โรงพยาบาลเลย เวลา 13.00-16.00 น.
เดิมทีงาน IPD มีกำหนดการฝึกอบรม 3 รุ่นด้วยกันแต่เนื่องจากผมติดประชุมกรรมการบริหาร จึงลดจำนวนวันอบรมเหลือเพียง 2 วัน ทำให้ห้องฝึกอบรมในช่วงนี้ดูคึกคักเป็นพิเศษ ที่ผ่านมาผมใช้การสอนผ่าน team viewer ซึ่งสิ่งที่ผมเห็นเป็นเพียงหน้าจอ กับภาพจากมุมกล้องของเวปแคมเท่านั้น ส่วนภาพบรรยากาศอื่นๆ ภายในห้องประชุมต้องติดตามดูจากที่ทีม Admin โพสต์ผ่าน FB ของกลุ่ม HOSxP โรงพยาบาลเลย
หรืออย่างเรื่องเอกสาร ซึ่งคนไข้หนึ่งคนต้องมีเอกสารบันทึกกันหลายสิบหน้า(ผมทึ่งคนที่คิดแบบฟอร์มต่างขึ้นมาจริงๆนะครับ) สิ่งที่ดูจะได้ประโยชน์มากในปัจจุบัน คือ การใช้โปรแกรมพิมพ์สติกเกอร์ติดแปะลงบนเอกสาร ทั้งๆที่น่าจะออกแบบฟอร์มและสั่งพิมพ์ผ่าน HOSxP ซึ่งช่วยลดพื่้นที่การเก็บแบบฟอร์มต่างๆ ที่มีอยู่มากมายให้เหลือเพียงพื้นที่เก็บกระดาษเปล่าเพียงอย่างเดียว คำตอบที่ได้รับตามมา คือ ยุ่งยาก เสียเวลา งานเยอะ ฯลฯ บางโรงพยาบาลใช้เต็มระบบขึ้นมาอีกหน่อย คือ สั่ง Lab,xray,ลงหัตถการด้วย แต่ก็ยังดูเหมือนว่าคอมพิวเตอร์เนี่ย มันช่างเพิ่มภาระงานให้ฉันเสียจริงๆ
ผมไม่รู้ว่าปัญหาส่วนหนึ่งมาจาก ปริมาณเครื่องคอมกับพยาบาลในหอผู้ป่วยในที่ไม่ค่อยสัมพันธ์กันด้วยหรือเปล่า เคยคิดว่าถ้ามีคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอกับพยาบาลต่อเวร เช่น ประมาณ 4-5 เครื่อง/ ward จะช่วยแก้ปัญหาได้บ้าง(ไหม๊นะ) เพราะถ้าปริมาณงานที่มากและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีจำกัด จะให้มารอเพื่อคีย์ข้อมูลคงทำงานไม่ทัน แต่ถึงจะมีเครื่องพอก็ยังอาจจะติดปัญหาเรื่องการ "จิ้มดีด" ที่ดูเหมือนว่าจะยังเป็นก้างขวางการทำงานชิ้นใหญ่สำหรับการนำมาใช้ในการลงบันทึกทางการพยาบาล
ทุกครั้งที่สอนการใช้ระบบงานต่างๆ ผมคิดว่าจะมีใครบ้างไหม๊น้าที่ฟังแล้ว ปิ๊ง! ไอเดียบรรเจิด จนกระทั่งนำไปสู่ การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานแบบใหม่ๆดูบ้าง เพราะส่วนใหญ่ที่ผมได้ยิน คือ ไม่ได้,คนไม่พอ,งานที่ทำเยอะอยู่แล้ว ,บริบทของโรงพยาบาลเราไม่เหมือนของเขา ฯลฯ แล้วทุกอย่างก็ยังถูกอนุรักษ์ ให้ทำกันเหมือนเดิมแบบรุ่นต่อรุ่น
น่าแปลกดีนะครับ พยาบาลส่วนใหญ่บ่นเรื่องงานเอกสาร แต่ก็ต้อง(ทน)ทำกันไปทุกวัน และดูเหมือนว่าด้วยภาระงานที่หนัก ทำให้จะหาเวลาเพื่อทบทวนงานเอกสาร ขั้นตอนการทำงานบางอย่างว่าควรจะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกันบ้างหรือเปล่า หรือเป็นเพราะว่าวิธีการที่ทำนั้นมันคุ้นเคยและดีอยู่แล้วจนไม่อยากที่จะทำอะไรใหม่ๆให้ยุ่งยาก ซึ่งหลายโรงพยาบาลที่เชิญผมไปช่วยดูระบบให้ปัญหาที่พบคล้ายๆกัน คือ จากงานเดิมที่เคยทำอยู่ 10 อย่าง การลงข้อมูลในคอมพิวเตอร์กลายเป็นงานที่ 11 อะไรที่เคยทำมาก็จะทำอย่างนั้น ถ้าหากหัวหน้ายังไม่ให้เลิกทำ.. เช่น ทะเบียน Admit ทะเบียน refer กลายเป็นงานซ้ำซ้อนที่บางครั้งก็ขำไม่ออกกัน คงต้องมาติดตามกันต่อครับว่าพี่ใหญ่อย่าง รพ.เลย จะมีการปรับแนวทางในการทำงานเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมากน้อยแค่ไหน
ที่น่าดีใจในการอบรมวันนี้ คือ มีทีมผู้ป่วยในและ เอ๋.. Admin ของโรงพยาบาลภูหลวงมาเข้าร่วมอบรมด้วย (เท่าที่รู้ตอนนี้มี 3 เอ๋ แล้วครับที่เป็น admin ของทีมจังหวัดเลย) ที่จริงถ้าใช้วิธีการสอนผ่าน internet แบบนี้ ไม่ต้องเดินทางไปสำหรับผมแล้วโคตรสบายเลยครับ เพราะอย่างน้อยการนั่งรถไป-กลับเมืองเลย ต้องใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง ค่าน้ำมันรถอีกประมาณ 500 บาท และผลที่ได้ไม่แตกต่างกันมาก สำหรับผมแล้วประหยัดช่วยชาติได้เยอะเลย
ทีม รพ.ภูหลวง
มีคนบอกผมว่า การเรียนรู้ คือ การ(กล้า)ก้าวออกจากพื้นที่ที่เคยชิน..
การเรียนรู้ไม่ได้อยู่กับที่เสมอไป เรียนรู้ที่จะก้าวไปเอากำลังใจจากคนอื่นๆที่สายงานเหมือนกันหัวอกเดียวกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
ตอบลบขอบคุณเรื่องราวดีๆ ที่ถ่ายทอด ออกมาเป็นบทความที่ดีเยี่ยมเช่นนี้
ขอบคุณครับ
เหตุผลที่หนูพาคนของหนูมาเพราะ คนนี้เป็นเจ้าหน้าที่ใหม่ที่เป็นคนบันทึกข้อมูลในward การจะให้ฟังสอนออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับadminกิ๊กก๊อกอย่างเอ๋ และเอ๋เองก็เรียน ผอ.และหัวหน้าwardไปแต่แรกแล้วว่ามันเป็นการสอนออนไลน์เพียงแต่...แต่ในที่นี้ต้องการให้เขามาเห็นว่า โลกกว้างเป็นยังไง คนHOSxPไปถึงไหนแล้ว ในระหว่างทางมาเอ๋ก็คุยๆconceptให้เขาฟัง (เพราะที่ รพ.ไม่ค่อยได้คุยกันนะ) และบอกว่าวิทยากรเป็นใคร วิทยากรสอนเอ๋ว่าไงบ้าง ตอนกลับมาก็ถามเขาว่าเป็นไง เขาบอกว่า ดีใจที่ได้มาเพราะเขาไม่ค่อยได้ไปไหน และเข้าใจแล้วว่าเขาต้องทำไง(เข้าใจมากขึ้น) บางเรื่องที่ไม่รู้ก็รู้เพิ่มขึ้น เอ๋ก็ดีใจที่ได้พาเขามาค่ะ
ตอบลบอิจฉา..จังหวัดเลยจังเลย..
ตอบลบ