วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

ภาระกิจเบาๆ..วันเสาร์อาทิตย์

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ติดตั้งระบบเครือข่าย เมื่อปี 2545 ในตอนนั้นได้งบประมาณมาแบบส้มหล่นวงเงินหนึ่งล้านหกแสนบาทจากกระทรวง ในขณะที่ผมเองก็ยังไม่ค่อยประสีประสากับการบริหารจัดการ ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่มากนัก ตอนนั้นเท่าที่ทำได้ คือ ทำเครือข่ายเล็กๆสำหรับร้านอินเตอร์เนตเท่านั้นเอง

ผ่านมาสิบปีมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปมาก อีกทั้งระบบเครือข่ายจากเดิมที่มีลูกข่ายเพียงแค่ 20 เครื่องกับ Server พร้อม UPS ของ APC 1 ชุด ซึ่งตัว server ปลดระวางไปหลายปีแล้ว แต่เครื่องลูกข่ายยังมีเหลือใช้งานอยู่ในระบบอีก 2-3 ตัว ยี่ห้อATEC ไม่น่าเชื่อว่ามันยังทำงานได้ดีมาก ผมเคยคุยเล่นๆกับน้องๆที่ทำงานว่าบริษัทมันคงไม่ผลิตเครื่องแบบนี้ออกมาอีกแล้ว เพราะมันทนเกินไป  
ในช่วงที่มีการขยายระบบเพื่อรองรับ HOSxP ปี 2548 มีการสั่งซื้อคอมพิวเตอร์เข้ามาเพิ่มอีกจำนวนมาก แต่เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์แบรนด์เนมดังราคายังแตะไม่ค่อยถึง ส่วนใหญ่จึงได้แต่ใช้เครื่องประกอบ(เอง) มีหลายเครื่องที่ซื้อมาใช้ได้ 2-3ปี ต้องได้รื้ออุปกรณ์ข้างในเพื่ออัพเกรตเปลี่ยนใหม่ ภายนอกอาจจะดูโทรมๆแต่สเปกข้างในตะติ้งโหน่งขั้นเทพ  ชีวิตการทำงานที่วนเวียนอยู่การซ่อม อัพเครื่องใหม่ ย้ายเครื่องไปมา จนมีปัญหากับเจ้าหน้าที่งานพัสดุบ่อยๆ เพราะหาเครื่องไม่ค่อยเจอ(ไม่ฮา)


วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

รักเลยจัง..ตอนที่ 14

25 เมษายน 2555 อบรมระบบงานการเงิน
โรงพยาบาลเลย 13.00-16.00 น.

งานการเงิน ซึ่งเป็นหน่วยงานสุดท้ายของระบบบริการที่ข้อมูลผู้ป่วยทุกราย จะต้องมาสิ้นสุดที่นี่ โดยหน้าที่หลักๆ คือการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ผ่านการลงบันทึก ตั้งแต่ห้องบัตร จุดคัดกรอง ห้องตรวจ ห้องชันสูตร ห้องเอกเรย์ กายภาพ ห้องผ่าตัดแพทย์แผนไทย ห้องฉุกเฉิน ห้องยา ฯลฯ ซึ่งถ้าฐานข้อมูลที่ตั้งไว้ถูกต้อง หน่วยงานต้นทางลงบันทึกข้อมูลครบถ้วน ถูกต้องตามขั้นตอน ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นจะแสดงรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดที่งานการเงินโดยอัตโนมัติ 

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

รักเลยจัง..ตอนที่ 13

23 เมษายน 2555 อบรมระบบงานห้อง x-ray
โรงพยาบาลเลย 13.00-16.00 น.

การประชุม online สาธิตการใช้งาน HOSxP ให้กับทีมโรงพยาบาลเลย มาถึงระบบงาน x-rayแล้วครับซึ่งผมได้เห็นความแตกต่าง ของความวิธีการทำงานของเป็นโรงพยาบาลทั่วไปกับโรงพยาบาลชุมชน วิธีการประชุมผ่านระบบ internetแบบนี้ ผมเคยใช้กับโรงพยาบาลชุมชนแห่งแรก คือ รพ.แวงใหญ่ แต่ห้องฝึกอบรมไม่พร้อมเหมือนกับที่โรงพยาบาลเลย ดังนั้นส่วนใหญ่จึงได้แต่เข้ามานั่งฟังอย่างเดียว ไม่มีโอกาสได้ทดลองปฏิบัติ  และเมื่อเวลาผ่านไปส่วนใหญ่ตอบคล้ายๆ กัน คือ ตั้งแต่อบรมก็ไม่ได้ทดลองใช้เลย พอติดตั้งระบบเรียบร้อยถึงได้ฝึกใช้เต็มที่ ปัญหาต่างๆจึงมักตามมาหลังจากการที่ติดตั้งระบบไปเรียบร้อยแล้ว..

ข้อมูลเวชระเบียนไม่สมบูรณ์

พี่เปรมหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล มาพบผมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับผลการประชุมเมื่อวาน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับคะแนน Auditของเวชระเบียนที่ทางพยาบาลแจ้งว่า ผลคะแนนของโรงพยาบาลได้น้อย สาเหตุมาจากแบบฟอร์ม opdcardไม่มีข้อมูลประวัติการแพ้ยาซึ่งน้องๆ พยาบาลยืนว่าได้ซักประวัติคนไข้ทุกคน แต่เวลาที่พิมพ์ opdcard จะไม่มีข้อมูลออกมาด้วย 

"ประวัติการแพ้ยา" ผมอธิบายให้พี่เปรมทราบว่า ข้อมูลนี้ ศูนย์คอมพิวเตอร์ดึงข้อมูลมาจากข้อมูลการแพ้ยาของผู้ป่วย ที่ผ่านการซักประวัติและขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยแพ้ยาโดยเภสัชกรแล้วเท่านั้น(ต้องแพ้ยาจริงๆ) ไม่ใช่ข้อมูลที่มาจากการซักประวัติที่จุดคัดกรอง ดังนั้นถ้าหากคนไข้ที่มีบันทึกประวัติการแพ้ยาแล้ว เช่น แพ้ Penicilin เวลาที่พิมพ์ opd card ถึงจะมีข้อมูล แต่เกณฑ์การ Audit ดูเหมือนว่าจะไม่ตรงกันเพราะสิ่งที่ต้องการตามเกณฑ์ คือ ข้อมูลการคัดกรองการแพ้ยาของคนไข้ที่พยาบาลซักประวัติที่จุดคัดกรอง  แต่ถ้าหากใครที่ใช้ HOSxPก็จะรู้ว่า ข้อมูลการคัดกรองแพ้ยา โปรแกรมจะบังคับไม่ยอมให้ผ่านหากไม่ลงข้อมูลตรงนี้อยู่แล้ว( found_allergy_type)เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันทุกฝ่าย ผมจึงให้อาร์มออกแบบ opd card โดยเพิ่มการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการแพ้ยา และยาที่แพ้ ดังนี้ครับ 

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

ทุกปัญหา..มีทางออก

ปัญหาใหญ่ของ ทีมโรงพยาบาลอุบลรัตน์อย่างหนึ่ง คือเรื่อง Hardware ก่อนหน้าที่จะขึ้นระบบ HOSxP โรงพยาบาลมีคอมพิวเตอร์ใช้บ้างแล้ว แต่การใช้งานระบบเครือข่ายยังไม่ได้ใช้เต็มที่  และเจ้าหน้าที่ช่างเทคนิค คอยดูแลแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้เท่านั้น แต่หลังจากที่มีการปรับเปลี่ยนทีมงานใหม่ และเริ่มใช้ HOSxPครบทุกโมดูล เพิ่มคอมพิวเตอร์ ทั้งเครื่องแม่ข่าย เครื่องลูกข่าย และระบบเครือข่าย โดยเฉพาะจำนวนคอมพิวเตอร์และพรินเตอร์ ที่มากขึ้น ทำให้ปัญหาของ Hardwareเป็นปัญหาใหม่รายวันทั้งที่เกิดจาก Hardwareและจากผู้ใช้ที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานดีพอ

ถ้าประโยคอมตะที่ว่า "ตนแล..เป็นที่พึ่งแห่งตน " เป็นสิ่งที่ควรทำแล้วล่ะก็ ผมคิดว่านี่คืออีกหนึ่งของทางออกที่ทางทีม Adminโรงพยาบาลอุบลรัตน์ได้พยายามลดปัญหาการใช้งานของบุคลากร ด้วยการเชิญทีมเครือข่ายที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นเพื่อนๆ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาช่วยอบรมการใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ต้องขอชมครับว่าเป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมมาก เพราะพวกเราเองที่ดูแลระบบของโรงพยาบาล ด้วยความคิดที่ว่าตัวเองแก้ปัญหาได้ ทำให้มักจะละเลยการฝึกอบรมผู้ใช้งานเกี่ยวกับการใช้และการดูแลคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เรื่องง่ายๆแบบนี้ ทั้งๆที่เป็นเรื่องสำคัญ สามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานได้เป็นอย่างดี

ประเมินครบรอบ 6 เดือน รพ.จิตเวชเลยฯ

ผมได้รับคำเชิญ ให้ไปตรวจประเมินการใช้งาน HOSxP ครบรอบ 6 เดือนของโรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ ในวันที่ 20 เมษายน 2555 ตามแผนการตรวจประเมินหลังจากขึ้นระบบ เดิมผมกำหนดไว้ว่าต้องมีการติดตาม 1 เดือน  3 เดือน และ 6 เดือน แต่อาจจะเป็นเพราะว่าไม่มีปัญหาอะไรมาก ทำให้ทีมงานไม่อยากรบกวนพยายามลองผิดลองถูกกันเอง และมีการติดต่อประสานงานกับผมบ้างในการแก้ปัญหาบางเรื่อง แต่ก็น้อยมากซึ่งผิดคาด สำหรับโรงพยาบาลที่ขึ้นระบบใหม่ๆ

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

รักเลยจัง..ตอนที่ 12

วันนี้.. มีนัดอบรมระบบงานคัดกรองให้กับที่ม รพ.เลยครับ ทีมที่เข้าอบรมในวันนี้เป็นกลุ่มครู ก. ที่จะต้องไปถ่ายทอดให้กับคนอื่นๆ ต่อไป  โดยส่วนตัวผมแล้วทุกครั้งที่อบรมก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้ไปด้วยตัวนะครับ ตั้งแต่การคิดหัวข้อที่จะต้องแนะนำกัน สำหรับคนที่เพิ่งเคยใช้ HOSxPครั้งแรก ควรจะเริ่มอย่างไรบ้าง วิธีการยกตัวอย่าง การเว้นช่วงให้ฝึกปฏิบัติ การสังเกตปฏิกริยา ความสนใจของผู้เข้าร่วมประชุม ฯลฯ

ต้องยอมรับครับว่างานฝึกอบรมเรื่อง Software จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก สำหรับคนที่มีพื้นฐานการใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว จะเป็นโปรแกรมอะไรก็ใช้เวลาไม่นานนักในการเรียนรู้นะครับ แต่ถ้ายังมีปัญหาเรื่องการ "จิ้มดีด" +การพยายามบังคับเจ้าหนูให้คอยวิ่งไปตามทิศทางที่ต้องการอยู่ละก็เป็นเรื่องได้เหมือนกัน การฝึกใช้  Software HOSxP ความยากมันอยู่ที่ว่ามันต้องคิดในเชิงระบบไปด้วย เพราะสิ่งที่พูดในวันนี้เป็นเรื่องของวิธีการใช้ทั่วไป แต่พอเอาไปเข้าระบบจริงๆ แล้วมันจะไปยังไงต่อ งานที่หน้าห้องตรวจหรือจุดคัดกรองของแต่ละที่แต่เดิมมีการจัดการอย่างไร ถ้าจะเอา HOSxPไปใช้จะทำเหมือนเดิม หรือจะปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ ซึ่งแน่นอนครับว่ามันไม่ใช่แค่เฉพาะหน่วยงานตัวเอง แต่ยังอาจกระเทือนไปถึงหน่วยงานอื่นๆด้วย..

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

แนวทางปฏิบัติระบบการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินสิทธิสวัสดิการข้าราชการ


ทะเบียน
ผู้มีสิทธิที่มีการลงทะเบียนไว้กับสถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษาไว้แล้ว ให้ใช้ระบบปกติ ส่วนผู้มีสิทธิที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนไว้กับสถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษาให้ปฏิบัติดังนี้
1. สถานพยาบาลนำเลขประจำตัวประชาชนผู้มีสิทธิขอเลขอนุมัติกรณีฉุกเฉินจาก website http://cs1.chi.or.th/csreg หรือ http://cs3.chi.or.th/csreg หรือ http://cs4.chi.or.th/csreg
กรณีมีชื่อในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐและข้อมูลสมบูรณ์
- เติมเลขประจำตัวผู้ป่วย (HN) ในช่อง HN
- คลิกตัวเลือก “ผู้ป่วยนอกฉุกเฉิน ที่ไม่ลงทะเบียนใน ร.พ. นี้” ตัวอย่างดังรูป


2. คลิกปุ่ม “ขอเลขอนุมัติ” จะได้เลขอนุมัติที่กำหนดไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ตัวอย่างดังรูป


3. คลิกปุ่ม “พิมพ์” จะได้ใบแจ้งเลขอนุมัติ กรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน ตัวอย่างดังรูป



ให้ผู้ป่วยลงนามเพื่อยืนยันขอใช้สิทธิกรณีฉุกเฉิน  และเก็บเป็นเอกสารประกอบการเบิกค่ารักษาพยาบาล
เลขอนุมัติที่ได้นำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงการเบิกค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นในวันนั้น การขอเลขอนุมัติกรณีฉุกเฉินผู้มีสิทธิไม่ต้องลงทะเบียนเข้าระบบของสถานพยาบาล แต่สามารถใช้ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ครั้งเดียวเท่านั้น 
กรณีที่ผู้ป่วยไม่มีชื่อในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐหรือข้อมูลไม่สมบูรณ์ให้ใช้ระบบของ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)


การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉิน
  1. สกส. จะรวบรวมส่งข้อมูลทะเบียนผู้ป่วยที่ขอใช้สิทธิ์กรณีฉุกเฉินให้กับสถานพยาบาลทุกวันทำการ โดยแฟ้มข้อมูลที่ส่งให้มีรูปแบบดังนี้ [hcode]CDMB[YYYY]S[NNN].zip เช่น 12345CDMB2012S0001.zip สถานพยาบาลที่ใช้โปรแกรม OPTell ในการบันทึกข้อมูลให้นำแฟ้มข้อมูลดังกล่าวรับเข้าโปรแกรม OPTell โดย
    • บันทึกแฟ้มข้อมูลนี้ไว้ใน C:\Teller\Inbox
    • เข้าโปรแกรม OPTell คลิกปุ่ม “เก็บค่ารักษา” และคลิกปุ่ม “โอนทะเบียน”
    • สำหรับสถานพยาบาลที่ไม่ได้ใช้โปรแกรม OPTell ในการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาล ไม่ต้องนำข้อมูลทะเบียนชุดนี้ปรับปรุงในระบบของสถานพยาบาล
  2. ใช้โปรแกรม Optell บันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลตามระบบปกติโปรแกรมจะดึงเลขอนุมัติกรณีฉุกเฉินมาให้โดยอัตโนมัติสำหรับสถานพยาบาลที่ไม่ได้ใช้โปรแกรม Optellให้นำเลขอนุมัติที่ได้จากการขอเลขอนุมัติกรณีฉุกเฉิน สร้าง Billtran นำเลขอนุมัติกรณีฉุกเฉินใส่ในฟิลด์เลขที่อนุมัติของธุรกรรม(Authcode)
    • ตัวอย่าง
01|S4CBJN|2012-04-02 16:25:00|00001|2012040001||123456||1500|0||




วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

การปรับปรุงรหัส ICD-10 และ ICD-9-CM 2010

ICD-10 และ ICD-9-CM ที่มีการเพิ่มและยกเลิก ใช้ในการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมและน้ำหนักสัมพัทธ์
ฉบับที่ 5 (Thai DRGs Version 5) โดย
- รหัสที่เพิ่มจะเริ่มใช้กับผู้ป่วยที่จำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป
- รหัสที่ยกเลิกจะใช้ไม่ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป

Download
  1. รายการรหัสโรค/หัตถการ ที่เพิ่ม/ยกเลิก
  2. ปรับปรุงรหัสโรค/หัตถการสำหรับโปรแกรมผู้ป่วยในสิทธิข้าราชการ (CSMBS)
  3. ปรับปรุงรหัสโรค/หัตถการสำหรับโปรแกรมผู้ป่วยในสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (NHSO)
  4. ปรับปรุงรหัสโรค/หัตถการสำหรับโปรแกรมผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคม (SSIP)
ขั้นตอนการปรับปรุงรหัส ICD สำหรับโปรแกรมผู้ป่วยในข้าราชการ (CSMBS)
  1. Download ไฟล์ ICD-NewCode2010-forCS.exe เก็บไว้ในไดร์ฟ C:\
  2. ดับเบิ้ลคลิก ICD-NewCode2010-forCS.exe จาก C:\ จะมีหน้าต่าง Winzip Self-Extractor แสดง
  3. คลิกปุ่ม "Unzip" เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลใน C:\CSMBS48\DATA\REF
  4. คลิกปุ่ม OK และคลิกปุ่ม "Close" เพื่อปิดหน้าต่าง Winzip Self-Extractor
ขั้นตอนการปรับปรุงรหัส ICD สำหรับโปรแกรมผู้ป่วยในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (NHSO)
  1. Download ไฟล์ ICD-NewCode2010-forUC.exe เก็บไว้ในไดร์ฟ C:\
  2. ดับเบิ้ลคลิก ICD-NewCode2010-forUC.exe จาก C:\ จะมีหน้าต่าง Winzip Self-Extractor แสดง
  3. คลิกปุ่ม "Unzip" เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลใน C:\UC\DATA\REF
  4. คลิกปุ่ม OK และคลิกปุ่ม "Close" เพื่อปิดหน้าต่าง Winzip Self-Extractor
ขั้นตอนการปรับปรุงรหัส ICD สำหรับโปรแกรมผู้ป่วยในประกันสังคม (SSIP)
  1. Download ไฟล์ ICD-NewCode2010-forSS.exe เก็บไว้ในไดร์ฟ C:\
  2. ดับเบิ้ลคลิก ICD-NewCode2010-forSS.exe จาก C:\ จะมีหน้าต่าง Winzip Self-Extractor แสดง
  3. คลิกปุ่ม "Unzip" เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลใน C:\SS\DATA\REF
  4. คลิกปุ่ม OK และคลิกปุ่ม "Close" เพื่อปิดหน้าต่าง Winzip Self-Extractor
อ้างอิง : http://www.chi.or.th/csmbs/News/UpdICD2010.html


Download
- คู่มือ Thai DRGs Version 5.0
- โปรแกรม Thai DRG Grouper 5.0 (TGRP50)
- โปรแกรม Thai DRG Seeker 5.0 (TDS50) ปรับปรุง ใหม่ 19/04/2555

วิธีส่งข้อมูล Pap smear จาก HOSxP เข้า Cxs_2010

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 ผมได้นำเสนอวิธีการบันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยใช้โปรแกรม HOSxP_PCUบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการรับบริการ และการสั่ง Labในตอนที่ 1-2 ไปแล้ว วันนี้ผมมาเขียนต่อ สาเหตุที่ทิ้งระยะห่างไว้นาน เนื่องจากโปรแกรม DSHOS_Service เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ ยังไม่สามารถพิมพ์ใบนำส่งไสด์ตรวจ Pap Smear และส่งออกไฟล์ข้อมูลไม่ได้

ต้องขอขอบคุณ อ.อาร์ม คนเก่งของเรา ที่กรุณาแก้ errorจนโปรแกรม DSHOS_ServiceVersion: 1.55.3.29 สามารถพิมพ์ใบนำส่งไสด์ตรวจ Pap Smear และส่งออกไฟล์ข้อมูลได้สมบูรณ์แล้ว เริ่มกันเลย นะครับ

การใช้โปรแกรม DSHOS_Service Version: 1.55.3.29 บันทึกรายละเอียด การทำ Pap smear และส่งออกข้อมูล Pap smear ให้โปรแกรม CxS_2010 Build 2.0 มีขั้นตอน ดังนี้

1. เปิดเมนูผู้ป่วยนอก ---> งานส่งข้อมูล Papsmear ---> ทะเบียนผู้ป่วย PAP Smear


2. จะแจ้งเตือน ต้องการเชื่อมต่อ Pap(CxS2010) !! ---> คลิกปุ่ม OK
3. จะปรากฏหน้าจอ ข้อมูลผู้ป่วยที่ pap smear
  • ให้คลิกที่แทบ ข้อมูลพื้นฐานผู้ตรวจ Pap smear
  • ให้ Drop Down เลือก วันที่ ถึง วันที่ ที่ต้องการ (บันทึกข้อมูลใน HOSxP_PCU ไว้แล้ว)
  • คลิกปุ่ม ค้นหา ---> จะปรากฏรายชื่อผู้รับบริการ
  • คลิกเลือกรายชื่อผู้รับบริการ ที่ต้องการ
  • คลิกปุ่ม บันทึกรายละเอียด

4. จะปรากฏหน้าจอ ข้อมูลผู้ป่วยที่ pap smear
  • สิทธิการรักษา ท่านต้องระบุสิทธิที่ผู้รับบริการมี (ข้อนี้บังคับให้บันทึก)
  • เหตุผลที่มารับบริการ ให้ Drop Down เลือกเหตุผลที่มารับบริการ ครั้งแรกโปรแกรมจะกําหนดให้เป็น Check up screening แต่ถ้าผู้รับบริการมีอาการมาตรวจ ให้ Drop Down เลือก “เหตุผลอื่น ระบุ ”แล้วเลือกรายการผิดปกติ หากอาการที่ต้องการบันทึกไม่มีให้เลือก ท่านสามารถ กําหนดเพิ่มได้ โดยการกดปุ่ม “กําหนดเหตุผลเพิ่ม"
  • Method of Pap Smear โปรแกรมจะแสดงเป็น Conventional Pap smear (ป้ายเซลล์บนแผ่นสไลด์) เลือกบันทึกชนิดตัวอย่างที่ป้าย โดยใช้ mouse คลิ๊กในช่องกรอบสี่เหลี่ยม หน้าชนิดตัวอย่างป้ายที่ต้องการ
  • F6 การวินิจฉัยจากสิ่งที่ตรวจพบ
    • บันทึกการวินิจฉัยโรคจากสิ่งที่ตรวจพบ ... ประวัติด้านนารีเวช...
    • บันทึก PARA ตั้งครรภ์กี่ครั้ง, คลอดก่อนกำหนดกี่ครั้ง, แท้งกี่ครั้ง และบุตรมีชีวิตกี่คน
    • บันทึกข้อมูล LMP (บังคับการบันทึก) ท่านสามารถเลือกได้ 3 กรณี โดย drop down (ลูกศรชี้) จะมี 3 ตัวเลือก คือ ระบุวันที่ได้ (ถ้าเลือกข้อนี้ ท่านต้องระบุวันที่มีประจําเดือนครั้งสุดท้ายก่อนการป้ายเซลล์), จําไม่ได้ (ถ้าเลือกข้อนี้ไม่ต้องระบุเพิ่มเติม), หมดประจําเดือนแล้ว (ถ้าเลือกข้อนี้ ท่านต้องระบุว่าหมดประจําเดือนมาแล้วกี่ปี)
  • F7 การคุมกําเนิด ให้ติ๊กในกรอบสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ วิธีการคุมกำเนิด
  • F8 ประวัติการรักษา ให้ติ๊กในกรอบสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ Treatment
  • F9 การป้ายเสมียร์ครั้งก่อน เพื่อบันทึกผลตรวจ Pap Smear ครั้งก่อนใน 5 xu
  • ชื่อผู้ทำเสมียร์ ให้ Drop Down เลือกผู้ทำเสมียร์
  • หน่วยเซลล์ฯที่ต้องการส่ง ให้ Drop Down เลือกหน่วยเซลล์ฯที่ต้องการส่ง
  • ชื่อผู้บันทึกข้อมูล ให้ Drop Down เลือก
  • กดปุ่ม บันทึกข้อมูล

5. จะกลับมาที่หน้าจอ ข้อมูลผู้ป่วยที่ pap smear ---> ให้คลิกที่แทบ ส่งออกข้อมูล Pap smear
  • คลิกที่ปุ่ม เชื่อมต่อ
  • ให้ Drop Down เลือก วันที่ ถึง วันที่ ที่ต้องการจะส่งออกข้อมูล
  • คลิกที่ปุ่ม ตรวจสอบ
  • คลิกที่ปุ่ม ตรวจสอบตาราง PAP_TR
  • คลิกที่ปุ่ม ตรวจสอบตาราง PAP_TRAN
  • คลิกที่ปุ่ม นำเข้า PAP_TRAN และ PAP_TR
  • คลิกที่ปุ่ม OK
  • คลิกที่ปุ่ม ปิดหน้าจอ

ในตอนต่อไป... ผมจะนำเสนอวิธีการใช้โปรแกรม CxS_2010 Build 2.0 Export ข้อมูล...ชุดข้อมูลที่ 1 (P) ข้อมูลพื้นฐานการตรวจ Pap smear เพื่อส่งข้อมูลให้หน่วยอ่านเซลล์ (รพ.เลย) และส่งให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (www.cxscreening.net) ครับ

เครดิต : http://loeihosxp.blogspot.com/2012/04/3.html

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

แนวทางการควบคุมยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน


               เนื่องด้วยกระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับการควบคุมยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนทุกชนิด (ทุกความแรง ทุกสูตร  ทุกรูปแบบ รวมทั้งยาสูตรผสมกับพาราเซตามอล)  จากยาควบคุมพิเศษ เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒  ซึ่งสามารถจำหน่ายได้เฉพาะ รพ. คลินิก เท่านั้น  ไม่สามารถขายในร้านขายยาได้   โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป

              ดังนั้น  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยกองควบคุมวัตถุเสพติดจึงได้มีแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้เกี่ยวข้องภายหลังการยกระดับยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนทุกชนิด  ตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕  ดังนี้
  • แนวทางการปฏิบัติสำหรับ บริษัทผู้ผลิต/ผู้นำเข้า/บริษัทผู้แทนจำหน่าย  ดูได้ที่นี่
  • แนวทางการปฏิบัติสำหรับ โรงพยาบาลรัฐ/โรงพยาบาลเอกชน/คลินิก  ดูได้ที่นี่
  • แนวทางการปฏิบัติสำหรับ ร้านขายยา ดูได้ที่นี่
  • แนวทางการปฏิบัติสำหรับประชาชน ดูได้ที่นี่
  • หนังสือ อย.ที่ สธ ๑๐๐๙.๒/ว ๓๙๕๖  ลงวันที่ ๕ เมย.๕๕  แจ้งร้านขายยา/คลินิกให้ส่งคืนยาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน   ดูได้ที่นี่
  • หนังสือ อย.ที่ สธ ๑๐๐๓.๒/ว ๒๓๖๙  ลงวันที่ ๒ มีค.๕๕  แจ้งการขออนุญาตมีไว้ในครอบครองฯ ของสถานพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น   ดูได้ที่นี่
  • คู่มือหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติที่ดีในการป้องกันการนำสารตั้งต้น [Pseudoephedrine] ไปใช้ในทางที่ผิด   ดูได้ที่นี่
  • ประวัติความเป็นมาของการควบคุมยาซูโดอีเฟดรีน  ดูได้ที่นี่

วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

แก้ไข ICD-10 เป็นเรื่อง(ไม่)หมู..


คุณหมอสมยุทธ ทิ้งคำถามไว้ในเวปบอร์ดเกี่ยวกับเรื่อง ICD-10 ซึ่งมีประเด็นคำถามที่น่าสนใจ คือ
  1. ICD-10 ใหม่สุดหาได้จากที่ไหน?
  2. จะนำเข้า HOSxP ได้อย่างไร?

ประเด็นปัญหานี้ส่วนใหญ่พวกเราที่ทำงานโรงพยาบาลชุมชน ที่ไม่ได้มีแพทย์เฉพาะทางอาจจะว่าดูเหมือนว่าไม่มีปัญหาเรื่องการลงรหัส ICD-10เท่าไหร่ แต่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ อย่างโรงพยาบาลเลยที่มีแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งคุณหมอสมยุทธเป็นแพทย์เฉพาะทางทางด้านโรคผิวหนัง ICD-10ที่มีอยู่ในฐานข้อมูลของ HOMc หรือ HOSxP อาจจะมีข้อมูลไม่ครบ เป็นหน้าที่ของ Admin ที่จะต้องช่วยกันคิดแล้วละครับว่าจะแก้ไขกันได้อย่างไร


ทำความเข้าใจกันอย่างนี้ก่อนนะครับว่าว่า ICD-10 ใน HOSxP ไม่ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไปครับ เพราะตอนที่ อาจารย์ชัยพรเอาใส่ไว้ใน HOSxP จะเป็นรหัสจากฐานของ ICD-10เดิม แต่การปรับปรุง ICD-10จะขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่ดูแลกำหนดรหัส เช่น สนย. ดังนั้นจึงต้องมีการดูรหัสมาตรฐานในหนังสือ ICD10-TM ซึ่งโดยหลักๆที่มีผู้ที่เสนอว่าควรกำหนดเป็นแนวทางไว้ว่า
  1. ถ้ารหัสไหนไม่มีก็ควรเอาออกจากตาราง ICD-10 ออกไปเลย
  2. ถ้าไม่เอาออก ก็ควรมีแนวทางในการแจ้งหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้องไม่ใช้ใช้รหัสดังกล่าว
แต่การจะยกเลิกหรือลบ ICD-10สำหรับโรงพยาบาลที่ใช้ HOSxPมาหลายปีแล้วจะมีผลกระทบต่อข้อมูลเดิมที่บันทึกไปแล้วหรือเปล่า จึงต้องมีการพิจารณาร่วมกันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายครับ ปัญหาใหญ่ๆ ของการรแก้ไขตรงนี้ก็คือ ทาง Admin ที่เป็นนักคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ แม้กระทั่งผมเองก็ไม่มีความรู้ในด้านนี้เลยครับ ทำให้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้เข้าไปแก้ไขตารางที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์ชัยพรได้เข้าไปประชุมกับทาง สปสช. และแจ้งไว้ว่า "ข้อมูลในตาราง ICD-101 ยังคงเอาไว้เหมือนเดิม แต่ให้แก้ไขข้อมูลในตาราง ICD-101_nhsoโดยให้ตัดข้อมูลที่ สปสช.ไม่รับออก เช่น R5100 ที่ สปสช.ไม่รับ ให้ลบออกแล้วเหลือ R510 ที่ผ่านการตรวจสอบจาก สปสช.ไว้ แล้วระบบจะพยายามหา ICD10ที่ถูกต้องโดยตัดทีละ 1 หลักจากหลักสุดท้ายให้เอง โดยไม่ได้ตัดข้อมูล Diag นั้นทิ้ง.."
โดยสรุปจะเห็นว่าตารางที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกและส่งออกใน HOSxP มีส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ
  1. ICD-101 สำหรับบันทึกในHOSxP
  2. ICD_nhso สำหรับส่งออก

แต่ปัญหายังไม่จบครับ เพราะว่าเวลาส่งข้อมูล ICD-10 มันยังมี 2 เวอร์ชั่นคือ ICD-10WHO และ ICD-10TM ซึ่งเวลาส่งข้อมูลผู้ป่วยนอกให้ สปสช.อย่างเช่น 18 แฟ้ม ต้องการ ICD-10 TM แต่เวลาส่งข้อมูลผู้ป่วยใน E-claim กลับใช้ ICD-10WHOซึ่งก็สร้างความปวดหัวให้กับผู้ใช้อย่างเราๆ เหมือนกันครับ

ถ้าเข้าไปดูในโปรแแกรม HOSxP จะพบอีกว่ามีตารางที่เกี่ยวข้องอีก 1 ตัว คือ ICD-101b ซึ่งมีผู้อธิบายขยายความไว้ในบอร์ดของ HOSxP ดังนี้ครับ
  1. ICD-101 ใช้ในส่วนของ OPD การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรหัสนี้ให้เวชสถิติดำเนินการได้เลย โดยใช้อ้างอิงจากหนังสือ ICD-10TM ทั้ง 3 เล่ม คือ ALPHABETICAL INCEX,TABULAR LIST, STANDARD CODING GUIDELINE ของ สนย.เล่มสีเขียวเข้ม เท่านั้น รหัสที่ไม่มีอยู่ในหนังสือ แสดงว่าผิด ให้ลบหรือดำเนินการแก้ไขให้ตรงกับในหนังสือ ถึงจะสามารถส่งออกตรงกับรหัสของ สปสช.
  2. ICD-101b ใช้ในส่วนของ IPD สำหรับส่ง E-Claim โดยอ้างอิงกับรหัส ICD-10 WHO ซึ่งอ้างอิงจาก ALPHABETICAL INCEX,TABULAR LIST,Instruction Manual ของ WHO เล่มสีขาว
การกำหนดรหัสอ้างอิง สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์(สนย.)เป็นผู้ดำเนินการออกรหัสที่ใช้ตรวจสอบใน OPPP โดย สปสช.เป็นเพียงหน่วยงานที่ตรวจข้อมูลโดยยึดรหัสจาก สนย. จึงอ้างอิงตาม ICD-10 TM ที่ สนย.จัดทำขึ้น ดังนั้นคำถามที่ว่า ICD-10ล่าสุดหาได้จากที่ไหนและจะนำเข้า HOSxPได้อย่างไรนั้น ขอตอบแบบกำปั้นทุบดินเลยนะครับ..ว่า

ตาราง ICD-10ใหม่สุดหาได้จากโรงพยาบาลที่เขามีการปรับปรุงไว้เรียบร้อยแล้ว หรืออาจจะเพิ่มเอาเองโดยดูจากหนังสืออ้างอิงรหัสตามที่ สนย.กำหนดไว้ แล้วเข้าไปแก้ไขในตารางของ HOSxP ตามที่ผมได้กล่าวมาข้างต้น(มั้ง)ครับ..แหะๆ

แล้วนี่ผมเขียนมาเสียยืดยาว...ทำไมกันล่ะเนี่ย!!






ปล.ขอบคุณพี่โก้ ที่ฝากลิงค์ที่เกี่ยวข้องให้ครับ
http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2010/en#/I

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ประชุมกลุ่มการพยาบาล เรื่องอัตรากำลัง

วันนี้ทางทีม ICTเลยได้รับการประสานงานจากทีมพัฒนาระบบคุณภาพของ สสจ. ในเรื่องการขอใช้ห้องประชุม Team talk เพื่อประชุมหัวหน้ากลุ่มการพยาบาลของแต่ละโรงพยาบาล ในหัวข้อเรื่องเกี่ยวปัญหาอัตรากำลังของพยาบาล และในการประชุมครั้งนี้ทางนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลยจะเข้าร่วมประชุม ชี้แจงและรับฟังข้อเสนอต่างๆด้วย
โดยรวมของการจัดประชุมครั้งนี้ ระบบสัญญานภาพและเสียงเต็ม 10 ผมให้ 8.5 ครับ ปัญหาที่เคยมีได้รับการแก้ไขไปพอสมควร เช่นการเตรียมความพร้อมซึ่งวันนี้ใช้เวลาเพียงแค่ 10-15 นาที ในการทดสอบความพร้อมของระบบเสียง ปัญหาด้าน Hardware ยังคงเป็นประเด็นครับเพราะหลายแห่ง พอถึงเวลาประชุมก็นำเครื่องมาเซตเป็นครั้งๆไป ไม่ได้ติดตั้งไว้ให้เรียบร้อย สถานที่หลายๆแห่งไม่ลงตัวครับ ใช้ห้องทำงานของศูนย์คอมบ้าง ทำให้บรรยากาศการประชุมไม่ค่อยดีเท่าที่ควร และหลังจากประชุมเสร็จแล้วนักคอมหายครับ ไม่มีคนคอยอยู่ช่วยแนะนำการใช้งาน ปล่อยให้พี่พยาบาลงงๆกับระบบว่าจะทำอย่างไรต่อ บางแห่งเสียงดังไป บางแห่งก็เสียงค่อย เวลาพูดไม่สมารท์ มุมกล้องไม่ดี ฯลฯ ก็คงต้องช่วยๆกันปรับต่อไป

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

Diagnosis Related Groups (DRG)

กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (กรร.) ถือกำเนิดในอเมริกา เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว (คศ. 1970) มีการทดลองใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (กรร.)หรือ DRG เป็นครั้งแรก ในการจ่ายเงินให้แก่โรงพยาบาลที่รักษาผู้สูงอายุ ในโครงการสวัสดิการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ(Medicare)ในสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1983 โดยสำนักการคลังสาธารณสุข และหลังจากนั้น ก็มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และแพร่ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งในลักษณะการวิจัยและการนำไปปรับใช้งานการกำเนิด และการแพร่กระจายของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (กรร.) ในประเทศไทย มีการนำการวินิจฉัยโรคร่วมมาใช้ในในลักษณะของการวิจัย เริ่มตั้งแต่ปี 2536 - ปัจจุบัน ซึ่งมีรากฐานแนวคิดหลัก 2 แนว คือ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขที่ต้องการหาฟังก์ชั่น ของการผลิต (ProductionFunction) ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล แนวความคิดทางวิศวกรรมที่ผลักดันให้ค้นหาวิธีวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรของหน่วยงานในระดับจุลภาค และนำมาสู่การแบ่งกลุ่มผู้ป่วย