ผมได้รับการประสานงาน เพื่อขอปรับปรุงโปรแกรม DsHOS Service ระบบลงบันทึกเยียมบ้าน เนื่องจากตัวเวอร์ชั่นเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พัฒนาต่อยอดจากการเยี่ยมบ้านของ PCUเป็นหลัก และทีม PCT เห็นว่ามีการเก็บข้อมูลการเยี่ยมที่น่าจะใช้ประโยชน์ได้ดี จึงนำไปใช้เก็บข้อมูลคนไข้ที่ต้องเยี่ยมบ้านรายอื่นๆด้วย แต่เนื่องจากว่าข้อมูลที่อยู่ของคนไข้นอกเขต PCU จะอยู่ที่หมู่ 0 นอกเขต รายละเอียดของที่อยู่จึงไม่ชัดเจนเหมือนกับคนไข้ในเขต และเนื้อหาของข้อมูลการเยี่ยมบ้านยังไม่ตรงกับความต้องการ กรรมการ PCT จึงส่งเรื่องขอความคิดเห็นมาทาง กรรมการ IM ว่าสามารถปรับโปรแกรมให้ตรงกับความต้องการได้หรือไหม่ หากไม่ได้จะขอให้ทำโปรแกรมแยกเก็บระหว่างคนไข้เยี่ยมบ้านของ PCU และของทีม PCT
การทำงานของทีมประสานในระบบคุณภาพ ที่หลายๆ โรงพยาบาลยังอาจจะงงๆว่า ทีมสารสนเทศหรือที่เรียกกันว่า IM นี่มีหน้าที่อะไรบ้าง ผมจึงนำกรณีนี้มาเป็นตัวอย่างเรื่องการประสานงานของทีมต่างๆ เวลาที่มีความต้องการด้านสารสนเทศ ซึ่งถ้าหากการกำหนดบทบาทหน้าที่ยังไม่ชัดเจน ทีม PCT ก็อาจจะส่งเรื่องไปให้ทางโปรแกรมเมอร์แก้ไขหรือ แยกทำโปรแกรมขึ้นใหม่ ทำให้อาจจะเป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ใช้ ถ้าออกแบบไม่ดีข้อมูลก็จะไม่เชื่อมโยงกันกลายเป็นทำงานซ้ำซ้อน ดังนั้นหน้าที่ของกรรมการ IMจึงต้องพิจารณาความต้องการของผู้ใช้ ข้อมูลที่มี และความเป็นไปได้เพื่อออกแบบ software และนำเสนอให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นก่อนที่จะส่งต่อให้โปรแกรมเมอร์พัฒนาต่อไป ลองดูตัวอย่างที่ทีม IM พิจารณาแนวทางการพัฒนา software ได้จากบทความวันนี้ครับ
บันทึกเสนอ กรรมการสารสนเทศ
กรรมการ PCT เสนอขอปรับปรุงโปรแกรม DsHOS service ระบบลงบันทึกเยี่ยมบ้านเพื่อให้สะดวกในการใช้งานและประมวลผลดังนี้
- การลงทะเบียนเยี่ยมบ้าน
- ทะเบียนเยี่ยมบ้านแสดงที่อยู่(นอกเขต) บ้านเลขที่ หมู่ที่ บ้าน ตำบล เพื่อใช้ lilst รายชื่อผู้ป่วยแต่ละบ้านสะดวกในการจัดตารางเยี่ยม และขอเพิ่มสถานที่ใกล้เคียงหรือแผนที่คร่าวๆ
- เพิ่มช่องบันทึก ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของผู้ดูแล 2 คน สำหรับประสานงานในการเยี่ยมบ้าน
- เพิ่มการวินิจฉัยโรคประจำตัว (เช่น เบาหวาน, CVA,COPD,ซึมเศร้า จิตเภท HT และ CRF)
- สถานะปัจจุบัน หมายถึง สถานการณ์เยี่ยมบ้านสามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยขอปรับรายการดังนี้
- เยี่ยมต่อ
- จำหน่าย โดยมีตัวเลือกระบุวันที่จำหน่าย
- สาเหตุที่จำหน่าย
- สิ้นสุดปัญหา
- เสียชีวิต
- ส่งต่อ
- อื่นๆ
- เพิ่มสภาพปัญหา โดยมีตัวเลือกดังนี้
- โรคเรื้อรังที่ผลการรักษาไม่ดี
- ประเมินสภาวะสุขภาพและให้บริการดูแลรักษาที่บ้าน
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
- เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
- ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
- ให้การฟื้นฟู
- ประเมินครอบครัวและผู้ดูแล
- ติดตามขาดนัดหรือใช้บริการเกินความจำเป็น
- เยี่ยมหลังจำหน่าย
- ประเมินสภาพเศรษฐกิจ สังคม
- บันทึกการเยี่ยมบ้าน
- กรณีติดตามเยี่ยมติดตามที่บ้าน ให้ regis HOSxP และส่งตรวจโดยระบุเป็นออกหน่วย และลงวินิจฉัย 1เป็นโรคหลักที่ต้องไปดูแลผู้ป่วย วินิจฉัย 2 ปัญหาที่ต้องการดูแลที่บ้าน
- สามารถลงบันทึก VS ได้แม้ไม่ได้ regis
- การประเมินผลลัพธ์แต่ละ visit ของการเยี่ยม ให้มีตัวเลือกดังนี้
- ดีขึ้น ควบคุมโรคได้ แก้ปัญหาได้บางส่วน
- สถาพปัญหาคงเดิม แก้ปัญหาไม่ได้
- เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้
- ส่งผู้ป่วยมา admit ที่ รพ.โดยไม่ได้วางแผน
- ไม่พบผู้ป่วย ไม่อยู่ ย้าย ตาย
- การจัดทำรายงานประจำเดือน ให้มีชื่อ ที่อยู่ โรคหลัก สถานะปัจจุบัน สภาพปัญหา สามารถเลือกช่วงเวลาที่เยี่ยมได้ เรียงตามที่อยู่ สภาพปัญหา สถานะปัจจุบัน เพื่อใช้ในกิจกรรมประเมินผลภาพรวม
- จัดทำปฏิทินเยี่ยมบ้าน (เลือกเดือนได้) ระบุชื่อ ที่อยู่ โรคประจำตัว สภาพปัญหา วันที่นัดเยี่ยมครั้งต่อไป
- ผู้เยี่ยมรายงานบันทึกการเยี่ยมบ้าน เก็บใน OPD card ให้มีการประเมินผล วันที่นัดเยี่ยมครั้งต่อไป
...........................................................................................................................................................
หลังจากที่ได้รับใบแสดงความต้องการปรับปรุง softwareกรรมการสารสนเทศมีบทบาทหน้าที่ในการพิจารณาวิเคราะห์ความต้องการของหน่วยงานว่า ข้อมูลดังกล่าวสามารถที่จะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานและเชื่อมโยงกับระบบงานเดิมที่มีอยู่ ต้องต้องไม่เพิ่มภาระงานกับผู้ใช้ และเพื่อให้การพัฒนา software ให้ตรงใจผู้ใช้ จึงต้องมีการพิจารณาผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนได้เสีย หรือต้องใช้ข้อมูลจากเยี่ยมบ้านด้วย
วิเคราะห์ผู้เกี่ยวข้อง
- กรรมการ PCT หน่วยงานหลักที่ใช้ลงบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้านโดยตรง
- ฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัว เดิมหน่วยงานนี้มีระบบงานเยี่ยมบ้านใน HOSxP อยู่แล้ว จึงจะเห็นได้ว่าข้อมูลหมู่บ้านจะแสดงได้ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นบ้านนอกเขตจะมีเพียงข้อมูลบ้านนอกเขต และหมู่ 999
- แพทย์ สำหรับดูบันทึกผลการติดตามเยี่ยมบ้านของทีม PCT
- ศูนย์คอมพิวเตอร์ ผู้พัฒนาโปรแกรม
- โรงพยาบาลอื่นๆที่ใช้ โปรแกรม DsHOS Service
ดังนี้เพื่อให้การระบบงานบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้านในโปรแกรม DSHOSxP Service เวอร์ชั่นใหม่ได้ประโยชน์ในการใช้งานสูงสุดและมีผลกระทบกับผู้ใช้งานให้น้อยที่สุด กรรมการสารสนเทศจึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมและหารือกับโปรแกรมเมอร์ก่อนที่จะพัฒนาออกมาให้ใช้งานจริง
