หลายคนคงเหนื่อยกาย เหนื่อยใจ กับงานมากมายที่ถาโถม จนบางทีออกอาการงง เบลอ เซ่อไปเลยก็มี เคยมีความรู้สึกเหมือนผมบ้างไหม๊ครับ ที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอะไรตรงไหนก่อนดี มองซ้าย ขวา หน้า หลัง บน ล่าง สารพัดม๊อบ เอ๊ย สารพัดงานกองเต็มไปหมด
บางครั้ง กลับบ้าน เหนื่อย เพลีย ระเหี่ยใจ ต้องหยิบนกหวีดขึ้นมาเป่า..ปริ๊ดๆ ๆๆๆ
อ่า ค่อยมีเรี่ยวแรงขึ้นมาหน่อย ...
เอาละครับมาว่ากันต่อ เรื่อง อปท. ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้นมา ทุกโรงพยาบาลคงได้เตรียมความพร้อมรับมือกับระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น (อปท.) กันมาพอสมควรแล้วนะครับ ก่อนหน้านี้ก็มีทั้งเอกสาร การเชิญเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา ฮาเฮ จนบางครั้งผมรู้สึกว่าความรู้ท่วมหัว เอาตัวม่ายรอด..ฮิ้วว ดังนั้นก่อนจะพูดคุยอะไรกันต่อไปวันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นกันอีกสักครั้ง แม้ว่ารู้เขา รู้เรา รบกันไปก็เท่านั้น แต่มันก็จำเป็นที่จะต้องรู้
.......................................................................................................................................................กองทุนสวัสดิการการรักษาพยาบาลของเมืองไทย
ในปัจจุบันเท่าที่จำกันได้ ประเทศไทยเรามีกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลหลักๆ ที่รู้จักกันดี ดังนี้
นอกจากนี้ก็ยังมีอืนๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ ,ครูเอกชน ,สิทธิเบิกของกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ฯ โน้นอีก ในส่วนของบัตรทองหรือที่เรียกง่ายๆว่า UCสิทธินี้แนวทางปฏิบัติชัดเจนกันมานาน ประกันสังคมกองทุุนใหญ่แม้ว่าจะจุกจิกไปบ้าง แต่ก็พอให้รำคาญใจ
ส่วนกรมบัญชีกลางชัดเจนสะดวกสบายตั้งแต่เริ่มให้ทำจ่ายตรง ที่ว่าสบายหมายถึงตัวข้าราชการ แต่ที่ลำบากคือหน่วยงานที่ต้องมาจัดเตรียมระบบ รับสมัครข้าราชการที่มาลงทะเบียนจ่ายตรง สแกนรายนิ้วมือ ฯลฯ พอกำลังจะหายเหนื่อย รัฐบาลท่านก็มอบหมายนโยบายเรื่องระบบประกันสุขภาพที่ต้องการให้ลดความเหลื่อมล้ำ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงเป็นที่มาของหน่วยงานกลางที่จะมาทำหน้าที่จัดการทางธุรกรรม ที่เรารู้จักกันดีในนาม National Clearing House : บ้านแห่งชาติสำนักหักบัญชี อันนี้พี่กรูเขาเป็นคนแปล (ฮา)
ระบบการเบิกจ่ายของ อปท.แบบดั้งเดิมที มีปัญหาคล้ายๆกับระบบของกรมบัญชีกลางแต่ก่อน คือ ภาระของผู้รับบริการในการที่จะต้องหาเงินมาสำรองจ่าย ถ้านานๆ ครั้งคงไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นคนที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เข้าออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่น คงจะไม่ไหว แถมต้นสังกัดยังตั้งงบประมาณในส่วนของค่ารักษาพยาบาลไม่เพียงพอซะอีก การจ่ายคืนให้ผู้มีสิทธิจึงอาจจมีปัญหาสภาพคล่อง และแน่นอนว่าย่อมกระทบไปถึงโรงพยาบาลที่เรียกเก็บกรณีเป็นผู้ป่วยใน เข้าไป จะให้หน่วยงานต้นสังกัดเขาทำอย่างไรได้เงินไม่มี ไม่หนี และก็ขอยังไม่จ่ายละกัน
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดการเหลื่อมล้ำ สองมาตรฐาน และเกิดการปรองดอง กรมส่งเสริมการปกครองจึงตั้งบอกว่างั้นจะตั้งงบประมาณค่ารักษาพยาบาล ในส่วนของสิทธิรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ จำนวน 4,061 ล้านบาท ผ่านแบบสามวาระรวด และมอบหมายให้ สปสช.ทำหน้าที่เป็นกาวใจ Clearing จ่ายค่าชดเชยให้ โดยเมื่อผู้มีสิทธิ อปท.เข้ารับบริการไม่ต้องสำรองจ่ายเหมือนแต่ก่อน แต่ให้โรงพยาบาลที่ให้บริการส่งข้อมูลเรียกเก็บผ่านระบบ E-Claim ไปยัง สปสช. เพื่อตรวจสอบและพิจารณาจ่ายค่าชดเชยให้ หน่วยบริการต่อไป
.........................................................................................................................................................
พนักงานส่วนท้องถิ่น ?
ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินสวัสดิการารักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 หน้า 3 วรรค 2 แถวที่ 5 (ถ้าหาไม่เจอก็เปิดหาไปเรื่อยๆนะครับ ต้องเจอจนได้แหละน่า) กำหนดไว้ว่า บุคคลดังต่อไปนี้ คุณ...คือผู้ที่ได้รับสิทธินั้นเดี๋ยวนี้
- ผู้มีสิทธิ
- ข้าราชการ
- ข้าราชการการเมือง (นายกเทศมนตรี นายก อบจ. และ นายก อบต. ที่ไม่รวมรองนายกแต่ละประเภท ยกเว้น รองนายก อบจ.ที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น)
- พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจ้า
- ข้าราชการครูที่รับถ่ายโอน ครูผู้แลเด็กหรือครูผู้ช่วยเฉพาะกรณีที่เป็นลูกจ้างประจ้าที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
- ผู้มีสิทธิร่วม
- บิดา มารดา
- คู่สมรส
- บุตร
- บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ลำดับที่ 1 – 3 ของผู้มีสิทธิ ยกเว้นหากบุตรในล้าดับที่ 3 เป็นแฝด ให้มีสิทธิได้ครบทุกคนในการคลอดครั้งนั้น
- ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
- กรณีบุตรเกิน 3 คน บุตรล้าดับที่ 1-3 เสียชีวิตก่อนบรรลุนิติภาวะให้เลื่อนบุตรล้าดับถัดไปขึ้นมา
...........................................................................................................................................................
นิยามที่เกี่ยวข้อง
- ผู้หมดสิทธิ หมายถึง ข้าราชการ, ข้าราชการการเมือง พนักงานเทศบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้างประจ้า ที่ออกจากราชการ ถูกพักราชการ หรือย้ายหน่วยงานทุกกรณี ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิต การหย่าร้าง หรือการบรรลุนิติภาวะ ผู้มีสิทธิร่วมของบุคคลดังกล่าวด้วย
- หน่วยเบิก หมายถึง องค์การบริการส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมืองเทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนต้าบล ยกเว้นกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
- นายทะเบียน หมายถึง บุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับการพิจารณาจากต้นสังกัดให้ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียน และได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- ค่ารักษาพยาบาล หมายถึง
- ค่ายา ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือด หรือสารทดแทน ค่าน้้ายาหรืออาหาร
- ค่าอวัยวะเทียม อุปกรณ์ในการบ้าบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม
- ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจวิเคราะห์โรค ไม่รวมค่าพยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ หรือค่าตอบแทนพิเศษ
- ค่าห้อง ค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล
- ค่าตรวจสุขภาพประจำปี
...........................................................................................................................................................
การเลือกสิทธิและสิทธิซ้ำซ้อน
- กรณีผู้มีสิทธิ หรือบุคคลในครอบครัว ได้รับสิทธิสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่ได้รับสิทธิตามระเบียบฯ
- เว้นแต่สวัสดิการนั้นต่้ากว่าสิทธิที่ได้รับระเบียบนี้ให้ได้รับสิทธิในส่วนที่ขาด
- สิทธิซ้ำซ้อน อปท./ข้าราชการ : ให้ใช้สิทธิข้าราชการ
- สิทธิซ้ำซ้อน อปท./ประกันสังคม : ให้ใช้สิทธิประกันสังคมก่อน ส่วนเกินใช้สิทธิ อปท.
- สิทธิซ้ำซ้อน อปท./รัฐวิสาหกิจ : ใช้สิทธิรัฐวิสาหกิจ ส่วนเกินใช้สิทธิ อปท.
- สิทธิซ้ำซ้อน อปท./อปท. เช่น สามี-ภรรยา เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิของตนเอง
...........................................................................................................................................................
ขั้นตอนการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ
ขั้นตอนการลงทะเบียนผู้มีสิทธิที่หน่วยงานต้นสังกัด ผู้มีสิทธิจะต้องนำหลักฐานไปยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อให้ตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ หลังจากนั้นนายทะเบียนจะลงบันทึกข้อมูลผ่านทางหน้าเวปลงทะเบียน อปท. (ระบบลงทะเบียนบุคลากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ซึ่งระบบจะมีการประมวลผลเวลา 11.00น. และ 15.00 น. ของทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อหน่วยบริการตรวจสอบข้อมูลผ่านหน้าเวปของ สปสช. จึงจะเห็นข้อมูลแสดงบนเวปไซต์
ขั้นตอนการลงทะเบียนของผู้มีสิทธิก่อนที่จะมีข้อมูลแสดงให้หน่วยบริการเห็นมีประมาณนี้แหละครับ ดังนั้นอย่าแปลกในที่บางคน มาขอลงทะเบียนสแกนลายนิ้วมือที่โรงพยาบาลตอนเช้ายังไม่มีรายชื่อ ตกมาตอนสายๆ หรือบ่ายมีรายชื่่อโผล่มาหน้าตาเฉย
เอาละครับ สิ่งที่ผมได้กล่าวมาข้างต้น อ้างอิงจาก สไลด์นำเสนอของ อ.รังสรรค์ ศรีภิรมย์ จาก สปสช.เขต 8 อุดรธานี ที่ได้นำเสนอไว้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2556 ซึ่งผมขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้
บทความวันนี้..เหมือนจะจบลงได้ด้วยดี
แต่..ช้าก่อนครับ
แต่..ช้าก่อนครับ
นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะเนื้อหาถัดจากนี้ต่อไปจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยบริการล้วนๆ ที่จะต้องจัดบริการลงทะเบียน ตอบคำถาม ลงบันทึกข้อมูลส่งเบิก ฯลฯ ซึ่งมาพร้อมๆกับ เพื่อนใหม่อย่าง NHSO Client
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น