วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

2-8-9-Q ติวเข้มกันหน่อย

พี่น้องผู้รักชาติ รักแผ่นดิน ทั้งที่นั่งอ่านอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตอนนี้ และกำลังก้มหน้าก้มตาอยู่กับหน้าจอ smart phone หรือ Tablet  ผมขอกราบคาวระด้วยความขอบคุณครับ

ก่อนอื่นขอเล่าให้ฟังที่มาที่ไปของเรื่องนี้ก่อนว่า ผมได้รับการประสานงาน และเชิญชวนให้ไปอธิบายเรื่องการส่งข้อมูลการคัดกรองผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จากโปรแกรม HOSxPโดยทีมงานจากโรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ ในวันที่ 12 ก.พ.57 ที่ภูดารารีสอร์ท..

อีเมล์ติดต่อ 3ฉบับ แจ้งเรื่องขอประวัติวิทยากร รายละเอียดแบบฟอร์มที่ต้องการให้ส่งรายงาน และกำหนดการประชุมล่าสุด  ฤกษ์งามยามดีเวลาของผมอยู่ที่เวลา 15.00 น. หลังอาหารว่างบ่ายที่ผู้เข้าร่วมประชุมผ่านวิกฤตการณ์หนังท้องตึง หนังตาหย่อนกันมาเรียบร้อยแล้ว..

กลุ่มเป้าหมาย คนฟัง เดิมที่ไม่แน่ชัด รู้แต่ว่ามาจากหลายจังหวัดในเขต 8 
ก่อนเข้าบรรยาย ผมมีโอกาสรับฟังความต้องการของผู้จัด ที่เสิร์ฟ (ระวังคำนี้มาก เพราะพี่โก้ท้วงติงว่าพิมพ์ผิด) มาพร้อมกาแฟ และขนม

การพูดเรื่องคอมพิวเตอร์กับยูสเซอร์ที่มีทั้งใช้และไม่ใช้เมนูใน HOSxP จึงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผม แต่ที่ยากไปกว่า คือ ผมรู้เรื่องที่มาที่ไปของปัญหานี้น้อยมาก แบบว่าจิ๊บๆ  เพราะรับทราบมาว่าให้ช่วยดูเรื่องรายงาน และให้ส่งออกเป็น excel ได้ แค่นั้น ผมจึงคาดเดาเอาว่า คนที่มาฟังคงใช้ HOSxP และบันทึกลงในโมดูลที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าต้องการรายงานและการส่งออกที่ถูกต้อง 

ผมจึงต้องเริ่มต่อจิ๊กซอร์ความรู้เอาใหม่ เอาเป็นว่ามาติดตามดูกันตั้งแต่ ปลายน้ำไปกันน้ำกันดีกว่าครับ
แบบฟอร์มแรกที่ผมได้รับการประสานงาน ประมาณว่าเขาต้องการข้อมูลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า/โรคจิต โดยดึงจากฐานข้อมูลเวชระเบียนย้อนหลังของแต่ละโรงพยาบาล ประมาณ 10 ปี 

ข้อมูลที่ต้องการ มีชื่อ-สกุล เลข 13 หลัก อายุ และ Dx หลัก และ Dx รอง และ รองๆๆๆ
รายงานนี้คงต้องขอตีความอีกหน่อยว่า เป็นผู้ป่วยรายเก่า รายใหม่ หรืออย่างไร คน ครั้ง ฯลฯ

แบบฟอร์มที่สอง เป็นข้อมูลที่ให้บริการ เป็นแบบบันทึกการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า ประจำหน่วยบริการ รายเดือน เรียกง่ายๆว่า SMDD 4 ละกันนะครับ แบบฟอร์มตัวนี้มีคำอธิบายรายละเอียดของที่มาของข้อมูลไว้ชัดเจน เช่น วันเดือนปีที่ให้บริการ ต้องบันทึกเป็นรูปแบบ YYYY-MM-DD 

โดยรายงานชุดนี้จะดึงมาจากข้อมูลการคัดกรองโรคซึมเศร้าจากโมดูลจุดซักประวัติใน HOSxP




รายละเอียดที่ผมติดใจสงสัยเรื่องแรก คือ "รหัสกลุ่มเสี่ยง " ที่ผมยังสงสัยว่าจะเอาเงื่อนไขตรงไหนไปกรองข้อมูลออกมา โดยเขามีรายละเอียดดังนี้ครับ
  1. ผู้ป่วยโรคทางกายเรื้อรัง (เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง มะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด)
  2. หญิงตั้งครรภ์/หลังคลอด
  3. ผู้มีปัญหาสุรา ยาเสพติด
  4. ผู้สูงอายุ
  5. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหลายอาการที่หาสาเหตุไม่ได้
  6. ผู้ป่วยที่มีอาการทางกายหลายอาการที่หาสาเหตุไม่ได้
  7. ผู้ที่มีอาการสูญเสีย (คนรักหรือทรัพย์สินจำนวนมาก)
  8. อื่นๆ
ประเด็นคือ ถ้ามีตัวเลือกเหล่านี้ใน ระบบคัดกรองโรคซึมเศร้า ก็จะง่าย แต่ถ้าหากจะให้เขียนเงื่อนไขในการแยกแยะว่ารหัสกลุ่มเสี่ยงเป็นอะไร คนทำคงต้องได้ประเมิน 2Q 8Q 9Q เป็นแน่แท้.. ดังนั้นเงื่อนไขในรายงานที่เอามาปรับปรุงจึงยังไม่ตรงประเด็นกับความต้องการ 
ผมลองหารายละเอียดอื่นๆในโปรแกรม HOSxP ไม่มี หรือผมหาไม่เห็นกันหนอ?

ประเด็นต่อมา เป็นคำถามในที่ประชุม ซึ่งผมตั้งกระทู้สดถามว่า ห้องตรวจแพทย์สามารถดูข้อมูลการคัดกรอง 8Q 9Q ในหน้าจอห้องตรวจได้หรือไม่? เพราะผู้ถามบอกว่าดูไม่ได้  ผมจึงขอแปะโป้งคำถามนี้ไว้ก่อน เพราะนึกไม่ออกเหมือนกัน

หลังจากนั้นจึงกลับมาทำการบ้านต่อกับอาร์ม พบว่าที่พอจะประยุกต์ให้แพทย์ดูได้ คือ ตรง Patient EMR จะมีปุ่ม Clinical Document  ซึ่งสามารถนำรายละเอียดการคัดกรองโรคซึมเศร้ามาแสดงได้ อะ แจ่มๆ



แต่ว่าที่แพทย์ต้องการ คือ ดูผ่านหน้าจอของห้องตรวจแพทย์เลย ไม่ต้องเข้าไปที่ patient emr
ดังนั้นเมื่อลองเข้าไปค้นๆ แคะ ใน HOSxP โมดูลห้องตรวจแพทย์ดูแล้ว มี Tab Clinical text ที่พอจะใกล้เคียงกัน แต่ยังไมรู้ว่าจะทำได้หรือเปล่า..



ทั้งหมดนี้มันเป็นปลายน้ำที่ยังหาทางออกเรื่องไม่ได้ จนกว่าธนาคารจะยอมให้กู้.. เอ๊ยๆ ผิดเรื่อง..

ถ้าอยากรู้รายละเอียดว่าที่มาที่ไปของรายงานนี้เป็นอย่างไรต่อ ผมคงต้องไปถามผู้รับผิดชอบงานที่โรงพยาบาลจิตเวชกันอีกที..

ครั้งหน้ามาอ่านกันต่อครับว่า จะมีความคืบหน้าอย่างไร..










3 ความคิดเห็น:

  1. ผมไม่ได้ "ทวง" ติงนะครับ
    อิอิอิ

    แถมอีกนิด "ผมรู้เรื่องที่ที่มาที่ไปของปัญหานี้นี้น้อยมาก"
    ติดอ่างไปหน่อยครับ..พี่โด้ :D :D :D :D

    ตอบลบ
  2. ตรง "รหัสกลุ่มเสี่ยง" หนักใจแทน admin จริงๆค่ะ 1-4 คงพอหาได้ แต่ 5-8 หา keyword ไม่ได้จริง

    ตอบลบ
  3. วันนี้สอบถามผู้ใช้ข้อมูล กับจิตเวชชุมชนเรื่องรายงานตัวนี้ ว่าอนาคตข้างหน้าถ้าเราจะเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์น่าจะมีการออกแบบรายงานที่มันครอบคลุมกว่านี้ แต่ทางผู้ใช้บอกจะเอาแค่นี้ ผมละปวดหัวจริงๆ ถ้าเก็บข้อมูลอย่างรายงานที่พระศรีเก็บเวลาอยากให้ข้อมูลการเข้าถึงบริการรายตำบลอำเภอ เราต้องมาให้หน่วยงานส่งให้ใหม่ ผมคิดว่ามันไม่น่าจะใช่ เพราะถ้าเอามูลมามันน่าจะเอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ ไม่ใช่เอาไปแค่กรอกเป็นตัวเลขเพื่อให้ตัวชี้วัดขึ้น

    ตอบลบ