ออกแบบระบบบันทึกเยี่ยมบ้าน
ข้อ 1 ทะเบียนเยี่ยมบ้านแสดงที่อยู่(นอกเขต) บ้านเลขที่ หมู่ที่ บ้าน ตำบล
รูปที่ 1 ทะเบียนเยี่ยมบ้าน version 1.554.12
ในหน้าจอของระบบบันทึกโปรแกรมเยี่ยมบ้านของ DsHOS service version 1.55.4.12 จะเห็นว่ารายชื่อหมู่บ้านกรณีที่เป็นคนไข้ซึ่งอยู่นอกเขตรับผิดชอบของ PCU ด่านซ้ายข้อมูลจะเก็บไว้ที่บ้านนอกเขต แต่ความต้องการของทีมเยี่ยมบ้าน คือ ต้องการข้อมูลที่อยู่ในเวชระเบียนจริง สิ่งที่ต้องพิจารณาคือจะเอาข้อมูลที่อยู่มาจากไหน ในตาราง patient หรือ บัญชี 1 ซึ่งที่พิจารณาไว้คือ ที่อยู่นอกเขตในข้อมูลบุคคลซึ่งปัจจุบันเป็นค่าว่าง โดยอาจจะทำ Tools ปรับข้อมูลที่อยู่ใน patient ให้เข้ามาในที่อยู่นอกเขตรับผิดชอบและดึงไปแสดงผลที่ทะเบียนเยี่ยมบ้าน
รูปที่ 2 ข้อมูลที่อยู่นอกเขต
ในส่วนโรคประจำตัวที่จะให้มาแสดง ผมคิดว่าจะทีมเยี่ยมบ้านลงบันทึกข้อมูลในบัญชี 1 ให้เรียบร้อย และเพิ่ม tab ผู้ดูแล เพื่อเก็บข้อมูลผู้ดูแล
รูปที่ 3 ข้อมูลโรคประจำตัว และผู้ดูแล
ในส่วนการวินิจฉัยโรคประจำตัวสามารถดึงมาจาก ICD10 ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ให้ผู้รับผิดชอบลงบันทึกข้อมูลโรคประจำตัวใน บัญชี 1 ให้ถูกต้อง
ข้อมุลสถานะปัจจุบัน ปัจจุบันดึงมาจากตาราง Clinic_member_stuaus ซึ่งจะต้องดูข้อมูลมาตรฐานประกอบด้วย แต่สาเหตที่จำหน่ายน่าจะเพิ่มข้อมูลได้ โดยมีรายละเอียดให้เลือก ดังนี้
- สาเหตุที่จำหน่าย
- สิ้นสุดปัญหา
- เสียชีวิต
- ส่งต่อ
- อื่นๆ
- ปัญหา โดยมีตัวเลือกดังนี้
- โรคเรื้อรังที่ผลการรักษาไม่ดี
- ประเมินสภาวะสุขภาพและให้บริการดูแลรักษาที่บ้าน
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
- เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
- ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
- ให้การฟื้นฟู
- ประเมินครอบครัวและผู้ดูแล
- ติดตามขาดนัดหรือใช้บริการเกินความจำเป็น
- เยี่ยมหลังจำหน่าย
- ประเมินสภาพเศรษฐกิจ สังคม
รูปที่ 4 ข้อมูลทะเบียนเยี่ยมบ้าน
ข้อ 2 บันทึกการเยี่ยมบ้าน
- การประเมินผล (แต่ละ visit ) เพิ่มตัวเลือกดังนี้
- ดีขึ้น ควบคุมโรคได้ แก้ปัญหาได้บางส่วน
- สถาพปัญหาคงเดิม แก้ปัญหาไม่ได้
- เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้
- ส่งผู้ป่วยมา admit ที่ รพ.โดยไม่ได้วางแผน
- ไม่พบผู้ป่วย ไม่อยู่ ย้าย ตาย
รูปที่ 5 บันทึกการเยี่ยมบ้าน
โดยสรุปขั้นตอนสุดท้ายของการออกแบบระบบจะได้รูปร่างหน้าตาของโปรแกรมเยี่ยมบ้านออกมา ที่จะนำเสนอให้ทีม PCT ก่อนที่จะส่งให้โปรแกรมเมอร์พัฒนาต่อดังนี้ครับ
อยู่ รพ อื่น ขอคำแนะนำค่ะ รูปแบบนี้สามารถใช้ได้เลยมั้ยคะ
ตอบลบหรือว่าต้องปรับ เขียนเพิ่ม ในแต่ละ รพเอง
สามารถดาวโหลดไปใช้งานได้ครับ และสามารถปรับเพิ่มตารางได้เองตามบริบทของโรงพยาบาล
ตอบลบ