วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

HIS&LIS :ถ้าอยากมองเห็นป่าทั้งป่า อย่ามองผ่านแมกไม้ ตอนที่ 3

แนวทางการเชื่อมต่อข้อมูล HOSxP กับ LIS
เรียนหน่วยบริการที่ใช้โปรแกรม HOSxP ทุกหน่วยบริการ  แจ้งประชาสัมพันธ์การเชื่อมต่อข้อมูล ระหว่างโปรแกรม HOSxP กับโปรแกรม LIS  อ้างถึง  ประกาศจากหัวข้อกระทู้  http://hosxp.net/smf/index.php?topic=27403.0    
ซึ่งทางบริษัท บางกอก เมดิคอล ซอฟต์แวร์ จำกัด ได้ให้เวลาในการเตรียมตัวในเรื่องดังกล่าวมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง     แต่เนื่องจากยังคงมีบางบริษัทที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้  โดยทางบริษัทฯจำเป็นต้องทำการจำกัดสิทธิ์ ในการเชื่อมโดยตรงกับฐานข้อมูล  ในโปรแกรม HOSxP ตั้งแต่เวอร์ชั่น  3.56.2.10 เป็นต้นไป หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 081-915-5138 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
..............................................................................................................................
มาตรการล๊อคการเชื่อมต่อ ยาแรงเพื่อ?

การจำกัดสิทธิ์ในการเชื่อมต่อตรงกับฐานข้อมูลระหว่าง HOSxPกับ LISทำให้เกิดปัญหาในการรายงานผลแล็บ แม้ BMS จะมีตัวปลดล๊อคชั่วคราวเพื่อบรรเทาปัญหาให้กับโรงพยาบาลต่างๆ แต่เป็นเพียงมาตรการเฉพาะหน้าที่ยังมองไม่เห็นทางออก หาก LIS ยังไม่เข้าสู่การเจรจาพูดคุยกับ BMS-HOSxP หรือมีอีกวิธีที่จัดการได้โดยโรงพยาบาลหากยังต้องการเลือก HIS อย่าง HOSxP ก็คงต้องยอมเปลี่ยนบริษัท LIS ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก
.............................................................................................................................
โรงพยาบาลคุณใช้บริการ LIS บริษัทไหน

ข้อมูลจากหน้าเวปไซด์ของ BMS-HOSxP ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ LIS ไว้ดังนี้
รายชื่อบริษัทที่ "พัฒนา" LIS ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2556
  1. บริษัท สมาร์ทอินโนเวชั่น จำกัด
  2. Roche Diagnostics(Thailand)Ltd.
  3. บริษัท แองเจิล เน็ทเวิร์ค เทคโนโลยี จำกัด 
  4. บริษัท แร็กซ์ อินเตอร์ไดนอสติด จำกัด 
  5. PCL Holding CO.,Ltd(แร๊กซ์) 
  6. บริษัท แล็บ พลัส จำกัด 
  7. บริษัท แอฟฟินิเท็ค จำกัด 
  8. บริษัท เฟิร์มเมอร์ จำกัด 
  9. บริษัท ล็อกอินส์ เมดดิคอล จำกัด)
รายชื่อบริษัทที่ "กำลังพัฒนา" LIS ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2556
    1. บริษัท hos lab 
    2. บริษัท อีฟอร์เเอล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
    3. บริษัท ซิกเม็กซ์(ไทยแลนด์)จำกัด
    4. บริษัท อะตอมมิค sience distribute จำกัด
    5. บริษัทไซเบอร์ ซอฟเท็ค(ทางบริษัทมีรีไควร์เม้นเพิ่มเติม)
    6. บริษัท ซายน์แอนด์เมด จำกัด
    รายชื่อ LIS และจำนวนโรงพยาบาลที่รอวางแผนเชื่อมต่อ LIS กับ HOSxP
    1. Hospital Laboratory System Service limited. (HOSLAB) (จำนวน 70 โรงพยาบาล) 
    2. บริษัท อีฟอร์แอล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (จำนวน 78 โรงพยาบาล) 
    3. บริษัท ล็อคอินส์ เมดดิคอล จำกัด (จำนวน 61 โรงพยาบาล) 
    4. บริษัท เมดิทอป จำกัด (จำนวน 9 โรงพยาบาล) 
    5. บริษัท แล็บ พลัส จำกัด (จำนวน 91 โรงพยาบาล) 
    6. บริษัท แร็กซ์ อินเตอร์ไดนอสติค จำกัด (จำนวน 26 โรงพยาบาล) 
    7. บริษัท ไซเบอร์ ซอฟเท็ค จำกัด (จำนวน 30 โรงพยาบาล)
    8. บริษัท บุญชูแพทย์ภัณฑ์ (1999) จำกัด (จำนวน 8 โรงพยาบาล) 
    9. บริษัท อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (จำนวน 39 โรงพยาบาล)
    10. บริษัท เฟิร์มเมอร์ จำกัด (จำนวน 69 โรงพยาบาล) 
    11. บริษัท ซิสเม็กซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด (จำนวน 3 โรงพยาบาล) 
    12. บริษัท เมดวัน จำกัด (จำนวน 3 โรงพยาบาล)
    13. บริษัท ไอเมด ลาบอราทอรี่ จำกัด (จำนวน 37 โรงพยาบาล)
    เห็นรายชื่อบริษัทและตัวเลขจำนวนโรงพยาบาล เป็นชุดข้อมูลที่จะชวนทุกท่านเข้าไปติดตามกันต่อครับว่า LIS แต่ละบริษัทที่จะต้องเชื่อมต่อกับ HOSxP มีค่าใช้จ่ายกันอย่างไรบ้าง ลองดูราคาที่ทาง BMS เสนอให้กับ LIS ซึ่งมีรายละเอียดตามตารางด้านล่างครับ

    ค่าเชื่อมต่อระบบ LIS ในการพูดคุยกันรอบแรก


    ค่าเชื่อมต่อ LIS สำหรับโรงพยาบาลที่ยังไม่ใช้ LIS ที่มีการตกลงกันในรอบสอง
    แบบที่ 1 โรงพยาบาลที่ยังไม่ได้ใช้ LIS
    แบบที่ 2 สำหรับโรงพยาบาลที่ทางบริษัท LIS ได้เชื่อมไว้ก่อนแล้ว
    โดยค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ LIS กับโปรแกรม HOSxP มีรายละเอียดหลัก 2 ส่วนคือ
    1. ค่าพัฒนา(gateway)การเชื่อมต่อระบบ LIS กับโปรแกรม HOSxP ส่วนนี้จะเป็นส่วนของ
      บริษัทฯ LIS ที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ราคา 100,000 + 7% = 107,000 บาท
    2. ค่าเชื่อมต่อระบบ LIS กับโปรแกรม HOSxP  ส่วนนี้จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมเป็นรายโรงพยาบาลโดยราคาส่วนนี้ขึ้นอยู่กับขนาดเตียง
    อาจารย์ชัยพรได้ตอบในบอร์ด HOSxP ไว้ว่า ที่คุยกันไปแล้วนั้น ไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและการเชื่อมต่อนะครับ แต่ประเด็นที่คุยกันจริงๆ ก็คือ บริษัท LIS หรือบริษัทที่จำหน่ายน้ำยา ต้องไม่ผลักภาระไปให้ รพ. ครับ 
    ส่วนวิธีการนั้น ก็แล้วแต่ละบริษัทจะไปหารูปแบบการดำเนินการ แต่ในส่วนของ BMS เราก็ได้ช่วยเหลือโดยการลดราคาลงเหลือ รพ.ละ 40,000 บาท ทุก รพ. (เฉพาะที่ติดตั้งระบบ LIS ไปแล้ว) (+ค่าพัฒนาระบบครั้งแรกครั้งเดียว 100,000 บาท)

    และถ้าเป็นไปได้ผมก็อยากจะให้วางแผนดำเนินการติดตั้งระบบการเชื่อมต่อนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ..
    คาดว่ามีประมาณถึง 300 รพ. ที่ได้ติดตั้งระบบ LIS และไม่ได้เชื่อมต่อผ่าน Gateway นะครับ "  (27 กันยายน 2012 )

    ถ้าเป็นไปตามกฏกติกามารยาทสากลของธุรกิจในการเชื่อมต่อระบบระหว่าง HIS กับ LIS กรณีขึ้นระบบให้กับโรงพยาบาลแห่งใหม่เลยก็ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะมีความชัดเจนแล้วว่าบริษัท LIS จะต้องจ่ายค่าพัฒนา Gateway รวม vat 7% จำนวน 107,000 บาท และค่าเชื่อมต่อระบบ LIS กับโปรแกรม HOSxP ตามขนาดของเตียง ซึ่งทาง LIS ก็คงจะมีการคิดคำนวนค่าใช้จ่ายเสนอราคาให้กับโรงพยาบาลโดยบวกค่าใช้จ่ายต่างๆไว้เรียบร้อยแล้ว

    คำถามคือ ถ้าบริษัท LIS ที่เคยติดตั้งให้กับโรงพยาบาลไปเรียบร้อยแล้ว และไม่ได้คิดต้นทุนส่วนนี้ไว้ในตอนนั้น ด้วยเพราะคิดว่าการเชื่อมต่อกับ HOSxP ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายอะไร ทำให้ได้ราคานำเสนอต่อโรงพยาบาลที่ถูกลงด้วย  แต่มาถึงตอนนี้จะต้องควักเงินจ่ายให้ BMS โดยไม่สามารถไปเรียกเก็บกับทางโรงพยาบาลเพิ่มได้ เพราะงานจบไปแล้วและเป็นเงื่อนไขในการพูดคุยกันว่า "จะต้องไม่ผลักภาระไปให้โรงพยาบาล"

    หากผมเข้าใจไม่ผิดตามคำชี้แจงของอาจารย์ชัยพร และข้อมูลที่มีอยู่บริษัท LIS ที่ได้ขึ้นระบบให้กับโรงพยาบาลต่างๆไปแล้วนั้นจะต้องเสียจ่ายค่าเชื่อมต่อให้ BMS ดังนี้

    ตัวอย่าง สมมุติว่าบริษัท LIS มีลูกค้าเก่าที่ได้ใช้ระบบ LIS เรียบร้อยแล้ว 

    1. บริษัท Hospital Laboratory System Service limited. (HOSLAB) จำนวน 70 โรงพยาบาล
    = 107,000 บาท + (70 แห่ง x 42,800) เท่ากับ  107,000 +2,996,000 บาท 
    = 3,103,000 บาท

    2.บริษัท อีฟอร์แอล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำนวน 78 โรงพยาบาล
     = 107,000 บาท + (78 แห่ง x 42,800) เท่ากับ  107,000 +3,445,400 บาท
     =  3,445,400 บาท

    3. บริษัท ล็อคอินส์ เมดดิคอล จำกัด จำนวน 61 โรงพยาบาล
     = 107,000 บาท + (61 แห่ง x 42,800) เท่ากับ  107,000 + 2,610,800บาท
     = 2,717,800  บาท
    ฯลฯ

    ตัวเลขที่ได้จากการประมาณการคร่าวๆ เป็นตัวเลขสูงถึง 7 หลัก ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยทีเดียว แต่ข้อมูลนี้คงไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด อาจารย์ชัยพรได้บอกไว้ประมาณการว่าน่าจะมีโรงพยาบาลประมาณ 300 แห่ง ที่ได้ติดตั้งระบบ LIS และไม่ได้เชื่อมต่อผ่าน Gateway  ซึ่งก็คงหมายความว่า บางโรงพยาบาล บริษัท LIS ได้เชื่อมต่อระบบอย่างถูกต้องและได้ชำระค่าเชื่อมต่อไว้เรียบร้อยแล้วหรือเปล่า ตรงนี้ไม่มีรายละเอียดแจ้งไว้ให้ศึกษาต่อครับ


    เพื่อให้เข้าใจ LIS กันมากขึ้น เราลองมาทำความรู้จักกับบริษัทที่พัฒนา LISกันอีกสักนิดนะครับ ข้อมูลจากการสอบถามผู้รู้และอยู่ในวงการได้ให้รายละเอียดไว้ว่า บริษัทที่พัฒนาระบบ LIS มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ
    1. กลุ่มที่ 1 เป็นบริษัทพัฒนา Softwareเอกเทศไม่ขายน้ำยา เช่น แล็บพลัส,สมาร์ท อินโนเวชั่น , ดาต้าซอร์ฟ(เชียงใหม่) เป็นต้น 
    2. กลุ่มที่ 2 เป็นบริษัทพัฒนา LISซึ่งเจ้าของเป็นคนๆเดียวกันกับเจ้าของบริษัทน้ำยา เช่น Roche =Omega หรือ Cobas IT 5000 ,PCL=RAX,E for L=I-Lab , Sysmex=HC LAB,Inter Corp=I-Link เป็นต้น
    บริษัท LISกลุ่มแรกเมื่อ BMSแจ้งราคาค่าเชื่อมต่อ กลุ่มนี้จึงจะต้องไปเจรจากับบริษัทน้ำยาครับ และข่าววงในตอนนี้บริษัทน้ำยาก็รับทราบและให้ความร่วมมือแล้ว แต่เป็นแบบงงๆ เพราะส่วนใหญ่บริษัทน้ำยาก็ยังไม่รู้ที่มาที่ไปเกี่ยวกับโปรแกรม HOSxPมากนัก และทุกคนเข้าใจว่ามันเป็นโปรแกรมฟรี(ผมแย้งในใจว่า เอ่อ เคยฟรีต่างหาก) ผู้บริหารบางบริษัทเข้าใจว่า HOSxP เป็นโปรแกรมของกระทรวงด้วยซ้ำไปครับ เพราะส่วนใหญ่ที่รับรู้กันมาว่าผู้พัฒนาโปรแกรม HOSxPเป็นเภสัชกรทำงานอยู่โรงพยาบาล และโรงพยาบาลก็ใช้งานกันเยอะมากจนไม่น่าจะใช่ Commercial Software(โปรแกรมเชิงพาณิชย์) โรงพยาบาลส่วนใหญ่ก็ Download โปรแกรมมาติดตั้งใช้งานกันเองด้วยซ้ำไป 

    ส่วนบริษัท LIS ในกลุ่มที่ 2 กลุ่มนี้ก็ดีหน่อยตรงที่ว่าไม่ต้องไปส่งไม้ต่อประสานกับใครให้วุ่นวาย เพียงแต่พอเจอใบเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเงิน ก็เหมือนโดนหมัดฮุกซ้ายเข้าเต็มพุง ถึงกับจุกเลยละครับ


    ...................................................................................................................................................................

