มิถุนายน 2009
BMS-HOSxP ได้ประชาสัมพันธ์การบริการ Maintenance Package ซึ่งเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยให้ BMS มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกจากค่าจัดบริการขึ้นระบบ การฝึกอบรม และการจำหน่ายแพจเกจเสริมต่างๆ โดยมีรายละเอียดการบริการในแพคเกจต่าง ดังนี้
บริการหลัก (มีทุก Package)
- บริการตอบคำถามการใช้งาน HOSxP (Call Center พิเศษเฉพาะลูกค้า Maintenance)
- บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการใช้งาน (ทางไกล - Remote support)
- บริการกู้คืนข้อมูล (กรณีระบบมีปัญหา)
- บริการตรวจสอบและติดตั้ง Linux / MySQL Server (ตอน Upgrade HOsxP)
- บริการ Upgrade verson HOSxP เป็นรุ่นใหม่ (ตามช่วงเวลาใน Package) และตรวจสอบค่าการทำงาน
- บริการติดตั้งระบบ Replication (Stand by slave / Report server)
- บริการตรวจสอบระบบส่งออกข้อมูล 12 แฟ้ม/18 แฟ้ม/Text file สกส.
- บริการสร้างรายงานตามคำขอ (จำกัดจำนวน ตาม Package)
BMS-HOSxP ได้ประชาสัมพันธ์การบริการ Maintenance Package ซึ่งเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยให้ BMS มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกจากค่าจัดบริการขึ้นระบบ การฝึกอบรม และการจำหน่ายแพจเกจเสริมต่างๆ โดยมีรายละเอียดการบริการในแพคเกจต่าง ดังนี้
บริการหลัก (มีทุก Package)
- บริการตอบคำถามการใช้งาน HOSxP (Call Center พิเศษเฉพาะลูกค้า Maintenance)
- บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการใช้งาน (ทางไกล - Remote support)
- บริการกู้คืนข้อมูล (กรณีระบบมีปัญหา)
- บริการตรวจสอบและติดตั้ง Linux / MySQL Server (ตอน Upgrade HOsxP)
- บริการ Upgrade verson HOSxP เป็นรุ่นใหม่ (ตามช่วงเวลาใน Package) และตรวจสอบค่าการทำงาน
- บริการติดตั้งระบบ Replication (Stand by slave / Report server)
- บริการตรวจสอบระบบส่งออกข้อมูล 12 แฟ้ม/18 แฟ้ม/Text file สกส.
- บริการสร้างรายงานตามคำขอ (จำกัดจำนวน ตาม Package)
ไม่รู้ว่าเป็นเพราะบริการที่ไม่โดนตา หรือราคาที่ไม่โดนใจ Maintenance Package บริการใหม่ที่ถูกเข็นออกมาเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับ BMS-HOSxP ไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกเท่าที่ควร สาเหตุสำคัญที่ BMS ต้องยอมรับว่า คือ ความสามารถบุคลากรของ BMS ที่ช่วยตอบปัญหา หรือออกมาให้บริการขาดประสบการณ์และความเข้าใจในการทำงานกับโรงพยาบาลทำให้ไม่สามารถช่วยตอบปัญหาหรือแก้ไขได้ตรงจุด บวกกับราคาค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียไปที่ประเมินดูแล้วเหมือนจะได้ไม่คุ้มเสีย..
..................................................................................................................................................................
BMS -HOSxP Activate จุดเปลี่ยน?
ก่อนหน้าที่จะมีการคิดค่า Activate อาจารย์ชัยพรได้ขอความเห็นจากทางสมาชิกในบอร์ดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า HOSxP ยังต้องการพัฒนาไปต่อเพื่อรองรับระบบงานใหม่ๆ และถึงเวลาแล้วที่ทุกคนควรช่วยสนับสนุน ไม่ควรให้ อ.ชัยพร และ BMS ต้องมาแบกรับภาระกันตามลำพัง
กราบเรียนผู้อำนวยการ ผู้รับผิดชอบ IT และผู้ใช้งานระบบบริหารงานโรงพยาบาล HOSxP ทุกท่าน
10 ปีที่ผ่านมานั้นทาง BMS ได้พัฒนา HOSxP ในรูปแบบของ Free Software ซึ่งไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายใดๆ กับผู้ที่ใช้งาน เราพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะคงนโยบายนี้เอาไว้ แต่ด้วยรูปแบบการบริหารจัดการในปัจจุบันที่อยู่ในรูปของบริษัท ที่ไม่ได้ขอสนับสนุนเงินทุนจากหน่วยงานใดๆ ทำให้ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในตอนนี้เมื่อเทียบกับ 10ปีที่แล้วเพิ่มขึ้นมากหลายเท่าตัว ที่ผ่านมานั้นเราพยายามหาวิธีที่จะคงไว้ซึ่งความเป็น Free software หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ Maintenance Package แบบไม่บังคับ แต่ก็แทบจะไม่ได้รับการตอบรับเลย หลังจากที่ได้ระดมความคิดจากผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบผ่าน Web Board ของ HOSxP.Net เราจึงตัดสินใจที่จะต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายในการพัฒนาใหม่ นั้นคือ เราจำเป็นต้องคิดค่าบริการเพื่อนำมาใช้ในการสนับสนุนการพัฒนาระบบงานต่างๆ ใน HOSxP โดยวิธีชำระค่าบริการนี้ มีอยู่ 3 แบบคือ ชำระเป็นรายเดือน ราย 6 เดือน และราย ปี โดยในการชำระเป็นรายปีแต่ละเดือนจะมีค่าใช้จ่ายเพียงประมาณเดือนละ 1,500 บาท
ซึ่งผมอยากให้ท่านคิดว่านี่เป็นการช่วยสนับสนุนทีมพัฒนาของ BMS ให้พัฒนาระบบต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้งเช่นเดิม นโยบายใหม่นี้จะเริ่มใช้ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป และท่านสามารถทดสอบระบบการ Activation นี้ได้ใน HOSxP รุ่น 3.55.8.15 เป็นต้นไปโดยยังไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายใดๆ จนกว่าจะถึงเดือนตุลาคม 2555 ครับ การ Activation นี้จะมีเฉพาะใน HOSxP ครับ ไม่รวมไปถึง HOSxP-PCU ที่ยังใช้รูปแบบการพัฒนาแบบ Free Software เช่นเดิมครับ และสำหรับหน่วยงานที่ยังไม่พร้อมที่จะช่วยสนับสนุนค่าบริการนั้น ก็ยังสามารถใช้ HOSxP รุ่น 3.55.8.14 ต่อไปได้ โดยไม่จำเป็นต้อง Activate โปรแกรมก่อนครับ
สุดท้ายผมต้องกราบขออภัยที่จำเป็นต้องคิดค่าบริการนี้เพิ่มขึ้นมา และผมหวังว่าจะได้รับการพิจารณาจากท่านครับ
HOSxP รุ่น 3.55.8.14 คือ เวอร์ชั่นสุดท้ายสำหรับการใช้งานฟรี โดยที่ไม่ต้อง Activate
.................................................................................................................................
สิ้นสุดยุคสมัยของ HOSxP Free Software
HOSxP Version 3.55.8.14 คือ เวอร์ชั่นสุดท้ายที่สามารถนำไปใช้ได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่า activate ซึ่งแน่นอนครับว่าด้วยราคาเฉลี่ยเพียงเดือนละพันกว่าบาท ถูกว่าค่าอินเตอร์เนตบางแพคเกจเสียอีก และเพื่อให้รองรับระบบงานใหม่ รวมถึงการส่งออก 43+7 แฟ้ม ที่จะเริ่มใช้กัน ทำให้โรงพยาบาลต่างๆแม้จะลังเลใจและมีเสียงสะท้อนออกมาจากผู้บริหารบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ยินดีให้การสนับสนุน
ค่า Activate หรือที่พวกเราตีความกันว่าเป็นค่าพัฒนาโปรแกรม HOSxP หลังจากที่ลงทะเบียนเพื่อขอรหัสในการใช้งาน HOSxP เวอร์ชั่นใหม่ได้ ช่วงแรก BMS ออกเพจเกจค่า activate มีแบบรายหกเดือน และรายปี ซึ่งทาง BMS คงอยากให้เป็นทางเลือก แต่สุดท้ายโรงพยาบาลส่วนส่วนใหญ่เลือกที่จะบริการเป็นแพคเกจรายปี
ในช่วงแรกปีแรกของการ Activate มีรอยร้าวเล็กๆ ที่เกิดขึ้นจาการบริหารของ BMS ที่ขาดความยืดหยุ่น เพราะแต่ละโรงพยาบาลเจอปัญหาเมื่อนำเรื่องการActivateไปนำเสนอผู้บริหารเรียบร้อย หลังจากได้รับการอนุมัติ แต่ฝ่ายพัสดุที่ทำหน้าที่ในการจัดซื้อยังงงๆ ว่าจะหาระเบียบตัวไหนมา รองรับตามสไตล์การบริหารของระบบข้าราชการ แม้บางหน่วยงานที่ได้ดำเนินติดต่อและอยู่ในระหว่างดำเนินการเอกสารแต่ถ้ายังติดขัดเรื่องการชำระเงิน ก็ถูกตัดสิทธิ์ให้หมดอายุโดย BMS ให้เหตุผลว่าเป็นนโยบายการบริหารของบริษัท
หลายโรงพยาบาล ผู้รับผิดชอบต้องหายืมเงินอื่นๆมาสำรองจ่ายกันไปก่อนเพื่อให้ Activate ได้ ทั้งๆที่ทุกโรงพยาบาลยินยอมพร้อมที่จะจ่าย แต่ด้วยเหตุที่ติดขัดกับระเบียบทางราชการ ปัญหาตรงนี้ กลายเป็นประเด็นที่สร้างความคลางแคลงใจของสมาชิกต่อ BMS-HOSxP ว่าทำไมถึงวางนโยบายที่แข็งกร้าวกับโรงพยาบาลที่ยังชำระเงินไม่เรียบร้อย ทั้งๆที่การตกลงบริการก็ยืนยันว่ายินดีจ่ายแน่ๆเพียงแต่เรื่องของเอกสารก็อยู่ในระหว่างดำเนิน ก่อนหน้าจะ Activate BMS-HOSxP ก็ให้ปล่อยให้ดาวโหลดมาใช้ฟรีๆตั้ง 10 ปี เรื่องแค่นี้น่าจะรอและยีดหยุ่นได้ ซึ่งในปีแรกของการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการดำเนินงานอาจจะมีปัญหาบ้าง แต่ถ้าหากเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างผ่านในปีต่อๆไปก็คงไม่มีปัญหามากนัก..
