วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การให้บริการผู้มีสิทธิ อปท.และ NHSO Client

กว่าผมจะเขียนบทความถึงวันนี้ NHSO Client ก็ปาเข้าไปเวอร์ชั่น 1.0.6 เข้าไปแล้ว ก่อนหน้านี้ก็มีปัญหาจุกจิกกวนใจอยู่พอสมควรกับระบบลงทะเบียน online เพราะปัจจัยสำคัญต้องอาศัยอินเตอร์เนตเสียด้วยนี่สิ แล้วโรงพยาบาลบ้านนอกที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เนตดีๆ มีให้เลือกไม่มาก แบบพื้นๆหน่อยก็คงต้องเลือกบริการของ TOT โชคดีหน่อยอาจจะมี CAT,ทรู 3G มีให้เลือกค่ายได้บ้าง  แถมบางแห่งยังต้องจัดแบ่งแชร์ให้กับเพื่อนร่วมงานในโรงพยาบาลใช้อีกด้วย ความหนุกหนานในทุกวันทำงาน คือการลุ้นกับการลงทะเบียนขอใช้สิทธิ online  ที่สะดุดติดๆขัดๆ.. ผู้มีสิทธิบางคนดั้นด้นมาตอนเช้า และต้องได้เข้ามาอีกตอนบ่าย  บางคนก็เข้าใจดี แต่ก็มีไม่น้อยที่ไม่พยายามเข้าใจ แถมโทษโรงพยาบาลว่าจัดบริการได้ห่วยขั้นเทพมั๊กๆ

เอาละครับวันนี้เรามาทำความรู้จักกับขั้นตอนการใช้สิทธิของ อปท./กรมบัญชีกลาง ที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลกันครับ
.............................................................................................................................................................
การเตรียมความพร้อมของหน่วยบริการ

การให้บริการลงทะเบียนสิทธิของ อปท. และกรมบัญชีกลาง ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้นมา หน่วยบริการทุกแห่งจะต้องให้บริการผ่านโปรแกรม NHSO Client ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่ใช้โปรแกรม CSCD  สำหรับลงทะเบียนและการขอเลขอนุมัติผ่านหน้าเวปไซต์ของกรมบัญชีกลาง

เมื่อผู้มีสิทธิส่งหลักฐาน และนายทะเบียนบันทึกข้อมูลผู้มีสิทธิและผู้ร่วมใช้สิทธิเรียบร้อย หน่วยบริการสามารถที่จะตรวจสอบข้อมูลผ่านทางหน้าเวปไซต์ของ สปสช. หรือตรวจสอบผ่านโปรแกรม NHSO Client  ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจกันง่ายๆ มากขึ้น ผมจึงทำ Flow การเข้ารับบริการของผู้มีสิทธิ อปท.ในแต่ละกรณี ดังนี้ครับ

1. กรณีเข้ารับบริการทั่วไป

ผู้มีสิทธิ อปท. เมื่อมีความประสงค์จะลงทะเบียนระบบจ่ายตรง อปท.สามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ โดยติดต่อหน่วยบริการเพื่อตรวจสอบรายชื่อ และลงทะเบียนสิทธิ สแกนลายนิ้วมือ เมื่อผ่านการอนุมัติ ก็สามารถใช้สิทธิจ่ายตรงในวันนั้นไม่ต้องสำรองจ่าย 
  • กรณีผู้ป่วยนอก เข้ารับบริการได้ทันที โดยไม่ต้องขอ Claim code**
  • กรณีผู้ป่วยใน ขอ Claim code ทุกครั้ง**
  • กรณีผู้ใหญ่และเด็กอายุ > 7 ปี สามารถเข้ารับการรักษาในรพ.ของรัฐโดยไม่ต้องสำรองจ่าย หากมีข้อมูลในฐานทะเบียนสิทธิอปท.แล้วเท่านั้น โดยครั้งแรกที่มารับบริการ ให้นำบัตรปชช.มาสมัครเพื่อลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง  และลงทะเบียนสแกนลายพิมพ์นิ้วมือ 
  • กรณีของเด็กอายุต่ำกว่า 7ปี ให้ใช้สูติบัตรหรือบัตรสุขภาพเด็กที่รพ.ออกให้ เพื่อทำ เรื่องขอลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง และทำการสแกนลายพิมพ์นิ้วมือ เมื่อผ่านการอนุมัติ สามารถใช้สิทธิจ่ายตรงในวันนั้นเช่นเดียวกัน
2. กรณีเข้ารับบริการ อุบัติเหตุฉุกเฉิน (AE)



กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้มีสิทธิ อปท.มีทีมีรายชื่ออยู่ในฐานของ อปท.เรียบร้อยแล้ว สามารถเข้ารับบริการจากโรงพยาบาลของรัฐ โดยที่หน่วยบริการจะทำตรวจสอบสิทธิผ่านโปรแกรม NHSO Client หากพบรายชื่อให้ลงทะเบียน สแกนลายนิ้วมือ และขอเลข Claim code
** กรณีที่ไม่สามารถสแกนลายพิมพ์นิ้วมือ ให้หน่วยบริการระบุเหตุผลประกอบการขอสิทธิเบิกจ่ายตรงเพื่อประกอบการพิจารณา **

3. กรณี ไม่พบรายชื่อในฐาน อปท. 


