รายงานการประชุมคณะกรรมการระบบสารสนเทศโรงพยาบาลอุบลรัตน์ ครั้งที่ 1/2555
วันที่ 27 มิถุนายน 2555 ณ ห้องประชุม 2 โรงพยาบาลอุบลรัตน์ --
------------------------------
ผู้มาประชุม- นายแพทย์อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร ประธานกรรมการ 2.
- นางวิลาวัณย์ พุทธพงศ์วิไล กรรมการ 3.
- นายพร้อมพรรณ ฟูกำเนิด กรรมการ 4.
- นางกัญจน์พร วงศ์ภักดี กรรมการ
- นางสาวพวงเพชร จันทร์บุตร กรรมการ
- นางสาวสุรดา โพธิ์ตาทอง กรรมการ 7
- นางสาวศรันญา เพิ่มศิลป์ กรรมการ 8
- นางทัศนี สรรค์นิกร กรรมการ
- นางสาวศิริญา มั่นคง กรรมการ
- นางชุติกาญจน์ นามปาน กรรมการ 1
- นางรำไพ ชาญประเสริฐ กรรมการ
- นางสาวมัณฑนรัตน์ ศรีเสกสรร กรรมการ
- นางสาวพัชนียา วงภูธร กรรมการ 14
- นางสาวพรพรรณ ชัยมงคล กรรมการ 1
- นางสาวปนัดดา วงพิมล กรรมการและเลขานุการ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
- นายแพทย์อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร ประธานฯ กล่าวเปิดประชุม คุณพรพรรณ แจ้งแก่คณะกรรมการฯ ถึงที่มาและวัตถุประสงค์ที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสารสนเทศของโรงพยาบาล เพื่อให้การดำเนินงานมีแนวทางที่ชัดเจน
- ผอก. - เสนอให้มีการปรับปรุงระบบ HOSxP ให้มีมาตรฐาน - ระบบข้อมูลจะต้องมีการเชื่อมโยงกับงบประมาณ ซึ่งใน 3- 4 ปีที่ผ่านมาพบว่าระบบข้อมูลมีความพกพร่องเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบข้อมูลโดยใช้โปรแกรม HOSxP
- การจัดตั้งคณะกรรมการระบบสารสนเทศขึ้นก็เพื่อให้มีการตรวจเช็คระบบข้อมูล การแก้ไขปัญหาข้อมูล การพัฒนาให้ได้ข้อมูลที่ดีและมีคุณภาพ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
- ไม่มี
- ไม่มี
เรื่องที่ 4.1 ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับการใช้งานระบบ HOSxP
ห้องคลอด
- ปัญหางานประจำมาก ยังไม่มีการส่งต่อในการบันทึกข้อมูลระหว่างเวร ทำให้ข้อมูลที่ลง กับการคีย์ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ไม่สมบูรณ์ เริ่มปรับปรุงระบบใหม่โดยให้บันทึกเอกสารเพื่อส่งต่อเวรในการบันทึกข้อมูลทุกเวร
- การส่งสิทธิ์ผิดจากห้องบัตร ทำให้ข้อมูลผิดพลาด การคิดเงินมีปัญหาเงิน ไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะได้ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นสิทธิ์เบิกได้ - ห้องฉุกเฉินควรมีการเช็คสิทธิจากห้องบัตรด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ในกรณีที่เป็นนอกเวลาราชการ
- การให้บริการโรคทั่วไปช้ากว่าเดิมมาก - ยังไม่บันทึกในผู้ป่วยเรื้อรัง ไข้ไอ แก้ปัญหาโดยการบันทึกย้อนหลังในช่วงบ่าย
- การเข้าข้อมูลย้อนหลังในกรณีคนไข้โรคเรื้อรังไม่ complete
- คนไข้มีชื่อซ้ำซ้อนกัน
- ใบ REFER มีชื่อซ้ำกัน
- เวชระเบียนลงได้ไม่ครบถ้วน - ระบบโรคเรื้อรัง (เจ้าหน้าที่ที่จุดคัดกรองทำงานได้ไม่เหมือนกัน คนไข้ไม่พึงพอใจ เพราะคิวที่ได้ กับคิวในโปรแกรมไม่ตรงกัน) อยากให้มีการดำเนินงานเป็นแนวทางเดียวกัน - การปริ้นใบสั่งยาล่วงหน้า แต่คนไข้ไม่มาตามนัด เมื่อวันที่คนไข้มาก็จะพบปัญหา คือแพทย์มีการแก้ไข เพิ่มเติมหรือลดยา แต่ใบสั่งยาเป็นยาเดิม ทำให้คนไข้ได้รับยาไม่ครบหรือเกินจำนวน - การคีย์ข้อมูลไม่ครบถ้วนทำให้มีผลต่อการออกรายงาน เช่น vital sing เป็นต้น - คนไข้โรคเรื้อรังที่จำหน่ายจากผู้ป่วยใน แล้วมา F/U ที่ไม่ตรงกับคลินิก ทำให้คนไข้ไม่ได้รับบริการบางอย่าง เช่น การเจาะ Lab เป็นต้น - ในกรณีที่คนไข้นอนนานเกิน 20 วัน จะต้องมีการจำหน่ายคนไข้แล้วทำการ admit ใหม่ การลงเลข admit จะเป็นผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยในที่เป็นคนออกเลข ผอก. ให้ห้องบัตรปริ้นใบ OPD card ออกมาให้แพทย์ลง order ที่ OPD แล้วให้ผู้ป่วย ในเอาแฟ้มคนไข้ออกมาด้วย คุณพรพรรณ - ให้ทำเหมือนระบบของห้องคลอด คือห้องบัตรส่งคนไข้ไปที่ผู้ป่วยในแล้วผู้ป่วยในทำหน้าที่เป็น OPD แล้วก็ส่งคนไข้ admit และรับ admit เอง (one stop)
ขอความร่วมมือจุดที่มีคนไข้เสียชีวิต ลงข้อมูลให้ด้วย เพราะเวลาออกรายงานจะไม่ สามารถออกได้เพราะไม่มีข้อมูล - ในกรณีที่มีการส่งต่อจุดต่าง ๆ อยากให้มีการ Note ให้ด้วยว่าหน่วยที่รับส่งต่อจะต้องทำอะไรให้กับคนไข้บ้าง - เมื่อให้บริการเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เอาใบนำทางออกให้ด้วย
- การลงข้อมูลยังไม่ complete กำลังพัฒนาและปรับปรุง
- ไม่ทราบแนวทางการส่งชำระเงิน ในส่วนที่เป็นสิทธิ เบิกได้ จ่ายตรง ว่า จะต้องส่ง ต่อไปชำระเงินที่ห้องการเงิน เริ่มแก้ไขแล้ว
- การออกรายงานการตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานไม่ตรงกับข้อมูลที่คีย์เข้าไปในโปรแกรม เช่นลงปกติ รายงานออกเป็นผิดปกติ - อยากได้ใบรายงานของกายภาพ เป็นฟอร์มคล้ายกับของแพทย์แผนไทย ผู้ป่วยใน / โภชนาการ - การรับ Admit แล้วไม่สั่งอาหารให้ผู้ป่วย ทำให้รายชื่อตกหล่น ยอดอาหารไม่ตรง - การส่งสิทธิคนไข้ผิด ในเวลาราชการ คุณสุรดา และคุณ...เป็นคนตรวจสอบและแก้ไขสิทธิ์ แต่ในช่วงนอกเวลาราชการ จะพบเป็นจำนวน มาก และไม่มีการตรวจสอบสิทธิให้ - พบความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล เช่น หัตถการต่าง ๆ ลงไม่ครบถ้วน - โปรแกรมยังไม่สามารถออกรายงานได้ ต้องใช้ manual ในการทำรายงาน - ห้องพิเศษสามารถส่งเบิกได้เร็ว ตรวจสอบง่ายขึ้น สามารถเช็ค DRG. ได้ดี - ห้องพิเศษความถูกต้องของสิทธิมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น
- ลงข้อมูลไม่ทัน / บางรายลงไม่ครบ ไม่สมบูรณ์ - การลง Dx. และหัตถการ ยังไม่ถูกต้อง ทำให้โหลดงานของคนที่รับผิดชอบเนื่องจากจะต้องมาตามแก้ไข
- เมื่อตรวจเสร็จแล้วไม่ออกจากหน้าให้บริการทำให้ห้องยาเรียก คนไข้ไม่ได้ ต้องเสียเวลาโทรแจ้ง
- ส่งคนไข้มาโดยลืมส่งข้อมูลมาห้องยา ทำให้หาคนไข้ไม่เจอที่งานห้องยา - ผู้ป่วยเรื้อรังที่มีแก้ไขยา บางรายไม่ได้แก้ไขตาม
- ในกรณีที่เป็นคนไข้ที่ส่งมาจากผู้ป่วยนอกจะลืมส่งชื่อคนไข้มาในโปรแกรม - การลงข้อมูลผ่าตัดไม่ครบถ้วน บางหัตถการไม่มีชื่อให้เลือก เสียเวลาในการค้นหา
- การให้บริการทุก visit จะต้องมีการลงวินิจฉัย ถ้าไม่ลงวินิจฉัยทาง Admin จะต้องมาตามลงวินิจฉัยให้ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าผู้ป่วยมาด้วยอาการอะไรทำให้เกิด error ได้ - บุคลากรยังขาดทักษะในการใช้โปรแกรม - จะต้องมีการอบรมผู้ส่งออกข้อมูล อาทิเช่น ห้องบัตร เป็นต้น
- คอมพิวเตอร์ห้องบัตรยังมีปัญหา คือ เครื่องดับบ่อย
- ปริ้นเตอร์มีปัญหาการปริ้นที่ล่าช้า - การค้นบัตรผิด -คนไข้โรคเรื้อรังจะไม่ผ่านห้องบัตรโดยตรง มีการคีย์ข้อมูลและค้นบัตรล่วงหน้า ดังนั้นข้อมูลคนไข้จะไม่มีการ Update - การตรวจสอบสิทธิผิดพลาด
- อินเตอร์เนตช้า ส่งผลต่อการตรวจสอบสิทธิคนไข้ การได้รับบริการของคนไข้ก็ช้าตามไปด้วย
- ผู้ปฏิบัติขาดความรู้ในการใช้งานโปรแกรม
- บัตรที่ไม่มีการลงผลการวินิจฉัย การเช็คบัตรกลับจะดูยากมาก
- ทำให้ต้องส่งบัตรคืนหน่วยที่ให้บริการเพื่อลงวินิจฉัย เมื่อคนไข้มารับบริการจะทำให้ค้นหาบัตรไม่เจอ -
- ห้องฉุกเฉินส่งบัตรคืนช้าทำให้ต้องมีการออกบัตรแทน
- เอกสารที่ปริ้นออกมาให้เย็บแม็กให้เรียบร้อย ไม่ควรใช้คลิบหนีบ -
- ควรมีการเซ็นชื่อกำกับลงในใบที่ปริ้นออกมาด้วย เพราะเมื่อเกิดปัญหาจะได้หาคนรับผิดชอบได้ถูกต้อง
- สอบถามคนไข้ที่มีสิทธิจ่ายตรง การชำระเงินจะต้องทำเหมือนเดิมหรือไม่
การเงิน - ทำเหมือนเดิม
ห้องฟัน - เด็กโครงการนอกเขต (โนนสัง) จะต้องส่งสิทธิชำระเงิน แต่เป็นเด็กโครงการไม่ ต้องชำระเงิน ทำให้ขึ้นเป็นลูกหนี้โรงพยาบาล - บุคลากรโรงพยาบาล ที่เป็นสิทธิประกันสังคมมารับบริการครั้งที่ 1- 2 จะต้องมีการชำระเงิน แต่ ครั้งที่ 3 โรงพยาบาลให้สิทธิ์ฟรี จะให้ดำเนินการต่ออย่างไร ไม่มีการชำระเงิน ทำให้ขึ้นเป็นลูกหนี้โรงพยาบาล
- ผอก.
- คนที่เป็นลูกหนี้โรงพยาบาลควรมีการทำเครื่องหมายกำกับไว้ด้วย
- คนที่เป็นเด็กโครงการ ฯ ควรมีการใช้สิทธิเป็นอนุเคราะห์
- เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลอุบลรัตน์ที่ใช้สิทธิประกันสังคมไม่ให้ชำระเงินเพราะถือว่าเป็นขวัญและกำลังใจ แต่เจ้าตัวต้องมาแจ้งที่การเงิน ใน visit ที่รับสวัสดิการนั้น
- มีการส่ง Lab ที่ซ้ำซ้อน เช่น คนไข้ Admit ห้องฉุกเฉินส่ง แล้วเมื่อเข้าไปที่ตึกผู้ป่วยใน ผู้ป่วยในก็ส่ง ทำให้เกิดการซ้ำซ้อน แนะนำ ถ้าเป็นรายการ Lab เดิม หรือดูที่รายการ Lab ก่อน แล้วคลิกแก้ไขหรือเพิ่มเติม
- การส่ง Lab ไม่ถูกหน่วยที่ให้บริการ เช่น ชื่อผู้สั่งเป็นคุณ ปณิดา ซึ่งอยู่ที่ตึกผู้ป่วยใน แต่ส่งไปที่ห้องฉุกเฉิน เป็นต้น
- Lab ที่ส่งมาแจ้งไม่ลงผล เช่น DTX. ควรลงไว้ที่ Doctor note ว่า DTX = .... แล้ว Lab จะส่งผลให้
- จุดคัดกรอง และห้องบัตร ส่งคนไข้ผิด
- ส่งสิทธิคนไข้ผิด
- กรณีคนไข้ชำระเงินจะมีปัญหาการสื่อระหว่างเจ้าหน้าที่กับคนไข้ เพราะที่ผ่านมาคนไข้ไม่เคยได้จ่ายเงิน - การลงรหัสการวินิจฉัยยังไม่ถูกต้อง
- การ Audit คนไข้ที่จะต้องมีสาเหตุการตายแต่ยังไม่มีปรากฏในแบบฟอร์ม -
- ไม่มี O/R NOTE ในคนไข้ผ่าตัด
- การส่งทำกายภาพยังไม่มีใบกายภาพ
- ใบดมยายังมีไม่ครบ -
- การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยหลังการผ่าตัดยังไม่มีแบบฟอร์ม
- ห้องคลอดควรจะให้แบบฟอร์มใหม่ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน -
- การลงวันนัดควรลงวันนัดให้ถูกต้อง - ห้องคลอดยังไม่มีการทำ D/C plan
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา -
- ไม่มี
ทีม Audit แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
- การ Audit คนไข้ที่จะต้องมีสาเหตุการตายแต่ยังไม่มีปรากฏในแบบฟอร์ม -
- ไม่มี O/R NOTE ในคนไข้ผ่าตัด
- การส่งทำกายภาพยังไม่มีใบกายภาพ -
- ใบดมยายังมีไม่ครบ -
- การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยหลังการผ่าตัดยังไม่มีแบบฟอร์ม
- ห้องคลอดควรจะให้แบบฟอร์มใหม่ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน -
- การลงวันนัดควรลงวันนัดให้ถูกต้อง -
- ห้องคลอดยังไม่มีการทำ D/C plan
- แจ้งให้ทุกฝ่ายประสานงานกัน เอาปัญหาที่เร่งด่วนมาช่วยกันแก้ไขก่อน -
- แบบฟอร์มต่าง ๆที่ สปสช. กำหนด ควรมีการออกแบบให้เรียบร้อยและง่ายต่อการ ใช้งาน -
- การทำข้อมูลคนไข้ admit กับ D/C ควรทำให้ดี ครบถ้วน ถูกต้อง และอยากได้ข้อมูลจำนวนคนไข้ D/C ใน 1 เดือนว่ามีจำนวนเท่าใด เพื่อ Check กับการคีย์ข้อมูลว่าตรงกันหรือไม่ -
- ให้สืบหาร้านที่ซ่อมคอมพิวเตอร์ได้คุณภาพและมีมาตรฐาน ราคาพอดี
- สืบหาร้านที่ให้เช่าคอมพิวเตอร์ว่ามีหรือไม่ ถ้ามีคุ้มทุนหรือไม่ อย่างไร
- ช่วยแจ้งผู้อำนวยการว่าบุคคลใดมีปัญหาจะได้เรียกพบผู้อำนวยการและแจ้งบุคคลที่ทำดีเพื่อจะได้ชื่นชม มติที่ประชุม
นางสาวปนัดดา วงพิมล ผู้บันทึกรายงาน นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
นางสาวพรพรรณ ชัยมงคล ผู้ตรวจรายงานการประชุม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
เยี่ยมครับ เป็นการเริ่มต้นของทีม IM ที่ดี ระบบสารสนเทศเป็นเรื่องที่ต้องมีการประสาน เชื่อมโยงกันมากครับ และต้องมีการพูดคุยทำความเข้าใจร่วมกันบ่อยๆ
ตอบลบขอบคุณน่ะค่ะพี่โด้..)ที่ทำให้ดูดีขึ้น..อิอิอิ
ตอบลบเก่งๆ
ตอบลบ