วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แนวทางการคัดกรองโรคไม่ติดต่อ 4 โรค ปี 2555

ผ่านปีงบประมาณ 2555 มาสองเดือนแว้ว....สงสัยกันไหม๊ครับว่าปีนี้จะคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ 4 โรค(DM/HT/Stroke/Obesity) กันอย่างไร? วันนี้ผมเลยถือโอกาสเอาข้อมูลมารีวิวอีกรอบก่อนที่จะนำไปอธิบายให้กับทางทีม PCU ของโรงพยาบาล เพื่อเตรียมวางแผนการออกคัดกรองกันต่อไป..มีรายละเอียดคร่าวๆที่น่าสนใจ ดังนี้ครับ

Definition หมายถึง ข้อมูลการให้บริการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสำหรับผู้ที่มารับบริการ และประวัติการได้รับบริการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดัน (อายุ 15 ปีขึ้นไป) ในเขตรับผิดชอบ โดยที่ต้องไม่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย (อายุ 15 ปีขึ้นไป) ที่ได้รับบริการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลและสถานบริการระดับปฐมภูมิ ทั้งในสถานพยาบาลและนอกสถานพยาบาล
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย (อายุ 15 ปีขึ้นไป) ที่อาศัยในเขตรับผิดชอบ ที่ได้รับบริการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสถานพยาบาลอื่น ๆ
ประเด็นคำถามที่น่าสนใจคือ ในโปรแกรม HOSxP มีเมนู 2 รายการที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรองความเสียงคือ
  1. รายการกลุ่มเสี่ยงที่ต้องคัดกรองโรคเบาหวาน ความดัน (อายุ 15 ปีขึ้นไป)
  2. ระบบคัดกรองความเสียงโรคเรื้อรัง NHSO
คำถามคือว่า แล้วมันใช้ต่างกันอย่างไร?(หว่า) ผมก็เลยต้องไปค้นๆ ข้อมูลเก่าๆ ของการคัดกรองความเสี่ยง พบว่าในเรื่องของการคัดกรองความเสี่ยงมันเป็นหนึ่งในระบบข้อมูลรายงานสำหรับงานส่งเสริม ป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้สถานบริการในสังกัดจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลรายบุคคลและส่งออกตามโครงมาตรฐาน 18 แฟ้ม ทั้ง รพ.และ รพ.สต. แต่ก็ยังไม่ตอบสนองในการนำไปใช้ประโยชน์ ส่วนกลางจึงมีการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับใช้ หลายระบบ(มาก) เช่น 
  • Surveillance System   ของสำนักระบาด กรมควบคุมโรค โดยพัฒนาโปรแกรมในลักษณะส่งออกข้อมูลจากฐาน 12 และ 18 แฟ้ม  ซึ่งจะได้ข้อมูลประชากรกลุ่มป่วย 
  • โปรแกรม i-risk ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดเก็บข้อมูลรายบุคคลในรูปแบบการคัดกรองประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ส่งข้อมูลตรงให้ สปสช.
จากสถานการณ์ดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข(ของชาวบ้าน แต่ทุกข์ของพวกเรา) ได้ค้นคิดแนวทางการดำเนินงาน มาตรการต่างๆให้มีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบข้อมูลโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเป็นระบบข้อมูลกลางของกระทรวงสาธารณสุขขึ้น แบบบูรณาการ เป็นศูนย์กลางของข้อมูลในการจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง ให้ใช้ในการติดตาม เฝ้าระวัง ประเมินสถานการณ์กลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรังของหน่วยงานในทุกระดับ

ส่วน "โครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน" เป็นโครงการที่กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 เป็นโครงการต่อเนื่องระหว่ง พ.ศ.2552-2554  โดยมีการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลการค้นหา/คัดกรองผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ทั้งที่มีประวัติและไม่มีประวัติป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิต อ้วนลงพุง โรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง 

ในระยะแรกๆ ปี 2553 กำหนดให้ รพ.และ สอ.บันทึกหรือดึงฐานข้อมูลจากโปรแกรมพื้นฐาน อย่าง HOSxP ,HOSxP PCU,JHCIS,HOS-OS ฯลฯ ด้วยโปรแกรม NCD Primary(มันคือ NCD office 2012 หรือเปล่าว่ะ ) ซึ่งเป็นโปรแกรม Offline และจัดส่งให้ สสอ. สสจ. และสนย..  และมีการจัดสรรเงินคัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มนี้โดยมีเป้าหมายกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป

ส่วนในปี 2554 กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนเป็น 35ปี+ ที่ไม่ใช่ผู้ป่วย และผ่านการได้รับการคัดกรองความเสี่ยงเมื่อนำไปบันทึกข้อมูล Online PPIS จะได้รับงบประมาณสนับสนุนค่าตรวจคัดกรองรายละ 50 บาท จาก สปสช.  ซึ่งมีการจัดสรรในปี 2554 โอนเงินกันไปเรียบร้อยแล้ว..
ผลการดำเนินงานแยกรายจังหวัด

ในระยะต่อไป ซึ่งคาดว่าน่าจะหมายถึง 2555 นี่แหละ ที่ รพ. / รพ.สต. จะใช้ฐานข้อมูลในการค้นหา และคัดกรองจากโปรแกรมพื้นฐานที่มี คือ HOSxP ,HOSxP PCU,JHCIS,HOS-OS ฯลฯ เสร็จแล้วส่งออก/เชื่อมโยงฐานข้อมูลตามโครงสร้างที่กำหนด ส่งให้กับ สสอ. สสจ. สนย. ที่นี้ก็ต้องมาดูคำนิยามในปี 2555 ละครับเขาบอกไว้ดังนี้ครับ
  1. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดัน (อายุ 15 ปีขึ้นไป) ในเขตรับผิดชอบ โดยที่ต้องไม่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ ความดันโลหิตสูง 
  2. กรณีคนในเขตไปรับบริการคัดกรองจากที่อื่นนำมาลงบันทึกเพื่อเก็บข้อมูลประเมินความครอบคลุม
  3. การคัดกรองเบาหวานและความดันจะมี 1 record (คือถ้าคิดจะไปทำคนละครั้ง ก็ให้ได้แค่ reocord เดียวว่างั้นเหอะ) 
การเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มการคัดกรอง
  1. ประการแรกเลยนะครับ หาก รพ.ไหนยังใช้ HOSxP/HOSxP PCU เวอร์ชั่นต่ำกว่าเดือนพฤศจิกายน 2554 แนะนำว่าให้ Update version เป็น version ล่าสุด คือ HOSxP 3.54.11.2+  ส่วน HOSxP PCU ให้ใช้ตัวล่าสุดได้เลย
  2. อย่าลืมทำการ Clear ข้อมูลในบัญชี 1 ตัดข้อมูลคนตายและคนที่ไม่อยู่ในพื้นที่ เพิ่มข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อให้ได้เป้าหมายให้เรียบร้อยครับ
  3. ทำการประมวลผลข้อมูลกลุ่มเป้าหมายจากโปรแกรม HOSxP/HOSxP PCU คือ ประชากรกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลเป้าหมายประชากรว่ากลุ่มอายุถูกต้องไม่น้อยกว่า 15 ปี และอายุไม่มากเกินไป หรือมีคนตาย ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนแล้วเข้ามาหรือไม่
การส่งออกกลุ่มเป้าหมายส่งให้จังหวัด
  1. คงต้องดูนโยบายของแต่ละจังหวัด หรือผู้บังคับบัญชาจากหน่วยเหนือ/หน่วยใต้ ของท่านอีกทีนะครับว่าจะให้ส่งอย่างไร โดยทั่วไปก็จะมีการส่งข้อมูลกลุ่มเป้าหมายให้จังหวัดอย่างนี้ครับ
    • ในปี 2554 ใช้โปรแกรม i_Risk ในการบันทึกข้อมูลแบบ offline  และส่งข้อมูลผ่านระบบ Online ผ่านหน้าเว็บ และ Offline ผ่านโปรแกรม I - Risk และในระบบ Offline ข้อมูลที่บันทึกแล้ว เข้าสู่เว็บไซต์ http://ucapps.nhso.go.th/allpp2010zk/index.zul เพื่อตรวจสอบและนำเข้าระบบของ สปสช. ส่วนกลาง
    • ถ้านโยบายให้ส่งออกจากโปรแกรม NCD office 2012 ท่านก็ต้องไปเสาะหาและติดตั้ง NCD office 2012 โดยจะมีตัว full setup และตัว update NCDoffice ให้เรียบร้อย
    • นำเข้าข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย จากโปรแกรม HOSxP/HOSxP PCU ไปยัง NCD office 2012 ดูวิธีการจากคู่มือ (ถ้ามีนะ...ฮิ้ว..)
  2. ส่งออกเป้าหมายจาก โปรแกรม I_Risk /NCD office 2012 เป็นไฟล์ให้จังหวัด
  3. ส่วนถ้าต้องการส่งข้อมุลเป็น excel สามารถส่งออกกลุ่มได้จากโปรแกรม HOSxP/HOSxP PCU จากระบบคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง (DM/HT/Stroke/Obesity) โดยเมื่อได้กลุ่มเป้าหมายแล้วให้ส่งออก เป็น excel file ส่งให้หน่วยเหนือต่อไป
การบันทึกข้อมูลคัดกรองเบาหวาน/ความดัน
  1. สามารถลงได้ทั้งจากโปรแกรม HOSxP/HOSxP PCU เพื่อส่งออกข้อมูล 21 แฟ้ม และให้ลงข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงด้วย ส่วนข้อมูลกลุ่มเสี่ยงไม่ต้องลงข้อมูลในโปรแกรม PPIS อีกแล้ว..(เย้!!) เพราะ สปสช./สนย.จะดึงข้อมูลจาก 21 แฟ้มเองครับ
การส่งรายงาน
  1. ส่งรายงานให้จังหวัดด้วยการส่ง 21 แฟ้ม ทุกเดือน
โดยสรุปแนวทางที่พอจะชัดเจนสำหรับการคัดกรองความเสียง ปี 2555 เบื้องต้นมีดังนี้ครับ
  1. คัดกรองความเสี่ยงปีนี้ ในการจัดสรรตามระบบ PP-Itemizeไม่มีแล้วในปี 55แต่่จะมีในการจัดสรรตามผลงานตัวชี้วัด Composite เหมือนปี 54 ซึ่งจะใช้ผลงานที่หน่วยบริการส่งให้จังหวัด และดูจากทั้งระบบ Online และ Offline
  2. ไม่ต้องคีย์ข้อมูลออนไลน์ PPIS...ว้าว!!
  3. ให้บันทึกการตรวจคัดกรองในโปรแกรมที่หน่วยบริการใช้งาน เช่น HOSxP ,HOSxP PCU, JHCIS แล้วส่งข้อมูลผ่านระบบ 21 แฟ้มของ สสจ. ส่วนเรื่องของงบประมาณ คงไม่ได้ 50 บาท/คน ต้องรอผู้รับผิดชอบชี้แจงความชัดเจนอีกครั้ง.. แง่วววว..
วิธีการบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรม HOSxP /HOSxP PCU


    หมายเหตุ
    กรอบแนวคิดในการดำเนินงานโรคเบาหวานความดันของ สปสช.


    1 ความคิดเห็น: