname
- เพศ : sex , provis_sex
- สถานะสมรส : marrystatus , provis_mstatus
- อาชีพ (รหัสเก่า) : occupation
- อาชีพ (รหัสใหม่) : provis_occupa
- เชื้อชาติ สัญชาติ : provis_race
- ศาสนา : religion , provis_religion
- ระดับการศึกษา : education , provis_education
- สถานะในครอบครัว : person_house_position , provis_fstatus
- สถานะในชุมชน : person_discharge
- หมู่เลือด : blood_group, provis_bgroup
- หมู่เลือด RH : blood_rh
- รหัสความเป็นคนต่างด้าว : person_labourุ
- สถานะบุคคล : house_regis_type , provis_typearea
นักสุขภาพครอบครัว(นสค.) กับการทำงานสาธารณสุขยุคไอที
การอัพเดตแฟ้ม PERSON นสค. (นักสุขภาพครอบครัว) คงต้องคิดหาวิธีใหม่ๆ ที่ไม่ใช่เพียงแค่การใช้ อสม.ช่วยสำรวจข้อมูลแบบเดิมๆ เพราะข้อมูลประชากรในปัจจุบันต้องการวิธีการติดตามอัพเดตข้อมูลที่รวดเร็วมากขึ้น แฟ้มครอบครัว(Family Folder) เคยเป็นแหล่งเก็บข้อมูลที่ดีมั๊กๆ แต่อาจไม่เหมาะกับการทำงานในปััจจุบัน โดยเฉพาะบุคลากรรุ่นใหม่ๆที่เราเรียกกันว่า"Gen Y" คนที่เกิดและเติบโตมากับคอมพิวเตอร์ที่มีอินเตอร์เนตแพร่หลาย บวกกับเทคโนโลยีใหม่ๆที่เข้ามาเบียดใกล้ๆ แทบจะหายใจรดต้นคอเราทุกวัน
การอัพเดตข้อมูลที่ผมพยายามแนะนำให้ใช้ คือ การลงบันทึกข้อมูลผ่านระบบบัญชี 1-8 ของ HOSxP , HOSxP PCU หรือ JHCIS ทันที เพราะคนที่เข้ามารับบริการไม่ได้มาตัวเปล่า ยังเอาข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลครอบครัวติดตัวมาด้วย ซึ่ง นสค.ไม่ควรพลาดที่หาวิธีพูดคุยสอบถามเพื่ออัพเดตข้อมูลจากปากผู้รับบริการโดยตรง แต่หลายๆคนยังๆงงเพราะยึดติดกับการบันทึกแก้ไขใน Family Folder สุดท้ายก็กลายเป็นงานซ้ำซ้อน ส่งผลให้ข้อมูลในแฟ้มและในคอมพิวเตอร์เชื่อถือไม่ได้ทั้งคู่..
แหล่งข้อมูลอื่นๆที่สามารถนำใช้ได้ เช่น ข้อมูลจากการ์ดงานแต่ง หรือการ์ดงานศพ แหล่งข่าวชุมชนซึ่งจะมีเรื่องราวระดับบุคคล ที่ นสค.นำมาใช้ประโยชน์ในการอัพเดตข้อมูล Person ได้อย่างดี และถ้าหน่วยบริการอยู่ในพื้นที่ที่มีอินเตอร์เนต 3 G มีทีมที่สามารถช่วยเตรียมความพร้อมให้ของ HARDWARE ให้ได้ การนำโปรแกรมดีๆอย่าง HHC online ของทีมจังหวัดอุดรธานี มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการทำงานบน ipad ,smartphone จะช่วยให้การออกทำงานในหมู่บ้านหรือในชุมชนสะดวกสบายมากขึ้น นสค.ยุคไอทีสามารถอัพเดตข้อมูลได้ทุกที่ ..ทุกเวลา
..................................................................................................................................................................
ชื่อแฟ้ม Person
คำนิยาม หมายถึงข้อมูลทั่วไปของประชาชน "ในเขตรับผิดชอบ" และ "ผู้มาใช้บริการ" ประกอบด้วย
- ประชาชนทุกคนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบ (ประเภท 3)
- ประชาชนทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ (ประเภท 1 และ 2)
- ผู้มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ (ประเภท 4 และ 5 )
- เก็บข้อมูลโดยการสำรวจปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคมและปรับฐานให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม
- กรณีมีการขึ้นทะเบียนใหม่ หรือปรับแก้ไขข้อมูลเดิม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ส่วนกลางในรอบเดือนนั้นๆ
ตารางที่เกี่ยวข้องกับแฟ้ม PERSON คลิก
จุดที่ต้องให้ความสนใจสำหรับแฟ้ม PERSON คือ เรื่องความสัมพันธ์ของข้อมูล เช่น หากสถานะปัจจุบัน ย้าย หรือ ตาย ควรมีข้อมูลที่เชื่อมโยงกับวันที่ และข้อมูลการเสียชีวิตด้วย โดยเฉพาะข้อมูลการตาย ลงในบัญชี 1 แล้วอย่าลืมไปทำจำหน่ายในบัญชีหรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันด้วย
หมายเหตุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น