    บริษัทน้ำยา ...ตัวละครที่ต้องรู้จัก

    ตัวละครในเรื่องนี้ที่ต้องมาทำความรู้จักกันเพิ่มเติมกันอีกสักหน่อย นั่นก็คือ "บริษัทน้ำยา"

    ตามที่ผมเข้าใจ บริษัทน้ำยาส่วนหนึ่งก็พยายามสร้างระบบ LIS ของตัวเองขึ้นมาเพื่อลด Cost ค่าใช้จ่ายและในขณะเดียวกันก็ใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับคู่แข่งทางการค้า (กับบริษัทน้ำยาด้วยกันเอง) โดยถ้าหากบริษัทไหนได้วางระบบ LIS ก็จะใช้วิธีการตั้งกำแพงราคาค่าเชื่อมต่อสูงๆเพื่อให้คู่แข่งถอดใจไม่เชื่อมต่อและยกเครื่องออกไป

    แต่ถ้าคู่แข่งสู้ขึ้นมาก็จะไปหา LIS อีกเจ้ามาลงให้ลูกค้าในส่วนของเครื่องมือของตัวเอง ซึ่งภาระจะเกิดกับ User นั่นเองที่ต้องมานั่งใช้ LIS สองสามตัวใน Lab เดียว ซึ่งจริงๆแล้วมันก็มาจากการขอสนับสนุนระบบ LIS จากบริษัทน้ำยานั่นเอง ทำให้ห้อง LAB ไม่มีทางเลือกต้องใช้ Software LIS ที่ผูกติดมากับเครื่องมือของบริษัทน้ำยา 

    โรงพยาบาลจัดซื้อระบบ LIS ไว้เอง เมื่อบริษัทน้ำยามาวางเครื่องรายละเอียดใน TOR เขาจะเขียนไว้เลยว่าบริษัทน้ำยาต้องเชื่อมต่อเครื่องเข้ากับระบบ LIS ของโรงพยาบาล ถ้าเป็นดังนี้แล้วโรงพยาบาลก็สามารถตัดสินใจเลือกระบบ LIS ที่ตรงกับความต้องการได้ และไม่ต้องเปลี่ยนระบบ LIS บ่อยๆเหมือนทุกวันนี้ 

    ในส่วนของบริษัทน้ำยาเองก็น่าจะผลดีด้วย เพราะเมื่อเปิดซองได้ก็เพียงเสียค่าเชื่อมต่อเครื่อง ไม่ต้องลงทุนติดตั้งระบบ LIS กันใหม่ทั้งระบบ(Server, Client, Barcode printer และอื่นๆ ก็ต้องขนกันมาใหม่ทั้งหมด) ส่วนของเก่าที่รื้อออกไปก็ไม่สามารถเอาไปใช้งานต่อได้ เนื่องจากของที่นำไปติดตั้งให้โรงพยาบาลต้องเป็นของใหม่แกะกล่อง ฉะนั้นของที่รื้อกลับไปก็ต้องชั่งกิโลขายเป็นของเก่าอย่างเดียวเท่านั้น

    ที่ผ่านมาในส่วนของค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่นค่า Hardware และค่าเชื่อมต่อระบบ HOSxP โรงพยาบาล LIS และบริษัทน้ำยา จะใช้วิธีแชร์กันทุกบริษัทโดยอาจให้หัวหน้าห้องปฏิบัติการเป็นคนกลางแชร์ค่าใช้จ่ายให้ ตามยอดขายของแต่ละบริษัท แล้วทาง LIS จึงจะทำใบเสนอราคาให้บริษัทน้ำยาอีกต่อหนึ่ง เพื่อไม่ให้บริษัทน้ำยาเกิดการได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน

    ลองมาตัวอย่างรายการในใบเสนอราคาที่ LIS เสนอให้บริษัน้ำยาดูนะครับ



    เป็นข้อมูลตัวเลขที่ดูเอาไว้เป็นความรู้นะครับ สำหรับท่านใดที่ยังไม่เคยรู้ราคาค่าใช้จ่ายในระบบการเชื่อมต่อ LIS ซึ่งถ้าใครทำงานอยู่ในระดับกรรมการบริหารโรงพยาบาลก็คงพอจะรู้ว่างบประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนของห้องแล๊ปแต่ละปีใช้เงินงบประมาณไม่น้อยทีเดียวครับ งบพัฒนาระบบสารสนเทศของเราที่ว่าเยอะแล้วแต่ละปีบางทีแทบจะจิ๊บๆ ไปเลย 



    โดยแนวทางปฏิบัติทั่วไปบริษัท LISจะทำรายละเอียดชี้แจงค่าใช้จ่ายต่างๆเแต่ละรายการให้โรงพยาบาลทราบชัดเจน ตามตัวอย่างใบเสนอราคาข้างต้น ซึ่งโดยหลักๆก็จะมีค่าใช้จ่ายอยู่สาม รายการสำคัญๆ คือ
    1. ค่าเชื่อมต่อระบบ LIS(หรือเชื่อมต่อเครื่องวิเคราะห์)ซึ่งพูดง่ายๆก็คือในไอเดียของ LIS แต่ละบริษัท ค่าเชื่อมต่อก็คือ "ค่าแรง"นั่นเองครับโดยเป็นการคิดเหมารวมๆกันไปทั้งหมด ทั้งค่าพัฒนาโปรแกรม ,ค่าแรงในการไปติดตั้ง รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอื่นๆ เช่นค่าจ้างเหมาช่างโรงพยาบาลในการเดินสายต่างๆ ค่าการ์ดอินเตอร์เฟสสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อกับเครื่องตรวจวิเคราะห์ ยกเว้นค่า Hardware ตัวใหญ่ๆ และค่าลิขสิทธิ์ Windows ซึ่งถ้าลูกค้าต้องการ Windows แท้ก็ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เอง
    2. ค่า Hardware ตัวใหญ่ๆตามรายการ เช่น Server, Host เป็นต้น ในส่วนนี้ถ้าลูกค้ามีอยู่แล้วใน Spec ที่บริษัท LIS กำหนดก็ไม่ต้องซื้อใหม่ แต่ถ้ายังไม่มีและไม่สะดวกที่จะวิ่งหาซื้อเอง บริษัทมักจะรับเป็นธุระในการสั่งซื้อให้ แต่ถ้าโรงพยาบาลมี Supplier เองก็สามารถจัดซื้อเองได้ครับแล้วส่งของไปให้เราที่หน้างาน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็จะบวกค่าแรงและ Hardwareทั้งหมดและถ้าบริษัทน้ำยาไม่ทำเรื่องบริจาคให้โรงพยาบาล ก็จะเป็นทรัพย์สินของบริษัทน้ำยาครับ ไม่ใช่ของ บริษัท LIS
    3. ค่าเชื่อมต่อระบบ HIS ในส่วนนี้ถ้ามีค่าเชื่อมต่อทาง LIS จะแจ้งให้โรงพยาบาลทราบทราบ และเสนอราคาค่าเชื่อมต่อระบบ HISเป็นอีก 1รายการต่างหาก ซึ่งปกติก็จะแนบใบเสนอราคาจากบริษัทผู้พัฒนาระบบ HIS ไปพร้อมกับใบเสนอราคาของบริษัท LIS ไปด้วยเลย เมื่อตกลงกันเรียบร้อยแล้วเขาก็แจ้งให้บริษัท LIS เข้าไปทำการเชื่อมต่อระบบครับ
    ว่ากันเล่นว่าเป็นหน่วยงานชันสูตรแดนสนธยาหน่วยงานหนึ่งทีเดียวละครับ เพราะเกี่ยวข้องกับงบประมาณจำนวนมาก แต่ละโรงพยาบาลพอไปเปรียบเทียบราคา costต่างๆ ที่ซื้อกับบริษัทน้ำยา บางครั้งแตกต่างกันมาก จนต้องมีการรวมกลุ่มของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเพื่อดูข้อมูลการจัดซื้อน้ำยาหรือค่าเชื่อมต่อ LISว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน  ล่าสุดผู้ตรวจราชการมีคำสั่งให้ห้อง LAB ต้องลด Cost ค่าใช้จ่ายลงให้ได้ 10-50% แล้วแต่โรงพยาบาลแต่ละแห่งได้รับคำสั่งให้ลด Cost ไม่เท่ากัน ซึ่งหมายความว่าในอนาคตบริษัทน้ำยาจะขึ้นราคาได้ยากและอาจจะต้องลดราคาน้ำยาด้วยซ้ำไป

    ........................................................................................................................................................

    โรงพยาบาลที่อยู่ระหว่างการเจรจาตกลงผู้รับผิดชอบค่าบริการ
    21 พฤษภาคม 2556

    BMSโพสต์แจ้งรายชื่อ โรงพยาบาลที่อยู่ระหว่างการเจรจาตกลงผู้รับผิดชอบค่าบริการในการเชื่อมต่อระบบ LIS ผ่าน BMS Gateway (ของบริษัท แล็บพลัส จำกัด) ดังนี้

     " เนื่องด้วยทางบริษัท บางกอก เมดิคอล ซอฟต์แวร์ ได้ดำเนินการประสานงานไปยัง บริษัท*****จำกัด แต่ยังหาข้อตกลงเรื่องผู้รับผิดชอบค่าบริการการเชื่อมต่อระบบ LIS ผ่าน BMS Gateway ไม่ได้ ทาง BMS จึงดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับทางโรงพยาบาลทั้งหมดนี้ก่อน โดยการปลดล็อก LIS ให้ทางโรงพยาบาล จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.2556 และหากทางบริษัท LIS ดำเนินการตอบตกลงใบเสนอราคากลับมาทาง BMS ทางเราจะดำเนินการกำหนดวันติดตั้ง และทำหนังสือแจ้งให้ทางโรงพยาบาลทราบอีกครั้งนึง ดังจะมีรายชื่อโรงพยาบาลทั้งสิ้น 80 แห่ง .."

    http://hosxp.net/index.php?option=com_smf&Itemid=28&topic=29917.msg245398%3Btopicseen#new

    เป็นช่วงที่ฝุ่นตลบอีกรอบของกลุ่มโรงพยาบาลผู้ใช้ LIS ของบริษัทดังกล่าว แต่ก็ใช่ว่าโรงพยาบาลที่ใช้บริการบริษัทอื่นจะสบายใจ เพราะแม้กระทั่งโรงพยาบาลผมเองที่สอบถามข้อมูลไป ก็ได้รับคำตอบว่ายังไม่ได้รับการประสานงาน พระเจ้าช่วย กล้วยทอด!

    .............................................................................................................................................................

    โรงพยาบาลที่จะสิ้นสุดการปลดล๊อค วันที่ 31 พฤษภาคม 56!
    21 พฤษภาคม 2556

    เจ้าหน้าที่ BMS โพสต์กระทู้แจ้งรายชื่อโรงพยาบาลที่จะสิ้นสุดการปลดล๊อค หลังจากที่รอบแรกก็เอาทำวุ่นเพราะอัพเดต HOSxP virsion 3.56.2.10 เป็นต้นไป BMS ได้ล๊อคการเชื่อมต่อรายงานผลแล็บของ LIS  ทำให้แอดมินของโรงพยาบาลแต่ละแห่งที่ใช้ LISและไม่ได้ติดตามข่าวเจอปัญหารายงานผลแล็บ error   จนต้องติดต่อขอรหัสปลดล๊อคกันโดยด่วน แบบงงๆเพราะก่อนหน้านี้รับรู้ และคิดว่าเป็นเรื่องของ HIS กับ LISที่จะต้องพูดคุยกันเอง  จนมาทราบภายหลังว่าการเจรจายังไม่มีความคืบหน้า แต่ BMS ตัดสินใจนำมาตรการล๊อค HOSxPมาใช้ ทำให้โรงพยาบาลถูกนำมาเป็นคนกลางเพื่อต่อรองให้เลือกระหว่าง HIS และ LIS จนบางคนใช้ประโยคที่แรงๆว่า "นี่คือ..การจับโรงพยาบาลเป็นตัวประกัน"

    กลุ่มแอดมินใน HOSxP FB โพสต์ข้อความด้วยความข้องใจต่อ รายงานผลดังกล่าว

    "  ตกลงกดดัน LIS หรือ กดดันโรงพยาบาล "  Nirafeeda Binnima

    "  มาเก็บเงินที่ รพ.เลยดีกว่าไหม๊ แบบนี้ตอนขึ้นระบบก็จ่ายไป 340,000 บาทแล้วจะเพิ่มอีกนิดจะเป็นไรไป แต่ถ้าจ่ายแล้ว ตอนหลังโรงพยาบาลจำเป็นต้องเปลี่ยนบริษัท LIS แล้ว ไม่ขอจ่ายอีกนะ.."
     
    Phichai Kethirun

    "  นี่บริษัทสนับสนุนประชุมวิชาการด้วยซ้ำนะครับ ไม่น่าทำกันแบบนี้เลยนา" .. Pawara Prongjit
    ..................................................................................................................................................................

    ตัวแทนบริษัท LIS ขอชี้แจง
    21 พฤษภาคม 2556

    เมื่อการชี้แจงข้อมูลของ BMS เป็นไปในลักษณะที่ว่าปัญหาต่างๆที่โรงพยาบาลเจอในเรื่องการปลดการเชื่อมต่อของ LIS นั้นเกิดจากการบริษัท LIS ยังหาข้อตกลงเรื่องผู้รับผิดชอบการเชื่อมต่อ LIS กับ BMS Gateway ไม่ได้ แม้ทาง BMS จะช่วยแก้ปัญหาคือการส่งตัวปลดล๊อคชั่วคราวให้โดยยืดอายุให้จนถึง 30 มิถุนายน 56 แต่ข้อสงสัยและข้อข้องใจว่าทำไม LIS จึงยังไม่รีบดำเนินการ จนเกิดเสียงต่อว่าต่อขานในชุมชน HOSxP ด้วยความไม่เข้าใจ ทำให้ตัวแทนบริษัท LIS ต้องขอชี้แจงข้อมูล ซึ่งผมสรุปเนื้อหาและประเด็นที่น่าสนใจได้ดังนี้ครับ
    1. บริษัท LIS ไม่เคยคิดที่จะละเมิดสิทธิ์ฐานข้อมูลของ HOSxP ทุกสิ่งทุกอย่างก่อนหน้านี้บ่งชี้ว่า HOSxP ในขณะนั้นเป็นฟรี Software ฟรีทั้งการสอบถามจาก Admin ของ ร.พ.ก็ได้รับคำตอบว่า Download มาติดตั้งกันเอง แม้แต่ใน Websiteของ HOSxPเองก็ยังสามารถ Download Sourcecode มาศึกษาได้ ซึ่งแสดงความเป็น Opensource ชัดเจน ทางบริษัทจึงเริ่มศึกษา Database ของ HOSxP และพัฒนาตัวเชื่อมต่อหรือ Gateway ขึ้นมา
    2. เมื่อ BMS-HOSxP คิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อ ไม่ได้ดำเนินการไปข้างหน้า แต่ใช้วิธีเรียกเก็บเงินย้อนหลังทั้งหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่แต่ละบริษัทดำเนินการได้ลำบากมากถึงมากที่สุดเพราะเกี่ยวข้องกับเงินจำนวนมาก และกระทบระบบบัญชีรายรับจ่ายของบริษัท เพราะในการทำสัญญาซื้อขาย หรือว่าจ้างกันระหว่างบริษัทน้ำยากับบริษัทที่ทำระบบ LISไม่ได้มีการระบุค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไว้ และการดำเนินการติดตั้งระบบ LIS ตามสัญญาดังกล่าวได้เสร็จสิ้น และมีการชำระเงินกันไปแล้ว แต่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นมา ทำให้ราคาน้ำยาที่เสนอให้โรงพยาบาลไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
    3. เมื่อบริษัทน้ำยาต้องรับภาระต้นทุนมากขึ้น ก็ต้องมีการขอร้องโรงพยาบาลเพื่อปรับราคาอยู่ดี ซึ่งตรงข้ามกับการให้ข้อมูลของ HOSxP ที่พยายามย้ำว่าโรงพยาบาลไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วต้นทุนที่สูงขึ้นก็มาจากการเรียกเก็บเงินของ HOSxP นั่นเอง
    4. ในส่วนของการติดตั้ง Siteงานใหม่ ทางบริษัทน้ำยาไม่ได้มีปัญหาในการชำระเงินให้กับ HOSxP เพราะว่าบริษัทน้ำยารู้ตัวล่วงหน้าว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของ HOSxP และได้ทำราคาน้ำยาเสนอให้โรงพยาบาลตามต้นทุนที่แท้จริงไว้แล้ว
    5. ถ้าการรายงานผลแล็บ มันเชื่อถือไม่ได้จริงๆอย่างที่ HOSxPกล่าวอ้าง ก็คงไม่มีบริษัทน้ำยา หรือห้อง LABที่ไหนกล้าจ้างไปทำงานให้หรือใช้งานโปรแกรมของบริษัท
    ..................................................................................................................................................................
    CEO BMS ชี้แจง
    21 พฤษภาคม 2556

