เรียนหน่วยบริการที่ใช้โปรแกรม HOSxP ทุกหน่วยบริการ แจ้งประชาสัมพันธ์การเชื่อมต่อข้อมูล ระหว่างโปรแกรม HOSxP กับโปรแกรม LIS อ้างถึง ประกาศจากหัวข้อกระทู้ http://hosxp.net/smf/index.php?topic=27403.0
ซึ่งทางบริษัท บางกอก เมดิคอล ซอฟต์แวร์ จำกัด ได้ให้เวลาในการเตรียมตัวในเรื่องดังกล่าวมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่เนื่องจากยังคงมีบางบริษัทที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ โดยทางบริษัทฯจำเป็นต้องทำการจำกัดสิทธิ์ ในการเชื่อมโดยตรงกับฐานข้อมูล ในโปรแกรม HOSxP ตั้งแต่เวอร์ชั่น 3.56.2.10 เป็นต้นไป หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 081-915-5138
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
..............................................................................................................................
มาตรการล๊อคการเชื่อมต่อ ยาแรงเพื่อ?
การจำกัดสิทธิ์ในการเชื่อมต่อตรงกับฐานข้อมูลระหว่าง HOSxPกับ LISทำให้เกิดปัญหาในการรายงานผลแล็บ แม้ BMS จะมีตัวปลดล๊อคชั่วคราวเพื่อบรรเทาปัญหาให้กับโรงพยาบาลต่างๆ แต่เป็นเพียงมาตรการเฉพาะหน้าที่ยังมองไม่เห็นทางออก หาก LIS ยังไม่เข้าสู่การเจรจาพูดคุยกับ BMS-HOSxP หรือมีอีกวิธีที่จัดการได้โดยโรงพยาบาลหากยังต้องการเลือก HIS อย่าง HOSxP ก็คงต้องยอมเปลี่ยนบริษัท LIS ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก
.............................................................................................................................
การจำกัดสิทธิ์ในการเชื่อมต่อตรงกับฐานข้อมูลระหว่าง HOSxPกับ LISทำให้เกิดปัญหาในการรายงานผลแล็บ แม้ BMS จะมีตัวปลดล๊อคชั่วคราวเพื่อบรรเทาปัญหาให้กับโรงพยาบาลต่างๆ แต่เป็นเพียงมาตรการเฉพาะหน้าที่ยังมองไม่เห็นทางออก หาก LIS ยังไม่เข้าสู่การเจรจาพูดคุยกับ BMS-HOSxP หรือมีอีกวิธีที่จัดการได้โดยโรงพยาบาลหากยังต้องการเลือก HIS อย่าง HOSxP ก็คงต้องยอมเปลี่ยนบริษัท LIS ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก
.............................................................................................................................
โรงพยาบาลคุณใช้บริการ LIS บริษัทไหน
ข้อมูลจากหน้าเวปไซด์ของ BMS-HOSxP ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ LIS ไว้ดังนี้
รายชื่อบริษัทที่ "พัฒนา" LIS ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2556
ข้อมูลจากหน้าเวปไซด์ของ BMS-HOSxP ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ LIS ไว้ดังนี้
รายชื่อบริษัทที่ "พัฒนา" LIS ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2556
- บริษัท สมาร์ทอินโนเวชั่น จำกัด
- Roche Diagnostics(Thailand)Ltd.
- บริษัท แองเจิล เน็ทเวิร์ค เทคโนโลยี จำกัด
- บริษัท แร็กซ์ อินเตอร์ไดนอสติด จำกัด
- PCL Holding CO.,Ltd(แร๊กซ์)
- บริษัท แล็บ พลัส จำกัด
- บริษัท แอฟฟินิเท็ค จำกัด
- บริษัท เฟิร์มเมอร์ จำกัด
- บริษัท ล็อกอินส์ เมดดิคอล จำกัด)
รายชื่อบริษัทที่ "กำลังพัฒนา" LIS ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2556
- บริษัท hos lab
- บริษัท อีฟอร์เเอล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- บริษัท ซิกเม็กซ์(ไทยแลนด์)จำกัด
- บริษัท อะตอมมิค sience distribute จำกัด
- บริษัทไซเบอร์ ซอฟเท็ค(ทางบริษัทมีรีไควร์เม้นเพิ่มเติม)
- บริษัท ซายน์แอนด์เมด จำกัด
รายชื่อ LIS และจำนวนโรงพยาบาลที่รอวางแผนเชื่อมต่อ LIS กับ HOSxP
- Hospital Laboratory System Service limited. (HOSLAB) (จำนวน 70 โรงพยาบาล)
- บริษัท อีฟอร์แอล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (จำนวน 78 โรงพยาบาล)
- บริษัท ล็อคอินส์ เมดดิคอล จำกัด (จำนวน 61 โรงพยาบาล)
- บริษัท เมดิทอป จำกัด (จำนวน 9 โรงพยาบาล)
- บริษัท แล็บ พลัส จำกัด (จำนวน 91 โรงพยาบาล)
- บริษัท แร็กซ์ อินเตอร์ไดนอสติค จำกัด (จำนวน 26 โรงพยาบาล)
- บริษัท ไซเบอร์ ซอฟเท็ค จำกัด (จำนวน 30 โรงพยาบาล)
- บริษัท บุญชูแพทย์ภัณฑ์ (1999) จำกัด (จำนวน 8 โรงพยาบาล)
- บริษัท อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (จำนวน 39 โรงพยาบาล)
- บริษัท เฟิร์มเมอร์ จำกัด (จำนวน 69 โรงพยาบาล)
- บริษัท ซิสเม็กซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด (จำนวน 3 โรงพยาบาล)
- บริษัท เมดวัน จำกัด (จำนวน 3 โรงพยาบาล)
- บริษัท ไอเมด ลาบอราทอรี่ จำกัด (จำนวน 37 โรงพยาบาล)
เห็นรายชื่อบริษัทและตัวเลขจำนวนโรงพยาบาล เป็นชุดข้อมูลที่จะชวนทุกท่านเข้าไปติดตามกันต่อครับว่า LIS แต่ละบริษัทที่จะต้องเชื่อมต่อกับ HOSxP มีค่าใช้จ่ายกันอย่างไรบ้าง ลองดูราคาที่ทาง BMS เสนอให้กับ LIS ซึ่งมีรายละเอียดตามตารางด้านล่างครับ
ค่าเชื่อมต่อระบบ LIS ในการพูดคุยกันรอบแรก
ค่าเชื่อมต่อระบบ LIS ในการพูดคุยกันรอบแรก
ค่าเชื่อมต่อ LIS สำหรับโรงพยาบาลที่ยังไม่ใช้ LIS ที่มีการตกลงกันในรอบสอง
แบบที่ 1 โรงพยาบาลที่ยังไม่ได้ใช้ LIS
แบบที่ 2 สำหรับโรงพยาบาลที่ทางบริษัท LIS ได้เชื่อมไว้ก่อนแล้ว
โดยค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ LIS กับโปรแกรม HOSxP มีรายละเอียดหลัก 2 ส่วนคือ
- ค่าพัฒนา(gateway)การเชื่อมต่อระบบ LIS กับโปรแกรม HOSxP ส่วนนี้จะเป็นส่วนของ
บริษัทฯ LIS ที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ราคา 100,000 + 7% = 107,000 บาท - ค่าเชื่อมต่อระบบ LIS กับโปรแกรม HOSxP ส่วนนี้จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมเป็นรายโรงพยาบาลโดยราคาส่วนนี้ขึ้นอยู่กับขนาดเตียง
ส่วนวิธีการนั้น ก็แล้วแต่ละบริษัทจะไปหารูปแบบการดำเนินการ แต่ในส่วนของ BMS เราก็ได้ช่วยเหลือโดยการลดราคาลงเหลือ รพ.ละ 40,000 บาท ทุก รพ. (เฉพาะที่ติดตั้งระบบ LIS ไปแล้ว) (+ค่าพัฒนาระบบครั้งแรกครั้งเดียว 100,000 บาท)
และถ้าเป็นไปได้ผมก็อยากจะให้วางแผนดำเนินการติดตั้งระบบการเชื่อมต่อนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ..คาดว่ามีประมาณถึง 300 รพ. ที่ได้ติดตั้งระบบ LIS และไม่ได้เชื่อมต่อผ่าน Gateway นะครับ " (27 กันยายน 2012 )
ถ้าเป็นไปตามกฏกติกามารยาทสากลของธุรกิจในการเชื่อมต่อระบบระหว่าง HIS กับ LIS กรณีขึ้นระบบให้กับโรงพยาบาลแห่งใหม่เลยก็ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะมีความชัดเจนแล้วว่าบริษัท LIS จะต้องจ่ายค่าพัฒนา Gateway รวม vat 7% จำนวน 107,000 บาท และค่าเชื่อมต่อระบบ LIS กับโปรแกรม HOSxP ตามขนาดของเตียง ซึ่งทาง LIS ก็คงจะมีการคิดคำนวนค่าใช้จ่ายเสนอราคาให้กับโรงพยาบาลโดยบวกค่าใช้จ่ายต่างๆไว้เรียบร้อยแล้ว
คำถามคือ ถ้าบริษัท LIS ที่เคยติดตั้งให้กับโรงพยาบาลไปเรียบร้อยแล้ว และไม่ได้คิดต้นทุนส่วนนี้ไว้ในตอนนั้น ด้วยเพราะคิดว่าการเชื่อมต่อกับ HOSxP ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายอะไร ทำให้ได้ราคานำเสนอต่อโรงพยาบาลที่ถูกลงด้วย แต่มาถึงตอนนี้จะต้องควักเงินจ่ายให้ BMS โดยไม่สามารถไปเรียกเก็บกับทางโรงพยาบาลเพิ่มได้ เพราะงานจบไปแล้วและเป็นเงื่อนไขในการพูดคุยกันว่า "จะต้องไม่ผลักภาระไปให้โรงพยาบาล"
หากผมเข้าใจไม่ผิดตามคำชี้แจงของอาจารย์ชัยพร และข้อมูลที่มีอยู่บริษัท LIS ที่ได้ขึ้นระบบให้กับโรงพยาบาลต่างๆไปแล้วนั้นจะต้องเสียจ่ายค่าเชื่อมต่อให้ BMS ดังนี้
ตัวอย่าง สมมุติว่าบริษัท LIS มีลูกค้าเก่าที่ได้ใช้ระบบ LIS เรียบร้อยแล้ว
1. บริษัท Hospital Laboratory System Service limited. (HOSLAB) จำนวน 70 โรงพยาบาล
= 107,000 บาท + (70 แห่ง x 42,800) เท่ากับ 107,000 +2,996,000 บาท
= 3,103,000 บาท
2.บริษัท อีฟอร์แอล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำนวน 78 โรงพยาบาล
= 107,000 บาท + (78 แห่ง x 42,800) เท่ากับ 107,000 +3,445,400 บาท
= 107,000 บาท + (78 แห่ง x 42,800) เท่ากับ 107,000 +3,445,400 บาท
= 3,445,400 บาท
3. บริษัท ล็อคอินส์ เมดดิคอล จำกัด จำนวน 61 โรงพยาบาล
= 107,000 บาท + (61 แห่ง x 42,800) เท่ากับ 107,000 + 2,610,800บาท
= 2,717,800 บาท
ฯลฯ
ตัวเลขที่ได้จากการประมาณการคร่าวๆ เป็นตัวเลขสูงถึง 7 หลัก ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยทีเดียว แต่ข้อมูลนี้คงไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด อาจารย์ชัยพรได้บอกไว้ประมาณการว่าน่าจะมีโรงพยาบาลประมาณ 300 แห่ง ที่ได้ติดตั้งระบบ LIS และไม่ได้เชื่อมต่อผ่าน Gateway ซึ่งก็คงหมายความว่า บางโรงพยาบาล บริษัท LIS ได้เชื่อมต่อระบบอย่างถูกต้องและได้ชำระค่าเชื่อมต่อไว้เรียบร้อยแล้วหรือเปล่า ตรงนี้ไม่มีรายละเอียดแจ้งไว้ให้ศึกษาต่อครับ
ส่วนบริษัท LIS ในกลุ่มที่ 2 กลุ่มนี้ก็ดีหน่อยตรงที่ว่าไม่ต้องไปส่งไม้ต่อประสานกับใครให้วุ่นวาย เพียงแต่พอเจอใบเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเงิน ก็เหมือนโดนหมัดฮุกซ้ายเข้าเต็มพุง ถึงกับจุกเลยละครับ
...................................................................................................................................................................
เพื่อให้เข้าใจ LIS กันมากขึ้น เราลองมาทำความรู้จักกับบริษัทที่พัฒนา LISกันอีกสักนิดนะครับ ข้อมูลจากการสอบถามผู้รู้และอยู่ในวงการได้ให้รายละเอียดไว้ว่า บริษัทที่พัฒนาระบบ LIS มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ
- กลุ่มที่ 1 เป็นบริษัทพัฒนา Softwareเอกเทศไม่ขายน้ำยา เช่น แล็บพลัส,สมาร์ท อินโนเวชั่น , ดาต้าซอร์ฟ(เชียงใหม่) เป็นต้น
- กลุ่มที่ 2 เป็นบริษัทพัฒนา LISซึ่งเจ้าของเป็นคนๆเดียวกันกับเจ้าของบริษัทน้ำยา เช่น Roche =Omega หรือ Cobas IT 5000 ,PCL=RAX,E for L=I-Lab , Sysmex=HC LAB,Inter Corp=I-Link เป็นต้น
ส่วนบริษัท LIS ในกลุ่มที่ 2 กลุ่มนี้ก็ดีหน่อยตรงที่ว่าไม่ต้องไปส่งไม้ต่อประสานกับใครให้วุ่นวาย เพียงแต่พอเจอใบเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเงิน ก็เหมือนโดนหมัดฮุกซ้ายเข้าเต็มพุง ถึงกับจุกเลยละครับ
...................................................................................................................................................................
