เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับการรีแบรนด์ 30 บาท ที่ทำเอาผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ และ Admin อย่างพวกเราปวดตับว่าจะเอายังไงกันดี เรื่องแบบนี้บางคนก็ว่าดี บางคนก็ว่ายุ่งยาก บางคนก็อาจจะเฉยๆ ให้ทำอย่างไรก็เอาตามนั้น ได้ครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน.. ปัญหาเลยมาตกหนักที่แอดมึนนี่แหละครับว่าจะออกแบบระบบและเซตค่าต่างๆของฐานใน HOSxP อย่างไรให้มันตอบได้ทุกโจทย์
ที่จริงแนวคิด ร่วมจ่าย ร่วมพัฒนา นี่เป็นเรื่องที่ดีนะครับ เพราะทุกวันนี้คนไข้เข้ารับบริการเพิ่มมากขึ้น และก็น่าจะมีที่มากเกินความจำเป็น (หรือบางทีคนเราอาจจะป่วยมากขึ้นจริงๆก็ได้)พอรัฐบาลมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลให้ฟรี คนส่วนใหญ่จะรู้แต่สิทธิว่าตัวเองจะได้อะไร แต่ไม่ค่อยรู้จักหน้าที่ของตนเอง ระบบดีๆ จึงมีปัญหาตามมาวุ่นวาย พอจะยึดหลักอะไรสักอย่างก็จะมีเหล่ามนุษยชนมาอ้างเรื่องสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน โรคภัยไข้เจ็บไม่เลือกเวลาบ้าง ฯลฯ แต่ไม่เคยพูดถึงโรคที่คนไข้หาใส่ตัวเอง แล้วต้องมาเดือนร้อนคนอื่น แต่อย่างว่าแหละครับการศึกษา ข้อมูลข่าวสารมันไม่ถึงกัน.. เอ้า บ่นอะไรกันละเนี่ย
ว่าจะเขียนถึงเรื่องการปรับระบบบริการรองรับ 30 บาทยุคใหม่ ซะหน่อย เตลิดเปิดเปิงไปไหนไม่รู้..
ก่อนอื่นเรามาดูเงื่อนไขของ 30 บาทยุคใหม่กันก่อนนะครับว่ามีอะไรบ้าง อย่างแรกเลยบัตรทองที่เก็บค่าธรรมเนียม 30 บาท กลุ่มบุคคลที่จะต้องร่วมจ่ายยังคงเป็นคนที่ได้รับบัตรรหัส 89 บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า เหมียนเดิมครับ อ้าว..แล้วยังงี้มันจะต่างจากเดิมตรงไหน แบบนี้ก็แค่ไปตั้งรหัสค่าธรรมเนียม 30 บาท หรือเปิดการใช้งานรหัสเดิมขึ้นมาใหม่ และตั้งให้ HOSxP คิดค่าธรรมเนียมอัตโนมัติโดยผูกไว้กับสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็จะน่าจะจบ เวลาที่คนไข้มารับบริการและใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า 12-59 ปี ก็ให้โปรแกรมคิดค่าธรรมเนียมไว้เลย เสร็จแล้วก็รอคนไข้มาจ่ายเงินเป็นอันจบ..
แต่..ครับแต่ มีเงื่อนไขมากมายหลายแต่ ทีเดียวที่ต้องอธิบายทำความเข้าใจกับคนไข้ ไม่เว้นแม้แต่เจ้าหน้าที่ด้วยกัน โดยเฉพาะไอ้ค่าธรรมเนียม 30บาทนี่ก็เป็นปัญหาหนักอกหนักใจระดับชาติของเจ้าหน้าที่การเงิน เพราะจะต้องเตรียมเงินทอน โอ้..แม่เจ้า แบงค์ห้าสิบทอนยี่สิบ แบงค์ร้อยทอนเจ็ดสิบ บางคนแบงค์ห้าร้อย (รู้อยู่ว่ารวย..เก็บ 30 บาท จ่ายแบงค์ห้าร้อย เมิงจะบ้าเหรอ) หนักกว่านั้นเจอรายแรกแบงค์พัน รายที่สองก็ดันเป็นแบงค์พัน พอรายที่สามยื่นแบงค์พันอีก โอ้โห ..เจ้าหน้าที่การเงิน แทบจะเป็นลมหงายหลัง..เป็นปัญหาครับ จริงๆ นะครับ แถมยังมีรายละเอียดให้ต้องพิจารณาว่าจ่าย ไม่จ่ายเหมือนหนังมหากาพย์ที่ทับซ้อนซ่อนเงื่อนหลายชั้น ดังนี้ครับ
- ประการแรกเมื่อถึงขั้นตอนของการชำระเงินแล้วคนไข้ไม่ประสงค์จะร่วมจ่าย (ถามจริงเหอะมีใครบ้างจะอยากจ่าย) แต่ก็อาจจะไม่กล้าพูด โรงพยาบาลเรียกเก็บก็ยอมจ่ายๆ ไป แต่ก็จะมีบางคนที่รู้ทันและอยากลองของใช้สิทธิ "ไม่ประสงค์จะร่วมจ่าย" ที่นี้ก็เดือดร้อนเจ้าหน้าที่การเงินละครับที่จะต้องหามาตรการมายืนยัน นั่งยัน ว่าคนไข้ไม่ประสงค์จะร่วมจ่ายจริงๆ อาจจะทำตราปั้มที่มีข้อความว่า "ไม่ประสงค์จะร่วมจ่าย" แล้วให้คนไข้เซนต์ชื่อไว้ (เพิ่มงานอีก.. ไอ้ใบเซนต์ชื่อของกรมบัญชีกลางที่ต้องทำไว้เป็นหลักฐาน นี่ตรูยังหาที่เก็บกันไม่ค่อยได้เลย) ที่ต้องทำตรงนี้ไว้เพื่อกันเจ้าหน้าที่การเงินหัวหมอบางคน เก็บเงินคนไข้ ไม่ออกใบเสร็จ แต่มาโมเมว่าคนไข้ไม่ประสงค์จะร่วมจ่าย และอาจจะถือโอกาสเก็บ 30 บาทเข้ากระเป๋าตัวเองหน้าไปตาเฉย..
คำถาม คือ ถ้าคนไข้ไม่ประสงค์จะร่วมจ่าย แล้วจะจัดการข้อมูลค่าธรรมเนียม 30บาท ที่ตั้งให้เพิ่มมาอัตโนมัติอย่างไรใน โปรแกรม HOSxP? - กรณีเป็นสิทธิ 89 บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ถ้าอุบัติเหตุฉุกเฉินมา ก็ไม่ต้องจ่าย (อะ เรื่องนี้ ก็โอเค พอเข้าใจเจ็บเมื่อไหร่ก็บอกมาจะได้ไม่เก็บเงิน ..ผ่าน)
- กรณีมาตามแพทย์นัด แล้วไม่มียา ก็ไม่ต้องจ่าย ( รพ.ก็ต้องใช้ไฟ ใช้กระดาษ ใช้คนทำงานนะเฟ้ย แต่นโยบายอยู่เหนือเหตุผลครับ ไม่มียาก็ไม่น่าจะจ่าย เอ๊าว่ะ ไม่จ่ายก็ไม่ต้องจ่าย)
- มารับบริการงานส่งเสริมสุขภาพ ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 30บาท ก็ทั้งหมดแหละ ฉีดวัคซีน วางแผนครอบครัว ไม่ต้องจ่าย
- มาล้างแผลก็ไม่ต้องจ่าย
- รับบริการที่ รพ.สต. ไม่ต้องจ่าย
คำถาม คือ ถ้าคนไข้เป็นกลุ่มที่อยู่ในเงื่อนไขไม่ต้องร่วมจ่ายตามข้อ 2-7 แล้วจะจัดการข้อมูลค่าธรรมเนียม 30 บาท ที่ตั้งให้เพิ่มอัตโนมัติอย่างไรใน โปรแกรม HOSxP?
และเชื่อเหอะว่า สักวันจะมีคนบ้า โทรมาขอรายงานด่วนมากกกกก... ขอยอดรายงานคนไข้ที่ร่วมจ่าย และไม่ประสงค์จะร่วมจ่าย โทรเช้าจะเอาบ่าย (ทั้งๆที่บางรายงานก็เคยส่งให้แล้วทุกเดือน แต่ขี้เกียจไปหา โทรมาสั่งเหมือนก๋วยเตี๋ยวง่ายกว่า)ฯลฯ
โอเค๊..มันก็ดีครับ เขาคงกลัวสมองคนไทยที่มันไม่ค่อยได้ใช้จะฟ่อไปเสียก่อน เลยหาโจทย์ที่มันซับซ้อนให้ช่วยกันคิด ดังนั้นก็ต้องเป็นหน้าที่พวกเราแล้วละครับที่ต้องมาร่วมด้วยช่วยกันว่าจะเอาอย่างไร เพราะค่าธรรมเนียมร่วมจ่าย 30 บาท มันมีเงื่อนไขบางอย่างที่ไม่ต้องจ่ายตามประเด็นที่ว่า
ปัญหาคือ แล้วประเด็นตามข้อ 1-6 ที่ว่ามันจะยังจำเป็นที่ต้องเพิ่มรายการค่าธรรมเนียมร่วมจ่าย 30 บาท อยู่ในรายการค่าใช้จ่ายทั้งหมดอีกหรือไม่?
เอาที่แน่ๆ โปรแกรม HOSxP มันคงไม่รู้หรอกครับว่า ใครมารับบริการอะไร เพื่อที่จะได้เลือกเพิ่มค่าธรรมเนียมร่วมจ่าย 30 บาทอัตโนมัติ วิธีการแก้มันจึงมีหลากหลายมาก ดังนั้นถึงตรงนี้ก็คงบอกได้แค่ว่า ใครใคร่คิด..คิด ใครใคร่ทำ..เชิญทำตามสบาย ตัวอย่างเช่น
- เพิ่มฐานข้อมูลสิทธิการรักษา เป็น
- บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า 12-59 ปี ร่วมจ่าย 30 บาท (และตั้งค่าธรรมเนียมอัตโนมัติผูกไว้กับสิทธินี้ หากส่งตรวจด้วยสิทธินี้ก็จะมีรายการขึ้นให้อัตโนมัติทันที)
- บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า 12-59 ปี ถ้าเป็นสิทธิแบบนี้ก็ไม่ต้องจ่ายเงิน 30 บาทได้เลย
ถ้าเลือกวิธีเพิ่มฐานแบบนี้ก็จะสะดวกในการเลือกสิทธิส่งตรวจ และจะได้ไม่ต้องพะวงว่าจะมีรายชื่อไปรออยู่ทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยยังไม่ชำระเงินให้ปวดหัว
ปล.การเพิ่มฐานสิทธิสำหรับ รพ.หลายแห่ง อาจจะไม่ใช่วิธีที่ใช่และไม่ใช่แนวทางที่ชอบ ซึ่งรวมทั้งตัวผมด้วย - การตั้งค่าธรรมเนียมร่วมจ่าย 30 บาท ในหมวดค่าบริการอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล ถึงตรงนี้ก็ยังมีประเด็นให้เลือกพิจารณาอีก คือ
- ตั้งค่าให้โปรแกรมเพิ่มค่าธรรมเนียมกับสิทธิ ร่วมจ่าย 30 บาทแบบอัตโนมัติ
- กำหนดให้เจ้าหน้าที่การเงิน เพิ่มรายการค่าธรรมเนียม 30 บาท ด้วยตัวเอง
เขียนไปเขียนมาชักสับสนครับ รู้สึกหิวนอนขึ้นมาตะหงิดๆจะขออนุญาตไปซื้อ "นอน" มากินบำรุงกำลังกันซะก่อน พรุ่งนี้มาคุยกันต่อถึงวิธีแก้ปัญหาแบบธรรมด๊า..ธรรมดาของ รพร.ด่านซ้ายครับ
จะสักวันที่ไหน..วันนี้เจอด่วนที่สุดส่งรายงานให้ สสจ.ภายในเวลา 13.00 น
ตอบลบทำรายงานเสร็จแล้วอย่าลืมเอามาแชร์นะน้องแบงค์ ฮ่าๆๆ จิตเวชยังไม่โดน
ตอบลบะเชื่อเหอะว่า สักวันจะมีคนบ้า โทรมาขอรายงานด่วนมากกกกก... ขอยอดรายงานคนไข้ที่ร่วมจ่าย และไม่ประสงค์จะร่วมจ่าย โทรเช้าจะเอาบ่าย (ทั้งๆที่บางรายงานก็เคยส่งให้แล้วทุกเดือน แต่ขี้เกียจไปหา โทรมาสั่งเหมือนก๋วยเตี๋ยวง่ายกว่า)ฯลฯ
ตอบลบสงสัยต้องเดือดร้อนจิตเวชไปจับคนบ้ามารักษาแล้วครับ งานนี้ อิๆๆ
ตอบลบเอ๋เคยถามการเงินที่นี่ว่า ต้องการแบบไหน เขาพิจารณามาแล้วว่า คนไม่ประสงค์จ่ายก็มีไม่น้อย เพิ่มเอาง่ายกว่า(ลบ)เลย ต้องคีย์ค่าธรรมเนียม30บาทกันเอง ^^
ตอบลบ