เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีคิดในการแก้ไขปัญหาในการทำงานของโรงงานสบู่ในญี่ปุ่น
เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า
โรงงานผลิตสบู่ในประเทศญี่ปุ่น ประสบกับปัญหาร้องเรียนจากลูกค้าว่า
สบู่ที่ลูกค้าซื้อไปนั้น บางกล่องไม่มีสบู่
เป็นเพียงกล่องเปล่าๆ
ยุคสมัยนั้นเครื่องจักรอาจจะยังไม่เจ๋งพอ
เพราะวิธีการทำงานของมัน
เริ่มจากกล่องเปล่าที่ลำเลียงมาตามสายพาน
เครื่องจักรหยิบสบู่ใส่กล่อง เสร็จแล้วปิดฝากล่อง ใส่ลัง
เสร็จแล้วลำเลียงใส่รถ
แน่นอนว่าความผิดนั้นเกิดขึ้นในขั้นตอนการบรรจุสบู่ลงกล่องแน่ๆ
แต่กว่าจะรู้ปัญหา กล่องสบู่เปล่าๆ ก็ไปถึงมือผู้บริโภคเรียบร้อยแล้ว
ความพยายามแก้ไขปัญหา
วิศวกรของโรงงานแห่งหนึ่งจึงตัดสินใจด้วยการติดตั้งเครื่อง X-Ray
เพื่อทำการตรวจสอบกล่องสบู่แต่ละกล่องว่ามีสบู่หรือไม่
และจ้างพนักงานจำนวนหนึ่งมาทำหน้าที่ตรวจสอบเรื่องนี้
หากพบว่ากล่องใดเป็นกล่องเปล่า ก็จะทำการคัดออกมาก่อนการออกจำหน่าย
ลงทุนกันไปหลายล้านเยน เพื่อแก้ปัญหานี้
แต่โรงงานเล็กๆ อีกโรงหนึ่งที่ประสบปัญหาเดียวกัน
คนงานแก้ปัญหาด้วยการใช้พัดลมตัวใหญ่ๆ เป่าลมลงบนสายพานของการผลิตสบู่
ซึ่งถ้าเป็นกล่องเปล่าไม่มีน้ำหนัก ลมก็จะพัดกล่องเปล่านั้นปลิวออกไป
เขาใช้งบประมาณในการแก้ปัญหานี้เพียงพันเยน
มันเป็นวิธีง่ายๆ ที่ได้ผลอย่างเหลือเชื่อ
กล่องเปล่า เบา เจอลมแรงๆ ก็จะปลิวออกมา
บทสรุปในการแก้ไขปัญหานี้
การตั้งโจทย์ และกระบวนการแก้ปัญหาน่าสนใจครับเพราะถ้าตั้งโจทย์ง่าย วิธีการแก้ปัญหาก็ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน
แต่ถ้าตั้งโจทย์ยาก การแก้ไขปัญหาต้องใช้วิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น
วิศวกรมองหา "กล่องมีสบู่"
คนงานมองหาและแก้ไขปัญหาด้วยวิธีกำจัด "กล่องเปล่า"
แค่เปลี่ยนวิธีคิด ..ชีวิตก็เปลี่ยน
ไม่รู้ว่าใครกล่าวไว้ แต่ไม่ใช่ผม..
...............................................................................................
20-21 เม.ย.58 ที่ผ่านมา ผมไปร่วมสังเกตการณ์
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การพัฒนาข้อมูลสุขภาพด้วย myPCU"
ตามคำเชิญของ อ.คิดคม สเลลานนท์ ที่จังหวัดขอนแก่น
ก่อนหน้านี้ ผมรู้จักชื่อ อ.คิดคม แบบผ่าน แว๊บๆ
เคยฟัง เคยอ่านการตอบคำถาม สมัยที่อาจารย์ทำงานอยู่กับ สปสช.
รู้สึกว่า ผู้ชายคนนี้ไม่ธรรมดา คิดคม สมชื่อ..