เคยเจอปัญหาผู้มีสิทธิ อปท.มารับบริการ แต่ตรวจสอบแล้วไม่พบไหม๊ครับ ผมเคยพบปัญหานี้อยู่หลายราย ส่วนใหญ่อธิบายแล้วก็เข้าใจดีไม่มีปัญหา ช่วงแรกๆของการให้บริการในเดือนตุลากคม กรณีมีปัญหาแบบนี้ส่วนใหญ่ยินยอมชำระเงินเองไปก่อน หรือกรณีที่ผู้มีสิทธิบางรายมานอกเวลาราชการ เช่น เวรบ่าย บ่ายดึก ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการลงทะเบียนเขาคงไม่ได้มานั่งคอยให้บริการแน่ๆ แต่หลังจากนั้นเริ่มมีแนวทางปฏิบัติในการให้บริการสาธารณสุขสิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น กรณีที่ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีสิทธิในระบบทะเบียนบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ วันที่ ใช้บริการ มีแนวทางให้ดำเนินการดังนี้ ครับ

  1. ให้ใช้สิทธิหลักของแต่ละบุคคลที่ระบุหน้าเวปไซด์
  2. หากเป็นสิทธิว่างให้ดำเนินการตามแนวทางของ สปสช.กรณีสิทธิว่าง
  3. หากผู้ป่วยยืนยันว่ามีสิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายไปก่อนและออกใบเสร็จให้ผู้ป่วย เพื่อใช้ประกอบในการเบิกค่ารักษาคืนจากต้นสังกัด
  4. แนะนำให้ผู้รับบริการไปติดต่อขึ้นทะเบียนที่หน่วยงานต้นสังกัด
  5. หน่วยบริการเก็บข้อมูลและรายงานผ่านทางหน้าเวป www.higthai.org
4. กรณีสำรองเงินสดจ่าย และนำใบเสร็จไปเบิกเงินคืน


กรณีที่มีผู้มีสิทธิ อปท. ได้สำรองจ่ายเงินไปก่อน สามารถนำไปเบิกคืนได้โดยมีแนวทางให้ดำเนินการดังนี้ครับ
  • ให้ผู้มีสิทธินำเสร็จรับเงินที่ได้รับจากรพ.มาส่งให้นายทะเบียนหน่วยเบิก 
  • นายทะเบียนจะต้องทำการบันทึกข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเข้าสู่เว็บไซต์ของสปสช.พร้อมสแกนใบเสร็จรับเงินเข้าสู่ระบบเพื่อรอการตรวจสอบ 
  • สปสช.จะทำการประมวลผลจ่ายเงินคืนเป็นรายรอบ 
  • เมื่อได้รับเงินโอน นายทะเบียนจะต้องจัดระบบการจ่ายเงินคืนผู้มีสิทธิต่อไป 
..................................................................................................................................................................
การหมดสิทธิรักษาพยาบาล
  • นายทะเบียนของหน่วยเบิกจะต้องทำการปรับปรุงข้อมูลของผู้หมดสิทธิของหน่วยงาน ข้อมูลที่แจ้งจะได้รับการประมวลผลภายในวันนั้นเช่นเดียวกับข้อมูลผู้มีสิทธิรายใหม่
  • สำหรับการหมดสิทธิจากกรณีเกษียณอายุ หรือบุตรบรรลุนิติภาวะ สปสช.จะทำการตรวจสอบและปรับปรุงให้หมดสิทธิโดยอัตโนมัติทุกเดือน หากข้อมูลนั้นยังไม่ได้รับการปรับปรุง
  • ในกรณีที่เจ้าของสิทธิหมดสิทธิการรักษาพยาบาลจากระบบแล้ว สปสช.จะทำการตรวจสอบและปรับปรุงให้ผู้มีสิทธิร่วมหมดสิทธิไปพร้อมกันโดยอัตโนมัติ
..................................................................................................................................................................
ระบบลงทะเบียนต่อเนื่อง



จากมติของ สปสช. เดือน สิงหาคม 2554 มีรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดลงทะเบียนแบบต่อเนื่องให้กับบุคคลที่เคยมีสิทธิต่างๆ และหมดสิทธินั้นๆ ได้กำหนดสาระสำคัญไว้ดังนี้
  • จัดระบบการลงทะเบียนแบบต่อเนื่องให้กับบุคคลที่เคยมีสิทธิประกันสังคมและบุคคลที่เคยมีสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/ท้องถิ่นที่กลายเป็นสิทธิว่าง 
  • ให้สปสช.ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำแทนผู้มีสิทธิเป็นการชั่วคราวก่อน
  • สปสช.จะทำการประชาสัมพันธ์ หรือจัดทำจดหมายแจ้งการลงทะเบียนแทนเพื่อให้ประชาชนทราบ 
  • หากผู้มีสิทธิไม่พอใจหน่วยบริการประจำที่ สปสช.เลือกให้ สามารถเปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้โดยไม่นับครั้งการเปลี่ยน (4 ครั้งต่อปี) 
..................................................................................................................................................................
คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับการใช้บริการ ที่น่าสนใจ
  1. การเข้ารับบริการของสิทธิ อปท. ว่าสามารถไปที่ หน่วยบริการระดับ รพสต. ได้หรือไม่ ? หรือหากไปรักษาที่รพสต.ได้ จะมีทางเลือกในการเบิกชดเชยอย่างไร?
    • ให้จ่ายเงินสดและนำใบเสร็จไปเบิกผ่านหน่วยเบิกของอปท.เพื่อขอเบิกชดเชยจากสปสช. 
    • ในไตรมาสที่ 2 หรือ 3 ของปีงบประมาณ 57 ให้รพสต.เป็นเครือข่ายของรพ.ที่เบิกจ่ายตรง โดยไม่ต้องชำระเงิน แต่ไปคีย์ผ่าน รพ. หรือรพสต. ที่อยู่ใน master cup เดียวกัน เพื่อให้ รพ. เป็นศูนย์ต้นทุน
  2. กรณีที่พระราชกฤษฎีกาออกไม่ทันในวันที่ 1 ตค. 56 จะให้ผู้มีสิทธิอปท. เข้ารับบริการจ่ายตรงตามที่ สปสช.ประกาศได้หรือไม่?
    • ให้รับบริการได้เลย แต่มีการเบิกชดเชย ดังนี้
      • ผู้มีสิทธิสามารถใช้ระบบจ่ายตรง แต่สปสช.จะจ่ายชดเชยให้หน่วยบริการเมื่อกฎหมายผ่านเรียบร้อยแล้ว
      • ผู้มีสิทธิรับบริการตั้งแต่ 1 ตค. 56 เมื่อจ่ายเงินสดแล้วเก็บใบเสร็จไว้ก่อนเพื่อรอเบิกคืนภายหลังได้
  3. หากผู้มีสิทธิอปท.ย้ายหรือเปลี่ยนที่ท้างาน ไปยังอบต.อื่น ประวัติข้อมูลของหน่วยบริการที่ลงทะเบียนจ่ายตรงไว้ จะย้ายตามไปด้วยหรือไม่?
    • ระบบทะเบียนของสปสช.จะไม่ลบประวัติการลงทะเบียนจ่ายตรงของผู้มีสิทธิหรือผู้อาศัยสิทธิ ซึ่งได้เคยลงทะเบียนเพื่อขอเบิกจ่ายตรงไว้แล้วเพื่อลดภาระการไปทำธุรกรรมซ้ำ
  4. กรณีที่ไม่พบชื่อผู้มีสิทธิในระบบลงทะเบียน
    • ให้ผู้มีสิทธิจ่ายเงิน แล้วนำใบเสร็จไปเบิกต้นสังกัด
    • ให้ผู้มีสิทธิไปแจ้งนายทะเบียนเพื่อลงทะเบียนสิทธิ ซึ่งจะประมวลผลตามรอบ 11.00 และ 15.00 น. เมื่อสิทธิผ่านการประมวลผล สามารถลงทะเบียนจ่ายตรงเข้ารับบริการได้เลย
  5. กรณีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
    • ผู้ป่วย อปท. ต้องไปท้าจ่ายตรงที่โรงพยาบาลของรัฐ 
    • หน่วยบริการที่ให้บริการจะด้าเนินการเบิกชดเชยจาก สปสช. 
    • กรณีส่งต่อไป รพ.เอกชน อยู่ระหว่างการเจรจา ยังไม่สามารถใช้ได้ 
อ้างอิง : สไลด์ข้อมูลนำเสนอของ รังสรรค์ ศรีภิรมย์ สปสช. เขต 8 อุดรธานี วันที่11 ตุลาคม 2556

แนวทางการจัดทำข้อมูลเพื่อเบิกจ่ายค่าบริการสาธารณสุข สิทธิ อปท.

1 ความคิดเห็น: