วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

แนวทางการกําหนดนิยามการเจ็บป่วยฉุกเฉิน



“การเจ็บป่วยฉุกเฉิน” หมายถึง การได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการเจ็บป่วยกระทันหัน ซึ่งเป็นภยันตรายต่อ
การดํารงชีวิตหรือการทํางานของอวัยวะสําคัญ จําเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการและบําบัดรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรืออาการเจ็บป่วยนั้น ทั้งนี้หน่วยปฏิบัติการ สถานพยาบาล และผูู้ปฏิบัติการฉุกเฉินได้มีหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วย ฉุกเฉิน ดังนี้
  1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหันซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิตซึ่งหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทําให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าฉุกเฉินวิกฤต เป็นภาวะที่คุกคามต่อชีวิตต้องให้การช่วยเหลืออย่างรีบด่วน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจรักษาทันที มิฉะนั้นผู้ป่วยจะเสียชีวิตหรือพิการอย่างถาวรในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและให้การตรวจรักษาทันที กลุ่มนี้ โดยใช้สัญลักษณ์ “สีแดง” ดังตัวอย่าง เช่น
    • ภาวะ “หัวใจหยุดเต้น” (Cardiac arrest)
    • ภาวะหยุดหายใจ
    • ภาวะ “ช็อก”จากการเสียเลือดรุนแรง
    • ชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว
    • อาการซึม หมดสติไม่รู้สึกตัว
    • อาการเจ็บหน้าอกรุนแรงจากหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่มีความจําเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด
    • อาการทางสมองจากหลอดเลือดสมองตีบตันทันทีมีความจําเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด
    • เลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา เป็นต้น ทั้งนี้ในการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินให้ถือตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ
  2. ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ได้แก่ บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันมาก หรือเจ็บปวดรุนแรงอันอาจจําเป็นต้องได้รับปฏิบัติการแพทย์อย่างรีบด่วน มิฉะนั้นจะทําให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิต หรือพิการในระยะต่อมาได้ หรือกล่าวได้ว่าฉุกเฉินเร่งด่วนเป็นภาวะที่ต้องการการช่วยเหลือโดยเร็ว รอได้บ้างแต่ไม่นาน เป็นภาวะที่ผู้ป่วยต้องการการช่วยเหลือทางการรักษาพยาบาลจัดเป็นอันดับรองจากกลุ่มแรก ผู้ป่วยประเภทนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ให้การดูแลรักษาพยาบาลอย่างถูกต้อง ก็อาจทําให้สูญเสียชีวิตหรือพิการได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ผู้ป่วยประเภทนี้จะมีอาการหรืออาการแสดงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โดยใช้สัญลักษณ “สีเหลือง” ดังตัวอย่าง เช่น
    • หายใจลําบากหรือหายใจเหนื่อยหอบ
    • ชีพจรช้ากว่า 40 หรือเร็วกว่า 150ครั้ง/นาที โดยเฉพาะถ้าร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น
    • ไม่รู้สึกตัว ชัก อัมพาต หรือตาบอด หูหนวกทันที
    • ตกเลือด ซีดมากหรือเขียว
    • เจ็บปวดมากหรือทุรนทุราย
    •  มือเท้าเย็นซีด และเหงื่อแตก รวมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น
    • ความดันโลหิตตัวบนต่ํากว่า 90มม.ปรอทหรือตัวล่างสูงกว่า 130มม.ปรอท โดยเฉพาะรวมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น
    • อุณหภูมิร่างกายต่ํากว่า 35°cหรือสูงกว่า 40°cโดยเฉพาะร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น
    •  ถูกพิษหรือ Drug overuse
    • ได้รับอุบัติเหตุ โดยเฉพาะบาดแผลที่ใหญ่มากและมีหลายแห่ง เช่น major multiple fractures , Burns,Back injury with or without spinal cord damage
    •  ภาวะจิตเวชฉุกเฉิน เป็นต้น ทั้งนี้ในการปฏิบัติการทางการแพทยฉุกเฉินให้ถือตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ
  3. ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันไม่รุนแรง อาจรอรับปฏิบัติการแพทย์ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือเดินทางไปรับบริการสาธารณสุขด้วยตนเองได้ แต่จําเป็นต้องใช้ทรัพยากรและหากปล่อยไว้เกินเวลาอันสมควรแล้วจะทําให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้น   หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ให้ใช้สัญญลักษณ์“สีเขียว”
ทั้งนี้นิยามและหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยอาการฉุกเฉินใช้อ้างอิงตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 และประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉิน พ.ศ.2554 และประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินเรื่องข้อกําหนดว่าด้วยสถานพยาบาล พ.ศ.2554

หมายเหตุ :เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยให้สถานพยาบาลพิจารณาให้การดูแลรักษาผู้ป่วยตามความเหมาะสม หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อสอบถามไปยังสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หมายเลขโทรศัพท์ 1669

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น