วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รักเลยจัง...ตอนที่ 6 ทดสอบโอนฐานข้อมูล ครั้งที่1

หลังจากที่ทีมงาน รพ.เลย และ อาร์ม ปลุกปล้ำกับ Tools สำหรับโอนฐานข้อมูล HOMc2HOSxP เวอร์ชั่น 1 ออกมาเรียบร้อย วันที่ 26-27 พฤศจิกายน จึงได้ฤกษ์ทดสอบการโอนข้อมูลกันซะที.. 

เนื่องจากจำนวนข้อมูลที่ค่อนข้างมาก และมีรายละเอียดที่ทางทีม รพ.เลยต้องการข้อมูลนำเข้าให้ได้มากที่สุด อาร์มจึงตัดสินใจไปนอนค้าง ที่จังหวัดเลย ซึ่งได้รับการอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดีมากๆ ซึ่งต้องขอขอบคุณหลายเรื่อง ความเป็นกันเองของเจ้าหน้าที่ รพ.เลยตั้งแต่ผู้บริหารและทีมงาน ให้เกียรติผมและทีมงานอย่างมาก ตั้งแต่การประสานงานที่สามารถสายตรงถึงรองแพทย์ และประธานระบบสารสนเทศ การให้ความร่วมมือเข้าร่วมอบรมในช่วงวันหยุดราชการของเจ้าหน้าที่ อาหารการกินต่างๆ ที่ต้องบอกว่าอร่อยและอิ่มทุกมื้อ หรือแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆน้อยๆอย่างการอำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่จอดรถสำหรับวิทยากร.. ทำให้ผมและทีมงานรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับร่วมงานกับทาง รพ.เลยในครั้งนี้..


ในขั้นตอนการโอนข้อมูลครั้งนี้ สิ่งที่ต้องการรู้คือว่า สามารถโอนเข้ามูลจากระบบเดิมเข้าไปใน HOSxP ได้มากน้อยแค่ไหน ใช้ระยะเวลาในการโอนทั้งหมด ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการโอนข้อมูล และความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ได้ต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า ฯลฯ  และข้อมูลชุดนี้จะเป็นข้อมูลที่เอาไว้ใช้สำหรับการฝึกอบรมผู้ใช้ เพื่อให้มีความคุ้ยเคยกับสถาพแวดล้อมในการทำงานและข้อมูลจริงของโรงพยาบาล ซึ่งคงจะมีข้อที่ต้องแก้ไขอีกหลายรายการหลังจากที่ได้ทดลองใช้ จะช่วยทำให้สามารถปรับปรุงแก้ไขให้ตรงความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด และจะเป็นข้อมูลในการพิจารณานำเสนอให้ทางผู้บริหารทราบ และวางแผนการขึ้นระบบจริง..

การโอนข้อมูลช่วงแรกมี error massage แจ้งปัญหาทำให้ต้องแก้ไขกันเป็นระยะ และต้องมีการปรึกษาหารือ พูดคุยกันเรื่องของ tableของโปรแกรม HOMc และ HOSxP  ที่ต้องอาศัยทีม รพ.เลย และ โปรแกรมอาร์ม,อาร์ท,จอย ช่วยกันดูข้อมูล







โดยสรุปผลการทดสอบ Tools โอนข้อมูลครั้งที่ 1 มีดังนี้ครับ

โอนข้อมูลได้ประมาณ 40% (คิดจากโมดูลที่นำเข้าได้)
  • ประวัติคนไข้ (ทั้งหมด) ตาราง pateint
  • ประวัติการรักษา (ให้เลือกเป็นปี ๆ) ตาราง ovst เสร็จแล้วค่อย resyne-vn
  • ประวัติการลงผลวินิจฉัย (ให้เลือกเป็นปี ๆ) ตาราง ovstdiag
  • ชื่อหอผู้ป่วยใน ward
  • ทะเบียนผู้ป่วยใน (ให้เลือกเป็นปี ๆ) ตาราง ipt เสร็จแล้วค่อย resyne-an
  • ทะเบียนยา(เอาเฉพาะรายการที่เอาไว้จ่าย) แต่ต้องให้เจ้าหน้าห้องยา เข้าไปแก้ไขเพิ่มเติม**
  • ประวัติการจ่ายยาของผู้ป่วย (เอาไว้ดูประวัติแต่ไม่สามารถ remed ได้)
  • ประวัติการลงผลวินิจฉัย (ผู้ป่วยใน) (ให้เลือกเป็นปี ๆ ) ตาราง iptdiag

ข้อมูลที่รอการวิเคราะห์เพื่อที่จะหาวิธีนำเข้า (ที่จำเป็นๆ )
  • ฐานข้อมูลจาก HOSxP PCU (เดิมที่งานส่งเสริมใช้อยู่) แต่ตกลงกันว่าให้ HOSxP ใช้งานได้สักพักก่อน ดูความสมบูรณ์ของเวชระเบียนก่อนถึงจะเชื่อมโยงได้
  • ทะเบียนผ่าตัด และวิสัญญี ----> 
  • ประวัติค่ารักษาที่ไม่ใช่ยา (ค่าใช้จ่ายที่คีย์จาก er ทันตฯ อื่นๆ)
  • ประวัติการสั่ง lab ---->

ในส่วนของการตั้งค่าฐานข้อมูลคงต้องฝากให้ทีม รพ.เลย รีบทบทวนนะครับ การตั้งค่าข้อมูลพื้นฐานถ้าตั้งได้ดี และละเอียด จะมีผลต่อการทำรายงาน และการส่งออกข้อมูล ตามโครงสร้าง ของ สนย. สสจ. สปสช. สกส. อื่นๆ เพื่อเบิกเงินให้ได้  ดังนั้นที่ต้องระวังคือ กรอบความคิดเดิม ที่เคยทำมา เพียงเพื่อความสะดวกของผู้ใช้เท่านั้น สิ่งที่ต้องแม่นคือเรื่องโครงสร้างมาตรฐานจากส่วนกลาง

สรุปเวลาที่ใช้ในการการโอนข้อมูล Visit

  • ปี 47 ใช้เวลาในการโอน 1.5 ชั่วโมง
  • ปี 48 ใช้เวลาในการโอน 3 ชั่วโมง
  • ปี49 ใช้เวลาในการโอน 3 ชั่วโมง
  • ปี50 ใช้เวลาในการโอน 3.5 ชั่วโมง
  • ปี51 ใช้เวลาในการโอน 5 ชั่วโมง
  • ปี52 ใช้เวลาในการโอน 5.5 ชั่วโมง
  • ปี53 ใช้เวลาในการโอน 3.5 ชั่วโมง
  • ปี54 ใช้เวลาในการโอน 3.5 ชั่วโมง
สำหรับระยะเวลาในการโอนข้อมูลมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ การโอนข้อมูลพร้อมกันในหลายๆเครื่อง ในช่วงเวลาเดียวกัน มีผลต่อ  workload ของ server ที่อาจจะทำงานหนักในบางช่วง

สิ่งที่น่าดีใจ คือ ภาพของทีมงานที่มีการพูดคุย เรียนรู้ระบบใหม่ร่วมกัน  ซึ่งจุดนี้เป็นช่วงเวลาของการปรับพื้นฐานความรู้ และความต้องการของผู้ใช้ และทีม Admin ให้ไปด้วยกัน บางอย่างผู้ใช้ต้องปรับ บางอย่างโปรแกรมเมอร์ปรับให้ บางเรื่องก็ต้องพบกันครึ่งๆทาง  แต่การคุยกันมากขึ้น ก็ทำให้เข้าใจกันได้มากขึ้นครับ..

บางครั้งในขณะที่เรามุ่งมั่นตั้งใจอยู่กับเป้าหมาย แต่ในระหว่างทางมีเรื่องที่ดีงามเกิดขึ้นมากมาย ได้เห็นพลังของคนรุ่นเก่า รุ่นใหม่ที่เข้ามาช่วยขยับขับเคลื่อนงานของโรงพยาบาล


บันทึกเตือนความจำ..
  1. ข้อมูลผู้ป่วยใน จะจัดการอย่างไร
    • กรณีที่ 1ผู้ป่วยที่ Admit ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมใหม่ ข้อมูลผู้ป่วยที่ยังไม่จำหน่าย จะใช้โปรแกรมเดิมไปก่อนจนกว่าจะ D/C และให้ลงบันทึก Admit ใน HOSxP เฉพาะรายใหม่หรือไม่อย่างไร
    • กรณีที่ 2 โอนข้อมูลผู้ป่วยในทั้งหมดเข้าในระบบ HOSxP แต่ต้องปรับปรุงข้อมูลในโปรแกรม HOMc ให้เป็นปัจจุบันก่อน (D/Cคนไข้ให้คงเหลือจริง)หลังจากนั้นจึงเริ่ม Admit ผ่าน HOSxP ตามปกติ และหากมีการจำหน่ายให้ลงบันทึกข้อมูลย้อนหลัง
  2. การเชื่อมต่อฐานข้อมูล Lab กับระบบ LIS ซึ่งต้องรีบทำฐานข้อมูล Lab ให้เสร็จก่อน
  3. ควรมีการจัดทำฐานสำหรับแก้ไข ข้อมูล กับฐานที่มีข้อมูลผู้ป่วยสำหรับทดสอบในระหว่างฝึกอบรม
  4. งานวิสัญญี ให้ใช้โปรแกรมเดิม โดยเขียน tools เชื่อมโยงกับฐานของ HOSxP
หลังจากนี้ขั้นตอนต่อไป จะเป็นการไปวิเคราะห์ระบบ และเสนอ Flow ให้แต่ละหน่วยงานเพื่อพิจารณาและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ คล้ายๆกับการตกลงบริการกันนั่นแหละครับ...ซึ่งหากได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก็จะเสนอผู้บริหาร และนำมาเป็นแนวทางในการฝึกอบรม ซึ่งจะฝึกใช้ในสถานการณ์ที่จะคล้ายกับการทำงานจริงๆตามที่ตกลงกันไว้ให้มากที่สุด

ได้เวลาที่ผมต้องไป รพ.เลย อีกแล้วสิเนี่ย..


" คนส่วนใหญ่มักกลัวว่า..องค์กรใหญ่ "คน"เปลี่ยนแปลงยาก
ทำให้มักลืมไปว่า "คน" มาก ก็มีพลังมากเช่นเดียวกัน.."


1 ความคิดเห็น: