พี่เปรมหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล มาพบผมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับผลการประชุมเมื่อวาน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับคะแนน Auditของเวชระเบียนที่ทางพยาบาลแจ้งว่า ผลคะแนนของโรงพยาบาลได้น้อย สาเหตุมาจากแบบฟอร์ม opdcardไม่มีข้อมูลประวัติการแพ้ยาซึ่งน้องๆ พยาบาลยืนว่าได้ซักประวัติคนไข้ทุกคน แต่เวลาที่พิมพ์ opdcard จะไม่มีข้อมูลออกมาด้วย
"ประวัติการแพ้ยา" ผมอธิบายให้พี่เปรมทราบว่า ข้อมูลนี้ ศูนย์คอมพิวเตอร์ดึงข้อมูลมาจากข้อมูลการแพ้ยาของผู้ป่วย ที่ผ่านการซักประวัติและขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยแพ้ยาโดยเภสัชกรแล้วเท่านั้น(ต้องแพ้ยาจริงๆ) ไม่ใช่ข้อมูลที่มาจากการซักประวัติที่จุดคัดกรอง ดังนั้นถ้าหากคนไข้ที่มีบันทึกประวัติการแพ้ยาแล้ว เช่น แพ้ Penicilin เวลาที่พิมพ์ opd card ถึงจะมีข้อมูล แต่เกณฑ์การ Audit ดูเหมือนว่าจะไม่ตรงกันเพราะสิ่งที่ต้องการตามเกณฑ์ คือ ข้อมูลการคัดกรองการแพ้ยาของคนไข้ที่พยาบาลซักประวัติที่จุดคัดกรอง แต่ถ้าหากใครที่ใช้ HOSxPก็จะรู้ว่า ข้อมูลการคัดกรองแพ้ยา โปรแกรมจะบังคับไม่ยอมให้ผ่านหากไม่ลงข้อมูลตรงนี้อยู่แล้ว( found_allergy_type)เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันทุกฝ่าย ผมจึงให้อาร์มออกแบบ opd card โดยเพิ่มการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการแพ้ยา และยาที่แพ้ ดังนี้ครับ
- ประวัติการแพ้ยา โดยใช้ข้อมูลจาก found_allergy_type
- ผู้ป่วยแพ้ยา ใช้ข้อมูลจาก drugallergy
เกี่ยวกับข้อมูล ประวัติการแพ้ยา ซึ่งจะมีตัวเลือก คือ ปฏิเสธการแพ้ยา, มีประวัติแพ้ยา,มีอาการแพ้ยา และไม่ทราบ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีคำถามจากน้องๆในเครือข่ายว่า หากจะเปลี่ยนข้อความจาก "ปฏิเสธการแพ้ยา" เป็น "ไม่มีประวัติแพ้ยา" จะเหมาะสมหรือไม่อย่างไร
ประเด็นนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดเหมือนกันครับ เพราะหากดูจากความหมาย "ปฏิเสธ" กับ "ไม่มี" ถ้าจะแปลไทยเป็นไทยสองคำนี้แตกต่างกันแน่นอนครับ เพราะ "ปฏิเสธ" หมายถึง ไม่รับ,ไม่ยอมรับ แต่ในขณะที่คำว่า "ไม่มี" หมายถึง ไม่ปรากฏอยู่ ดังนั้นถ้าตีความตามโครงสร้างประโยค ผมตีความหมายอย่างนี้ครับ
- ปฏิเสธการแพ้ยา ตามความเข้าใจของผม หมายถึง ผู้ป่วยไม่(ยอม)รับว่าตนเองแพ้ยา ซึ่งเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยอาจจะไม่รู้ว่าตนเองแพ้ยา เพียงแต่ยังไม่เคยเจอปัญหา ถ้าเลือกข้อนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ให้การตรวจรักษาต้องให้ความระมัดระวัง
- ไม่มีประวัติการแพ้ยา ตามความเข้าใจของผม หมายถึง ผู้ป่วยไม่มีประวัติแพ้ยา(เลย) หรือ ไม่แพ้เลย ถ้าหากบอกว่า "ไม่มีประวัติแพ้ยา"เลยอาจจะสื่อไปในทำนองว่าคนไข้ไม่แพ้ ทำให้ผู้ตรวจรักษาอาจจะลดความระมัดระวังไปด้วยก็ได้
ผมไม่รู้ว่าเข้าใจถูกหรือเปล่าหรือผมอาจจะคิดมากไปก็ได้นะครับ แต่เวลาที่ดูในรายละเอียดอย่างนี้รู้สึกได้เลยนะครับว่า ภาษาไทยของเราเองแท้ๆ บางทีก็ยังรู้สึกสับสนเวลาที่จะเลือกใช้เหมือนกัน
ยังมีประเด็นปัญหาของงานชันสูตรเรื่องเกี่ยวกับ pap smear อีกเรื่องหนึ่งครับ ที่ผมยังคิดแก้ปัญหาไม่ตก เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ภาระงาน และความซ้ำซ้อนของระบบที่เกี่ยวโยงถึงระดับ รพท. และ สสจ. ซึ่งบางทีผมคิดว่าน่าจะบูรณาการกันทั้งจังหวัด ถ้าได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้วจะนำมาแลกเปลี่ยนกับทุกคนอีกครั้งครับ..
ทำ from OPD ให้เหมือนกันทั้งจังหวัดจะดีไหมครับผม?
ตอบลบ