วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

โรคซึมเศร้า เหงา และแฮ้งค์ ฮิ้ววว

7 มีนาคม 2557

ทีม สสจ.เลย และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลต่างๆ ที่รับผิดชอบงานคัดกรองโรคซึมเศร้า เดินทางเข้ามาร่วมประชุมกันอีกครั้ง เพื่อพูดคุยเรื่องการตรวจสอบข้อมูล และส่งรายงานการคัดกรองโรคซึมเศร้า ซึ่งตอนนี้ดูท่าจะเป็นหนังยาว เพราะไล่เรียงมาตั้งแต่วันที่ 12 ก.พ.57 ผมไปบรรยายเกี่ยวกับการส่งรายงานที่ภูดารารีสอร์ท หลังจากทางทางทีมจังหวัด ได้มาพูดคุยเรื่องการส่งรายงานที่อำเภอด่านซ้าย และกลับมาอีกครั้งพร้อมทีมแอดมินโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อวันที่ 27 ก.พ.57 ก่อนจะมาปิดท้ายในวันที่ 7 มีนาคม 57 ซึงปิดการประชุมกันแบบมึนๆ งงๆ และยังไม่ค่อยลงตัว เพราะดูเหมือนว่าการฉากจบตบท้าย ไม่ได้เฉลยว่าใครจะต้องไปทำอะไร ยังไงต่อให้ชัดเจน..

เอาเป็นว่าผมเริ่มเรื่องนี้ ก็คงมีหน้าที่มาเขียนต่อให้จบ.. 

: ประเด็นแรก
หลังจากที่ได้ประชุมร่วมกับทางโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ได้เข้าใจเรื่องความต้องการและระบบรายงานการคัดกรองโรคซึมเศร้าที่ชัดเจน มากขึ้น ซึ่งช่องทางการเก็บและส่งข้อมูลเขามีให้เลือกได้ตามใจชอบดังนี้ครับ
  1. โปรแกรม Online 
  2. โปรแกรม HosXp (โปรแกรมใช้เก็บข้อมูล 43 แฟ้ม)จะต้องให้ผู้ที่รับผิดชอบฐานข้อมูลดึงข้อมูลให้ เอกสารแบบรายงาน Word,excel 
  3. ส่งทางอีเมล เอกสารส่งทางไปรษณีย์ (ทีมงาน รพ.พระศรีมหาโพธิ์ คีย์ให้) 
  4. โปรแกรม Offline  (สามารถส่งออกจาก HOSxP-->เข้าโปรแกรม offline --->ส่งเข้า on line)
สาเหตุที่ต้องทำหลายช่องทางก็เพราะเขาออกแบบให้ยืดหยุ่นกับหลายๆพื้นที่ เอาเป็นว่าพี่สะดวกทางไหนส่งได้ตามใจชอบ อัพทูยู..
ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมา การส่งข้อมูลจึงแล้วแต่ใครชอบ ใครใช้ ใครถนัด.. แต่ข้อมูลทั้งหมดจะไปมัดรวมเป็นก้อนไว้ที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ๋ซึ่งพัฒนาการของชุดข้อมูลเขามีการปรับปรุงมาเรื่อยๆ คนนอก วงการอย่างเราๆ อาจจะไม่ค่อยรู้กับเขาเท่าไหร่ แต่สุดท้ายก็มาจบกันด้วยชุดข้อมูลหน้าตาแบบนี้

ดาวโหลด แบบฟอร์มรายงาน คลิก

ลำพังหน้าต่อแบบฟอร์มแบบนี้ คงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเทพทั้งหลายใน HOSxP  ตรงวงกลมสีแดงๆที่มี คือ ต้องการมากกกกก.. ไม่มีไม่ได้  ส่วนข้อมูลอื่นๆ ถ้ามีได้ก็ดี และอนาคตควรจะทำให้มีด้วย..

..................................................................................................................................................................
: ประเด็นที่สอง
รายงานชุดนี้ถ้าให้ดีเขาให้ส่งออกเป็น Excel ซึ่งจะง่ายสำหรับผู้รับ หรือถ้าจะเอาแบบจัดหนักก็ไปคีย์ผ่าน off line หรือจะ on line ก็แล้วแต่ ให้ผลให้เหมือนกัน และทางโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ เพื่อแยกดูเป็นรายจังหวัด สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ ครือออ..
  1. ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลสะสม จำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้าถึงบริการสะสมถึงปีงบประมาณ 2557
  2. แห่งไหนส่งข้อมูลก่อน ถ้าใครส่งไปที่หลังหากซ้ำกับข้อมูลที่มีอยู่แล้วก็จะถูกตัดออก ข้อมูลจะไม่ซ้ำกัน
ภาพรวมข้อมูลของเขต 8 จึงออกมาแบบสวยๆงามๆ เยี่ยงนี้แล..


...............................................................................................................................................................
: ประเด็นที่สาม
ข้อมูลนี้บอกอะไรบ้าง
ข้อมูลชุดนี้เป็นตัวชี้วัดการเข้าถึงบริการ  : 
ตัวชี้วัด ร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ

โดยมีนิยามดังนี้ครับ
  • การเข้าถึงบริการ หมายถึง การที่ประชาชนผู้ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า ได้รับการดูแลรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ ที่มีหลักฐานทางวิชาการที่พิสูจน์ว่า ได้ผลชัดเจน เช่น 
    • จิตบำบัด 
    • เภสัชบำบัด 
    • การรักษาด้วยไฟฟ้า ฯลฯ 
    • หรือ ได้รับการช่วยตามแนวทางอย่างเหมาะสมจากหน่วยบริการทุกสถานบริการของประเทศไทย**
  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หมายถึง ประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคจิตเวชที่มีอาการสอดคล้องกับ Depressive Disorder ตามมาตรฐานการจำแนกโรคระหว่างประเทศขององค์กรอนามัยโลกฉบับที่ 10 หมวด F32,F33,F34.1,F38, F39 
  • เป้าหมาย เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 31
  • ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นทีทุกจังหวัดในประเทศไทย
  • วิธีการจัดเก็บข้อมูล กรมสุขภาพจิตรวมรวมข้อมูลการเข้าถึงบริการจากสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศจากการรายงานที่มี 5 ทางเลือก ขึ้่นอยู่กับความสะดวกของพื้นที่ ดังต่อไปนี้
    1. ข้อมูลจากการบันทึกจากมาตรฐานข้อมูล 43 แฟ้ม 
    2. ข้อมูลจากการบันทึกกิจกรรมทาง Program online
    3. ข้อมูลจากการบันทึกกิจกรรมทาง Program offline
    4. จากการรายงานทางเอกสารด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
    5. ข้อมูลจาก file ข้อมูลแบบ word หรือ excel
...............................................................................................................................................................
: ประเด็นที่สี่
ดังนั้นการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลชุดนี้ จึงมาจากขึ้นตอนการการทำงานดังนี้
1. ผู้ป่วย--->ตรวจโรค--->พยาบาลคัดกรอง 9Q >7--->แพทย์ Dx F32-F39--->จ่ายยา---ส่งรายงาน
2. ผู้ป่วย--->ตรวจโรค--->พบแพทย์-Dx โรคอื่นแต่มีภาวะซึมเศร้า--->จ่ายยา
    (แพทย์ไม่ได้ลง Dx. และไม่ได้ผ่านการคัดกรอง 9Q)

แต่ขั้นตอนการลงบันทึกข้อมูลที่สมบูรณ์ ควรจะเป็นแบบนี้

   ผู้ป่วย--->ตรวจโรค-->พยาบาลคัดกรอง 9Q >7---แพทย์ Dx F32-F39--->จ่ายยา--->
   ส่งรายงานจาก HOSxP --->สสจ.เลย ---->รพ.พระศรีมหาโพธิ์                                    

ดังนั้นข้อมูลบางส่วนที่หล่นหายไประหว่างการให้บริการ ซึ่งเกิดจากความเข้าใจที่ไม่ตรงกันของผู้ให้บริการ ดังนั้นถ้าจะส่งข้อมูลชุดนี้ใหม่ ทางจังหวัดเลยจึงได้ทำความเข้าใจกันอย่างนี้ครับ

1. ขอฐานข้อมูลปัจจุบันของผู้ป่วย เอาเฉพาะในเขตจังหวัดเลยจาก โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งเป็น
    Files excel
2. ค้นหาข้อมูลจาก HOSxP และ Stat (ถ้ายังมี) โดยเลือกจากคนไข้ที่ Dx F32-F39  และตัดข้อมูล HN ที่
   ซ้ำออก ส่งออกเป็น Excel
3. นำข้อมูลไปจับคู่กับฐานของ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โดยใช้ CID หากรายการไหนไม่มีแยกราย
   ชื่อออกมาเพื่อตรวจสอบประวัติการรับบริการอีกครั้งใน Patient EMR
4. บันทึกข้อมูลในไฟล์ excel ตามรูปแบบของ รพ.พระศรีมหาโพธิ์ ส่งไปรวบรวมที่ สสจ.เลยต่อไป

...............................................................................................................................................................
: ประเด็นสุดท้าย
ข้อตกลงร่วมกันของทีมจังหวัดเลย เรื่องขั้นตอนการส่งข้อมูล ดังนี้
1. ให้ รพ.สต.ทุกแห่งส่งข้อมูลมาที่ โรงพยาบาล
2. โรงพยาบาลรวบรวมข้อมูลส่ง สสจ.เลย
3. สสจ.เลยรวบรวมข้อมูลส่ง โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

ในส่วนของการลงบันทึกข้อมูลหลังจากนี้่ไป ได้มีการจัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้รับผิดชอบงานและทีมแพทย์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการลงวินิจฉัยที่ถูกต้อง..

คู่มือการลงบันทึกข้อมูลคัดกรองโรคซึมเศร้าในโปรแกรม HOSxP 
การส่งออกรายงาน SMDD เป็นไฟล์ excel

ตอนนี้ รู้สึกเหนื่อย หมดแรง ซึมเศร้า..เหงา และแฮงค์ น่าจะต้องไปถอน ฮิ้วววววว





2 ความคิดเห็น:

  1. flies excel
    คือแมลงวันพันธุ์ใหม่หรือเปล่า....ฮา...

    อีกที่ ประเด็นที่ 4 ข้อ 1 Q7 >7 ไม่รู้ภูกเปล่า

    ตอบลบ
  2. หุหุ ความรู้ใหม่ วันอาทิตย์

    ตอบลบ