............................................................................................................................................................
Activate ค่าพัฒนานะจ๊ะ ไม่ใช่ค่าดูแล
Activate ค่าพัฒนานะจ๊ะ ไม่ใช่ค่าดูแล
หลังจากที่จบลงด้วยดีกับการร่วมกันหาทางออกในการสนับสนุน BMS-HOSxP ด้วยการร่วมจ่ายเป็นค่า Activate แต่อย่างไรก็ดี มีข้อเท็จจริงที่จะต้องทำความเข้าใจ นั่นคือโรงพยาบาลที่ขอ Activate ทั้งหมดไม่ใช่โรงพยาบาลที่ขึ้นระบบและดูแลโดยบริษัท BMS ดังนั้นโรงพยาบาลที่ขึ้นระบบเองและไม่ได้ซื้อแพคเกจ Maintenance จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขบริการดูแลหลังการขาย และเท่าที่ทราบทาง BMS ก็มิได้มีสัญญารับผิดชอบการใช้งานหรือการทำงานของโปรแกรมแต่อย่างใด การดำเนินงานของทุกโรงพยาบาลที่ขึ้นระบบเองยังเหมือนเดิม รวมถึงการพัฒนาระบบงานอื่นๆที่เชื่อมต่อกับ HOSxP จนกระทั่งมีเรื่องของ LIS เข้ามาเกี่ยวข้อง
............................................................................................................................................................
นโยบายการเชื่อมต่อ LIS ใน HOSxP 3.55.9x
3 กันยายน 2012
เนื่องจากที่ผ่านมานั้นการเชื่อมต่อผล Lab กับระบบ LIS นั้นทาง BMS ไม่ได้มีการปิดกั้นใดๆ โดยเราก็ได้แต่หวังว่าบริษัท LIS จะให้ความร่วมมือในการเชื่อมต่อผ่านตัว LIS Gateway ที่ทาง BMS ได้พัฒนาขึ้นมา แต่ปัจจุบันนี้มีบริษัท LIS อยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่เชื่อมต่อผ่าน LIS Gateway และกลุ่มที่เชื่อมต่อโดยตรงผ่าน Database ซึ่งตอนนี้มีปัญหาก็คือ
ระบบ LIS Gateway ที่ทาง BMS พัฒนาไว้รองรับการเชื่อมต่อกับ LIS นั้นเป็นแบบไม่บังคับ นั่นก็คือถ้าผมเป็นบริษัท LIS แล้วไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อผ่าน Gateway ผมก็คงไม่อยากจะเชื่อมต่อผ่าน Gateway นะครับ เพราะว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ว่าทำไมต้องเชื่อมต่อผ่าน Gateway เนื่องจากในการเชื่อมต่อนั้นเราจะต้องทำการ Mapping รหัสของ Lab items แต่ละตัวให้ตรงกันกับ LIS แต่ละบริษัท และตอนนี้ในบาง รพ. ได้เชื่อมต่อกับ LIS หลายระบบ ทำให้หากไม่ได้มีการตกลงเรื่องของรหัสที่เชื่อมต่อให้ดี ก็จะมีปัญหาการอ่านผลที่ผิดพลาดเกิดขึ้น จากการส่งผล Lab รหัสเดียวกันจากระบบ LIS หลายระบบ
เพื่อแก้ปัญหานี้ ผมจึงต้องเปลี่ยนนโยบายในการเชื่อมต่อกับ LIS ใหม่ครับ คือบังคับให้เชื่อมต่อผ่าน BMS-LIS Gateway ทุกบริษัท เนื่องจากปัญหานี้มีผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลในระบบเป็นอย่างมาก โดยใน HOSxP 3.55.9.x เป็นต้นไปจะมีการตรวจสอบ key ของ record (ในตาราง lab_order.check_key) ว่าถูกบันทึกจาก HOSxP หรือจากตัว Gateway หรือไม่ ถ้ามีค่าที่ไม่ถูกต้องโปรแกรมจะถือว่าเป็นผล Lab ที่ไม่ถูกต้องนะครับ
ฝาก รพ. ที่ได้เชื่อมต่อกับ LIS โดยไม่ผ่านตัว Gateway ให้แจ้ง บริษัท LIS ให้ติดต่อไปที่ BMS เพื่อทำการเชื่อมต่อกับระบบ LIS Gateway ด้วยนะครับ
เพื่อแก้ปัญหานี้ ผมจึงต้องเปลี่ยนนโยบายในการเชื่อมต่อกับ LIS ใหม่ครับ คือบังคับให้เชื่อมต่อผ่าน BMS-LIS Gateway ทุกบริษัท เนื่องจากปัญหานี้มีผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลในระบบเป็นอย่างมาก โดยใน HOSxP 3.55.9.x เป็นต้นไปจะมีการตรวจสอบ key ของ record (ในตาราง lab_order.check_key) ว่าถูกบันทึกจาก HOSxP หรือจากตัว Gateway หรือไม่ ถ้ามีค่าที่ไม่ถูกต้องโปรแกรมจะถือว่าเป็นผล Lab ที่ไม่ถูกต้องนะครับ
ฝาก รพ. ที่ได้เชื่อมต่อกับ LIS โดยไม่ผ่านตัว Gateway ให้แจ้ง บริษัท LIS ให้ติดต่อไปที่ BMS เพื่อทำการเชื่อมต่อกับระบบ LIS Gateway ด้วยนะครับ
หลังจากการระบบ Activate เริ่มต้นไม่นาน แอดมินหลายท่านกำลังสบายใจที่ BMS-HOSxP ได้รับการค่า activate จากโรงพยาบาลต่างๆเป็นค่าสนับสนุนในการพัฒนา แม้ว่าช่วงแรกจะมีเสียงสะท้อนจากฝั่งผู้บริหาร หรือคนที่ยังไม่เข้าใจอยู่บ้าง แต่เมื่อทุกคนได้พยายามช่วยกันชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงประกอบกับตัวเลขค่าใช้จ่ายสำหรับค่า Activate รายปีที่ไม่ถึงสองหมื่นบาทต่อปี ซึ่งถือว่าน้อยมากถ้าจะเปรียบกับการจ้างโปรแกรมเมอร์ในการพัฒนาโปรแกรมสักคน
แต่เรื่องค่า activate ยังไม่ทันจางหาย BMS-HOSxP ได้เปิดประเด็นใหม่เกี่ยวกับการเชื่อมของ LIS การรับรู้ในช่วงแรกได้รับการอธิบายว่าเป็นเรื่องระหว่าง HIS & LIS ที่ต้องพูดคุยกัน ไม่ใช่ปัญหาของโรงพยาบาล แต่เมื่อการเจรจายังไม่ได้รับการตอบสนองจาก LIS การใช้นโยบายล๊อคการเชื่อมต่อทำให้โรงพยาบาลต่างๆพบปัญหาการรายงานผลแล็บ จนต้องติดต่อขอรหัสปลดล๊อคชั่วคราวจาก BMS กลายเป็นประเด็นร้อนเรื่องใหม่ ที่สร้างความสงสัยว่า "ทำไม?"
แต่เรื่องค่า activate ยังไม่ทันจางหาย BMS-HOSxP ได้เปิดประเด็นใหม่เกี่ยวกับการเชื่อมของ LIS การรับรู้ในช่วงแรกได้รับการอธิบายว่าเป็นเรื่องระหว่าง HIS & LIS ที่ต้องพูดคุยกัน ไม่ใช่ปัญหาของโรงพยาบาล แต่เมื่อการเจรจายังไม่ได้รับการตอบสนองจาก LIS การใช้นโยบายล๊อคการเชื่อมต่อทำให้โรงพยาบาลต่างๆพบปัญหาการรายงานผลแล็บ จนต้องติดต่อขอรหัสปลดล๊อคชั่วคราวจาก BMS กลายเป็นประเด็นร้อนเรื่องใหม่ ที่สร้างความสงสัยว่า "ทำไม?"
แอดมินหลายๆท่านที่ยังไม่รู้และไม่เข้าใจในเรื่อง LIS มาก่อน ต้องเหลียวหลังหันกลับมามองเรื่องนี้แบบ 360 องศาและต้องติดตามให้ความสนใจ เพราะมีผลกระทบต่อบริการของโรงพยาบาลเต็มๆ
ตอนนี้เผือกร้อนได้เข้ามาอยู่ในมือผมเรียบร้อยแล้ว
ตอนนี้เผือกร้อนได้เข้ามาอยู่ในมือผมเรียบร้อยแล้ว
อาจารย์ชัยพรได้ให้เหตุผลว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของความถูกต้องของข้อมูลที่สำคัญและได้เคยแจ้งให้กับบริษัท LIS รับทราบมานานแล้ว (แต่โรงพยาบาลไม่ยักทราบด้วย ทั้งๆที่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็คือต้นทุนที่ LIS ต้องไปบวกเพิ่มกับบริษัทน้ำยาหรือโรงพยาบาลต่างๆ อยู่ดี)
คุณหมออนุกูลได้ตั้งประเด็นคำถามต่อเรื่องนี้ไว้ในบอร์ดของ HOSxP ไว้อย่างน่าสนใจว่า
- ทำไม BMS-HOSxP ถึงมาบังคับในตอนนี้ "เป็นเพราะเหตุผลเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่เกิดจาก LIS หลายเจ้าหรือ mapping ไม่ถูกต้องหรือชนกัน " ถ้ามีปัญหาและสำคัญจริงๆ (อย่างที่กล่าวอ้าง) น่าจะได้รับคำชี้แจงแล้วแก้ไขมาก่อนหน้านี้ แต่กลับถูกละเลยให้แต่ละโรงพยาบาลใช้ระบบ LIS โดยไม่ได้รับทราบการทักท้วงจากฝั่งของ BMS มาก่อนอาจารย์ชัยพรให้ได้คำตอบในเรื่องนี้ว่า เพราะมีกรณีที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นครับ คือ รพ. ใช้ LIS 2 บริษัท แล้วไม่มีใครมารับผิดชอบกับปัญหาที่ข้อมูลมันไม่ถูกต้องจากการ Mapping รหัสในระบบของตัวเองที่ไปชนกันกับของอีกบริษัท มันทำให้เราต้องมาทบทวนกันใหม่ครับว่า เราจะปล่อยให้มันเป็นปัญหาแบบนี้อีกหรือไม่ ตอนนี้ LIS ในประเทศไทย ผมคิดว่ามีเกิน 10 บริษัท แล้วในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ที่ 1 รพ. จะใช้ LIS มากกว่า 1 ระบบ แน่นอนว่ามันต้องเกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นอีก
- "BMS ประสบปัญหาเรื่องรายรับ รายจ่าย ไม่สามารถรับมือได้ หรือไม่สามารถรันงานที่ดีมีคุณภาพได้ตามที่ควรจะเป็น เนื่องจากมีรายจ่ายมากขึ้น รายรับจากการขึ้นระบบลดลง ใช่หรือไม่" ? คำถามคุณหมออนุกูลในประเด็นนี้ ผมคิดว่าตรงใจใครหลายคนอาจารย์ชัยพรได้ให้ตอบไว้ว่า "ปัญหาของ LIS นั้นเป็นคนละเร่ื่องกับการคิดค่าบริการ Activation package เลยครับ ถ้าถามว่าตอนนี้ BMS มีปัญหาเรื่องรายรับมากหรือไม่ ผมขอตอบตรงๆว่ายังไม่ถึงจุดที่ต้องมาไล่เก็บค่าเชื่อมต่อ LIS ครับ""ประเด็นของ LIS นี้ปัญหาอยู่ที่ระบบการเชื่อมต่อข้อมูลกันอย่างเดียวเลยครับ ที่ผ่านมาผมไม่บังคับแล้วก็ไม่อยากบังคับด้วยครับ ผมขอความสมัครใจจากบริษัท LIS แต่สุดท้ายก็มีไม่กี่บริษัทที่ให้ความร่วมือ ก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ แต่พอมามีปัญหาแบบนี้ผมเลยเข้าใจเลยว่าเราคงต้องบังคับแล้ว มันถึงเวลาที่ต้องจัดระบบระเบียบการเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันแล้ว"
การที่บริษัท LIS อ้างว่าเราคิดค่าเชื่อมต่อใหม่ทุกปีนั้น ที่ผ่านมาเราไม่เคยทำนะครับ ลองถามบริษัทที่เคยเชื่อมต่อกับ BMS มาแล้วก็ได้ เราคิดเฉพาะกรณีการติดตั้งระบบให้กับ รพ. ในครั้งแรกเท่านั้น และเราก็มีการเจรจากับบริษัท LIS ถึงเงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่ายอยู่แล้วครับ
" ดังนั้นหากบริษัท LIS อ้างว่าต้องเก็บเงินจากรพ. ไปจ่ายให้กับ BMS ปีละ 100,000 ทุกปีนั้น ถือว่าไม่จริงครับ คงเป็นข้ออ้างที่ไม่อยากมาเชื่อมต่อกันในแบบที่มันถูกต้องมากกว่า ส่วนรายละเอียดต่างๆ ที่เราคิดเอาไว้กับ LIS ผมจะนำมาไว้ใน hosxp.net ให้นะครับ "
" ตอนนี้มีหลายบริษัทที่เชื่อมต่อข้อมูล LIS ผ่านทาง BMS-LIS Gateway ก็ไม่มีปัญหาอะไรนะครับ ผมก็เลยคิดว่าปัญหาก็คือ บริษัทเหล่านี้ไม่อยากเชื่อมหรืออยากได้กำไรมากขึ้น เพราะยังไงผมก็คิดว่าเค้าคิดค่าเชื่อมต่อเผื่อเอาไว้ในราคาที่คิดกับโรงพยาบาลเอาไว้แล้วนะครับ "
คุณหมออนุกูล ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ในประเด็นคำถาม 2 ข้อ ดังกล่าวไว้ดังนี้
ถ้าเป็นกรณีแรก คิดว่า น่าจะทำเป็นหนังสือแจ้งทุกรพ. ว่า การเชื่อมต่อของ LIS กับ HOSxP อาจเกิดปัญหาเรื่องความถูกต้องของข้อมูลทั้งหลาย ถ้ารพ.คิดว่า อยากแก้ปัญหานี้ ให้ติดต่อ ตามที่ทางบริษัทเสนอ แต่ถ้ารพ.คิดว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ หรือแก้ไขเองได้ หรือคิดว่า ไม่คุ้มค่า ก็ต้องยอมรับผล เพราะทางบริษัทได้แจ้งให้ทราบแล้ว น่าจะพ้นจากความรับผิดชอบ (ความผิดน่าจะตกกับ LIS แทน) น่าจะตรงประเด็น ชัดเจนกว่า การบังคับแบบนี้
ถ้าเป็นกรณีที่สอง คิดว่าน่าจะแยกกลุ่มรพ. ตามขนาดครับ เช่น
... รพช. ผมเสนอว่า ไม่น่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายการเชื่อมต่อ เพราะก่อนหน้านี้ LIS มีราคาแพงมาก (แพงกว่า HIS อีก) แต่ระยะหลังมานี้ มีการพัฒนามากขึ้นทำให้ราคาลดลง จนทำให้ รพช.สามารถ (มีโอกาส) ได้ใช้งาน LIS บ้าง ถึงแม้จะเป็นตัว stand alone ก็ยังดี เพราะอย่างที่ทราบว่า ความถูกต้องของผล lab มากกว่าการลงข้อมูลเองในโปรแกรม (สามารถลด human error) แต่ตอนนี้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ผมเสียดายโอกาสที่ดีของรพช.ครับ
... รพท.หรือรพศ. เห็นด้วยครับที่จะมีการเรียกเก็บค่าเชื่อมต่อ เพราะ ความสามารถในการต่อรองกับบริษัทน้ำยา มีมากกว่า รพช.ครับ เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับรพ.ครับ เพราะตอนนี้ผมเป็นห่วง ภาพของ HOSxP ในสายตาของผู้บริหารรพ.ครับ และผมสงสาร admin ของแต่ละรพ.ที่บางแห่งต้องเป็นคนคอยตอบคำถามของผู้บริหาร สองเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกันครับ
anukul (ที่มา http://hosxp.net/smf/index.php?topic=27403.msg229349#msg229349 )
อาจารย์ชัยพรได้ตอบชี้แจงต่อข้อเสนอของคุณหมออนุกูลว่า
ปัญหามันอยู่ที่ข้อมูลของ LIS ถูกส่งเข้ามาในระบบ HOSxP โดยตรงนะครับ นี่เป็นเรื่องที่ผมกังวลอยู่ตอนนี้ ถ้า LIS จะมี Database ของตัวเองแล้วทำเป็น Web server เหมือนกับระบบ PACs ผมก็คงจะไม่คิดมากแบบนี้ แล้วมันเป็นปัญหาที่ผมแก้ไม่ได้ด้วยน่ะซิครับ ถ้าเป็นปัญหาจากระบบของ HOSxP เอง ยังไงผมก็หาทางแก้ไขให้จนได้ แต่พอที่มาของปัญหาเกิดจากระบบที่เราไม่ได้พัฒนาเอง มันก็ทำให้เราไม่สามารถไปรับประกันอะไรได้นะครับ
ตอนนี้มี 1 แห่งที่ไม่ตรวจรับงาน เพราะปัญหานี้ ผมลองให้เจ้าหน้าที่ติดต่อไปยังบริษัทที่มีปัญหาแล้ว ก็ไม่ได้รับการสนใจในการแก้ปัญหาแต่อย่างใด จนผมต้องตัดใจสรุปว่า ถ้ามาเชื่อมต่อตรงๆ แล้วทำให้ระบบมีปัญหา ก็อย่าเข้ามาเลยจะดีกว่า
ส่วนเรื่องของราคานั้นผมคิดว่ามันเจรจาต่อรองกันได้ตามความเหมาะสมนะครับ และไม่ควรที่จะมีผลกระทบกับ รพ. มาก แต่ประเด็นก็คือ บริษัท LIS จะมีความจริงใจในการแก้ปัญหานี้หรือเปล่านะครับ
ส่วนเรื่องของคุณภาพงานนั้น ตอนนี้ผมคิดว่าเราเป็นบริษัทที่ ซีเรียส เรื่องนี้มากๆ เลยครับ ผมหาทุกวิถีทางที่จะทำให้คุณภาพงานอยู่ในขั้นดี ในทุกโครงการที่ BMS เข้าไปรับผิดชอบ แต่การสร้างคนนั้นบางครั้งมันก็ต้องใช้เวลาครับ และทุกโครงการนั้นมีทีมบริหารคอยกำกับอยู่โดยตลอดครับ
...............................................................................................................................................................
ทางเลือก หรือทางออก
"ผมคิดว่ามันคงจะไม่เป็นแบบนั้นนะครับ อย่างแย่สุดก็คือ รพ. จะ Upgrade HOSxP ไม่ได้และก็คงต้องเลือกครับ ว่าจะเปลี่ยน HIS หรือจะเปลี่ยน LIS แต่ไม่ว่าอย่างไหน ก็แย่ทั้งนั้น"
" แต่ประเด็นก็คือผมไม่คิดว่าตอนนี้ BMS จะเอาเปรียบ LIS จนถึงขั้นที่ LIS จะไม่ยอมเข้ามาคุยนะครับ ผมอยากแก้ปัญหานี้กับ LIS มากกว่าครับ ลองคิดดูนะครับว่าในบรรดา HIS ทั้งหมด BMS เป็นบริษัทที่คิดค่าพัฒนาระบบเชื่อมต่อกับ LIS ถูกที่สุด .... อ.ชัยพร
...............................................................................................................................................................
บังคับเพื่อความเสมอภาค?
เรื่อง การบังคับหรือไม่บังคับนั้น ผมมีแนวคิดแบบนี้ครับคือ ปัญหานี้เป็นเรื่องระหว่าง HIS กับ LIS ไม่ใช่ HIS กับ รพ. ผมถึงระบุชัดว่าความเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่าง HIS กับ LIS ที่ต้องมาแก้ปัญหานี้ร่วมกัน ไม่ใช่ปล่อยให้ LIS ไปแก้ปัญหากันเอง และก็มีความเป็นไปได้สูงที่ LIS จะไม่ยอมคุยกัน เพราะ....... และมันก็เกิดขึ้นมาแล้ว
ถ้า HIS ไม่ได้เป็นผู้แก้ไขปัญหานี้ให้ มันก็จะคาราคาซังแบบนี้ไปเรื่อยๆ ผมถึงยอมถูกโดนตำหนิอีกครั้ง ในการบังคับการเชื่อมต่อผ่าน Gateway
ในเรื่องของการยกความรับผิดชอบไปให้กับ LIS เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ต้องถามต่อว่าแล้วจะยอมให้เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นต่อไปอีกได้หรือ ผมคิดว่าตราบใด รพ. ที่ยังใช้ HIS ชื่อ HOSxP เราไม่มีทางทีจะยอมให้ปัญหามันเกิดขึ้นได้อีกถ้ารู้ว่ามันเคยเกิดขึ้นมาแล้ว และถ้าทุกครั้งที่มีปัญหาและต้องมีชื่อ HOSxP ติดมาด้วยทุกครั้ง ผมก็ยอมไม่ได้เหมือนกันครับ ผมใช้แนวคิดแบบนี้ในการแก้ปัญหามาโดยตลอด
ประเด็นถัดมาก็คือ มี LIS ที่เชื่อมต่อกับ HOSxP 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่เชื่อมต่อเอง และ กลุ่มที่เชื่อมต่อผ่าน Gateway ผมต้องถามว่าแล้วทำไม กลุ่มหลังยังสามารถทำงานและดำเนินกิจการอยู่ได้ทั้งๆ ที่มีต้นทุนสูงกว่ากลุ่มแรก และแน่นอนว่ากลุ่มหลังต้องเสียเปรียบกลุ่มแรกแน่ๆ เพราะมีต้นทุนมากกว่า โอกาสแข่งขันทางด้านราคาก็ลดลงด้วยเช่นกัน สุดท้ายแล้วก็คงไม่มีบริษัทไหน อยากมาเชื่อมต่อผ่าน Gateway นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผมต้องบังคับ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกัน
รายงานการประชุม HOSxP_Attachment_รายงานการประชุม LIS วันที่ 20 ธ.ค. 54.(19-1-55).pdf
...............................................................................................................................
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ หากเป็นประเด็นปัญหาเรื่องความถูกต้องอย่างเดียว ไม่ใช่เรื่องค่าใช้จ่ายอย่างที่อาจารย์ชัยพรชี้แจง ทำไม BMS ไม่เลือกทางออกที่คุณหมออนุกูลเสนอเพราะ รพ.ที่ไม่ได้ขึ้นระบบหรือซื้อบริการแพคเกคจาก BMS ก็ย่อมไม่ได้รับการประกันคุณภาพตรงนี้อยู่แล้ว เป็นปัญหาที่ LIS และโรงพยาบาลนั้นจะต้องไปหาทางแก้ไขกันเอง (ซึ่งทุกวันนี้ก็ทำแบบนี้)
ส่วนประเด็นเรื่องความเสมอภาค ก็ยังไม่ชัดเจนว่า ในเมื่ออีกบริษัทหนึ่งได้ติดต่อและเสียค่าเชื่อมระบบกับ BMS ถูกต้อง ก็ย่อมได้รับประกันคุณภาพบริการ แต่บริษัท LIS ที่ไม่ได้เชื่อมต่อข้อมูลโดยตรงก็ต้องรับผิดชอบผลงานของตัวเอง เพราะทุกวันนี้ก็มีทั้งโรงพยาบาลที่ขึ้นระบบเอง และขึ้นระบบกับ BMS ซึ่งต่างคนก็เข้าใจว่าตนเองมีสิทธิแค่ไหนในการขอรับประกันคุณภาพบริการจาก BMS
หรือเป็นเพราะว่าหากไม่บังคับการเชื่่อมต่อ ก็จะทำให้บริษัท LIS ที่เคยต้องจ่ายค่าเชื่อมต่อหันไปใช้วิธีที่ไม่ต้องเสียเงินกับ BMS แทน (เพราะจะได้เสมอภาคกับบริษัท LIS ที่ไม่จ่ายเงิน) ก็เท่ากับว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้รายได้ของ BMSหายไป แต่ถ้าบังคับใช้เพื่อความเสมอภาค ได้ทั้งความถูกต้องของข้อมูล ความน่าเชื่อถือของ BMS-HOSxP อีกทั้งเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติทางธุรกิจ และรายได้ที่จะเพิ่มมากขึ้นจากคู่ค้าทางธุรกิจด้วยกัน.. ถ้าว่ากันตามสมมุตฐานโรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังใช้ HOSxP ไม่มี HIS ทางเลือกตัวอื่นที่ดีกว่า นั่นก็หมายความว่ามาตรการนี้ คือรายได้ที่จะได้เพิ่มขึ้นจาก LIS หรือบริษัทน้ำยาที่จะเป็นคู่ค้ากันอย่างแน่นอนและอีกนาน เพราะลำพังแค่ค่าบริการขึ้นระบบให้กับโรงพยาบาลต่างเริ่มอิ่มตัวแล้ว ค่าฝึกอบรมหรือค่าบำรุงรักษาระบบก็ใช่รายได้หลักที่แน่นอน แม้จะได้ค่า Activate ที่เพิ่มขึ้นมา แต่ก็ไม่ใช่เงินจำนวนมากที่จะเพียงพอต่อการบริหารจัดการและดูแลลูกน้องในบริษัทในระยะยาว
ยอมรับตามตรงครับว่า 10 ปีที่ผ่านมา ผมเองไม่รู้เหมือนกันว่าอาจารย์ชัยพรและทีมงาน BMS อยู่กันได้อย่างไรถ้าหากว่ารายได้ไม่ใช่ตัวปัญหา แต่ก็นั่นแหละครับ อาจจะเป็นวิสัยทัศน์ของผู้พัฒนาที่อยากผลักดันให้ BMS-HOSxP เป็น Software ตามมาตรฐานสากล การเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมาอาจจะดูเป็นเรื่องที่ตัดสินใจยาก บางครั้งต้องยอมทนโดนตำหนิจากคนที่ยังไม่เข้าใจไปบ้างถ้าทุกอย่างจะนำไปสู่มาตรฐานที่ดี
วันนี้ผมเขียนเกี่ยวกับ BMS-HOSxP เสียส่วนใหญ๋เพื่อพยายามทำความเข้าใจที่มาที่ไปให้มาขึ้น เท่าที่ศึกษาข้อมูลมาถึงตอนนี้ชักสนุกแล้วละครับเรื่องนี้ มีหลายประเด็นที่ให้ต้องคิดกันเยอะทีเดียว ตอนที่ 3 เรามาคุยกันในฝั่งของ LIS กันบ้าง จริงหรือเปล่ากับคำถามที่ว่า
- บริษัท LIS ไม่จริงใจในการแก้ปัญหา
- บริษัท LIS ที่ไม่อยากเชื่อมต่อเพราะอยากได้กำไรเยอะๆ
- บริษัท LIS คิดค่าบริการเชื่อมต่อในราคาที่คิดกับโรงพยาบาลเผื่อไว้แล้ว
- จริงหรือเปล่าที่ว่า LIS นี่แหละคือ "ผู้ร้ายตัวจริง"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น