บริษัทน้ำยา ...ตัวละครที่ต้องรู้จัก
ตัวละครในเรื่องนี้ที่ต้องมาทำความรู้จักกันเพิ่มเติมกันอีกสักหน่อย นั่นก็คือ "บริษัทน้ำยา"
ตามที่ผมเข้าใจ บริษัทน้ำยาส่วนหนึ่งก็พยายามสร้างระบบ LIS ของตัวเองขึ้นมาเพื่อลด Cost ค่าใช้จ่ายและในขณะเดียวกันก็ใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับคู่แข่งทางการค้า (กับบริษัทน้ำยาด้วยกันเอง) โดยถ้าหากบริษัทไหนได้วางระบบ LIS ก็จะใช้วิธีการตั้งกำแพงราคาค่าเชื่อมต่อสูงๆเพื่อให้คู่แข่งถอดใจไม่เชื่อมต่อและยกเครื่องออกไป
แต่ถ้าคู่แข่งสู้ขึ้นมาก็จะไปหา LIS อีกเจ้ามาลงให้ลูกค้าในส่วนของเครื่องมือของตัวเอง ซึ่งภาระจะเกิดกับ User นั่นเองที่ต้องมานั่งใช้ LIS สองสามตัวใน Lab เดียว ซึ่งจริงๆแล้วมันก็มาจากการขอสนับสนุนระบบ LIS จากบริษัทน้ำยานั่นเอง ทำให้ห้อง LAB ไม่มีทางเลือกต้องใช้ Software LIS ที่ผูกติดมากับเครื่องมือของบริษัทน้ำยา
โรงพยาบาลจัดซื้อระบบ LIS ไว้เอง เมื่อบริษัทน้ำยามาวางเครื่องรายละเอียดใน TOR เขาจะเขียนไว้เลยว่าบริษัทน้ำยาต้องเชื่อมต่อเครื่องเข้ากับระบบ LIS ของโรงพยาบาล ถ้าเป็นดังนี้แล้วโรงพยาบาลก็สามารถตัดสินใจเลือกระบบ LIS ที่ตรงกับความต้องการได้ และไม่ต้องเปลี่ยนระบบ LIS บ่อยๆเหมือนทุกวันนี้
โรงพยาบาลจัดซื้อระบบ LIS ไว้เอง เมื่อบริษัทน้ำยามาวางเครื่องรายละเอียดใน TOR เขาจะเขียนไว้เลยว่าบริษัทน้ำยาต้องเชื่อมต่อเครื่องเข้ากับระบบ LIS ของโรงพยาบาล ถ้าเป็นดังนี้แล้วโรงพยาบาลก็สามารถตัดสินใจเลือกระบบ LIS ที่ตรงกับความต้องการได้ และไม่ต้องเปลี่ยนระบบ LIS บ่อยๆเหมือนทุกวันนี้
ในส่วนของบริษัทน้ำยาเองก็น่าจะผลดีด้วย เพราะเมื่อเปิดซองได้ก็เพียงเสียค่าเชื่อมต่อเครื่อง ไม่ต้องลงทุนติดตั้งระบบ LIS กันใหม่ทั้งระบบ(Server, Client, Barcode printer และอื่นๆ ก็ต้องขนกันมาใหม่ทั้งหมด) ส่วนของเก่าที่รื้อออกไปก็ไม่สามารถเอาไปใช้งานต่อได้ เนื่องจากของที่นำไปติดตั้งให้โรงพยาบาลต้องเป็นของใหม่แกะกล่อง ฉะนั้นของที่รื้อกลับไปก็ต้องชั่งกิโลขายเป็นของเก่าอย่างเดียวเท่านั้น
ที่ผ่านมาในส่วนของค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่นค่า Hardware และค่าเชื่อมต่อระบบ HOSxP โรงพยาบาล LIS และบริษัทน้ำยา จะใช้วิธีแชร์กันทุกบริษัทโดยอาจให้หัวหน้าห้องปฏิบัติการเป็นคนกลางแชร์ค่าใช้จ่ายให้ ตามยอดขายของแต่ละบริษัท แล้วทาง LIS จึงจะทำใบเสนอราคาให้บริษัทน้ำยาอีกต่อหนึ่ง เพื่อไม่ให้บริษัทน้ำยาเกิดการได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน
ลองมาตัวอย่างรายการในใบเสนอราคาที่ LIS เสนอให้บริษัน้ำยาดูนะครับ
เป็นข้อมูลตัวเลขที่ดูเอาไว้เป็นความรู้นะครับ สำหรับท่านใดที่ยังไม่เคยรู้ราคาค่าใช้จ่ายในระบบการเชื่อมต่อ LIS ซึ่งถ้าใครทำงานอยู่ในระดับกรรมการบริหารโรงพยาบาลก็คงพอจะรู้ว่างบประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนของห้องแล๊ปแต่ละปีใช้เงินงบประมาณไม่น้อยทีเดียวครับ งบพัฒนาระบบสารสนเทศของเราที่ว่าเยอะแล้วแต่ละปีบางทีแทบจะจิ๊บๆ ไปเลย
โดยแนวทางปฏิบัติทั่วไปบริษัท LISจะทำรายละเอียดชี้แจงค่าใช้จ่ายต่างๆเแต่ละรายการให้โรงพยาบาลทราบชัดเจน ตามตัวอย่างใบเสนอราคาข้างต้น ซึ่งโดยหลักๆก็จะมีค่าใช้จ่ายอยู่สาม รายการสำคัญๆ คือ
- ค่าเชื่อมต่อระบบ LIS(หรือเชื่อมต่อเครื่องวิเคราะห์)ซึ่งพูดง่ายๆก็คือในไอเดียของ LIS แต่ละบริษัท ค่าเชื่อมต่อก็คือ "ค่าแรง"นั่นเองครับโดยเป็นการคิดเหมารวมๆกันไปทั้งหมด ทั้งค่าพัฒนาโปรแกรม ,ค่าแรงในการไปติดตั้ง รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอื่นๆ เช่นค่าจ้างเหมาช่างโรงพยาบาลในการเดินสายต่างๆ ค่าการ์ดอินเตอร์เฟสสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อกับเครื่องตรวจวิเคราะห์ ยกเว้นค่า Hardware ตัวใหญ่ๆ และค่าลิขสิทธิ์ Windows ซึ่งถ้าลูกค้าต้องการ Windows แท้ก็ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เอง
- ค่า Hardware ตัวใหญ่ๆตามรายการ เช่น Server, Host เป็นต้น ในส่วนนี้ถ้าลูกค้ามีอยู่แล้วใน Spec ที่บริษัท LIS กำหนดก็ไม่ต้องซื้อใหม่ แต่ถ้ายังไม่มีและไม่สะดวกที่จะวิ่งหาซื้อเอง บริษัทมักจะรับเป็นธุระในการสั่งซื้อให้ แต่ถ้าโรงพยาบาลมี Supplier เองก็สามารถจัดซื้อเองได้ครับแล้วส่งของไปให้เราที่หน้างาน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็จะบวกค่าแรงและ Hardwareทั้งหมดและถ้าบริษัทน้ำยาไม่ทำเรื่องบริจาคให้โรงพยาบาล ก็จะเป็นทรัพย์สินของบริษัทน้ำยาครับ ไม่ใช่ของ บริษัท LIS
- ค่าเชื่อมต่อระบบ HIS ในส่วนนี้ถ้ามีค่าเชื่อมต่อทาง LIS จะแจ้งให้โรงพยาบาลทราบทราบ และเสนอราคาค่าเชื่อมต่อระบบ HISเป็นอีก 1รายการต่างหาก ซึ่งปกติก็จะแนบใบเสนอราคาจากบริษัทผู้พัฒนาระบบ HIS ไปพร้อมกับใบเสนอราคาของบริษัท LIS ไปด้วยเลย เมื่อตกลงกันเรียบร้อยแล้วเขาก็แจ้งให้บริษัท LIS เข้าไปทำการเชื่อมต่อระบบครับ
........................................................................................................................................................
โรงพยาบาลที่อยู่ระหว่างการเจรจาตกลงผู้รับผิดชอบค่าบริการ
21 พฤษภาคม 2556
BMSโพสต์แจ้งรายชื่อ โรงพยาบาลที่อยู่ระหว่างการเจรจาตกลงผู้รับผิดชอบค่าบริการในการเชื่อมต่อระบบ LIS ผ่าน BMS Gateway (ของบริษัท แล็บพลัส จำกัด) ดังนี้
" เนื่องด้วยทางบริษัท บางกอก เมดิคอล ซอฟต์แวร์ ได้ดำเนินการประสานงานไปยัง บริษัท*****จำกัด แต่ยังหาข้อตกลงเรื่องผู้รับผิดชอบค่าบริการการเชื่อมต่อระบบ LIS ผ่าน BMS Gateway ไม่ได้ ทาง BMS จึงดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับทางโรงพยาบาลทั้งหมดนี้ก่อน โดยการปลดล็อก LIS ให้ทางโรงพยาบาล จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.2556 และหากทางบริษัท LIS ดำเนินการตอบตกลงใบเสนอราคากลับมาทาง BMS ทางเราจะดำเนินการกำหนดวันติดตั้ง และทำหนังสือแจ้งให้ทางโรงพยาบาลทราบอีกครั้งนึง ดังจะมีรายชื่อโรงพยาบาลทั้งสิ้น 80 แห่ง .."
http://hosxp.net/index.php?option=com_smf&Itemid=28&topic=29917.msg245398%3Btopicseen#new
เป็นช่วงที่ฝุ่นตลบอีกรอบของกลุ่มโรงพยาบาลผู้ใช้ LIS ของบริษัทดังกล่าว แต่ก็ใช่ว่าโรงพยาบาลที่ใช้บริการบริษัทอื่นจะสบายใจ เพราะแม้กระทั่งโรงพยาบาลผมเองที่สอบถามข้อมูลไป ก็ได้รับคำตอบว่ายังไม่ได้รับการประสานงาน พระเจ้าช่วย กล้วยทอด!
.............................................................................................................................................................
โรงพยาบาลที่จะสิ้นสุดการปลดล๊อค วันที่ 31 พฤษภาคม 56!
21 พฤษภาคม 2556
เจ้าหน้าที่ BMS โพสต์กระทู้แจ้งรายชื่อโรงพยาบาลที่จะสิ้นสุดการปลดล๊อค หลังจากที่รอบแรกก็เอาทำวุ่นเพราะอัพเดต HOSxP virsion 3.56.2.10 เป็นต้นไป BMS ได้ล๊อคการเชื่อมต่อรายงานผลแล็บของ LIS ทำให้แอดมินของโรงพยาบาลแต่ละแห่งที่ใช้ LISและไม่ได้ติดตามข่าวเจอปัญหารายงานผลแล็บ error จนต้องติดต่อขอรหัสปลดล๊อคกันโดยด่วน แบบงงๆเพราะก่อนหน้านี้รับรู้ และคิดว่าเป็นเรื่องของ HIS กับ LISที่จะต้องพูดคุยกันเอง จนมาทราบภายหลังว่าการเจรจายังไม่มีความคืบหน้า แต่ BMS ตัดสินใจนำมาตรการล๊อค HOSxPมาใช้ ทำให้โรงพยาบาลถูกนำมาเป็นคนกลางเพื่อต่อรองให้เลือกระหว่าง HIS และ LIS จนบางคนใช้ประโยคที่แรงๆว่า "นี่คือ..การจับโรงพยาบาลเป็นตัวประกัน"
กลุ่มแอดมินใน HOSxP FB โพสต์ข้อความด้วยความข้องใจต่อ รายงานผลดังกล่าว
" ตกลงกดดัน LIS หรือ กดดันโรงพยาบาล " Nirafeeda Binnima
" มาเก็บเงินที่ รพ.เลยดีกว่าไหม๊ แบบนี้ตอนขึ้นระบบก็จ่ายไป 340,000 บาทแล้วจะเพิ่มอีกนิดจะเป็นไรไป แต่ถ้าจ่ายแล้ว ตอนหลังโรงพยาบาลจำเป็นต้องเปลี่ยนบริษัท LIS แล้ว ไม่ขอจ่ายอีกนะ.."
Phichai Kethirun
Phichai Kethirun
" นี่บริษัทสนับสนุนประชุมวิชาการด้วยซ้ำนะครับ ไม่น่าทำกันแบบนี้เลยนา" .. Pawara Prongjit
..................................................................................................................................................................
ตัวแทนบริษัท LIS ขอชี้แจง
21 พฤษภาคม 2556
เมื่อการชี้แจงข้อมูลของ BMS เป็นไปในลักษณะที่ว่าปัญหาต่างๆที่โรงพยาบาลเจอในเรื่องการปลดการเชื่อมต่อของ LIS นั้นเกิดจากการบริษัท LIS ยังหาข้อตกลงเรื่องผู้รับผิดชอบการเชื่อมต่อ LIS กับ BMS Gateway ไม่ได้ แม้ทาง BMS จะช่วยแก้ปัญหาคือการส่งตัวปลดล๊อคชั่วคราวให้โดยยืดอายุให้จนถึง 30 มิถุนายน 56 แต่ข้อสงสัยและข้อข้องใจว่าทำไม LIS จึงยังไม่รีบดำเนินการ จนเกิดเสียงต่อว่าต่อขานในชุมชน HOSxP ด้วยความไม่เข้าใจ ทำให้ตัวแทนบริษัท LIS ต้องขอชี้แจงข้อมูล ซึ่งผมสรุปเนื้อหาและประเด็นที่น่าสนใจได้ดังนี้ครับ
- บริษัท LIS ไม่เคยคิดที่จะละเมิดสิทธิ์ฐานข้อมูลของ HOSxP ทุกสิ่งทุกอย่างก่อนหน้านี้บ่งชี้ว่า HOSxP ในขณะนั้นเป็นฟรี Software ฟรีทั้งการสอบถามจาก Admin ของ ร.พ.ก็ได้รับคำตอบว่า Download มาติดตั้งกันเอง แม้แต่ใน Websiteของ HOSxPเองก็ยังสามารถ Download Sourcecode มาศึกษาได้ ซึ่งแสดงความเป็น Opensource ชัดเจน ทางบริษัทจึงเริ่มศึกษา Database ของ HOSxP และพัฒนาตัวเชื่อมต่อหรือ Gateway ขึ้นมา
- เมื่อ BMS-HOSxP คิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อ ไม่ได้ดำเนินการไปข้างหน้า แต่ใช้วิธีเรียกเก็บเงินย้อนหลังทั้งหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่แต่ละบริษัทดำเนินการได้ลำบากมากถึงมากที่สุดเพราะเกี่ยวข้องกับเงินจำนวนมาก และกระทบระบบบัญชีรายรับจ่ายของบริษัท เพราะในการทำสัญญาซื้อขาย หรือว่าจ้างกันระหว่างบริษัทน้ำยากับบริษัทที่ทำระบบ LISไม่ได้มีการระบุค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไว้ และการดำเนินการติดตั้งระบบ LIS ตามสัญญาดังกล่าวได้เสร็จสิ้น และมีการชำระเงินกันไปแล้ว แต่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นมา ทำให้ราคาน้ำยาที่เสนอให้โรงพยาบาลไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
- เมื่อบริษัทน้ำยาต้องรับภาระต้นทุนมากขึ้น ก็ต้องมีการขอร้องโรงพยาบาลเพื่อปรับราคาอยู่ดี ซึ่งตรงข้ามกับการให้ข้อมูลของ HOSxP ที่พยายามย้ำว่าโรงพยาบาลไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วต้นทุนที่สูงขึ้นก็มาจากการเรียกเก็บเงินของ HOSxP นั่นเอง
- ในส่วนของการติดตั้ง Siteงานใหม่ ทางบริษัทน้ำยาไม่ได้มีปัญหาในการชำระเงินให้กับ HOSxP เพราะว่าบริษัทน้ำยารู้ตัวล่วงหน้าว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของ HOSxP และได้ทำราคาน้ำยาเสนอให้โรงพยาบาลตามต้นทุนที่แท้จริงไว้แล้ว
- ถ้าการรายงานผลแล็บ มันเชื่อถือไม่ได้จริงๆอย่างที่ HOSxPกล่าวอ้าง ก็คงไม่มีบริษัทน้ำยา หรือห้อง LABที่ไหนกล้าจ้างไปทำงานให้หรือใช้งานโปรแกรมของบริษัท
CEO BMS ชี้แจง
21 พฤษภาคม 2556
หลังจากที่เงียบหายไปนานเพราะภาระกิจต่างๆ ในวันนี้อาจารย์ชัยพรได้โพสต์ชี้แจงแก่สมาชิก HOSxP