    หลังจากที่เงียบหายไปนานเพราะภาระกิจต่างๆ ในวันนี้อาจารย์ชัยพรได้โพสต์ชี้แจงแก่สมาชิก HOSxP

     " เรื่องปัญหาของ LIS นั้น หลายๆ ท่านก็คงทราบกันดีแล้วว่าทาง BMS มีนโยบายที่จะไม่ให้มีการเชื่อมต่อตรงกับฐานข้อมูลโดยตรง และในแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายนี้ ทาง BMS ก็ได้ดำเนินการประสานงาน ชี้แจง อธิบาย ฯลฯ ทั้งกับ รพ. และบริษัท LIS รวมทั้งบริษัทขายน้ำยา มาได้ประมาณ เกือบ 1 ปีแล้ว ก็ว่าได้นะครับ

    ถึงตอนนี้ วันนี้ ผมก็พอจะได้ผลสรุปรวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหามาช่วยให้สมาชิกช่วยกันหาแนวทางแก้ปัญหาดังนี้ครับ
    1. ในบริษัทที่จำหน่าย LIS และน้ำยา มีหลายบริษัท ที่มีการตื่นตัวและพยายามร่วมมือกับ BMS ในการปรับปรุงระบบให้เข้ากับนโยบายนี้ ซึ่งทราบสามารถดูได้จากรายชื่อของบริษัทที่ทาง BMS ได้แจ้งให้ทราบแล้วว่ามีบริษัทใดบ้าง ซึ่งผมต้องขอขอบคุณทางผู้บริหารของบริษัทต่างๆ ที่เข้าใจปัญหาและเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหา
    2. ถึงแม้ว่าในบางบริษัทที่พัฒนา LIS จะให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบเชื่อมต่อเสร็จแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการปรับปรุงระบบที่โรงพยาบาลได้ เนื่องจาก ใน รพ.นั้นๆ มีบริษัทที่จำหน่ายน้ำยา หลายบริษัท และทางบริษัท LISเองก็ไม่สามารถประสานงานกับบริษัทน้ำยาต่างๆ ได้ ปัญหาในข้อนี้ ทาง BMS ได้คุยกับทางบริษัท LIS แล้วว่าให้ช่วยดำเนินการประสานงานกับบริษัทน้ำยาต่างๆ ว่าทาง BMS จะติดต่อโดยตรงกับบริษัทขายน้ำยาให้เอง เพื่อที่จะได้ข้อสรุปโดยเร็ว
    3. ทั้งข้อ 1 และ 2 นั้นจากที่ทาง BMS ได้ทำการประสานงานกันมา หากทางบริษัท LIS หรือบริษัทจำหน่ายน้ำยา เข้าใจในปัญหา (ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจนะครับ) ก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับทาง BMS อยู่แล้วครับ 
    ปัญหาอยู่ที่กลุ่มที่ไม่สนใจจะแก้ปัญหา คราวนี้ก็ต้องย้อนกลับมาที่ รพ.แล้วละครับ ว่าท่านจะช่วย BMS แก้ปัญหาอย่างไรดี ถึงจะให้การเชื่อมต่อข้อมูลเป็นไปตามแนวทางที่วางเอาไว้ได้ เพราะบริษัทเหล่านี้ไม่ได้สนใจจะแก้ปัญหาให้ท่านแล้ว จากที่ประชุมวิชาการครั้งที่แล้วผมก็มีแนวทางคร่าวๆ ดังนี้ครับ
    1. ให้ รพ. ชะลอการ Upgrade version ใหม่ไปก่อน จนกว่าจะหมดสัญญากับบริษัทที่จำหน่ายน้ำยา หรือหาบริษัทที่จำหน่ายน้ำยาที่สามารถเชื่อมต่อกับ LIS ที่สามารถพัฒนาระบบการเชื่อมต่อแบบใหม่ได้ 
    2. หากสัญญามีระยะเวลานาน จนไม่สามารถรอ Upgrade ได้ อาจจะต้องทำการ Upgrade ไปก่อน แต่ในการดูผล LIS สามารถดูได้จากระบบของ LIS โดยตรง ที่ปกติจะมีระบบให้แพทย์ดู Online ได้อยู่แล้ว ในส่วนของการประสานงานกับบริษัท LIS เรื่องการดำเนินการพัฒนาระบบนั้น มีบาง รพ. ที่บริษัท LIS พัฒนาระบบเสร็จไม่ทัน ทาง BMS เองก็เข้าใจและได้ดำเนินการส่งตัวปลด Lock ผล ชั่วคราวไปให้กับ รพ. ที่ทางบริษัท LIS กำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งในกลุ่มนี่ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ เพราะพอพัฒนาเสร็จแล้ว วางแผนการ Upgradeระบบชัด ก็สามารถดำเนินการติดตั้งได้เลย นั่นเป็นแนวทางที่ทาง BMS ได้วางเอาไว้ โดยภาระทั้งหมดจะอยู่บริษัท LIS หรือบริษัทจำหน่ายน้ำยา ตามที่ BMS ได้รับปากเอาไว้ว่าจะดำเนินการโดยให้มีผลกระทบกับ รพ. ให้น้อยที่สุดในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แต่ยังมี รพ. อีกกลุ่มที่มีอยากจะช่วย BMS แก้ไขปัญหาให้เสร็จไปเร็วๆ ด้วยการช่วย Support ค่าใช้จ่ายแทนบริษัท LIS หรือ บริษัทน้ำยา เอง ซึ่งผมก็ขอขอบคุณทาง รพ.เช่นเดียวกันครับ แต่ ผมแค่อยากจะให้ทาง รพ. ทราบว่าเราไม่อยากเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้กับทาง รพ. โดยตรงเอง 
     มาถึงตรงนี้ ผมเองก็จนปัญญาแล้วเหมือนกันว่าจะช่วย รพ. ในกลุ่มที่มีปัญหา ได้อย่างไรในการเปลี่ยนผ่านระบบ เพราะถ้า รพ. อยู่เฉยๆ บริษัทน้ำยาอยู่เฉยๆ ทาง BMS ก็คงจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาอะไรให้ไม่ได้ เรามีหน้าที่พัฒนาระบบให้ทันสมัย มีความปลอดภัย และน่าเชื่อถือ หากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความร่วมมือ ระบบก็คงจะไม่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้จริงไหมครับ ถ้าทาง รพ. ไม่มีปัญหากับการยึดติดกับบริษัทจำหน่ายน้ำยา ว่าจะต้องเป็นบริษัทที่ท่านรู้จักเท่านั้น และอยากจะเปลี่ยนบริษัทใหม่ จะให้ BMS ช่วยประสานงานหาบริษัทน้ำยามาแทนบริษัทเดิมเราก็ช่วยทำให้ได้นะครับ

    สรุปประเด็นสำคัญ จากคำชี้แจงของของ อ.ชัยพร คือ
    กลุ่มที่ 1 บริษัท LIS ที่ได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว กลุ่มนี้โรงพยาบาลคงไม่มีปัญหาแน่นอน
    กลุ่มที่ 2 บริษัท LIS ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบ BMS ได้ส่งตัวปลดล๊อคผลชั่วคราวไปให้สำหรับโรงพยาบาลที่เป็นลูกค้าของ LIS ในกลุ่มนี้  เมื่อพัฒนาระบบเสร็จ ติดตั้งก็พร้อมใช้งานได้ตามปกติ
    กลุ่มที่ 3 บริษัท LIS หรือ บริษัทน้ำยา ที่ไม่สนใจให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหา

    **ข้อมูลล่าสุดเท่าที่ผมทราบ บริษัทน้ำยายินยอมที่จ่ายเงินให้กับ BMSแล้ว เพื่อไม่ให้โรงพยาบาลเดือดร้อนไปมากกว่านี้และโดนต่อว่า (หรืออาจจะโดนไปเปลี่ยนเครื่องไปใช้บริษัทอื่นที่ BMSเสนอ) แต่ปัญหาของแต่ละบริษัทก็คือ ยอดเงินจำนวนมากที่จะต้องนำมาจ่าย แม้ตอนนี้จ่ายได้แต่ต่อไปทางบริษัทน้ำยาคงต้องบวกราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นกับโรงพยาบาลอยู่ดี

    กลุ่มคนที่ควรมาจับเข่าคุยกันต่อ คือ  
    • BMS HOSxP
    • บริษัท LIS
    • บริษัท น้ำยา
    • โรงพยาบาล
    ทั้งหมดคงต้องช่วยกันหาทางออกร่วมกันแล้วละครับ เพราะข้อมูลทั้งหมดคงทำให้เราได้เห็นภาพป่าทั้งป่ากันบ้างแล้ว ใครมีอะไรอยากเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ส่งอีเมล์มาแลกเปลี่ยนกับผมได้นะครับที่ decha015@gmail.com


    อ่านต่อตอนที่ 4

    วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

    HIS&LIS :ถ้าอยากมองเห็นป่าทั้งป่า อย่ามองผ่านแมกไม้ ตอนที่ 2

    BMS -HOSxP Maintenance Package
    มิถุนายน 2009

    BMS-HOSxP ได้ประชาสัมพันธ์การบริการ Maintenance Package ซึ่งเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยให้ BMS มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกจากค่าจัดบริการขึ้นระบบ การฝึกอบรม และการจำหน่ายแพจเกจเสริมต่างๆ โดยมีรายละเอียดการบริการในแพคเกจต่าง ดังนี้
    บริการหลัก (มีทุก Package)
    - บริการตอบคำถามการใช้งาน HOSxP (Call Center พิเศษเฉพาะลูกค้า Maintenance)
    - บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการใช้งาน (ทางไกล - Remote support)
    - บริการกู้คืนข้อมูล (กรณีระบบมีปัญหา)
    - บริการตรวจสอบและติดตั้ง Linux / MySQL Server (ตอน Upgrade HOsxP)
    - บริการ Upgrade verson HOSxP เป็นรุ่นใหม่ (ตามช่วงเวลาใน Package)  และตรวจสอบค่าการทำงาน
    - บริการติดตั้งระบบ Replication (Stand by slave / Report server)
    - บริการตรวจสอบระบบส่งออกข้อมูล 12 แฟ้ม/18 แฟ้ม/Text file สกส.
    - บริการสร้างรายงานตามคำขอ (จำกัดจำนวน ตาม Package)


    ไม่รู้ว่าเป็นเพราะบริการที่ไม่โดนตา หรือราคาที่ไม่โดนใจ Maintenance Package บริการใหม่ที่ถูกเข็นออกมาเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับ BMS-HOSxP ไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกเท่าที่ควร สาเหตุสำคัญที่ BMS ต้องยอมรับว่า คือ ความสามารถบุคลากรของ BMS ที่ช่วยตอบปัญหา หรือออกมาให้บริการขาดประสบการณ์และความเข้าใจในการทำงานกับโรงพยาบาลทำให้ไม่สามารถช่วยตอบปัญหาหรือแก้ไขได้ตรงจุด บวกกับราคาค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียไปที่ประเมินดูแล้วเหมือนจะได้ไม่คุ้มเสีย..

    ..................................................................................................................................................................

    BMS -HOSxP Activate จุดเปลี่ยน?

    ก่อนหน้าที่จะมีการคิดค่า Activate อาจารย์ชัยพรได้ขอความเห็นจากทางสมาชิกในบอร์ดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า HOSxP ยังต้องการพัฒนาไปต่อเพื่อรองรับระบบงานใหม่ๆ และถึงเวลาแล้วที่ทุกคนควรช่วยสนับสนุน ไม่ควรให้ อ.ชัยพร และ BMS ต้องมาแบกรับภาระกันตามลำพัง

    กราบเรียนผู้อำนวยการ ผู้รับผิดชอบ IT และผู้ใช้งานระบบบริหารงานโรงพยาบาล HOSxP ทุกท่าน
    10 ปีที่ผ่านมานั้นทาง BMS ได้พัฒนา HOSxP ในรูปแบบของ Free Software ซึ่งไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายใดๆ กับผู้ที่ใช้งาน  เราพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะคงนโยบายนี้เอาไว้ แต่ด้วยรูปแบบการบริหารจัดการในปัจจุบันที่อยู่ในรูปของบริษัท ที่ไม่ได้ขอสนับสนุนเงินทุนจากหน่วยงานใดๆ  ทำให้ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในตอนนี้เมื่อเทียบกับ 10ปีที่แล้วเพิ่มขึ้นมากหลายเท่าตัว  ที่ผ่านมานั้นเราพยายามหาวิธีที่จะคงไว้ซึ่งความเป็น Free software หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ Maintenance Package แบบไม่บังคับ แต่ก็แทบจะไม่ได้รับการตอบรับเลย หลังจากที่ได้ระดมความคิดจากผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบผ่าน Web Board ของ HOSxP.Net เราจึงตัดสินใจที่จะต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายในการพัฒนาใหม่ นั้นคือ เราจำเป็นต้องคิดค่าบริการเพื่อนำมาใช้ในการสนับสนุนการพัฒนาระบบงานต่างๆ ใน HOSxP  โดยวิธีชำระค่าบริการนี้ มีอยู่ 3 แบบคือ ชำระเป็นรายเดือน ราย 6 เดือน และราย ปี โดยในการชำระเป็นรายปีแต่ละเดือนจะมีค่าใช้จ่ายเพียงประมาณเดือนละ 1,500 บาท
    ซึ่งผมอยากให้ท่านคิดว่านี่เป็นการช่วยสนับสนุนทีมพัฒนาของ BMS ให้พัฒนาระบบต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้งเช่นเดิม  นโยบายใหม่นี้จะเริ่มใช้ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป และท่านสามารถทดสอบระบบการ Activation นี้ได้ใน HOSxP รุ่น 3.55.8.15 เป็นต้นไปโดยยังไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายใดๆ จนกว่าจะถึงเดือนตุลาคม 2555 ครับ  การ Activation นี้จะมีเฉพาะใน HOSxP ครับ ไม่รวมไปถึง HOSxP-PCU ที่ยังใช้รูปแบบการพัฒนาแบบ Free Software เช่นเดิมครับ และสำหรับหน่วยงานที่ยังไม่พร้อมที่จะช่วยสนับสนุนค่าบริการนั้น ก็ยังสามารถใช้ HOSxP รุ่น 3.55.8.14 ต่อไปได้ โดยไม่จำเป็นต้อง Activate โปรแกรมก่อนครับ
    สุดท้ายผมต้องกราบขออภัยที่จำเป็นต้องคิดค่าบริการนี้เพิ่มขึ้นมา และผมหวังว่าจะได้รับการพิจารณาจากท่านครับ

    HOSxP รุ่น 3.55.8.14 คือ เวอร์ชั่นสุดท้ายสำหรับการใช้งานฟรี โดยที่ไม่ต้อง Activate 

    .................................................................................................................................

    สิ้นสุดยุคสมัยของ HOSxP Free Software

    HOSxP Version 3.55.8.14 คือ เวอร์ชั่นสุดท้ายที่สามารถนำไปใช้ได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่า activate ซึ่งแน่นอนครับว่าด้วยราคาเฉลี่ยเพียงเดือนละพันกว่าบาท ถูกว่าค่าอินเตอร์เนตบางแพคเกจเสียอีก และเพื่อให้รองรับระบบงานใหม่ รวมถึงการส่งออก 43+7 แฟ้ม ที่จะเริ่มใช้กัน ทำให้โรงพยาบาลต่างๆแม้จะลังเลใจและมีเสียงสะท้อนออกมาจากผู้บริหารบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ยินดีให้การสนับสนุน

    ค่า Activate หรือที่พวกเราตีความกันว่าเป็นค่าพัฒนาโปรแกรม HOSxP หลังจากที่ลงทะเบียนเพื่อขอรหัสในการใช้งาน HOSxP เวอร์ชั่นใหม่ได้ ช่วงแรก BMS ออกเพจเกจค่า activate มีแบบรายหกเดือน และรายปี ซึ่งทาง BMS คงอยากให้เป็นทางเลือก แต่สุดท้ายโรงพยาบาลส่วนส่วนใหญ่เลือกที่จะบริการเป็นแพคเกจรายปี



    ในช่วงแรกปีแรกของการ Activate มีรอยร้าวเล็กๆ ที่เกิดขึ้นจาการบริหารของ BMS ที่ขาดความยืดหยุ่น เพราะแต่ละโรงพยาบาลเจอปัญหาเมื่อนำเรื่องการActivateไปนำเสนอผู้บริหารเรียบร้อย หลังจากได้รับการอนุมัติ แต่ฝ่ายพัสดุที่ทำหน้าที่ในการจัดซื้อยังงงๆ ว่าจะหาระเบียบตัวไหนมา รองรับตามสไตล์การบริหารของระบบข้าราชการ แม้บางหน่วยงานที่ได้ดำเนินติดต่อและอยู่ในระหว่างดำเนินการเอกสารแต่ถ้ายังติดขัดเรื่องการชำระเงิน ก็ถูกตัดสิทธิ์ให้หมดอายุโดย BMS ให้เหตุผลว่าเป็นนโยบายการบริหารของบริษัท 

    หลายโรงพยาบาล ผู้รับผิดชอบต้องหายืมเงินอื่นๆมาสำรองจ่ายกันไปก่อนเพื่อให้ Activate ได้ ทั้งๆที่ทุกโรงพยาบาลยินยอมพร้อมที่จะจ่าย แต่ด้วยเหตุที่ติดขัดกับระเบียบทางราชการ ปัญหาตรงนี้ กลายเป็นประเด็นที่สร้างความคลางแคลงใจของสมาชิกต่อ BMS-HOSxP ว่าทำไมถึงวางนโยบายที่แข็งกร้าวกับโรงพยาบาลที่ยังชำระเงินไม่เรียบร้อย ทั้งๆที่การตกลงบริการก็ยืนยันว่ายินดีจ่ายแน่ๆเพียงแต่เรื่องของเอกสารก็อยู่ในระหว่างดำเนิน ก่อนหน้าจะ Activate BMS-HOSxP ก็ให้ปล่อยให้ดาวโหลดมาใช้ฟรีๆตั้ง 10 ปี เรื่องแค่นี้น่าจะรอและยีดหยุ่นได้ ซึ่งในปีแรกของการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการดำเนินงานอาจจะมีปัญหาบ้าง แต่ถ้าหากเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างผ่านในปีต่อๆไปก็คงไม่มีปัญหามากนัก.. 

    ............................................................................................................................................................
    Activate ค่าพัฒนานะจ๊ะ ไม่ใช่ค่าดูแล

    หลังจากที่จบลงด้วยดีกับการร่วมกันหาทางออกในการสนับสนุน BMS-HOSxP ด้วยการร่วมจ่ายเป็นค่า Activate แต่อย่างไรก็ดี มีข้อเท็จจริงที่จะต้องทำความเข้าใจ นั่นคือโรงพยาบาลที่ขอ Activate ทั้งหมดไม่ใช่โรงพยาบาลที่ขึ้นระบบและดูแลโดยบริษัท BMS  ดังนั้นโรงพยาบาลที่ขึ้นระบบเองและไม่ได้ซื้อแพคเกจ Maintenance จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขบริการดูแลหลังการขาย  และเท่าที่ทราบทาง BMS ก็มิได้มีสัญญารับผิดชอบการใช้งานหรือการทำงานของโปรแกรมแต่อย่างใด การดำเนินงานของทุกโรงพยาบาลที่ขึ้นระบบเองยังเหมือนเดิม รวมถึงการพัฒนาระบบงานอื่นๆที่เชื่อมต่อกับ HOSxP จนกระทั่งมีเรื่องของ LIS เข้ามาเกี่ยวข้อง

    ............................................................................................................................................................

    นโยบายการเชื่อมต่อ LIS ใน HOSxP 3.55.9x 
    3 กันยายน 2012 

    นื่องจากที่ผ่านมานั้นการเชื่อมต่อผล Lab กับระบบ LIS นั้นทาง BMS ไม่ได้มีการปิดกั้นใดๆ โดยเราก็ได้แต่หวังว่าบริษัท LIS จะให้ความร่วมมือในการเชื่อมต่อผ่านตัว LIS Gateway ที่ทาง BMS ได้พัฒนาขึ้นมา แต่ปัจจุบันนี้มีบริษัท LIS อยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่เชื่อมต่อผ่าน LIS Gateway และกลุ่มที่เชื่อมต่อโดยตรงผ่าน Database ซึ่งตอนนี้มีปัญหาก็คือ
    ระบบ LIS Gateway ที่ทาง BMS พัฒนาไว้รองรับการเชื่อมต่อกับ LIS นั้นเป็นแบบไม่บังคับ นั่นก็คือถ้าผมเป็นบริษัท LIS แล้วไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อผ่าน Gateway ผมก็คงไม่อยากจะเชื่อมต่อผ่าน Gateway นะครับ เพราะว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ว่าทำไมต้องเชื่อมต่อผ่าน Gateway เนื่องจากในการเชื่อมต่อนั้นเราจะต้องทำการ Mapping รหัสของ Lab items แต่ละตัวให้ตรงกันกับ LIS แต่ละบริษัท และตอนนี้ในบาง รพ. ได้เชื่อมต่อกับ LIS หลายระบบ ทำให้หากไม่ได้มีการตกลงเรื่องของรหัสที่เชื่อมต่อให้ดี ก็จะมีปัญหาการอ่านผลที่ผิดพลาดเกิดขึ้น จากการส่งผล Lab รหัสเดียวกันจากระบบ LIS หลายระบบ  

    เพื่อแก้ปัญหานี้ ผมจึงต้องเปลี่ยนนโยบายในการเชื่อมต่อกับ LIS ใหม่ครับ คือบังคับให้เชื่อมต่อผ่าน BMS-LIS Gateway ทุกบริษัท เนื่องจากปัญหานี้มีผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลในระบบเป็นอย่างมาก โดยใน HOSxP 3.55.9.x เป็นต้นไปจะมีการตรวจสอบ key ของ record (ในตาราง lab_order.check_key) ว่าถูกบันทึกจาก HOSxP หรือจากตัว Gateway หรือไม่ ถ้ามีค่าที่ไม่ถูกต้องโปรแกรมจะถือว่าเป็นผล Lab ที่ไม่ถูกต้องนะครับ 

    ฝาก รพ. ที่ได้เชื่อมต่อกับ LIS โดยไม่ผ่านตัว Gateway ให้แจ้ง บริษัท LIS ให้ติดต่อไปที่ BMS เพื่อทำการเชื่อมต่อกับระบบ LIS Gateway ด้วยนะครับ

    หลังจากการระบบ Activate เริ่มต้นไม่นาน แอดมินหลายท่านกำลังสบายใจที่ BMS-HOSxP ได้รับการค่า activate จากโรงพยาบาลต่างๆเป็นค่าสนับสนุนในการพัฒนา แม้ว่าช่วงแรกจะมีเสียงสะท้อนจากฝั่งผู้บริหาร หรือคนที่ยังไม่เข้าใจอยู่บ้าง แต่เมื่อทุกคนได้พยายามช่วยกันชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงประกอบกับตัวเลขค่าใช้จ่ายสำหรับค่า Activate รายปีที่ไม่ถึงสองหมื่นบาทต่อปี ซึ่งถือว่าน้อยมากถ้าจะเปรียบกับการจ้างโปรแกรมเมอร์ในการพัฒนาโปรแกรมสักคน

    แต่เรื่องค่า activate ยังไม่ทันจางหาย BMS-HOSxP ได้เปิดประเด็นใหม่เกี่ยวกับการเชื่อมของ LIS  การรับรู้ในช่วงแรกได้รับการอธิบายว่าเป็นเรื่องระหว่าง HIS & LIS ที่ต้องพูดคุยกัน ไม่ใช่ปัญหาของโรงพยาบาล แต่เมื่อการเจรจายังไม่ได้รับการตอบสนองจาก LIS การใช้นโยบายล๊อคการเชื่อมต่อทำให้โรงพยาบาลต่างๆพบปัญหาการรายงานผลแล็บ จนต้องติดต่อขอรหัสปลดล๊อคชั่วคราวจาก BMS กลายเป็นประเด็นร้อนเรื่องใหม่ ที่สร้างความสงสัยว่า "ทำไม?"

    แอดมินหลายๆท่านที่ยังไม่รู้และไม่เข้าใจในเรื่อง LIS มาก่อน ต้องเหลียวหลังหันกลับมามองเรื่องนี้แบบ 360 องศาและต้องติดตามให้ความสนใจ เพราะมีผลกระทบต่อบริการของโรงพยาบาลเต็มๆ

    ตอนนี้เผือกร้อนได้เข้ามาอยู่ในมือผมเรียบร้อยแล้ว

    อาจารย์ชัยพรได้ให้เหตุผลว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของความถูกต้องของข้อมูลที่สำคัญและได้เคยแจ้งให้กับบริษัท LIS รับทราบมานานแล้ว (แต่โรงพยาบาลไม่ยักทราบด้วย ทั้งๆที่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็คือต้นทุนที่ LIS ต้องไปบวกเพิ่มกับบริษัทน้ำยาหรือโรงพยาบาลต่างๆ อยู่ดี)

    คุณหมออนุกูลได้ตั้งประเด็นคำถามต่อเรื่องนี้ไว้ในบอร์ดของ HOSxP ไว้อย่างน่าสนใจว่า
    1. ทำไม BMS-HOSxP ถึงมาบังคับในตอนนี้ "เป็นเพราะเหตุผลเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่เกิดจาก LIS หลายเจ้าหรือ mapping ไม่ถูกต้องหรือชนกัน " ถ้ามีปัญหาและสำคัญจริงๆ (อย่างที่กล่าวอ้าง) น่าจะได้รับคำชี้แจงแล้วแก้ไขมาก่อนหน้านี้ แต่กลับถูกละเลยให้แต่ละโรงพยาบาลใช้ระบบ LIS โดยไม่ได้รับทราบการทักท้วงจากฝั่งของ BMS มาก่อน

      อาจารย์ชัยพรให้ได้คำตอบในเรื่องนี้ว่า เพราะมีกรณีที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นครับ คือ รพ. ใช้ LIS 2 บริษัท แล้วไม่มีใครมารับผิดชอบกับปัญหาที่ข้อมูลมันไม่ถูกต้องจากการ Mapping รหัสในระบบของตัวเองที่ไปชนกันกับของอีกบริษัท  มันทำให้เราต้องมาทบทวนกันใหม่ครับว่า เราจะปล่อยให้มันเป็นปัญหาแบบนี้อีกหรือไม่ ตอนนี้ LIS ในประเทศไทย ผมคิดว่ามีเกิน 10 บริษัท แล้วในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ที่ 1 รพ. จะใช้ LIS มากกว่า 1 ระบบ แน่นอนว่ามันต้องเกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นอีก 
    2.   "BMS ประสบปัญหาเรื่องรายรับ รายจ่าย ไม่สามารถรับมือได้ หรือไม่สามารถรันงานที่ดีมีคุณภาพได้ตามที่ควรจะเป็น เนื่องจากมีรายจ่ายมากขึ้น รายรับจากการขึ้นระบบลดลง ใช่หรือไม่" ? คำถามคุณหมออนุกูลในประเด็นนี้ ผมคิดว่าตรงใจใครหลายคน

      อาจารย์ชัยพรได้ให้ตอบไว้ว่า  "ปัญหาของ LIS นั้นเป็นคนละเร่ื่องกับการคิดค่าบริการ Activation package เลยครับ ถ้าถามว่าตอนนี้ BMS มีปัญหาเรื่องรายรับมากหรือไม่ ผมขอตอบตรงๆว่ายังไม่ถึงจุดที่ต้องมาไล่เก็บค่าเชื่อมต่อ LIS ครับ"
      "ประเด็นของ LIS นี้ปัญหาอยู่ที่ระบบการเชื่อมต่อข้อมูลกันอย่างเดียวเลยครับ ที่ผ่านมาผมไม่บังคับแล้วก็ไม่อยากบังคับด้วยครับ ผมขอความสมัครใจจากบริษัท LIS แต่สุดท้ายก็มีไม่กี่บริษัทที่ให้ความร่วมือ ก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ แต่พอมามีปัญหาแบบนี้ผมเลยเข้าใจเลยว่าเราคงต้องบังคับแล้ว มันถึงเวลาที่ต้องจัดระบบระเบียบการเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันแล้ว" 

      การที่บริษัท LIS อ้างว่าเราคิดค่าเชื่อมต่อใหม่ทุกปีนั้น ที่ผ่านมาเราไม่เคยทำนะครับ ลองถามบริษัทที่เคยเชื่อมต่อกับ BMS มาแล้วก็ได้ เราคิดเฉพาะกรณีการติดตั้งระบบให้กับ รพ. ในครั้งแรกเท่านั้น และเราก็มีการเจรจากับบริษัท LIS ถึงเงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่ายอยู่แล้วครับ

      " ดังนั้นหากบริษัท LIS อ้างว่าต้องเก็บเงินจากรพ. ไปจ่ายให้กับ BMS ปีละ 100,000 ทุกปีนั้น ถือว่าไม่จริงครับ คงเป็นข้ออ้างที่ไม่อยากมาเชื่อมต่อกันในแบบที่มันถูกต้องมากกว่า  ส่วนรายละเอียดต่างๆ ที่เราคิดเอาไว้กับ LIS ผมจะนำมาไว้ใน hosxp.net ให้นะครับ "

      " ตอนนี้มีหลายบริษัทที่เชื่อมต่อข้อมูล LIS ผ่านทาง BMS-LIS Gateway ก็ไม่มีปัญหาอะไรนะครับ ผมก็เลยคิดว่าปัญหาก็คือ บริษัทเหล่านี้ไม่อยากเชื่อมหรืออยากได้กำไรมากขึ้น เพราะยังไงผมก็คิดว่าเค้าคิดค่าเชื่อมต่อเผื่อเอาไว้ในราคาที่คิดกับโรงพยาบาลเอาไว้แล้วนะครับ "



    คุณหมออนุกูล ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ในประเด็นคำถาม 2 ข้อ ดังกล่าวไว้ดังนี้


    ถ้าเป็นกรณีแรก คิดว่า น่าจะทำเป็นหนังสือแจ้งทุกรพ. ว่า การเชื่อมต่อของ LIS  กับ HOSxP อาจเกิดปัญหาเรื่องความถูกต้องของข้อมูลทั้งหลาย ถ้ารพ.คิดว่า อยากแก้ปัญหานี้ ให้ติดต่อ ตามที่ทางบริษัทเสนอ  แต่ถ้ารพ.คิดว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ หรือแก้ไขเองได้ หรือคิดว่า ไม่คุ้มค่า ก็ต้องยอมรับผล เพราะทางบริษัทได้แจ้งให้ทราบแล้ว น่าจะพ้นจากความรับผิดชอบ (ความผิดน่าจะตกกับ LIS แทน)  น่าจะตรงประเด็น ชัดเจนกว่า การบังคับแบบนี้


    ถ้าเป็นกรณีที่สอง คิดว่าน่าจะแยกกลุ่มรพ. ตามขนาดครับ เช่น
    ... รพช. ผมเสนอว่า ไม่น่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายการเชื่อมต่อ เพราะก่อนหน้านี้ LIS มีราคาแพงมาก (แพงกว่า HIS อีก) แต่ระยะหลังมานี้ มีการพัฒนามากขึ้นทำให้ราคาลดลง จนทำให้ รพช.สามารถ (มีโอกาส) ได้ใช้งาน LIS บ้าง ถึงแม้จะเป็นตัว stand alone ก็ยังดี เพราะอย่างที่ทราบว่า ความถูกต้องของผล lab มากกว่าการลงข้อมูลเองในโปรแกรม (สามารถลด human error) แต่ตอนนี้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ผมเสียดายโอกาสที่ดีของรพช.ครับ
    ... รพท.หรือรพศ. เห็นด้วยครับที่จะมีการเรียกเก็บค่าเชื่อมต่อ เพราะ ความสามารถในการต่อรองกับบริษัทน้ำยา มีมากกว่า รพช.ครับ 

    เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับรพ.ครับ เพราะตอนนี้ผมเป็นห่วง ภาพของ HOSxP ในสายตาของผู้บริหารรพ.ครับ  และผมสงสาร admin ของแต่ละรพ.ที่บางแห่งต้องเป็นคนคอยตอบคำถามของผู้บริหาร สองเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกันครับ 
    anukul (ที่มา http://hosxp.net/smf/index.php?topic=27403.msg229349#msg229349 )

    อาจารย์ชัยพรได้ตอบชี้แจงต่อข้อเสนอของคุณหมออนุกูลว่า

    ปัญหามันอยู่ที่ข้อมูลของ LIS ถูกส่งเข้ามาในระบบ HOSxP โดยตรงนะครับ นี่เป็นเรื่องที่ผมกังวลอยู่ตอนนี้ ถ้า LIS จะมี Database ของตัวเองแล้วทำเป็น Web server เหมือนกับระบบ PACs ผมก็คงจะไม่คิดมากแบบนี้  แล้วมันเป็นปัญหาที่ผมแก้ไม่ได้ด้วยน่ะซิครับ ถ้าเป็นปัญหาจากระบบของ HOSxP เอง ยังไงผมก็หาทางแก้ไขให้จนได้ แต่พอที่มาของปัญหาเกิดจากระบบที่เราไม่ได้พัฒนาเอง มันก็ทำให้เราไม่สามารถไปรับประกันอะไรได้นะครับ 

    ตอนนี้มี 1 แห่งที่ไม่ตรวจรับงาน เพราะปัญหานี้  ผมลองให้เจ้าหน้าที่ติดต่อไปยังบริษัทที่มีปัญหาแล้ว ก็ไม่ได้รับการสนใจในการแก้ปัญหาแต่อย่างใด จนผมต้องตัดใจสรุปว่า ถ้ามาเชื่อมต่อตรงๆ แล้วทำให้ระบบมีปัญหา ก็อย่าเข้ามาเลยจะดีกว่า

    ส่วนเรื่องของราคานั้นผมคิดว่ามันเจรจาต่อรองกันได้ตามความเหมาะสมนะครับ และไม่ควรที่จะมีผลกระทบกับ รพ. มาก แต่ประเด็นก็คือ บริษัท LIS จะมีความจริงใจในการแก้ปัญหานี้หรือเปล่านะครับ

    ส่วนเรื่องของคุณภาพงานนั้น ตอนนี้ผมคิดว่าเราเป็นบริษัทที่ ซีเรียส เรื่องนี้มากๆ เลยครับ  ผมหาทุกวิถีทางที่จะทำให้คุณภาพงานอยู่ในขั้นดี ในทุกโครงการที่ BMS เข้าไปรับผิดชอบ แต่การสร้างคนนั้นบางครั้งมันก็ต้องใช้เวลาครับ และทุกโครงการนั้นมีทีมบริหารคอยกำกับอยู่โดยตลอดครับ

    ...............................................................................................................................................................


    ทางเลือก หรือทางออก

    "ผมคิดว่ามันคงจะไม่เป็นแบบนั้นนะครับ อย่างแย่สุดก็คือ รพ. จะ Upgrade HOSxP ไม่ได้และก็คงต้องเลือกครับ ว่าจะเปลี่ยน HIS หรือจะเปลี่ยน LIS  แต่ไม่ว่าอย่างไหน ก็แย่ทั้งนั้น"

    " แต่ประเด็นก็คือผมไม่คิดว่าตอนนี้ BMS จะเอาเปรียบ LIS จนถึงขั้นที่ LIS จะไม่ยอมเข้ามาคุยนะครับ ผมอยากแก้ปัญหานี้กับ LIS มากกว่าครับ ลองคิดดูนะครับว่าในบรรดา HIS ทั้งหมด BMS เป็นบริษัทที่คิดค่าพัฒนาระบบเชื่อมต่อกับ LIS ถูกที่สุด .... อ.ชัยพร

    ...............................................................................................................................................................

    บังคับเพื่อความเสมอภาค?


    เรื่อง การบังคับหรือไม่บังคับนั้น ผมมีแนวคิดแบบนี้ครับคือ ปัญหานี้เป็นเรื่องระหว่าง HIS กับ LIS ไม่ใช่ HIS กับ รพ.  ผมถึงระบุชัดว่าความเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่าง HIS กับ LIS ที่ต้องมาแก้ปัญหานี้ร่วมกัน ไม่ใช่ปล่อยให้ LIS ไปแก้ปัญหากันเอง และก็มีความเป็นไปได้สูงที่ LIS จะไม่ยอมคุยกัน เพราะ.......    และมันก็เกิดขึ้นมาแล้ว

    ถ้า HIS ไม่ได้เป็นผู้แก้ไขปัญหานี้ให้ มันก็จะคาราคาซังแบบนี้ไปเรื่อยๆ ผมถึงยอมถูกโดนตำหนิอีกครั้ง ในการบังคับการเชื่อมต่อผ่าน Gateway 

    ในเรื่องของการยกความรับผิดชอบไปให้กับ LIS เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ต้องถามต่อว่าแล้วจะยอมให้เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นต่อไปอีกได้หรือ ผมคิดว่าตราบใด รพ. ที่ยังใช้ HIS ชื่อ HOSxP เราไม่มีทางทีจะยอมให้ปัญหามันเกิดขึ้นได้อีกถ้ารู้ว่ามันเคยเกิดขึ้นมาแล้ว  และถ้าทุกครั้งที่มีปัญหาและต้องมีชื่อ HOSxP ติดมาด้วยทุกครั้ง ผมก็ยอมไม่ได้เหมือนกันครับ  ผมใช้แนวคิดแบบนี้ในการแก้ปัญหามาโดยตลอด

    ประเด็นถัดมาก็คือ มี LIS ที่เชื่อมต่อกับ HOSxP 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่เชื่อมต่อเอง และ กลุ่มที่เชื่อมต่อผ่าน Gateway  ผมต้องถามว่าแล้วทำไม กลุ่มหลังยังสามารถทำงานและดำเนินกิจการอยู่ได้ทั้งๆ ที่มีต้นทุนสูงกว่ากลุ่มแรก และแน่นอนว่ากลุ่มหลังต้องเสียเปรียบกลุ่มแรกแน่ๆ เพราะมีต้นทุนมากกว่า โอกาสแข่งขันทางด้านราคาก็ลดลงด้วยเช่นกัน สุดท้ายแล้วก็คงไม่มีบริษัทไหน อยากมาเชื่อมต่อผ่าน Gateway นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผมต้องบังคับ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกัน

    รายงานการประชุม HOSxP_Attachment_รายงานการประชุม LIS วันที่ 20 ธ.ค. 54.(19-1-55).pdf
    ...............................................................................................................................

    ประเด็นที่น่าสนใจ คือ หากเป็นประเด็นปัญหาเรื่องความถูกต้องอย่างเดียว ไม่ใช่เรื่องค่าใช้จ่ายอย่างที่อาจารย์ชัยพรชี้แจง ทำไม BMS ไม่เลือกทางออกที่คุณหมออนุกูลเสนอเพราะ รพ.ที่ไม่ได้ขึ้นระบบหรือซื้อบริการแพคเกคจาก BMS ก็ย่อมไม่ได้รับการประกันคุณภาพตรงนี้อยู่แล้ว เป็นปัญหาที่ LIS และโรงพยาบาลนั้นจะต้องไปหาทางแก้ไขกันเอง (ซึ่งทุกวันนี้ก็ทำแบบนี้)

    ส่วนประเด็นเรื่องความเสมอภาค ก็ยังไม่ชัดเจนว่า ในเมื่ออีกบริษัทหนึ่งได้ติดต่อและเสียค่าเชื่อมระบบกับ BMS ถูกต้อง ก็ย่อมได้รับประกันคุณภาพบริการ แต่บริษัท LIS ที่ไม่ได้เชื่อมต่อข้อมูลโดยตรงก็ต้องรับผิดชอบผลงานของตัวเอง เพราะทุกวันนี้ก็มีทั้งโรงพยาบาลที่ขึ้นระบบเอง และขึ้นระบบกับ BMS ซึ่งต่างคนก็เข้าใจว่าตนเองมีสิทธิแค่ไหนในการขอรับประกันคุณภาพบริการจาก BMS  

    หรือเป็นเพราะว่าหากไม่บังคับการเชื่่อมต่อ ก็จะทำให้บริษัท LIS ที่เคยต้องจ่ายค่าเชื่อมต่อหันไปใช้วิธีที่ไม่ต้องเสียเงินกับ BMS แทน (เพราะจะได้เสมอภาคกับบริษัท LIS ที่ไม่จ่ายเงิน) ก็เท่ากับว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้รายได้ของ BMSหายไป แต่ถ้าบังคับใช้เพื่อความเสมอภาค ได้ทั้งความถูกต้องของข้อมูล ความน่าเชื่อถือของ BMS-HOSxP อีกทั้งเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติทางธุรกิจ และรายได้ที่จะเพิ่มมากขึ้นจากคู่ค้าทางธุรกิจด้วยกัน.. ถ้าว่ากันตามสมมุตฐานโรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังใช้ HOSxP ไม่มี HIS ทางเลือกตัวอื่นที่ดีกว่า  นั่นก็หมายความว่ามาตรการนี้ คือรายได้ที่จะได้เพิ่มขึ้นจาก LIS หรือบริษัทน้ำยาที่จะเป็นคู่ค้ากันอย่างแน่นอนและอีกนาน เพราะลำพังแค่ค่าบริการขึ้นระบบให้กับโรงพยาบาลต่างเริ่มอิ่มตัวแล้ว ค่าฝึกอบรมหรือค่าบำรุงรักษาระบบก็ใช่รายได้หลักที่แน่นอน แม้จะได้ค่า Activate ที่เพิ่มขึ้นมา แต่ก็ไม่ใช่เงินจำนวนมากที่จะเพียงพอต่อการบริหารจัดการและดูแลลูกน้องในบริษัทในระยะยาว

    ยอมรับตามตรงครับว่า 10 ปีที่ผ่านมา ผมเองไม่รู้เหมือนกันว่าอาจารย์ชัยพรและทีมงาน BMS อยู่กันได้อย่างไรถ้าหากว่ารายได้ไม่ใช่ตัวปัญหา แต่ก็นั่นแหละครับ อาจจะเป็นวิสัยทัศน์ของผู้พัฒนาที่อยากผลักดันให้ BMS-HOSxP เป็น Software ตามมาตรฐานสากล การเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมาอาจจะดูเป็นเรื่องที่ตัดสินใจยาก บางครั้งต้องยอมทนโดนตำหนิจากคนที่ยังไม่เข้าใจไปบ้างถ้าทุกอย่างจะนำไปสู่มาตรฐานที่ดี

    วันนี้ผมเขียนเกี่ยวกับ BMS-HOSxP เสียส่วนใหญ๋เพื่อพยายามทำความเข้าใจที่มาที่ไปให้มาขึ้น เท่าที่ศึกษาข้อมูลมาถึงตอนนี้ชักสนุกแล้วละครับเรื่องนี้ มีหลายประเด็นที่ให้ต้องคิดกันเยอะทีเดียว ตอนที่ 3 เรามาคุยกันในฝั่งของ LIS กันบ้าง จริงหรือเปล่ากับคำถามที่ว่า
    • บริษัท LIS ไม่จริงใจในการแก้ปัญหา 
    • บริษัท LIS ที่ไม่อยากเชื่อมต่อเพราะอยากได้กำไรเยอะๆ
    • บริษัท LIS คิดค่าบริการเชื่อมต่อในราคาที่คิดกับโรงพยาบาลเผื่อไว้แล้ว
    • จริงหรือเปล่าที่ว่า LIS นี่แหละคือ "ผู้ร้ายตัวจริง" 

    HIS&LIS : ถ้าอยากมองเห็นป่าทั้งป่า อย่ามองผ่านแมกไม้ ตอนที่ 1

    มเข้าไปในห้องแล็บนับครั้งได้ ถ้าไม่ใช่เพราะคอมพิวเตอร์มีปัญหา หรือต้องการคุยกับหัวหน้างานก็คงไม่อยากเข้าไปรบกวนเวลาทำงานชาวบ้านชาวช่องเขา เพราะเจ้าหน้าที่แต่ละคนก็ก้มหน้าก้มตา ง่วนอยู่กับการตรวจสอบและรายงานผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ อีกอย่างความรู้เกี่ยวกับระบบงานของงานชันสูตรของผมมีมากกว่า"ขน" ของหางอึ่งนิดหน่อย..