อ.คิดคม ออกจาก สปสช.และเปิดบริษัทส่วนตัวเล็กๆ
ตั้งชื่อว่า บริษัทอินไซด์เดต้าคอนซัลสแตนท์ จำกัด
ด้วยความที่เคยทำงานอยู่ สปสช. เป็นคนวงในมาก่อนหรือเปล่า
เพราะดูจากการตั้งชื่อบริษัท เหมือนจะสื่อเป็นนัยๆว่า รู้ลึก รู้จริง..
มีกลุ่ม Facebook ครอบครัวเล็กๆ ใช้ชื่อว่า MyPCU Family
เป็นพื้นที่สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานโปรแกรมที่ อ.คิดคม เป็นผู้พัฒนา
ที่มีชื่อว่า MyPCU และ MyPCU Pro
ผมลองดาวโหลดมาทดสอบ ติดตั้ง ใช้งาน..ดูเล่นๆ
เอาเป็นว่าความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ ขนาดเท่าหางอึ่งของผม
ยังทำได้เองสบายมาก
สัมผัสแรกที่ของผมกับการทดสอบใช้ MyPCU
มันเบา สบาย ลื่นไหล เหมือนไม่สวมใส่อะไรเลย คือ มัน easy มั๊กๆ
แถมด้วยความครบเครื่อง ของตัวโปรแกรมที่จัดการได้เบ็ดเสร็จในหลายเรื่อง..
บันทึก ตรวจสอบ แก้ไข ส่งออก..
จนอดใจไม่ไหว ต้องขอเข้าไปฟัง คมความคิด ของ อ.คิดคมสักครั้ง
จึงติดต่อขอเข้าไปสังเกตุการณ์กับครอบครัวเล็กๆนี้..
ตามกำหนดการมีเวลา 3 วันเต็ม
แต่ผมติดงานสำคัญในวันสุดท้าย จึงจำใจต้องเดินทางกลับก่อน
แค่ได้ฟัง อ.คิดคมบรรยายในช่วงครึ่งวันแรก
ผมคิดว่า พอแล้ว ผมกลับบ้านได้เลย
ไม่ใช่ ไม่น่าสนใจนะครับ มันโดนใจมาก เหมือนบรรลุอะไรซักอย่าง
คล้ายกับการเอาพัดลมมาเป่าพัดกล่องสบู่เปล่าๆ
ให้ลอยละลิ่วปลิวออกไปจากหัว..ฟิ้วว
....................................................................
ช่วง 2-3 ปีมานี้ Admin หลายท่าน คงฝันถึงตัวเลข 43 กันบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงหลังๆ
ตัวเลข 43 ที่ชัดมากขึ้น
ผมพยายามซื้อบน ล่าง โต๊ด หลายงวด แต่ไม่เคยถูกซักที
เป็นเหมือนผมไหมครับที่ก่อนส่งข้อมูล 43 แฟ้มในแต่ละเดือน
เป็นช่วงเวลาเหมือนกินยาขม ส่งออก ตรวจสอบ แก้ไข
ส่งออก ตรวจสอบ แก้ไข ....ส่งออก ตรวจสอบ แก้ไข ....
กว่าจะได้คุณภาพข้อมูลที่ผ่าน 99.00
บางครั้ง เสียเวลาไปเกือบทั้งวัน
ไหนจะปัญหา HIS อัพเวอร์ชั่นใหม่
การ map ฐานข้อมูลตามมาตรฐาน 43 แฟ้ม
ที่ไหนมี Tools ดี และแจกฟรี ก็สรรหามาติดตั้ง
เพื่อเอาไว้ตรวจสอบกันแทบจะทุกตัว ถ้าไม่มีก็กลัวจะตกขบวนกับเขา
โปรแกรมส่งออก ที่ออกถูกบ้าง ผิดบ้าง เอ้าบางวันยังไม่ได้..อัพเดต
สุดท้ายต้องมาผ่านโปรแกรมตรวจสอบ
กว่าจะคลอดออกมาเป็น 43 แฟ้ม ส่ง สปสช. ได้
หืดขึ้นคอ...
แม้มี Tools ใหม่ กลุ่มใหม่ๆ ที่พัฒนา รายงานตรวจสอบและโพสต์แจกกันมากมาย
เพื่อแก้ปัญหา และพยายามที่จะให้ข้อมูลมันออกมาได้สมบูรณ์มากที่สุด
แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่บนพื้นฐานการแก้โจทย์ปัญหาแบบเดิมเพื่อแก้ปัญหา และพยายามที่จะให้ข้อมูลมันออกมาได้สมบูรณ์มากที่สุด
ไม่รู้เป็นเพราะว่าตั้งโจทย์ยาก วิธีการแก้ไขปัญหามันเลยซับซ้อนมากขึ้น
แต่ลองมาดู คมความคิด ของ อ.คิดคม ดูครับ
อาจารย์ถามผู้เข้าร่วมประชุมว่า เราลงบันทึกข้อมูลไปทำไม?
คำตอบมากมายครับ
แต่คำตอบสรุปสุดท้าย อ.คิดคม บอกว่า " เพื่อให้..ประชาชนมีสุขภาพดี"
ข้อมูล--->สารสนเทศ--->ประชาชนมีสุขภาพดี
คมความคิดดอกแรก..โดนเต็มๆ
ด้วยวิธีคิดที่ตั้งโจทย์ที่ง่ายๆ สไตล์คนเคยทำงานอินไซด์เดต้าด้วยหรือเปล่า
อ.คิดคม จึงพัฒนา MyPCU ให้ง่ายสำหรับผู้ใช้
ผมสรุปตามความเข้าใจง่ายๆอย่างนี้
วิธีที่เราใช้ในปัจจุบัน
HIS---->โปรแกรมส่งออก--->โปรแกรมตรวจสอบ--->43แฟ้ม --->สปสช.
แต่วิธีคิดของ อ.คิดคม
MyPCU---->43แฟ้ม --->สปสช.
ง่าย ตรงประเด็น เน้นเนื้อท่วมทุ่ง ไม่มีผักบุ้งโหรงเหรง
อุตะ..อะไรมันจะแจ่มได้ขนาดนั้น
ยิ่งถ้าได้เห็นหน้าตา เมนูการใช้งานต่างๆ
หลายท่านอาจจะเห็นเป็นหน้าตาคู่มือ 43 แฟ้มกันเลยทีเดียว
นอกจากนี้ยังมีรายงานที่เป็นสารสนเทศ กราฟฟิกสวยงาม พร้อมเสริฟ
แถมคลังยานอก ยาใน จัดกันให้เต็ม
อย่าคิดว่าจะหมดแค่นี้นะครับ..
อ.คิดคม คิดไปถึงการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่าง CUP
และผู้บริหารในระดับ สสอ.
คนทำข้อมูลต้องได้ใช้ประโยชน์ ส่วนคนอื่นเอาไปคือผลพลอยได้..
อ.คิดคม จึงมี MyPCU Pro แถมให้ใช้ทั้งแบบ on line หรือ off line
เชื่อมต่อรวมกันเป็นข้อมูลระดับ CUP
ให้ติดตาม วิเคราะห์ เจาะลึกข้อมูลกันได้ทั้งในภาพรวมและภาพย่อย
ตามแนวคิดที่จะให้ เป็นสารสนเทศที่ "คนทำต้องได้ใช้ คนไทยจึงจะมีสุขภาพดี"
ถ้า CUP แห่งไหนกำลังมองหาวิธีการแก้ปัญหา "กล่องเปล่า" ที่ยืดเยื้อเรือรังมานาน
ใช้สารพัด Tools ก็แล้ว อบรมก็แล้ว ยังไม่ไปถึงไหน..
บางทีปัญหาที่แก้ไม่ได้ เพราะเราอาจจะตั้งโจทย์ยาก
MyPCU เหมาะมากๆ สำหรับ รพ.สต. หรือ PCU ในโรงพยาบาล
ที่มีรหัสสถานบริการแยกจากโรงพยาบาล..
แต่ถ้าใช้รหัสเดียวกันกับโรงพยาบาล..
อาจจะต้องประยุกต์ใช้ หรือทำความเข้าใจกันอีกพอสมควร..
ชักสนใจ MyPCU Family ครอบครัวเล็กๆนี้ กันบ้างหรือยังครับ
ลองไปลับคมความคิด กับ อ.คิดคม ได้ที่
MyPCU Family ทาง Facebook
https://www.facebook.com/groups/614068978683717
หรือจะลองไปอินไซด์ภายในได้ที่
http://www.opppbykidkom.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น