" เรื่องปัญหาของ LIS นั้น หลายๆ ท่านก็คงทราบกันดีแล้วว่าทาง BMS มีนโยบายที่จะไม่ให้มีการเชื่อมต่อตรงกับฐานข้อมูลโดยตรง และในแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายนี้ ทาง BMS ก็ได้ดำเนินการประสานงาน ชี้แจง อธิบาย ฯลฯ ทั้งกับ รพ. และบริษัท LIS รวมทั้งบริษัทขายน้ำยา มาได้ประมาณ เกือบ 1 ปีแล้ว ก็ว่าได้นะครับ
ถึงตอนนี้ วันนี้ ผมก็พอจะได้ผลสรุปรวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหามาช่วยให้สมาชิกช่วยกันหาแนวทางแก้ปัญหาดังนี้ครับ
ถึงตอนนี้ วันนี้ ผมก็พอจะได้ผลสรุปรวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหามาช่วยให้สมาชิกช่วยกันหาแนวทางแก้ปัญหาดังนี้ครับ
- ในบริษัทที่จำหน่าย LIS และน้ำยา มีหลายบริษัท ที่มีการตื่นตัวและพยายามร่วมมือกับ BMS ในการปรับปรุงระบบให้เข้ากับนโยบายนี้ ซึ่งทราบสามารถดูได้จากรายชื่อของบริษัทที่ทาง BMS ได้แจ้งให้ทราบแล้วว่ามีบริษัทใดบ้าง ซึ่งผมต้องขอขอบคุณทางผู้บริหารของบริษัทต่างๆ ที่เข้าใจปัญหาและเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหา
- ถึงแม้ว่าในบางบริษัทที่พัฒนา LIS จะให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบเชื่อมต่อเสร็จแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการปรับปรุงระบบที่โรงพยาบาลได้ เนื่องจาก ใน รพ.นั้นๆ มีบริษัทที่จำหน่ายน้ำยา หลายบริษัท และทางบริษัท LISเองก็ไม่สามารถประสานงานกับบริษัทน้ำยาต่างๆ ได้ ปัญหาในข้อนี้ ทาง BMS ได้คุยกับทางบริษัท LIS แล้วว่าให้ช่วยดำเนินการประสานงานกับบริษัทน้ำยาต่างๆ ว่าทาง BMS จะติดต่อโดยตรงกับบริษัทขายน้ำยาให้เอง เพื่อที่จะได้ข้อสรุปโดยเร็ว
- ทั้งข้อ 1 และ 2 นั้นจากที่ทาง BMS ได้ทำการประสานงานกันมา หากทางบริษัท LIS หรือบริษัทจำหน่ายน้ำยา เข้าใจในปัญหา (ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจนะครับ) ก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับทาง BMS อยู่แล้วครับ
ปัญหาอยู่ที่กลุ่มที่ไม่สนใจจะแก้ปัญหา คราวนี้ก็ต้องย้อนกลับมาที่ รพ.แล้วละครับ ว่าท่านจะช่วย BMS แก้ปัญหาอย่างไรดี ถึงจะให้การเชื่อมต่อข้อมูลเป็นไปตามแนวทางที่วางเอาไว้ได้ เพราะบริษัทเหล่านี้ไม่ได้สนใจจะแก้ปัญหาให้ท่านแล้ว จากที่ประชุมวิชาการครั้งที่แล้วผมก็มีแนวทางคร่าวๆ ดังนี้ครับ
- ให้ รพ. ชะลอการ Upgrade version ใหม่ไปก่อน จนกว่าจะหมดสัญญากับบริษัทที่จำหน่ายน้ำยา หรือหาบริษัทที่จำหน่ายน้ำยาที่สามารถเชื่อมต่อกับ LIS ที่สามารถพัฒนาระบบการเชื่อมต่อแบบใหม่ได้
- หากสัญญามีระยะเวลานาน จนไม่สามารถรอ Upgrade ได้ อาจจะต้องทำการ Upgrade ไปก่อน แต่ในการดูผล LIS สามารถดูได้จากระบบของ LIS โดยตรง ที่ปกติจะมีระบบให้แพทย์ดู Online ได้อยู่แล้ว ในส่วนของการประสานงานกับบริษัท LIS เรื่องการดำเนินการพัฒนาระบบนั้น มีบาง รพ. ที่บริษัท LIS พัฒนาระบบเสร็จไม่ทัน ทาง BMS เองก็เข้าใจและได้ดำเนินการส่งตัวปลด Lock ผล ชั่วคราวไปให้กับ รพ. ที่ทางบริษัท LIS กำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งในกลุ่มนี่ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ เพราะพอพัฒนาเสร็จแล้ว วางแผนการ Upgradeระบบชัด ก็สามารถดำเนินการติดตั้งได้เลย นั่นเป็นแนวทางที่ทาง BMS ได้วางเอาไว้ โดยภาระทั้งหมดจะอยู่บริษัท LIS หรือบริษัทจำหน่ายน้ำยา ตามที่ BMS ได้รับปากเอาไว้ว่าจะดำเนินการโดยให้มีผลกระทบกับ รพ. ให้น้อยที่สุดในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แต่ยังมี รพ. อีกกลุ่มที่มีอยากจะช่วย BMS แก้ไขปัญหาให้เสร็จไปเร็วๆ ด้วยการช่วย Support ค่าใช้จ่ายแทนบริษัท LIS หรือ บริษัทน้ำยา เอง ซึ่งผมก็ขอขอบคุณทาง รพ.เช่นเดียวกันครับ แต่ ผมแค่อยากจะให้ทาง รพ. ทราบว่าเราไม่อยากเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้กับทาง รพ. โดยตรงเอง
สรุปประเด็นสำคัญ จากคำชี้แจงของของ อ.ชัยพร คือ
กลุ่มที่ 1 บริษัท LIS ที่ได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว กลุ่มนี้โรงพยาบาลคงไม่มีปัญหาแน่นอน
กลุ่มที่ 2 บริษัท LIS ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบ BMS ได้ส่งตัวปลดล๊อคผลชั่วคราวไปให้สำหรับโรงพยาบาลที่เป็นลูกค้าของ LIS ในกลุ่มนี้ เมื่อพัฒนาระบบเสร็จ ติดตั้งก็พร้อมใช้งานได้ตามปกติ
กลุ่มที่ 3 บริษัท LIS หรือ บริษัทน้ำยา ที่ไม่สนใจให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหา
**ข้อมูลล่าสุดเท่าที่ผมทราบ บริษัทน้ำยายินยอมที่จ่ายเงินให้กับ BMSแล้ว เพื่อไม่ให้โรงพยาบาลเดือดร้อนไปมากกว่านี้และโดนต่อว่า (หรืออาจจะโดนไปเปลี่ยนเครื่องไปใช้บริษัทอื่นที่ BMSเสนอ) แต่ปัญหาของแต่ละบริษัทก็คือ ยอดเงินจำนวนมากที่จะต้องนำมาจ่าย แม้ตอนนี้จ่ายได้แต่ต่อไปทางบริษัทน้ำยาคงต้องบวกราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นกับโรงพยาบาลอยู่ดี
กลุ่มคนที่ควรมาจับเข่าคุยกันต่อ คือ
- BMS HOSxP
- บริษัท LIS
- บริษัท น้ำยา
- โรงพยาบาล
อ่านต่อตอนที่ 4
มองภาพได้กว้างขึ้นจากไม่รู้งูๆ ปลาๆๆ
ตอบลบที่ รพ.เกษตรสมบูรณ์ ติดตั้ง Gateway HOSLAB ไปแล้ว 16 - 17 พ.ค. แต่เกิดปัญหาหลายอย่างกับระบบ เช่น print barcode ช้ากว่าเดิม , ผลของ Lab ล่วงหน้าไม่เข้า DB เนื่องจากใช้เวอร์ชั่นเก่ามากในการสั่ง (ทำให้ไม่มีข้อมูลใน lab_lis_track) , LIS จึงต้องใช้วิธีดึงตรงจากฐาน HOSxP แต่เอาผลเข้าโดยผ่าน GateWay แบบนี้ก็ไม่มีประโยชน์ครับ , ปัญหาต่อมาคือเมื่อเกิดปัญหาที่ record ใด record หนึ่งแล้ว record ถัดมาจะไม่ทำงานต่อ อันนี้เป็นปัญหากินไม่ได้นอนไม่หลับ รับโทรศัพท์จากห้อง Lab ตลอดเลยครับ แต่ปัญหาสุดท้ายที่ผมเจอ และได้โทรไปแจ้งที่ BMS คือ การ remote มาแก้ไขโปรแกรมโดยไม่แจ้งก่อน แต่พอมีปัญหาแล้วโทรแจ้งให้เราแก้ปัญหา แบบว่าตัว GateWay น่าจะมี Bug มันสั่งเปิดโปรแกรมเองเป็นร้อยเลยครับ ปิดก็ไม่ได้ กิน RAM หมดเลย ผมมาเจอตอนเช้ารีบโทรแจ้งน้องที่ BMS แล้วก็ปิดตัว remote ไปแล้ว ต่อไปคงต้องให้ส่งตัว upgrade ทาง mail ผมจะติดตั้งเอง และคงต้องผ่าน QC ที่ BMS ก่อน ผมไม่อยากเป็นหนูทดลองยา ตอนนี้ผมปิดตัว GateWay ไปแล้วใช้ระบบเดิมอยู่ ไม่ใช้ตัวปลดล็อกด้วยเพราะว่ายังใช้ เวอร์ชั่นปีที่แล้วอยู่ วางแผนว่า ต้น มิ.ย. จะเริ่มใหม่ Lab ล่วงหน้าที่เคยสั่งไว้จากเวอร์ชั่นเก่าถึงวันที่ 30 พ.ค. นี้
ตอบลบผมเองก็กังวลใจอยู่ครับ เพราะเวลาติดปัญหาทีม BMS บางครั้งจะแก้ไม่ได้ต้องรอ ปัญหาคือ การรอของงานโรงพยาบาลนีแค่ 1-2 ชม.ระบบ ก็วุ่นแล้วล่ะ ประเด็นนี้อยากให้ปิ๊กเสนอในบอร์ดด้วยนะครับ
ตอบลบ