    ย้อนรอย..LIS

    ถ้าถามว่ามีแอดมินประจำโรงพยาบาลซักกี่คนที่เข้าใจ กติกามารยาทสากลของ HIS และ LIS ที่เกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลกัน ตอบอย่างไม่อายว่าผมคนหนึ่งละครับที่มายมาวว..เอ๊ยไม่รู้เรื่องจริงๆ แม้กระทั่งตัวเต็มของ HIS LIS ก็เพิ่งมาสวัสดีทักทาย ทำความรู้จักกันเมื่อไม่นานมานี้เอง 

    เรื่องของเรื่องมันมีอยู่ว่าหลังจากที่ใช้งาน HOSxP มาตั้งแต่ปี 2548 ตอนนั้นระบบห้องแล็บของโรงพยาบาลยังอยู่ในช่วงการพัฒนาคอมพิวเตอร์ก็มี 2-3 เครื่อง และเครื่องไม้เครื่องมือในการตรวจก็มีไม่กี่อย่าง การรายงานผลให้แพทย์อ่านในยุคนั้นจึงเป็นการพิมพ์กระดาษแนบไปกับ OPD Card ซึ่งนั่นหมายความว่าเจ้าหน้าที่จะต้องคัดลอกผลที่ได้จากการตรวจหรือจากเครื่องที่ตรวจ คีย์ซ้ำลงใน HOSxP อีกที

    วันเวลาผ่านไปวันแล้ววันเล่า การทำงานของห้องแล็บก็พัฒนาตามวัยมีการเพิ่มเครื่องมือจำพวก LAB Automate เข้ามามากขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทน้ำยาที่โรงพยาบาลเป็นลูกค้าประจำ ข้อตกลงในเรื่องการจัดซื้อน้ำยาพวกนี้ผมเองก็ไม่เคยรู้หรอกครับว่าเขาคุยอะไรกันอย่างไรบ้าง รู้แต่ว่าวันนี้ดีคืนดีเจ้าหน้าที่ห้องแล็บเขาก็มาตามให้ช่วยติดตั้งระบบกับพนักงานบริษัทที่จะเชื่อมข้อมูลผลการตรวจจากเครื่อง LAB Automate ให้เชื่อมกับโปรแกรม HOSxP 

    นั่นหมายความว่า เมื่อมีการสั่่ง LAB จากโปรแกรม HOSxP แล้ว  LIS ที่ติดตั้งไว้ ก็จะมีการออก Lab no พิมพ์ Bar code ติด specimen และเอาไปใส่ในเครื่อง Lab Automate  ซึ่งเครื่องก็จะทำการตรวจวิเคราะห์ พอได้ผลออกมาก็จะส่งผล Lab ไปให้ LIS และ LIS ก็จะส่งข้อมูลกลับไปบันทึกใน HOSxP อีกครั้ง

    ประโยชน์ชัดๆ คือ ลดภาระงาน และลด error จากการคัดลอกผลของเจ้าหน้าที่ห้องแล็บ ลดกระดาษ ลดโลกร้อน ฯลฯ  ชีวิตช่วงนั้นผมว่ามันก็ดูดีไม่น้อย.. และเท่าที่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องเฉพาะตอนที่เขาแจ้งปัญหาว่ารายงานของห้องแล็บในโปรแกรม HOSxP มีปัญหา แต่ก็ยังไม่มีอุบัติการณ์แจ้งมาว่าผลแล็บมี error เลยสักครา ต่างคนก็ต่างทำหน้าที่กันไป และก็ใช้ HOSxP มาจากอย่างหนุกหนาน จนกระทั่งมาถึงปลายปี 2555
    ..............................................................................................................................................................

    LIS (Lab information system)

    ก่อนที่จะไปกันต่อ ผมว่าเรามาทำความรู้จักกับเจ้า LISกันอีกสักหน่อยดีกว่า ข้อมูลที่มากกว่าขนหาง อื่งนิดหน่อยของผม ก็คือ...LIS นี่มันเป็น Software ครับ และบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ LIS จึงเป็นบริษัท ที่พัฒนา software สำหรับเชื่อมต่อระบบจากเครื่อง Lab automate ทั้งหลายกับ HIS นั่นเอง
    ว่ากันว่า แต่เดิมระบบ LIS มีใช้กันในเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณการทำ Lab จำนวนมาก และส่วนใหญ่เนื่องจากเป็นของต่างประเทศ ราคาก็แพงมากเช่นเดียวกัน ทำให้โรงพยาบาลชุมชน มีโอกาสได้ใช้ระบบนี้น้อยมาก เว้นแต่ว่า ผอ.ใจป้ำ เห็นความสำคัญและเงินถึง จึงอนุมัติให้ใช้

    ด้วยความที่ LIS เป็น software เชิงพาณิชย์ ที่มีราคาแพงเกินเอื้อม ประกอบกับกระแสของ HIS  ที่ฟรีและดี อย่าง HOSxP ที่มาแรงแซงทั้งทางโค้งและทางตรง ที่เปิดให้ผู้ที่สนในศึกษาเข้าใจ เข้าถึงฐานข้อมูลได้ ทำให้มีผู้พัฒนา LIS ที่เชื่อมต่อกับ HOSxP ได้และมีค่าบริการในราคาที่ถูกกว่ามาก

      การเชื่อมต่อ LIS และรายงานผลแล็บอัตโนมัติสำหรับ HIS 




    Flow การทำงานก่อนเชื่อมต่อ


    Flow การทำงานหลังก่อนเชื่อมต่อ


     

    ที่มา http://magentothai.wordpress.com

    กฏ กติกา มารยาทสากลระหว่าง HIS และ LIS
    อาจารย์ชัยพรได้เคยเขียนอธิบายไว้ในบอร์ดของ HOSxP ว่า " ที่ผ่านมาในระบบ HIS และ LIS ไม่ว่าจะเป็นระบบไหน หากมีการเชื่อมต่อระบบกันจะมีการคิดค่าใช้จ่ายระหว่างกันอยู่แล้วครับ เพราะต้องมานั่งพัฒนา Tools และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล รวมถึงการนำไปใช้งานจริง เพราะบริษัทที่พัฒนา HIS ต้องรับผิดชอบกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับข้อมูลของตัวเอง จึงไม่มี HIS ตัวไหน อยากให้ LIS เข้ามาเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลตรงๆ ต้องผ่านการตรวจสอบก่อนว่าข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นบริษัท LIS ส่วนใหญ่จะมีงบประมาณในการพัฒนาระบบเชื่อมต่อส่วนนี้เผื่อเอาไว้แล้ว และตั้งแต่แรกที่ HOSxP เคยเชื่อมต่อกับ LIS เราก็เชื่อมผ่าน Gateway มาตั้งแต่ต้น และมีการคิดค่าพัฒนาในการเชื่อมต่อระบบมาตั้งนานแล้วเหมือนกันครับ 

    ปัญหาคือ พอมีบริษัท LIS มากขึ้น มีคนรู้จักโครงสร้างฐานข้อมูลของ HOSxP มากขึ้น ก็ทำให้หลายบริษัท (LIS) ไม่อยากเชื่อมต่อผ่าน Gateway หันไปพัฒนา LIS ของตนเองให้เชื่อมต่อโดยตรงกับฐานข้อมูลของ HOSxP ได้เอง พอเชื่อมต่อได้เองมันก็กลายเป็นการลดต้นทุนของระบบตัวเอง ซึ่งมันก็ดีนะครับ เพราะโรงพยาบาลก็จะได้รับระบบ LIS ที่ราคาถูกลง และผมก็ถือว่าเป็นการช่วยเหลือ รพ. ที่ผ่านมาเราก็เลยไม่บังคับ LIS ต้องเชื่อมต่อ HOSxP ผ่าน Gateway นะครับ.."

    บ่ตงครับ ความรู้เรื่องนี้สำหรับผมเป็นข้อมูลใหม่ที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่าโดยกติกาสากลในทางธุรกิจเขามีข้อตกลงกันระหว่าง HISและLISเป็นแบบนี้ แต่ถ้าเรามองอย่างเป็นกลางด้วยเหตุและผล ที่ผ่านมาเท่าที่ผมจำความได้ HOSxP เองก็ยังไม่ได้มีการชี้แจงความชัดเจนในเรื่องนี้ หรือแทบจะไม่มีการพูดถึงกันเลยด้วยซ้ำ แม้จะเคยกระทู้หนึ่งในบอร์ดที่ถามขึ้นในวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2008 ที่ผู้ตั้งกระทู้ต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยบกับการ LIS กับการเชื่อม HOSxP ซึ่งในช่วงนั้นโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งก็เพิ่งจะได้ใช้ LIS และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องของค่าใช้จ่าย ซึ่งคุณหมอ Anukul ได้อธิบายค่าใช้จ่ายของ LIS หลักๆ จะประกอบด้วย
    1. LIS software (หลักแสน)
    2. Interface กับ automate แต่ละเครื่อง 
    3. ค่าเชื่อมต่อกับ HIS
    ประมาณการคร่าวๆ หากโรงพยาบาลชุมชนที่จะใช้ระบบ LIS ที่มีเครื่อง 2-3 เครื่องค่าใช้จ่ายน่าจะตกประมาณ 120,000 บาท

    พี่โก้ Udomchock ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า
    "พอดีวันนี้ (22/2/51) ได้มีโอกาสคุยกับบริษัทที่มาเสนอทำ LIS ให้กับ ร.พ. คือ SYSMEX เสนอราคามาหลายอยู่ครับ
    - core โปรแกรม (รวม Oracle) 1 ล้านบาท
    - ค่าเชื่อมต่อ (interface) กับเครื่องตรวจ (automate) เครื่องละประมาณ 2-3 แสนบาท
    - Hardware ระบบ LIS จัดหาเอง (มีอยู่แล้ว)
    รวม ๆ แล้วก็ประมาณ 2 ล้านบาทครับ  Huh
    เห็นบอกว่า ร.พ.มหาราชนครศรีธรรมราช และอีก ร.พ. (จำชื่อไม่ได้แล้ว) กำลังจะ Implement ระบบนี้เข้ากับ HOSxP"


    คุณหมอ Anukul : ได้ให้คำตอบเพิ่มเติมว่า
    "สำหรับรพท. หรือรพศ. !!!
    ผมขอแนะนำนะครับ ไม่ใช่นายหน้าของบริษัท LIS  แต่คิดว่า ราคาน่าจะเป็นธรรมหน่อย
    ถ้าราคาหลักล้าน ค่าเชื่อมต่อ 2-3 แสน ผมว่ามากเกินไปเยอะครับ
    ผมขอให้พวกเราลองเสนอทางผู้บริหารรพ.หรือผู้ดูแลระบบ LAB นะครับ  ลองหาบริษัทอื่นที่ราคาถูกกว่า เช่น แนะนำให้ลองคุยกับ บริษัท RAX ครับ คิดว่า ราคาพอรับได้ครับ  ที่รพ.มะการักษ์ ตัว LIS ที่มาลง ใช้ MS SQL  เชื่อมต่อกับ HOSxP ได้กว่า 90 % เนียนครับ !! การใช้งานไม่ยาก ราคาน่าสน  (รพ.ร้อยเอ็ด,รพ.นครนายก ใช้มาก่อน)

    ตัว LIS  แทบจะไม่คิดมูลค่า (บ.แจ้งว่าตั้งราคาประมาณ แสนกว่า) เค้าคิดว่า ส่วนใหญ่จะลงที่ค่าเชื่อมต่อครับ ค่าเชื่อมต่อ แล้วแต่ครับ  สำหรับรพท. เครื่อง CBC คิดประมาณ 100,000 บาท เครื่อง Chem คิดประมาณ 100.000 บาท แต่เครื่อง Bl. gas.,Sero ประมาณ 30,000 บาท เพราะปริมาณใช้ไม่มากนัก

    สำหรับ รพท.หรือรพศ. ผมไม่ค่อยห่วง เพราะ ส่วนใหญ่ บริษัทที่ขายน้ำยา จะรับผิดชอบค่าเชื่อมต่อกับ LIS ให้ครับ เพราะเราแจ้งว่า ก็อยากใช้น้ำยายี่ห้อนี้อยู่นะครับ  แต่คุณต้องทำให้เครื่องคุณเข้าระบบให้ได้ด้วย (โดยไม่คิดค่าน้ำยาเพิ่มนะครับ)  ส่วนใหญ่ รพ.เองน่าจะไม่ต้องจ่ายหรือจ่ายเพิ่มไม่มากครับ
    ที่กำลังคุยอยู่ตอนนี้ คือ กลุ่มรพช. ซึ่งปริมาณการใช้น้ำยา ไม่มาก บริษัทน้ำยาส่วนใหญ่จึงไม่ค่อย support ค่าเชื่อมต่อให้    ดังนั้น ทางที่เป็นไปได้ ขณะนี้ คือ พยายามหาบริษัท LIS ที่สามารถลดราคาสำหรับ รพช.ให้ได้มากที่สุด
    ใครที่รู้จักบริษัท LIS ที่สนใจกลุ่มรพช. ช่วยเสนอเข้ามาก็ดีนะครับ  จะได้คุยกัน หาบริษัทที่สามารถเชื่อมกับ HOSxP ได้ดี และราคาไม่สูงสำหรับรพช.ครับ

    การแลกเปลี่ยนข้อมูลในกระทู้นั้น ส่วนใหญ่ยังไปในแนวทางที่ว่าการเชื่อมต่อกับ HIS อย่าง HOSxP คงไม่น่าจะมีปัญหา และน่าจะได้ราคา LIS ที่ถูกลงด้วย เท่าที่ผมติดตามอ่านดูเหมือนกว่าช่วงนั้น LIS แต่ละเจ้าก็กำลังแข่งขันกัน โรงพยาบาลก็ต้องติดต่อกับบริษัท LIS เองไม่ได้เป็นโปรโมชั่นแถมพ่วงกับการขายของบริษัทน้ำยาในปัจจุบัน.."

    (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากกระทู้นี้ครับ)

    จากข้อมูลเท่าที่ค้นหามาได้ทำให้เห็นว่า ส่วนใหญ่ก็ยังเข้าใจว่าด้วยความเป็น open source ของ HOSxP เรื่องประเด็นของการเชื่อมระหว่าง HIS และ LIS ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะในยุคนั้นโรงพยาบาลที่ใช้ HOSxP จะมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ขึ้นระบบกับ BMS และกลุ่มที่ขึ้นระบบเอง เพราะในเงื่อนไขของ BMS ถ้าไม่ได้ขึ้นระบบกับทางบริษัท โรงพยาบาลก็ไม่ได้รับประกันคุณภาพในเรื่องของบริการอยู่แล้ว จึงเป็นประเด็นคำถามคือว่า แล้วกติกาสากลของการเชื่อมต่อระหว่าง HIS กับ LIS ต้องมีค่าใช้จ่ายระหว่างกันจะครอบคลุมตรงนี้โรงพยาบาลทั้งหมดหรือเปล่า หรือเฉพาะโรงพยาบาลที่ขึ้นระบบถูกต้องกับ BMS ที่ต้องอนุญาตเข้าตามตรอกออกทางประตูให้ถูกต้อง

    เมื่อถึงตรงนี้ ผมสรุปความเข้าใจได้ประมาณนี้
    • การเชื่อมต่อผล LAB ของ LIS กับ HIS เป็นการธรรมเนียมกันตามปกติอยู่แล้วที่ LIS ทุกบริษัทจะต้องเสียค่าเชื่อมต่อให้กับ HIS และความจะเชื่อมต่อผ่านตัว LIS Gateway ให้ถูกต้อง ไม่ใช่เชื่อมต่อโดยตรงผ่าน Database
    • โรงพยาบาลที่ใช้ HOSxP มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ขึ้นระบบถูกต้องกับ BMS และ กลุ่มที่ขึ้นระบบเอง
    • กลุ่มบริษัท LIS  มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เชื่อมต่อผ่าน LIS Gateway และกลุ่มที่เชื่อมตรงผ่าน Database 
    เนื่องจากก่อนหน้านี้ทาง BMS ไม่ได้ปิดกั้นการเชื่อมต่อใดๆ จึงทำให้เกิดความเข้าใจ(ไปเอง) ว่าทำได้หรือเปล่าไม่แน่ใจ เพราะก็ไม่มีการพูดเรื่องนี้กันในบอร์ดมากนัก LIS เริ่มกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งเนื่องจาการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ที่ต้องการใช้การเชื่อมต่อ LIS กับ HOSxP มีความถูกต้อง ซึ่งมีผลทำให้โปรแกรม HOSxP ล๊อคในส่วนของการนำข้อมูลจาก LIS เข้าไปยัง HIS ซึ่งได้มีการพูดคุยและกำหนดเงื่อนเวลา แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ง่าย ทาง BMS แจ้งว่าได้ให้เวลาบริษัท LIS ต่างๆแล้วแต่มีบางบริษัทยังไม่ให้ความร่วมมือ จนกระทั่งนำไปสู่การบล็อค LIS ไม่สามารถเชื่อมข้อมูลต่อกับ HOSxP ได้

    แน่นอนว่าคนที่เดือดร้อนและได้รับผลกระทบไปเต็ม คือ โรงพยาบาลทุกแห่งที่ใช้ HOSxP!
    แม้จะมีคำยืนยันจาก BMS ว่าจะให้โรงพยาบาลได้รับผลกระทบน้อยที่สุด.. 

    เรื่องทั้งหมดน่าจะจบลงด้วยดี แต่ดูเหมือนว่าในทางธุรกิจยังไม่ Win Win ทุกฝ่าย
    ..............................................................................................................................................................

    HOSxP Software Free 

    "เราไ่ม่สามารถจะมองเห็นป่าทั้งป่าได้ ถ้าพยายามมองผ่านแมกไม้ในป่า"

    "เพราะมีสิ่งนั้น..จึงมีสิ่งนี้เกิดขึ้น" เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของสิ่งที่เกิดขึ้น  ผมจะพาทุกท่านขี่ไทมแมทชีนย้อนเวลากลับไปในช่วงเดือนกุมภาพันธ์2008 ซึ่งก่อนหน้านี้ชุมชน HOSxP ที่อบอุ่นและมีความสุขอยู่กับ Software ในอุดมคติด้วยศรัทธาและความเชื่อที่ว่าของฟรีดีๆก็มีในโลก อาจารย์ชัยพรได้โพสต์แจ้งปัญหา เรื่องการแอบอ้างของร้านค้าหรือบริษัทที่ได้อ้างว่าเป็น "ผู้พัฒนา" และได้เสนอขายบริการติดตั้ง HOSxP ให้แก่โรงพยาบาล ทั้งๆที่ HOSxP เป็น Software เสรีสำหรับโรงพยาบาล ที่แต่ละโรงพยาบาลสามารถนำไปใช้งานได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าจัดซื้อ Software ยกเว้นค่าฝึกอบรมและขึ้นระบบที่สามารถติดต่อทีมงานบริษัท BMS ซึ่งถือเป็นกระทู้ที่มีการเข้าแสดงความคิดเห็นและมียอดวิว สี่หมื่นกว่าครั้ง และอาจารย์ชัยพร ได้ยืนยันชัดเจนว่า Admin ที่ช่วยโรงพยาบาลอื่นขึ้นระบบไม่เข้าข่ายที่ว่า   แต่ดูเหมือนเรื่องจะไม่จบง่ายเพราะยังมีคนที่ไม่พยายามเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์ชัยพรสื่อสาร จนกระทั่งต้องขุดกระทู้นี้ขึ้นมาเตือนกลุ่มบุคคลเหล่านั้นอีกครั้ง

    Manoi : การเอา HOSxP ไปใช้ในเชิงการค้า
    " ขนาดผมเขียนเอาไว้ที่ตัวติดตั้งแล้ว ว่าห้ามเอาไปใช้เชิงการค้า ก็ยังมีคนกล้าทำอีก  ผมไม่เข้าใจเลยว่าการยอมเสียคุณค่าของความเป็นคน เพื่อแลกกับเงินนี่มันน่าภูมิใจเหรอครับ
    ปัญหาตอนนี้ก็คือ  

    1. รพ.ติดต่อ BMS  เพื่อให้ไปขึ้นระบบ
    2. BMS เสนอราคา
    3. รพ. คิดว่ามันแพงไป จึงไปติดต่อทีมใต้ดิน (หรืออาจะมีทีมใต้ดินติดต่อไป รพ.)  ในราคาที่ถูกกว่า และที่สำคัญมันผิดสัญญาอนุญาตครับ
    4. รพ.ใช้ระบบไปสักพักก็มีปัญหา ติดต่อ BMS ให้ไปช่วย หรือ ทีมใต้ดินเหล่านี้ไม่มีความรับผิดชอบ โอนปัญหาของ รพ. มาไว้ที่ HOSxP.net

    จริงๆ ตอนแรกผมอนุญาติในการไปช่วยขึ้นระบบ ถ้าเป็นแบบไม่มีการคิดค่าตอบแทน เป็นการช่วยเหลือกันอย่างบริสุทธิใจ  สำหรับ รพ.ที่ไม่ค่อยจะมีงบประมาณนี่ ผมยินดีอย่างยิ่งเลยครับ แต่พอมีกรณีเอาไปใช้เชิงการค้า ซึ่งพักหลังๆ นี่ก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ ผมก็ชักไม่แน่ใจแล้วว่าผมควรจะจัดการอย่างไรกับทีมใต้ดินที่เอาเปรียบ BMS แบบนี้
    ที่ผ่านมาผมพยายามรักษาให้ HOSxP เป็น Software เสรี ใครอยากใช้ก็ Download ไปใช้ ไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยาก ถ้าทุกคนเคารพกฎที่วางเอาไว้ง่ายๆ HOSxP ก็จะเป็น Software เสรี แบบนี้ต่อไปตามเจตนารมย์ของผม 
    แต่สิ่งที่กลุ่มใต้ดินทำกับ HOSxP แบบนี้ ผมขอประนามครับ  และสำหรับทีมใต้ดินโปรดทราบว่า ในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ไม่ได้ใหญ่โตอะไรมากมายครับ ใครไปทำอะไรไว้ที่ใหน ที่ผ่านมาผมทราบเกือบหมด แต่ไม่อยากให้เป็นเรื่องใหญ่โตอะไร ได้แต่ขอร้องว่าอย่าทำ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีผลอะไร ตอนนี้ยังไม่สายนะครับที่จะหยุด ก่อนที่มันจะสายเกินไปครับ"

    ที่มา:  http://hosxp.net/index.php?option=com_smf&Itemid=28&topic=2937.0

    Admin หลายท่านได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและให้กำลังใจกับ อ.ชัยพรอย่างมาก มีข้อเสนอแนะและมาตรการหลายอย่าง ซึ่งในตอนนั้นยอมรับเลยครับว่าอารมณ์รวมของชุมชน HOSxP มาแรงและช่วยกันหามาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลืออาจารย์ชัยพรและBMS ตามเจตนารมย์ของอาจารย์ที่ต้องการให้ HOSxP เป็น Free software สำหรับโรงพยาบาลเหมือนเดิมและตอนนั้นก็ยังไม่มีสัญญานใดๆว่า HOSxP จะเปลี่ยนไปแต่ยังใด ชุมชน HOSxP ยังคงดำเนินต่อไป จนกระทั่งเดือนมิถุนายน 2551


    HOSxP Public License 
    Version 1.0, มิถุนายน 2551  (Draft)
    Copyright (C)  2008 Bangkok Medical Software Co.Ltd.
    อารัมภบท
       ปัจจุบันโปรแกรม HOSxP เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำไปใช้ในหน่วยให้บริการสาธารณสุขในระดับต่างๆ  มีความสามารถหลากหลาย จนเป็นที่ยอมรับ และได้มีการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย อันเนื่องมาจากผู้พัฒนาได้ใช้สัญญาอนุญาตเดิมตาม GNU Public License ซึ่งอนุญาตให้มีการทำซ้ำ เผยแพร่ และดัดแปลงได้โดยอิสระ โดยเป้าหมายจริงๆ แล้วก็คือต้องให้มีการนำไปใช้โดยไม่คิดมูลค่าของตัวโปรแกรมนั้นเอง 

    แต่ที่ผ่านมาได้มีกลุ่มบุคคลนำโปรแกรม HOSxP ไปใช้ในเชิงธุรกิจ และผลตอบแทนทางธุรกิจนั้นๆ ไม่ได้มีการส่งต่อไปให้ทางผู้พัฒนาเลยแม้แต่น้อย นอกจากจะเป็นการบั่นทอนกำลังใจในการพัฒนาแล้ว ยังเป็นการทำลายโปรแกรม HOSxP อีกด้วย เนื่องจากในการพัฒนานั้นจำเป็นต้องใช้ทุน และทุนในการพัฒนาปัจจุบันก็ได้มาจาก ค่าบริการในการฝึกอบรม ค่าบริการในการดูแลโปรแกรม HOSxP และการรับประกันการใช้งาน ซึ่งการซื้อบริการต่างๆเหล่านี้ ก็เกิดขึ้นโดยความเต็มใจจากกลุ่มผู้ใช้งาน HOSxP ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้การใช้โปรแกรม HOSxP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สัญญาอนุญาตฉบับนี้นำสาระสำคัญมาจาก GNU Public License มาทำการดัดแปลงใหม่โดยคงสาระสำคัญเดิมเอาไว้ และเพิ่มเงื่อนไขในการนำไปใช้เชิงการค้าเข้าไปให้ชัดเจน 

    ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการนำไปใช้ ทำซ้ำ เผยแพร่ ดัดแปลง และการนำไปใช้เชิงการค้า
    ถัดจากนี้ไปคำว่า "โปรแกรม HOSxP" หมายถึงโปรแกรมสำหรับใช้งานในสถานบริการทางด้านสาธารณสุขหรืองานในลักษณะดังกล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิคือบริษัทบางกอกเมดิคัลซอฟร์แวร์จำกัด และ "งานที่มีพื้นฐานจากโปรแกรม" หมายถึงโปรแกรมนั้นหรืองานดัดแปลงจากโปรแกรมนั้นตามกฎหมายลิขสิทธิ์: กล่าวคือ งานที่ประกอบด้วยโปรแกรมนั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าจะคงเดิมหรือมีการดัดแปลงและ/หรือได้รับการแปลเป็นภาษาอื่น. (จากนี้เป็นต้นไป การแปลนับรวมอยู่ในความหมายของคำว่า "การดัดแปลง" โดยไม่มีขอบเขต.) คำว่า "คุณ" หมายถึงแต่ละบุคคลผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสัญญา.
    สัญญานี้ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงการกระทำอื่นใดนอกเหนือจากการนำไปใช้ ทำซ้ำ เผยแพร่ ดัดแปลง และการนำไปใช้เชิงการค้า การกระทำอื่นใดนั้นอยู่นอกเหนือขอบเขตของสัญญา. สัญญาไม่ได้ควบคุมการรันใช้งานโปรแกรม และสัญญาจะครอบคลุมถึงผลลัพธ์จากโปรแกรมก็ต่อเมื่อเนื้อหาของผลลัพธ์เป็นองค์ประกอบของงานที่มีพื้นฐานจากโปรแกรม (โดยไม่ขึ้นอยู่กับการที่ผลลัพท์นั้นได้ผ่านการทำขึ้นมาจากการรันโปรแกรม). ผลลัพธ์จากโปรแกรมจะถือเป็นงานที่มีพื้นฐานจากโปรแกรมหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าโปรแกรมนั้นทำอะไร.

    1. คุณสามารถนำโปรแกรม HOSxP ไปใช้งานได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ  โดยการได้มาซึ่งตัวโปรแกรมสามารถทำได้หลายวิธีได้แก่ การดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต (http://hosxp.net) หรือ การติดตั้งจากสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ และในการนำไปใช้นั้นสามารถศึกษาคู่มือการใช้งานซึ่งอยู่ในชุดติดตั้งโปรแกรมได้เอง
    2. คุณสามารถทำซ้ำ หรือเผยแพร่โปรแกรม HOSxP ในรูปแบบของตัวติดตั้ง (Installer / Setup Program) ในสื่อบันทึกใดๆ  โดยปราศจากการแก้ไข Source Code ของโปรแกรม HOSxP และการทำซ้ำ หรือเผยแพร่โปรแกรม HOSxP นั้น ห้ามคิดเป็นมูลค่า ยกเว้นมูลค่าของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล (ห้ามนำไปขายต่อ) 
    3. คุณสามารถดัดแปลง Source Code ของโปรแกรม HOSxP และ Compile ใหม่เพื่อเป็นการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งานภายในองค์กรได้ แต่ห้ามนำไปเผยแพร่ต่อโดยใช้ชื่อ HOSxP ยกเว้นได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ และการแก้ไขนั้นๆ ต้องส่งกลับมาให้ทางผู้พัฒนาตรวจสอบด้วย และในกรณีที่นำโปรแกรมที่ Compile ใหม่ไปเผยแพร่ต่อ คุณต้องส่งมอบ Source Code ทั้งหมดที่คุณได้ทำการแก้ไขไปด้วย
    4. ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดของโปรแกรม HOSxP นำไปใช้เชิงการค้า อันประกอบไปด้วย การเสนอขายการรับประกันตัวโปรแกรม HOSxP  การเสนอขายบริการฝึกอบรมการใช้งานโปรแกรม HOSxP  การเสนอขายการติดตั้งโปรแกรม HOSxP และการเสนอขายการปรับปรุงโปรแกรม HOSxP  ยกเว้นได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ 
    5. คุณไม่จำเป็นต้องยอมรับสัญญานี้ เนื่องจากคุณไม่ได้ลงนาม. แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไรนอกจากนี้ที่อนุญาตให้คุณดัดแปลงหรือเผยแพร่โปรแกรมหรืองานดัดแปลงจากโปรแกรม รวมถึงการนำไปใช้งานเชิงการค้า. การกระทำดังกล่าวต้องห้ามตามกฎหมายถ้าหากคุณไม่ยอมรับสัญญานี้. ดังนั้น โดยการดัดแปลงหรือเผยแพร่โปรแกรม (หรืองานที่มีพื้นฐานจากโปรแกรม) คุณได้แสดงให้เห็นแล้วถึงการยอมรับสัญญานี้ รวมทั้งข้อกำหนดและเงื่อนไขทั้งหมดในการทำซ้ำ เผยแพร่ ดัดแปลงโปรแกรมหรืองานที่มีพื้นฐานจากโปรแกรม หรือนำไปใช้เชิงการค้า เพื่อที่จะกระทำเช่นนั้น.
    6. ในแต่ละครั้งที่คุณเผยแพร่โปรแกรม (หรืองานที่มีพื้นฐานจากโปรแกรม) ต่อไป ผู้รับจะได้รับอนุญาตโดยอัตโนมัติจากเจ้าของสิทธิให้สามารถที่จะ นำไปใช้ในหน่วยงานของตนเอง  ทำซ้ำ เผยแพร่ หรือดัดแปลงโปรแกรม ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญานี้. คุณไม่สามารถวางข้อจำกัดเพิ่มเติมต่อการใช้สิทธิของผู้รับที่ได้มอบไปตามนี้. คุณไม่ต้องรับผิดชอบภาระในการบังคับการปฏิบัติตามสัญญาของบุคคลอื่น
    7. ในกรณีที่มีการควบคุมการเผยแพร่และ/หรือการใช้โปรแกรมในประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าจะโดยสิทธิบัตรหรือโดยลิขสิทธิ์ในการต่อประสานกับผู้ใช้ เจ้าของลิขสิทธิ์ต้นฉบับซึ่งเป็นผู้ออกโปรแกรมภายใต้สัญญานี้สามารถเพิ่มข้อจำกัดในการเผยแพร่ตามแต่พื้นที่ทางภูมิศาสตร์อย่างชัดแจ้งให้ขีดวงประเทศเหล่านั้นออกไป เพื่อที่ว่าการเผยแพร่จะอนุญาตให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในหรือระหว่างประเทศที่ไม่ได้ตัดออกด้วยเหตุดังกล่าว. ในกรณีเช่นนี้ สัญญานี้จะหมายรวมไปถึงข้อจำกัดดังกล่าวเสมือนกับว่าได้เขียนข้อจำกัดนั้นไว้ในเนื้อหาของสัญญา.
    8. หากคุณประสงค์จะนำส่วนประกอบของโปรแกรมไปรวมอยู่ในซอฟต์แวร์เสรีโปรแกรมอื่นที่มีเงื่อนไขในการเผยแพร่ที่แตกต่างออกไป คุณจะต้องเขียนขออนุญาตจากผู้สร้างสรรค์เป็นลายลักษณ์อักษร. ทิศทางในการตัดสินใจของเราจะขึ้นอยู่กับเป้าหมายสองประการคือเพื่อดำรงรักษาความเสรีในงานทั้งหมดที่ดัดแปลงจากซอฟต์เวร์เสรีของเรา และในภาพกว้างคือเพื่อส่งเสริมการแบ่งปันและการนำกลับมาใช้ใหม่ของซอฟต์แวร์
      ม่มีการรับประกัน
    9. เนื่องจากโปรแกรม HOSxP ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้โดยไม่คิดมูลค่า เหตุนี้จึงไม่มีการรับประกันใด ๆ ต่อโปรแกรม HOSxP ไปจนถึงขอบเขตเท่าที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องจะอำนวย. เจ้าของลิขสิทธิ์และ/หรือบุคคลอื่นส่งมอบโปรแกรม "ตามลักษณะปัจจุบัน" โดยปราศจากการรับประกันในลักษณะใด ๆ ไม่ว่าโดยแจ้งชัดหรือโดยปริยาย รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการรับประกันโดยปริยายถึงความเหมาะสมในการวางตลาด หรือความเหมาะสมในวัตถุประสงค์โดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เว้นแต่จะได้ระบุเอาไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร. คุณเป็นผู้รับความเสี่ยงทั้งหมดในเรื่องคุณภาพหรือประสิทธิภาพของโปรแกรม. หากปรากฏความจริงว่าโปรแกรมชำรุดบกพร่อง คุณจะเป็นผู้รับภาระต้นทุนในการบำรุงรักษา ซ่อมแซม หรือแก้ไขเท่าที่จำเป็นทั้งหมด.
    10. ไม่มีกรณีใดๆ เว้นแต่ที่บังคับโดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือที่ตกลงกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ที่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือบุคคลอื่นใดผู้ซึ่งดัดแปลงและ/หรือเผยแพร่โปรแกรมต่อไปตามที่ได้อนุญาตไว้ข้างต้น จะต้องรับชดใช้ความเสียหายทั้งหลายต่อคุณ รวมถึงความเสียหายโดยทั่วไป โดยเฉพาะ โดยบังเอิญ หรือโดยเนื่องมาแต่เหตุ อันเป็นผลมาจากการใช้หรือความไม่สามารถในการใช้โปรแกรม (รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการสูญเสียของข้อมูล หรือการที่ข้อมูลถูกทำให้ผิดพลาด หรือความเสียหายอันคุณหรือบุคคลอื่นได้รับ หรือความล้มเหลวของโปรแกรมในการทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น) ถึงแม้ว่าเจ้าของลิขสิทธิ์หรือบุคคลอื่นดังกล่าวข้างต้นจะได้รับการแจ้งเตือนถึงความเป็นไปได้ของความเสียหายเช่นว่าแล้วก็ตาม.

    ร่างสัญญาตัวใหม่นี้ยังคงเจตนารมย์เช่นเดิม แต่เพิ่มความชัดเจนในการนำไปใช้เชิงการค้าครับ ผู้ใช้งานปัจจุบันไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้น  

    มิถุนายน 2008  อ.ชัยพรได้โพสต์กระทู้แจ้งสัญญาร่างอนุญาตตัวใหม่ ซึ่งในครั้งนั้นทำให้ได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ คือ Open source และ HOSxP Pubic License

    ..............................................................................................................................................................

    คำชี้แจงจาก BMS 
    กุมภาพันธ์ 2012
    ก่อนหน้านี้มีกระทู้เปิดตัวโลโก้ BMS HOSxP อย่างไม่เป็นทางการ คาดเดากันไปต่างๆนาๆว่าน่าจะเป็น HOSxP V.4 และกระทู้จากพนักงานบริษัท BMS ที่โพสต์ขึ้นแล้วสร้างความสงสัยให้กับบรรดาสมาชิกว่าต้องการสื่อสารอะไร  เพราะตั้งกระทู้ล่อเป้าซึ่งตั้งหัวข้อว่า"รายชื่อโรงพยาบาลที่ขึ้นระบบHOSxPโดยทีมงานอาจารย์ชัยพร " โดยก่อนหน้าที่มีคำว่า "อย่างถูกต้อง" ติดอยู่ด้วยทำให้มีการโพสต์เชิงตัดพ้อน้อยใจว่า แล้วโรงพยาบาลที่ขึ้นเองไม่ถูกต้องหรืออย่างไร บางท่านก็โต้ตอบว่าเป็นการแบ่งฟักแบ่งฝ่าย จนตัวอาจารย์ชัยพรเองต้องโพสต์แจ้งให้ตัดคำว่าอย่างถูกต้องออกไปดีกว่า

    กรกฎาคม 2012 : ตัวอย่าง Splash screen version ถัดไป


    มิถุนายน 2012
    เป็นอีกกระทู้ที่ อ.ชัยพร ต้องออกโรงมาชี้แจงแบบแรงๆ ในเรื่องที่ไม่ค่อยดีเกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อ BMS ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ "ผูกขาด" " HOSxP ไม่ฟรีจริง"  "โครงสร้างฐานข้อมูลของ HOSxP ไม่เหมือนกันแต่ละโรงพยาบาล และ "การคิดค่าพัฒนาส่งออกข้อมูล 43 แฟ้ม
    (อ่านเพิ่มเติม http://hosxp.net/index.php?option=com_smf&Itemid=28&topic=26451.0 )

    "าถึงตรงนี้ผมก็เลยต้องมาทบทวนตัวเองว่าตกลงแล้วเราควรจะคิดค่าพัฒนาระบบส่งข้อมูล 43 แฟ้มกับจังหวัดนำร่องหรือเปล่า หรือเราจะทำโปรแกรมส่งออกฟรีแล้วให้เอาไปใช้แบบตัวใครตัวมันตามที่ส่วนกลางต้องการดี  ซึ่งถ้าเป็นแบบหลังนี่พอทำออกไปแล้ว สุดท้ายเราก็โดนตำหนิว่าทำไมไม่รู้จักดูแลลูกค้าให้ดี (ผมไม่ทราบว่าจะดูแลหน่วยบริการที่ไม่ได้ลูกค้าของ BMS ได้อย่างไรครับ)"   อ.ชัยพร 

    ..............................................................................................................................................................

    BMS-HOSxP  ความสำเร็จของ HOSxP คือ BMS

    "ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นผมพยายามพัฒนาที่จะให้ HOSxP เป็น Software สำหรับทุกๆคน (ใน รพ.) ครับ และผมก็ดีใจที่หลายๆ คนชอบ HOSxP แต่พอมี BMS มาอยู่ข้างหน้า หลายๆ คนกลับคิดว่ามันจะทำให้ HOSxP เปลี่ยนไป หรือจะทำให้ HOSxP กลายเป็นเหมือนบริษัทพัฒนา HIS อื่นๆ  จริงๆ แล้วที่หลายๆ คนไม่ทราบก็คือ BMS อยู่เบื้องหลัง HOSxP มานานแล้วครับ ความสำเร็จของ HOSxP ก็คือความสำเร็จของ BMS   และโดยความจริงแล้ว BMS ไม่ใช่ผู้ร้าย แต่เป็นทีมงานดีๆที่จะคอยมาช่วย Support HOSxP  ในอนาคตครับ

    ตอนนี้ HOSxP ได้เดินทางมาถึงจุดที่หลายๆ คนอยากให้เราเดินมาถึงแล้ว เราได้เดินทางมาโดยที่ยังยึดมั่นคำสัญญาเดิมเอาไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง แล้วตอนนี้เราจะทำยังไงต่อไปดีล่ะครับ เรื่องนี้ผมคิดเอาไว้ตั้งแต่ตอนก่อตั้ง BMS ขึ้นมาแล้วครับ ว่าสักวันต้องถึงวันนี้  วันที่ไม่มีใครอยากใช้ HOSxP เพิ่มขึ้นอีกแล้ว เพราะส่วนใหญ่ก็ใช้ไปกันเกือบหมดแล้ว ตอนนั้นผมคิดคำถามเอาไว้ถามตัวเองหลายคำถามเช่น  ผมจะดูแลโรงพยาบาลหลายร้อยโรงพยาบาลที่ใช้ HOSxP ได้อย่างไร หรือ ผมจะมีแรงพัฒนา HOSxP ให้ไปต่อได้ขนาดไหนในขณะที่ผมก็แก่ขึ้นทุกวัน  และผมก็เป็นคนหนึ่งล่ะที่อยากให้ HOSxP มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ พอมี BMS คำถามบางอย่างผมก็หาคำตอบได้ แต่บางอย่างผมก็ต้องมารอลุ้นเหมือนกันครับ

    หลายๆ คนสงสัยว่าทำไมถึงต้องมี BMS มีแค่ อ.ชัยพร คนเดียวก็พอแล้ว  ผมก็อยากจะบอกว่า ถ้าเป็นแบบนั้นผมคงจะนอนอยู่บ้านเฉยๆ ไปหลายปีแล้ว เพราะงานนี้มันเหนื่อยมาก มันเป็นอะไรที่ทำคนเดียวไม่ได้จริงๆ ครับ ผมไม่รู้ว่าความคิดที่ว่า BMS = Commercial , HOSxP = Free นั้นหลายๆ คนคิดแบบนั้นไปได้อย่างไร  มีบางที่ครั้งผมรู้สึกแย่มากๆ ที่ได้ยินคนพูดถึงในงานประชุมว่างานนี้เป็นของ BMS นะ ไม่ใช่ HOSxP   ตอนนี้ HOSxP กลายเป็น BMS-HOSxP ได้หลายปีแล้ว มีอะไรที่เปลี่ยนไปหรือเปล่าครับ ก็ไม่เลย เรายังยึดคำสัญญาและอุดมการณ์เดิม เราไม่มีทางเดินมาถึงตรงนี้ได้ถ้าไม่มี BMS ผมอยากให้มองแบบนี้ครับ

    BMS+HOSxP = (อ.ชัยพร และทีมงาน)+(HOSxP)+(เพื่อทุกคน)" 
    อ.ชัยพร


    หลังจากที่มีการภาพที่มีข้อความ BMS-HOSxP  สำหรับคนที่คุ้นเคยกับ HOSxP มาตั้งแต่แรกอาจรู้สึกหวั่นไหวและมีคำถามในใจว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปหรือเปล่า แต่อาจารยชัยพรได้อธิบายให้สมาชิกเข้าใจว่าแท้ที่จริงแล้ว BMS คือ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ HOSxP  ซึ่งที่จริงแล้ว BMS-HOSxPมีการใช้คำนี้มาหลายปีแล้ว โดยที่อาจารย์ชัยและทีมงานก็ยังคงยึดมั่นคำสัญญาและอุดมการณ์เหมือนเดิม  

    วันเวลาแปรผันเปลี่ยน หมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกวัน..
    BMS-HOSxP ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเดินทางมาถึงจุดสำคัญและจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง..